ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
๑. ชื่อโครงการ
โครงการเข้าร่วมประชุมและสัมมนาทางวิชาการของสภาจดหมายเหตุแห่งชาติระหว่างประเทศประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Southeast Asia Regional Branch International Council on Archives: SARBICA)
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการเอกสารจดหมายเหตุอิเล็กทรอนิกส์ในยุคโลกาภิวัตน์
๒.๒ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก SARBICA
๒.๓ เพื่อให้นักจดหมายเหตุได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านจดหมายเหตุ
๓. กำหนดเวลา
วันจันทร์ที่ ๘ ถึงวันศุกร์ที่ ๑๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ (รวมระยะเวลา ๕ วัน)
๔. สถานที่
เมืองฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
๕. หน่วยงานผู้จัด
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเวียดนาม (The State Records and Archives Department of Vietnam)
๖. หน่วยงานสนับสนุน
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
๗. คณะผู้แทนไทย
คณะผู้แทนไทยในการดำเนินโครงการเข้าร่วมการประชุมและสัมมนาทางวิชาการ จำนวน ๕ ราย ดังนี้
๗.๑ นางสาวนัยนา แย้มสาขา ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
๗.๒ นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา นักจดหมายเหตุ ระดับชำนาญการพิเศษ
๗.๓ นางสาวนภวรรณ ศรีจันทรนิตย์ นักจดหมายเหตุ ระดับชำนาญการ
๗.๔ นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุ ระดับปฏิบัติการ
๗.๕ นางสาวณัฏฐา กล้าหาญ นักจดหมายเหตุ ระดับปฏิบัติการ
๘. กิจกรรม
กิจกรรมในการดำเนินโครงการเข้าร่วมการประชุมและสัมมนาทางวิชาการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
และประเทศสมาชิกสภาการจดหมายเหตุสากลประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยกิจกรรม
๓ ส่วน ดังนี้
๘.๑ การประชุม The 19th SARBICA General Conference and 20th SARBICA’s Executive Board’s Meeting
๘.๒ การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์จดหมายเหตุแห่งชาติ หมายเลข ๑ (National Archives Center No1) วิหารวรรณกรรม (Temple of Literature) และ Ha Long Bay
๘.๓ การสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ “Authenticity of Electronic Records” ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม Hanoi Daewoo
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
๙.๑ การประชุม The 19th SARBICA General Conference and 20th SARBICA’s Executive Board’s Meeting เป็นการประชุมผู้บริหารของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ประเทศสมาชิกมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการสรุปผลการดำเนินด้านต่าง ๆ ในปีที่ผ่านมาและชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณของคณะกรรมการชุดนี้ การคัดเลือกประธาน SARBICA และรองประธาน โดย Mr Mustari Irawan, Director General of National Archives of Indonesia ได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และ Mr. Azemi Abdul Aziz, Director General of National Archives of Malaysia ได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการพร้อมทั้งเลขานุการและเหรัญญิกซึ่งเป็นนักจดหมายเหตุของหอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเลเซีย สำหรับการคัดเลือกเจ้าภาพในการจัดประชุมและสัมมนาทางวิชาการครั้งต่อไป ที่ประชุมมีมติคัดเลือกประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพการประชุม ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ การประชุมนี้ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และนักจดหมายเหตุทุกคนได้เข้าร่วมประชุมด้วย
๙.๒ การศึกษาดูงานสถานที่ต่าง ๆ
๙.๒.๑ สถานที่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของ UNESCO ตามโครงการความทรงจำแห่งโลก
(Memory of the World) ในเมืองฮานอย คือ เอกสารของราชวงศ์ Nguyen ที่จัดเก็บที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หมายเลข ๑ (National Archives Center No1) และ Stone Steles Records of Royal Examinations ของราชวงศ์ Le และราชวงศ์ Mac ที่จัดเก็บที่วิหารวรรณกรรม (Temple of Literature)
๙.๒.๒ สถานที่ที่ UNESCO ประกาศเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ คือ Ha Long Bay
๙.๒.๓ สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมในเมืองฮานอย คือ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ (History Museum) และวัดเนินหยก (หง็อกเซิน Ngoc Son)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หมายเลข ๑ (National Archives Center No1)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลข ๑ ตั้งอยู่ในกรุงฮานอย จัดเก็บเอกสารราชวงศ์ Nguyen ซึ่งปัจจุบันหอจดหมายเหตุแห่งชาติหมายเลข ๑ เก็บรักษาพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในสมัยราชวงศ์ Nguyen ประมาณ 7 ร้อยฉบับ โดยได้นำมาจัดนิทรรศการ “พระบรมราชโองการการโปรดเกล้าฯในสมัยราชวงศ์ Nguyen 1802-1945” ประกอบด้วย พระบรมราชโองการ การโปรดเกล้าและการลงปรมาภิไธยของบรรพกษัตริย์ในสมัยราชวงศ์ Nguyen ที่ชี้นำการแก้ไขปัญหาทางการเมือง การทหาร การทูต เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคมซึ่งถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติ และองค์การยูเนสโกได้รับรองพระบรมราชโองการในสมัยราชวงศ์ Nguyen เป็นมรดกแห่งความทรงจำของโลก
(Memory of the world)
วิหารวรรณกรรม (Temple of Literature)
วิหารวรรณกรรม ภาษาเวียดนามเรียกว่า วันเหมียว (Van mieu) เป็นวัดขงจื้อในฮานอย อยู่ทางตอนเหนือของเวียดนาม สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๑๖๑๓ สมัยพระเจ้าหลีแถงห์โตง (Ly Thanh Tong) อุทิศให้แด่ขงจื้อ อยู่ติดกับกว็อกตื่อยาม (Quoc Tu Giam) เป็นโรงเรียนของพวกขุนนางและเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติแห่งแรกของเวียดนาม ต่อมาสมัยราชวงศ์ตรัน (Trấn) ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกว็อกช็อกเวียน (Quoc Hoc Vien) บริเวณตรงหัวมุมทางเข้าด้านหน้าจะมีซุ้มสลักด้วยหินข้อความว่า “ขอให้ผู้มาเยือนลงจากหลังม้าก่อนที่จะเข้าไปข้างใน” แบ่งออกเป็น ๕ ชั้น ประตูทางเข้าด้านหน้าทำเป็น ๒ ชั้น มีประตูรูปวงโค้ง คล้ายก๋งจีน สลักชื่อวิหารวรรณกรรมอยู่ชั้นบนสุด เมื่อลอดซุ้มประตูด้านหน้าเข้ามาจะพบต้นไม้ใหญ่ สองข้างทางมีบ่อน้ำสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ๒ บ่อ เมื่อเดินผ่านมาถึงอาคารชื่อตึกดาวลูกไก่ เคววันกั๊ก (Khue Van Cac) เป็นที่นักอักษรศาสตร์มาท่องบทกวี มีประตูกำแพงใหญ่ได๋แถงห์โมน (Dai Thanh Mon) สัญลักษณ์ของกรุงฮานอย กับสระน้ำขนาดใหญ่ตรงกลางลานด้านหลังประตูชื่อ สระแสงงาม เทียนกวางติงห์ (Thien Quang Tinh) เวลาแสงจากพระอาทิตย์สาดส่องจะสะท้อนเข้าสู่ประตูใหญ่ ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง บริเวณสองข้างสระแสงงามมีอาคารชั้นเดียว ๕ หลัง ภายในประดิษฐานแผ่นหินจารึกรวม ๘๒ แผ่น ซึ่งหลงเหลือจากของเดิมที่มี ๑๑๗ แผ่น แผ่นหินเหล่านี้จะตั้งอยู่บนหลังเต่าทำด้วยหิน จารึกชื่อ ผลงาน ประวัติทางวิชาการของผู้ที่สอบผ่านการศึกษาหลักสูตร ๓ ปี เพื่อเข้ารับราชการเป็นขุนนาง ระหว่างพุทธศักราช ๑๙๘๕ ถึงพุทธศักราช ๒๓๒๒ หลายคนจึงเรียกว่า “แผ่นหินจารึกชื่อจอหงวน”
ฮาลองเบย์ (Ha Long Bay)
อ่าวหะล็อง (Vịnh Hạ Long) เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ยทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด ๑,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร และมีชายฝั่งยาว ๑๒๐ กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางตะวันออก ๑๗๐ กิโลเมตร ชื่อตามการออกเสียงในภาษาเวียดนามเขียนได้ว่า "Vinh Ha Long" หมายถึง "อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง" ในอ่าวหะล็องมีเกาะหินปูนจำนวน ๑,๙๖๙ เกาะโผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน ถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าวคือ ถ้ำเสาไม้ (Hang Đầu Gỗ) หรือชื่อเดิมว่า "กร็อตเดแมร์แวย์" (Grotte des Merveilles) ซึ่งตั้งชื่อโดยนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสที่มาเยี่ยมชมอ่าว เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ภายในถ้ำประกอบไปด้วยโพรงกว้าง
๓ โพรง มีหินงอกและหินย้อยขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว ๒ เกาะ คือ เกาะกั๊ตบ่าและเกาะต่วนเจิว ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร บนเกาะมีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว ส่วนเกาะขนาดเล็กอื่น ๆ บางเกาะก็มีชายหาดที่สวยงามที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชม บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา เช่น เกาะช้าง (Voi Islet) เกาะไก่ชน (Ga Choi Islet) เกาะหลังคา (Mai Nha Islet) เป็นต้น อ่าวหะล็อง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๑๘ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๗ ที่ภูเก็ต ประเทศไทย
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ (History Museum)
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์หรือชาวเวียดนามเรียกว่า Bao Tang Lich ในอดีตเป็นสถาบันวิจัยทางโบราณคดีของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรทิศ (Ecole Hrancaise d’ Extreme Orient) สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ สร้างใหม่ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ ก่อนจะเปิดอีกครั้งในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งสิ่งที่นำมาจัดแสดงไว้ที่นี่ครอบคลุมถึงประวัติศาสตร์เวียดนามทุกสมัย เป็นโบราณวัตถุที่หาดูได้ยากยิ่ง มีกลองสำริดโบราณ ซึ่งเป็นศิลปะอันงดงามของพวกจากที่แพร่เช้ามาในประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ยังมีเครื่องถ้วยชามและเจ้าแม่กวนอิมปางประหลาด รวมถึงห้องจัดแสดงของใช้สิ่งของต่างๆ ของกษัตริย์ ๑๓ พระองค์แห่งราชวงศ์เหวียน
วัดเนินหยก (หง็อกเซิน, Ngoc Son)
วัดเนินหยกหรือวัดหง็อกเซิน (Ngoc Son Temple) ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของทะเลสาบคืนดาบ (Hoan Kiem Lake) บริเวณกลางใจเมือง วัดเนินหยกถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 18 เพื่ออุทิศแด่วีรบุรุษทั้งสามคนที่มีบทบาทสำคัญทางประวัติศาสตร์ได้แก่ เฉิน ฮัง โด๋ว (Tran Hung Dao) หวัน เซิง (Van Xuong) และ
La To กำแพงของถนนที่ทอดยาวไปสู่ทะเลสาบถูกตกแต่งด้วยงานเขียนของเวียดนามแบบดั้งเดิม
๙.๓ การสัมมนาทางวิชาการแบ่งเป็น ๓ ช่วง ประกอบด้วยการบรรยาย และการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ Authenticity of Electronic Records จากวิทยากรประเทศต่างๆ ได้แก่
SESSION 1 หัวข้อ Theoretical Basis of the Authenticity of Electronic Records ประกอบด้วย
- Viewpoint on Authenticity of Born Digital Records โดย Ms. Susan Corrigall, Head of Electronic Records Unit, National Records of Scotland
- Authenticity and Legal Value of Electronic Records โดย Mr. Steve Knight, Program Director Preservation Research & Consultancy, National Library of New Zealand
- Viewpoint on Electronic Record’s Authenticity and Emerging Issues โดย Ms. Nguyen Thi Ha, Chief of Division of Guidance for Central Archives and Records Management, The State Records and Archives Department of Vietnam
- Experience and Practice in Ensuring Authenticity of Electronic Records in National Archives of Republic of Indonesia โดย National Archives of Indonesia
สำหรับ Session 1 นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา นักจดหมายเหตุ ชำนาญการพิเศษ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการของที่ประชุม สรุปประเด็นสำคัญของผู้บรรยาย และคำถามคำตอบ
SESSION 2 หัวข้อ Practical Basis in Ensuring Authenticity of Electronic Record ประกอบด้วย
- Experience of the German Federal Archives with Methods to Ensure Authenticity of Electronic Data โดย Mr. Michael Ucharim, Director Sub-project “Temporary Digital Archives”, German Federal Archives
- Experience and Practice in Ensuring Authenticity of Electronic Record in National Archives of Singapore โดย Mr. Eric Chin Sze Chong, Director, National Archives of Singapore
- Experience and Practice in Ensuring Authenticity of Electronic Record in National Archives of Malaysia โดย Ms. Rusniza Hamdan, National Archives of Malaysia
SESSION 3 หัวข้อ Solution to Ensure Authenticity of Electronic Record
- The Electronic Records and Archives of Japan: Approaches to Ensuring Authenticity at the National Archives โดย Mr. Yoshiyuki KAZAMA, Chief of the Electronic Records Section, National Archives of Japan
- Solution Ensuring Security for Stored Records and Data โดย Mr. Nguyen Trong Binh, Military Bank of Vietnam
- A Watermark Scheme Based on Most Significant Bit for Public Copyright Protection for Relational Databases โดย Dr. Luu Thi Bich Huong, Faculty of Information Technology, Hanoi Pedagogical University No2
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
จากการเข้าร่วมโครงการประชุมและสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
๑๐.๑ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ควรสนับสนุนให้บุคลากรได้เพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศสมาชิกในระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นไปอย่างราบรื่น
๑๐.๒ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ควรเข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการ SARBICA อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำข้อมูลวิชาการจดหมายเหตุ และประสบการณ์มาพัฒนางานด้านจดหมายเหตุของไทยให้ก้าวหน้าต่อไป และมีส่วนร่วมในการพัฒนางานจดหมายเหตุของภูมิภาค ทั้งนี้ หน่วยงานต้นสังกัดควรให้ความสำคัญกับการประชุมดังกล่าวและสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีนโยบายให้นักจดหมายเหตุรุ่นใหม่ได้พัฒนาศักยภาพโดยการเข้าร่วมการประชุม SARBICA และการประชุมนานาชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรได้เรียนรู้งานจากการการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการรับรู้ข้อมูลวิชาการจดหมายเหตุที่ทันสมัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนางานจดหมายเหตุของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์
นางสาวณัฏฐา กล้าหาญ ผู้สรุปรายงานการเดินทางไปราชการ
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 42 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง ธรรมเทศนา อานิสงส์ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 10 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
เลขทะเบียน : นพ.บ.11/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 7 (74-82) ผูก 2หัวเรื่อง : จูฬวคฺคปาลิ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.39/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 54.6 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 22 (224-233) ผูก 8หัวเรื่อง : อวหารนิสฺสย (นิไสอวหาน) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน)
ชื่อเรื่อง โคลงนิราศนรินทร์
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 6
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพ ฯ
สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์
ปีที่พิมพ์ 2525
จำนวนหน้า 46 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เยาวมาลย์ ชมชาญ
นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) กวีเอกในสมัย ร . 2 เป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบวชราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ แต่งเรื่องนี้ในขณะเดินทางตามเสด็จ สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ไปรบพม่าซึ่งยกมาตีเมืองถลางและเมืองชุมพรในปี พ.ศ. 2352 ในการพิมพ์ครั้งที่ 2 กรมศิลปากร ได้จัดทำคำอธิบายถ้อยคำบางตอนที่เข้าใจยากและจัดทำเส้นทางเดินทางที่สำคัญพิมพ์ไว้ท้ายเล่มและในการพิมพ์ครั้งที่ 4 กรมศิลปากรได้ทำการตรวจชำระฉบับสมุดไทยพร้อมทั้งทำเชิงอรรถอธิบายบางตอนโดยใช้ชื่อการพิมพ์ครั้งนี้ว่า โคลงนิราศนรินทร์ ฉบับกรมศิลปากรตรวจชำระใหม่
ชื่อผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จเจ้าพระยาชื่อเรื่อง : พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่หกสถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ : จันวาณิชย์ จำกัดปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๖จำนวนหน้า : ๑๗๐ หน้าหมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าอัจฉราฉวี เทวกุล ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๒๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงเป็นพระราชโอรถในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ ประสูติมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๑ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่น แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวง เมื่อปีจอ พ.ศ.๒๔๒๙ ทรงเป็นราชเลขานุการล้วเป็นเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ได้เป็นราชทูตพิเศษ เสด็จไปยุโรปในรัชกาลที่ ๖ ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศ เป็นกรมพระแล้วเลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖
ชื่อผู้แต่ง ศิลปากร,กรม
ชื่อเรื่อง บทละครนอก เรื่อง พระอภัยมณี ตอน กำเนิดสุดสาคร ถึงเข้าเมืองการเวก
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2529 จำนวนหน้า 48 หน้า
หมายเหตุ -
บทละครนอก เรื่อง พระอภัยมณี ตอน กำเนิดสุดสาคร ถึงเข้าเมืองการเวก นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในพระนิพนธ์ อธิบายว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของ สุนทรภู่ และเรื่อง ประวัติสุนทรภู่ ว่า เป็นเรื่องที่สุนทรภู่ตั้งใจแต่งโดยประณีตทั้งตัวเรื่องและถ้อยคำสำนวนนับเป็นเรื่องที่สุนทรภู่แต่งดีที่สุด เพราะเป็น หนังสือเรื่องยาวแต่งดีทั้งกลอนทั้งความคิดที่ผูกเรื่องเรื่องอื่น เช่น เสภาตอนพลายงามถวายตัวก็ดี นิราศภูเขาทองก็ดี นิราศเมืองเพชรบุรีก็ดี แต่งดีอยากเอกก็จริง แต่เป็นเรื่องสั้น ๆ จะเปรียบกับเรื่องพระอภัยมณีไม่ได้คนทั้งหลายจึงได้ชอบอ่านกันแพร่หลาย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี (หลังใหม่) ตั้งอยู่ในศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี อยู่บริเวณด้านทิศใต้ของอาคารศาลากลางจังหวัด (หากหันเข้าหาหน้าศาลากลาง อาคารพิพิธภัณฑ์ฯ อยู่ด้านขวามือ) อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี หลังนี้ ออกแบบภายใต้แนวความคิดของบ้านเรือนไทยภาคกลางที่มีใต้ถุนสูง เพื่อเป็นพื้นที่ใช้งานที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาชีพของคนสุพรรณบุรีดั้งเดิมนั้นเป็นชาวนา รวมไปถึงอาชีพของคนไทยด้วย แนวคิดและการออกแบบโดย นายปณิธาน เจริญใจ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น มีใต้ถุนด้านล่าง พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 1,890 ตารางเมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับตกแต่งผนังด้วยดินเผาลวดลายรวงข้าว และประเพณีในการทำนา 12 เดือน นิทรรศการแบ่งออกเป็น 8 ส่วน ห้องจัดแสดงชั้นที่ 1 แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น 4 เรื่อง 1. ร่องรอยของข้าวจากอดีต 2. ลมมรสุมกับฤดูกาลปลูกข้าว 3. การทำนาในประเทศไทย 4. จากคันไถสู่ควายเหล็ก ห้องจัดแสดงชั้นที่ 2 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 เรื่อง 1. ประเพณีและวิถีชีวิตชาวนา 2. พระบารมีปกเกล้าชาวนาไทย 3. ทวยราษฎร์แซ่ซ้องรอเวลา 4. พระเสด็จฯ มาโปรดชาวนาไทย อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี หลังนี้เป็นหลังใหม่หลังที่ 2 ค่ะ สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2552 เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ พ.ศ.2553 มาถึงปีนี้ อาคารหลังนี้มีอายุครบ 10 ปี แล้วค่ะ (เขียน ณ วันที่ 28 มีนาคม 2563) ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี เปิดให้บริการโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเข้าชม และเปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 น. อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี แห่งใหม่ (สร้างหลังที่ 2) ตั้งอยู่ในศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี บ้านใต้ถุนสูงของเกษตรกร ในจังหวัดลพบุรี แนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทยสุพรรณบุรีทั้ง 2 แห่ง จากอาคารบ้านเรือนถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวนาไทย ลักษณะของบ้านเรือนในชนบท สู่แนวความคิดในการออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สถาปนิก : นายปณิธาน เจริญใจ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากรข้อมูลประกอบการเรียบเรียง : นายปณิธาน เจริญใจ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เรียบเรียงและถ่ายภาพ : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร แบบอาคาร : สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร (ฉบับสำเนา) หมายเหตุ : เผยแพร่ข้อมูลวันที่ 28 มี.ค. 2563 Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum
ชื่อเรื่อง : สุภาษิตสอนสตรี สวัสดิรักษาคำกลอนและเพลงยาวถวายโอวาทของสุนทรภู่
ชื่อผู้แต่ง : สุนทรโวหาร (ภู่), พระ
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรเพชรเกษม
จำนวนหน้า : 276 หน้า
สาระสังเขป : สุภาษิตสอนสตรี สวัสดิรักษาคำกลอนและเพลงยาวถวายโอวาทของสุนทรภู่ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย 1. สุภาษิตสอนสตรี เป็นคำสอนสำหรับสตรีทุกคน มีทั้งข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติ ในเรื่องของการวางตัว กิริยามารยาท การพูดจา การเลือกคู่ครอง ความซื่อสัตย์ต่อสามี การดูแลบ้านเรือน เป็นต้น 2. เรื่องสวัสดิรักษา เป็นคำสอนชายไทย เรื่องแนวทางประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน มีข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติทั้งต่อตนเองและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แนวทางปฏิบัติทุกประการล้วนมุ่งรักษา “สิริ” อันจะทำให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ตนเอง เพื่อให้ประสบแต่สิ่งดีงามและส่งผลสู่เชื้อสายวงศ์ตระกูล 3. เพลงยาวถวายโอวาท เป็นคำสอนให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดีที่ควร คำสอนที่สำคัญได้แก่ คำสอนเกี่ยวกับการศึกษา ให้สนใจตั้งใจศึกษาหาความรู้ในเรื่องต่างๆ ตามโบราณราชประเพณี คำสอนเกี่ยวกับการผูกมิตรไมตรี ให้คบหานักปราชญ์ ไม่คบคนชั่ว เป็นต้น 4. เรียนลัดพุทธศาสนา ของพุทธทาสภิกขุ เป็นคำสอนพุทธศาสนาของนิกายเซ็นที่รวมความเห็นของฝ่ายเถรวาทกับอาจาริยวาทเข้าด้วยกันจนเป็นคำสอนพุทธศาสนาที่สมบูรณ์
ชื่อผู้แต่ง พุทธทาสและคนอื่นๆ
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพพระอธิการเก่ง ฐิยโส (ศรีสุวรรณ)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ 2509
จำนวนหน้า 22 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพพระอธิการเก่ง ฐิยโส (ศรีสุวรรณ)
หนังสือที่ระลึกงานศพพระอธิการเก่ง ฐิตยโส (ศรีสุวรรณ ) เจ้าอาวาสวัดสีหยัง ต.บ่อตรุ อ.ระโนด จ.สงขลา เนื้อหาประกอบด้วยบทความทางศาสนา โดยผู้เขียนบทความ 4 ท่าน ประกอบด้วย เรื่องกับไปเหลือโดยพุทธทาสภิกขุ เรื่องความสูญสิ้นโดย วิมุตตยานันทะ เรื่อง แนวทางแก้ทุกข์ โดยพระปัญญานันทมุณีและเรื่องนี้คือคุณค่าของชีวิตโดยพระพุทธภาษิต
การสำรวจคลองสำคัญในประวัติศาสตร์ปัตตานี ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ดำเนินการสำรวจคลองสำคัญในประวัติศาสตร์ปัตตานี โดยเป็นการสำรวจในข้อมูลภาคสนาม ครอบคลุมเส้นทางการไหลของคลองทั้งสิ้น ๑๐ สาย โดยสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้ ๑.คลองกือเซะ คลองกือเซะจัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกในกลุ่มลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง(พื้นที่ส่วนที่๓) คลองสายนี้ไหลผ่านพื้นที่ด้านทิศเหนือของอำเภอยะรัง และทิศตะวันอออกของอำเภอเมืองปัตตานี โดยส่วนปลายของคลองนี้จะไปรวมกับคลองมานิงที่บ้านปาเระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี รวมระยะความยาวของคลองสายนี้ประมาณ ๑๐.๘ กิโลเมตร ในสมัยรายาฮีเยาครองบัลลังก์เกิดปัญหาน้ำเค็มรุกเข้ามาในคลองกือเซะจนไม่สามารถอำนวยประโยชน์ในการเกษตรกรรมได้ “...รายาฮีเยาทรงรับสั่งให้ราษฎรพร้อมกันขุดคลอง โดยเริ่มจากรือเซะมุ่งไปทางทิศเหนือจนถึงแม่น้ำที่อ่าวเตอร์มางัน (ใกล้กับหมู่บ้านปรีกีปัจจุบัน) เมื่อสามารถขุดคลองเชื่อมกับแม่น้ำแล้ว น้ำก็ไหลมาตามคลองแห่งใหม่ผ่านคลองกรือเซะแล้วไหลออกทะเลตรงอ่าวรา เมื่อน้ำทางเหนือไหลออกคลองกรือเซะก็เป็นผลให้น้ำจืดลง ทุ่งนาบริเวณนั้นก็ให้ผลเป็นที่พอใจ...” เมื่อถึงสมัยรายาบีรูก็เกิดปัญหาขึ้นกับคลองกือเซะอีกครั้ง ดังปรากฏในตำนานเมืองปัตตานีว่า “...และพบว่ากระแสน้ำไหลแรงเซาะริมฝั่งที่ติดต่อกับพระราชวังได้รับความเสียหายอีกประการหนึ่งน้ำในคลองกรือเซะกลายเป็นน้ำจืด จึงเป็นเหตุให้นาเกลือตรงชายทะเลไม่สามารถเป็นเกลือได้เพราะน้ำลดความเค็มลง รายาบีรูจึงมีกระแสรับสั่งให้สร้างเขื่อนกั้นน้ำที่ไหลมาจากด้านเหนือ โดยไหลเข้าคลองกรือเซะและได้ปิดคลองปาฟีรีด้วย เขื่อนดังกล่าวนั้นสร้างด้วยหินและให้นามหมู่บ้านนั้นว่าบ้านทำนบหิน(บ้านตาเนาะบาตู)...” ๒.คลองเตอมางัน เป็นคลองขุดแยกจากคลองกือเซะที่บ้านตาเนาะบาตู ตำบลคลองมะนิง อำเภอเมืองปัตตานี แล้วไหลผ่านเข้าไปในพื้นที่ตำบลสะดาวา ตำบลประจัน ตำบลยะรัง ตำบลวัด ตำบลปิตูมุดี อำเภอยะรัง และไหลไปรวมกับแม่น้ำปัตตานีในบริเวณตำบลกระโด อำเภอยะรัง คลองสายนี้เป็นคลองขุด ซึ่งรายาฮิเยารับสั่งให้ขุดขึ้น เพื่อนำน้ำจากแม่น้ำปัตตานี เข้ามาเพิ่มในคลองกือเซะ เพื่อแก้ปัญหาน้ำเค็มรุกคลองกือเซะ จนไม่สามารถทำนาได้ แต่ในเวลาต่อมาน้ำจืดจากคลองนี้ไหลเข้าไปในคลองกือเซะมากเกินไปจนเกิดปัญหาในการทำนาเกลือ รายาบีรูจึงรับสั่งให้สร้างทำนบหินกั้นคลองสายนี้ที่บริเวณบ้านตาเนาะบาตู จากการสำรวจพบว่าคลองสายนี้อาจไม่ใช่คลองขุดทั้งสาย โดยในบางช่วงอาจเป็นการขุดลอกแนวคลองเดิมในบางพื้นที่ให้ลึกขึ้น ทั้งนี้สามารถแบ่งช่วงของคลองสายนี้ได้เป็น ๔ ช่วง ๓.คลองมานิง คลองมานิงจัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกในกลุ่มลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง(พื้นที่ส่วนที่๓) คลองสายนี้ไหลผ่านอำเภอยะรัง และทิศตะวันออกของอำเภอเมืองปัตตานี รวมระยะความยาวของคลองสายนี้จากบึงบาโง ตำบลวัด อำเภอยะรัง มาจนถึงตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ ๓๒ กิโลเมตร คลองแห่งนี้เป็นเส้นทางสำคัญในการเดินทางและการค้า เนื่องจากเป็นคลองใหญ่มีน้ำมาก และสามารถเชื่อมต่อเข้าไปได้ถึงเมืองโบราณยะรัง ดังนั้นในระหว่างทางเดินของลำน้ำจึงมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เรียงรายอยู่มากมายเช่น กาแลบือซา(ท่าใหญ่) ทีเยรายอ(สถานที่พบเสากระโดงเรือ) เป็นต้น ๔.คลองปาเระ คลองปาเระหรือสุไหงปาเระ เป็นคลองที่เกิดจากการบรรจบกันของคลองกือเซะกับคลองมานิง(คลองบ้านดี) ที่บ้านปาเระ หมู่ที่ ๒ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี จากนั้นไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออีกราว ๑.๒ กิโลเมตร ก็บรรจบกับทะเลที่อ่าวปัตตานีที่กัวลาอารู (Kuala-Aru) คลองแห่งนี้เป็นต้นทางที่จะสามารถเดินทางเข้าสู่เมืองปัตตานีทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นต้นทางที่สามารถเชื่อมต่อไปยังกาแลบือซา ซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่สำหรับขึ้นลงสินค้าภายในคลองมานิงได้ด้วย และริมคลองนี้ยังเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของเชลยชาวพะโคและล้านช้าง ซึ่งกษัตริย์อยุธยาพระราชทานแก่สุลต่านมันโซร์ ชาห์ แห่งปัตตานีด้วย ๕.คลองปาเปรี คลองปาเปรีหรือสุไหงปาเปรี ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๒ บ้านตันหยงลุโละ ตำบลตันหยงลุโละ และหมู่ที่ ๑ บ้านปาเระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมืองปัตตานี มีลักษณะเป็นคลองสายสั้นไหลลงสู่อ่าวปัตตานีเหนือกัวลาอารู ในอดีตพื้นที่บริเวณต้นคลองเคยมีฐานะเป็นคูเมืองปัตตานีด้านทิศเหนือ และในตำนานเมืองปัตตานีกล่าวว่าคลองสายนี้เคยถูกปิดไปครั้งหนึ่งในสมัยรายาบีรู เมื่อครั้งเกิดปัญหาน้ำจืดไหลเข้ามาในคลองกือเซะมากเกินไปจนทำนาเกลือไม่ได้ ๖.คลองคูเมืองปัตตานีด้านทิศตะวันตก คลองคูเมืองปัตตานีด้านทิศตะวันตกตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๑ บ้านตันหยงลุโละ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี คลองสายนี้เป็นคลองขุดเชื่อมคลองปาเปรีซึ่งเป็นคูเมืองด้านทิศเหนือ กับคลองกือเซะซึ่งเป็นคูเมืองด้านทิศใต้ คลองสายนี้นอกจากทำหน้าที่เป็นคูเมืองแล้ว ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของคลองสายนี้ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างแนวกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกซึ่งมีประตูเมืองใหญ่คือปินตูกรือบันหรือประตูชัยฮังตูวะห์ตั้งอยู่ กับลานใหญ่หน้ามัสยิดกรือเซะ จึงเป็นหนึ่งในสถานที่ซึ่งผู้คนสัญจรไปมามากมาย ๗.คลองดัชต์และกาแลเบอลันดา คลองดัชต์ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๒ บ้านบาน ตำบลบานา และหมู่ที่ ๑ บ้านตันหยงลุโละ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ในอดีตคลองแห่งนี้เป็นลำน้ำใหญ่ กล่าวกันว่าเรือสินค้าขนาดใหญ่ของชาวต่างชาติเข้ามาจอดขนส่งสินค้าในคลองแห่งนี้ อีกทั้งสองฝั่งคลองยังเป็นที่ตั้งของสถานีการค้าและโกดังสินค้าของต่างชาติ โดยสถานีการค้าที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงคือห้างของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (VOC) และมีท่าเรือขนส่งสินค้าที่มีชื่อเสียงเรียกโดยภาษาท้องถิ่นว่า กาแลเบอลันดา ส่วนคลองก็เรียกกันว่าคลองดัชต์ หรือบางครั้งก็เรียกทับศัพท์ว่า คลองกาแลเบอลันดา ๘.อาอีลีเละฮ์ อาอีลีเละฮ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลบานา และหมู่ที่ ๓ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี มีลักษณะเป็นคลองสายสั้น โดยแนวคลองนี้จะตัดผ่านคลองดัชต์ ทำให้คลองถูกแบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนเหนือและส่วนใต้ ในอดีตคลองแห่งนี้เป็นลำน้ำสาขาที่แยกออกจากคลองดัชต์ โดยการที่ปลายข้างเหนือสามารถออกทะเลได้ ส่วนปลายด้านใต้สามารถเชื่อมต่อไปจนถึงกรือเซะ จึงเป็นคลองย่อยที่สถานีการค้าหรือห้างของบริษัทต่างชาติ ใช้เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าทั้งนำเข้าไปยังเมืองปัตตานี และรับสินค้าจากในเมืองมาเก็บที่โกดัง ก่อนนำลงเรือใหญ่เพื่อส่งขายยังต่างเมืองต่อไป ๙.สุไหงปาแน สุไหงปาแนตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๑ บ้านสุไหงปาแน ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี สุไหงปาแน(คลองหมาก) เป็นคลองที่มีจุดเริ่มต้นจากการรับน้ำจากทุ่งซึ่งมีลักษณะเป็นพรุขนาดใหญ่ในพื้นที่หมู่ที่ ๑ บ้านสุไหงปาแน ตำบลบานา จากนั้นมีทิศทางการไหลของน้ำจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก โดยจะไปรวมกับคลองกือเซะที่บ้านกรือเซะ(กำปงปัง) หมู่ที่ ๓ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี และการที่ปลายคลองสายนี้ไปบรรจบกับคลองกือเซะซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับคูเมืองปัตตานีได้ จึงทำให้คลองสายนี้กลายเป็นหนึ่งในเส้นทางสำคัญสำหรับการขนถ่ายสินค้าเข้าออกเมืองปัตตานี ๑๐.คลองสาย คลองสายหรือสุไหงปายอ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๒ บ้านยือแร ตำบลยะรัง พื้นที่เทศบาลตำบลยะรัง และหมู่ที่ ๒ บ้านบาซาเวาะเซ็ง ตำบลปิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี กล่าวกันว่าในอดีต คลองสายเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับชะวากทะเลโบราณยะรัง กับกลุ่มเมืองโบราณยะรัง โดยมีการสร้างเมืองขนาดเล็กไว้ในบริเวณใกล้กับปากคลองซึ่งมีชื่อเรียกว่า กอจอกะจิ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองของหมู่ที่ ๑ บ้านกรือเซะ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี -------------------------------------------- บทความเรียบเรียง โดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา--------------------------------------------