ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายอยู่ แก้วโสวัฒนะ ณ เมรุวัดกษัตริยาราม วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๑


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๕๗ วันประสูติพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช           หม่อมเจ้าชายพีรพงศ์ภาณุเดช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประสูติแต่หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๕๗ มีพระนามลำลองว่า พระองค์ชายพีระ           ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่วิทยาลัยอีตัน, มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ก่อนเปลี่ยนไปทรงศึกษาด้านประติมากรรม ที่ Byam Shaw School of Art           ในรัชกาลที่ ๗ ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๐ ถึงรัชกาลที่ ๘ เป็นนายร้อยตรีทหารบก           พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ทรงโปรดการแข่งขันขับรถ โดยได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เมื่อปลายปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ทั้งสองพระองค์ทรงนำรถรอมิวลุสมาทรงขับโชว์ และทรงจัดประลองความเร็วที่ถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๐ โดยราชยานยนต์สมาคมแห่งสยาม และจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมที่วังจักรพงษ์ ขณะนั้นอยู่ในช่วงงานฉลองรัฐธรรมนูญ มีผู้คนเข้ามาชมเป็นจำนวนมาก          ในพุทธศักราช ๒๔๘๒ ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นกำลังสำคัญ ในการเตรียมการจัดการแข่งขันกรุงเทพกรังด์ปรีซ์ (Bangkok Grand Prix) โดยเชิญนักแข่งชั้นนำมาแข่งขันบนเส้นทางรอบสนามหลวงและพระบรมมหาราชวัง ระยะทาง ๒ ไมล์ ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๒ แต่การแข่งขันนี้ต้องยกเลิกไป เพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นเสียก่อน          พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระราชชนก          พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๘ สิริพระชันษา ๗๑ ปี   ภาพ : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช


ิิ          พระพิมพ์ดินดิบแบบศรีวิชัย กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18 ขนาดสูง 8.5 เซนติเมตร กว้าง 7 เซนติเมตร วัสดุดินดิบ ศิลปะศรีวิชัย โดยพระพิมพ์แบบนี้มักสร้างจากดินดิบ ด้านหลังมีประทับจารึกคาถา เย ธมฺมา ฯ เป็นภาษาสันสกฤต ซึ่ง คาถาเย ธมฺมา ฯ นั้นเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ในความเชื่อการสร้างพระพิมพ์ดินดิบจะปั้นดินและมีการกดประทับเพื่อให้เกิดลวดลาย ในเนื้อดินได้มีการตรวจพบมีอัฐิผสมอยู่ ทำให้สันนิษฐานว่า การสร้างพระพิมพ์นี้ นอกเหนือจากการสืบอายุพระพุทธศาสนานั้น จะเป็นการสร้างกุศลให้กับอัฐิบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว ให้เจริญอยู่ในพระพุทธศาสนาสืบไป ปัจจุบันจัดแสดง ณ อาคารจัดแสดง 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี







ชื่อเรื่อง                                เทวทูตสุตฺต (เทวทูตสูตร) สพ.บ.                                  277/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           42 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พระสูตร                                           พระไตรปิฎก                                           พระยายม บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ประเพณียี่เป็ง ตรงกับวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ (เดือนสิบสองของภาคกลาง) หนึ่งในประเพณีสิบสองเดือนของล้านนา เป็นวันพระและวันสุดท้ายของการทอดกฐิน หรือครบ ๓๐ วันหลังวันออกพรรษา ประเพณียี่เป็งเป็นประเพณีที่ผสมผสานระหว่างพุทธศาสนาและวิถีชีวิตของชาวล้านนาก่อนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ชาวล้านนาจะเตรียมอาหารทำบุญ ดอกไม้ธูปเทียน สำหรับไปวัดและทานขันข้าว แขวนโคมประดับประดาบ้านเรือน ทำซุ้มประตูป่า เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมืองเมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ช่วงเช้า ชาวล้านนาจะเข้าวัด ใส่บาตร ฟังเทศน์ ทานขันข้าวบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ปล่อยโคมควัน สำหรับในช่วงกลางคืน จะเข้าวัดอีกครั้ง เพื่อนำผางประทีปไปจุดที่วัด แล้วกลับมาจุดผางประทีปบริเวณต่าง ๆ ในบ้าน เพื่อบูชาพระเจ้าห้าพระองค์และรำลึกถึงบุญคุณของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีการเล่นดอกไม้ไฟบนฝั่งแม่น้ำหรือที่บ้าน และปล่อยโคมไฟ ถือเป็นประเพณีสนุกสนานรื่นเริงของชาวล้านนา ต่อมา ได้มีการนำวัฒนธรรมการลอยกระทงผนวกเข้าไปในประเพณียี่เป็งด้วยในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มาจัดตั้งสำนักงานที่จังหวัดเชียงใหม่และสนับสนุนให้ประเพณียี่เป็งเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยส่งเสริมการลอยกระทงแบบกรุงเทพฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่อย่างจริงจังและร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ มีการจัดประกวดขบวนกระทงเล็ก ขบวนกระทงใหญ่ รวมทั้งการจัดประกวดขบวนโคมยี่เป็งของสมาคมผู้ประกอบการย่านไนท์บาร์ซาร่วมด้วยอีกหนึ่งวันผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : สำนักข่าวเห็ดลมอ้างอิง :๑. ปลายอ้อ ทองสวัสดิ์.  ๒๕๖๒. “ยี่เป็ง พุทธบูชา.” ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บรรณาธิการ).  เชียงใหม่ นครแห่งอมต. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, ๑๓๓-๑๓๗.๒. ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว. ๒๕๕๗. “ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ จากการสักการะในเดือนยี่ สู่ประเพณีเพื่อการท่องเที่ยว.” เวียงเจ็ดลิน  ๔ (๒): ๔-๘.


นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)  ชบ.บ.75/1-1จ  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)  ชบ.บ.95ข/1-22  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.305/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124  (287-301) ผูก 7 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิรมฺม (อภิธัมมสังคิณี-พระมาหาปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




Messenger