ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ

๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗"ครบรอบ ๑๙๓ ปี ชาตกาล"พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯปี พ.ศ. ๒๓๗๔ - ๒๕๖๗เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖๓ครองเมืองน่าน ปี พ.ศ. ๒๔๓๔ - ๒๔๖๑


พระพุทธรูปบุเงิน จีนซืนปางมารวิชัยขนาด หน้าตัก ๓ ซม. สูง ๘.๕ ซม. ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัยเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ ที่ฐานมีจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ความว่า"จีนซืน นางคำแปง ๒๔๕๗"


#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรพระบรมราชวินิจฉัยในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องเมืองชากังราว..เมืองชากังราวปรากฏในหลักฐานชั้นต้นหรือปฐมภูมิ (primary source) ซึ่งเป็นหลักฐานที่ทำขึ้นร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น ๆ คือ ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ (พ.ศ. ๑๙๑๑) และปรากฏในหลักฐานชั้นรองหรือทุติยภูมิ (secondary source) เป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ไม่ได้เกิดขึ้นร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น ๆ ได้แก่ กฎหมายตราสามดวง (พ.ศ. ๑๘๙๙ รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง) พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (พ.ศ. ๒๒๒๓) พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) (พ.ศ. ๒๓๓๘) และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) ทั้งนี้ไม่ว่าจากเอกสารกฎหมายตราสามดวง ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ หรือพระราชพงศาวดารทั้งสามฉบับดังกล่าว ล้วนแต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ตั้งของเมืองชากังราวได้..พระบรมราชวินิจฉัยในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.หนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยใช้พระนามแฝงว่า “ราม วชิราวุธ” .พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับเมืองชากังราวไว้ในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง ดังนี้.“...ข้าพเจ้าเชื่อตามความเห็นของท่านนักเลงโบราณคดีบางท่านว่าเมืองชากังราวที่กล่าวถึงในพงศาวดารกรุงเก่าเป็นหลายครั้งนั้นไม่ใช่อื่นไกล คือเมืองสวรรคโลกนั้นเอง พิเคราะห์ดูตามข้อความในพงศาวดาร ซึ่งมีอยู่ว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) ได้เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราวถึง ๓ ครั้ง คือจุลศักราช ๗๓๕ ปีฉลู เบญจศก เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราว พระยาชัยแก้ว พระยากำแหง เจ้าเมืองออกต่อรบ พระยาชัยแก้วตาย แต่พระยากำแหงและไพร่พลหนีเข้าเมืองได้ ทัพหลวงก็ยกกลับคืนพระนคร นี่เป็นครั้งที่ ๑ จุลศักราช ๗๓๘ ปีมะโรง อัฐศก เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราวได้ พระยากำแหงกับท้าวผากองคิดกันว่าจะยกตีทัพหลวงไม่สำเร็จเลิกหนีไป ทัพหลวงตีทัพผากองแตก ได้ท้าวพระยาเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แล้วก็เลิกทัพหลวงกลับคืนพระนคร นี่เป็นครั้งที่ ๒ จุลศักราช ๗๔๐ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก ไปเอาเมืองชากังราวอีกเป็นครั้งที่ ๓ ครั้งนั้นพระมหาธรรมราชาออกมาถวายบังคม ตรวจดูกับพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ ได้ความงอกออกไปอีกว่าขุนหลวงพงัวได้เสด็จไปเอาเมืองชากังราวอีกครั้ง ๑ เป็นครั้งที่ ๔ เมื่อจุลศักราช ๗๕๐ ปีมะโรง สัมฤทธิศก ครั้งนี้สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพงัว) ทรงพระประชวรหนักต้องเสด็จกลับ ตามข้อความเหล่านี้พึงเข้าใจได้อยู่แล้วว่าเมืองชากังราวมิใช่เมืองเล็กน้อย เป็นเมืองสำคัญอันหนึ่ง แต่เมื่อก่อนได้พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐมานั้น ไม่มีผู้ใดเดาได้เลยว่าเมืองชากังราวคือเมืองใดอยู่แห่งหนตำบลใด มาได้หนทางเดาในพงศาวดารฉบับที่กล่าวแล้วนั้น คือแห่งหนึ่งมีข้อความกล่าวไว้ว่า “ศักราช ๘๑๓ มะแมศก ครั้งนั้นมหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้แล้วจึงมาเอาเมืองสุโขทัย เข้าปล้นเมืองมิได้ก็เลยยกทัพกลับคืน” ดังนี้จึงเป็นเครื่องนำให้สันนิษฐานว่าเมืองชากังราวนั้น คือเมืองสวรรคโลก เพราะปรากฏอยู่ว่ามหาราช (เมืองเชียงใหม่) ได้ชากังราวแล้วเลยไปเอาเมืองสุโขทัย ต้องเข้าใจว่าเป็นเมืองใกล้เคียงกัน ถ้าจะนึกถึงทางที่เดินก็ดูถูกต้องดี แต่เหตุไฉนจึงเรียกชื่อเมืองสวรรคโลกว่าชากังราว ข้อนี้แปลไม่ออก...”..เนื่องจากเนื้อความในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ได้ปรากฏว่าศักราช ๗๕๐ ปีมะโรงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพ่องั่วแห่งอยุธยา) ได้เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเป็นครั้งที่ ๔ อนุมานว่าเมืองชากังราวเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง และศักราช ๘๑๓ มะแมศก ครั้งนั้น มหาราช (พระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา) มาเอาเมืองชากังราวได้แล้วจึงมาเอาเมืองสุโขทัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าเมืองชากังราว คือ เมืองสวรรคโลก เพราะปรากฏอยู่ว่าพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา ได้เมืองชากังราวแล้วเลยไปเอาเมืองสุโขทัย จึงสันนิษฐานว่าชากังราวน่าจะเป็นเมืองที่ใกล้เคียงกับเมืองสุโขทัย เพียงแต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุในการเรียกชื่อเมืองสวรรคโลกว่าชากังราวได้...เอกสารอ้างอิงกรรมการหอสมุดวชิรญาณ. (๒๔๕๐). พระราชพงษาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. โรงพิมพ์ไทย.กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. (๒๕๔๒). พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๙). กรมศิลปากร.พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. (๒๕๕๙). ศรีปัญญา.ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. (๒๕๕๙). โบราณคดีและประวัติศาสตร์ในประเทศไทยฉบับคู่มือครูสังคมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ ๒). คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง.มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๖๔). เที่ยวเมืองพระร่วง. ศรีปัญญา.สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (๒๕๔๘). ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรมศิลปากร.


         พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า          ชนิด : โลหะ ลงรักปิดทอง          ขนาด : ตักกว้าง 26.1 เซนติเมตร สูง 21.1เซนติเมตร สูงฐาน 31.5 เซนติเมตร          ลักษณะ : ตอนทรมานพระกาย ประทับบนฐานสี่เหลี่ยม ฐานหน้าจารึก เขียนด้วยรักสีดำว่า "พุทธศักราชล่วงได้ 2499 อิ่ม เป็นทายกมีจิตศัทรธาสาธารณะ พร้อมสร้างพระทุพกิริยา กับทั้งปัญจวัคคีภิกขุ ขอให้สำเร็จ แก่นิพพาน ปัจจโยโหตุ"    ประเภทการได้มา          สภาพ : สภาพสมบูรณ์ แข็งแรง          สถานที่จัดแสดง : ห้องจัดแสดงอัฐบริขาร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี            แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/inburi/360/model/01/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/inburi


ชื่อเรื่อง                     ตำราพระโอสถพระนารายณ์ผู้แต่ง                       หอพระสมุดวชิรญาณประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   แพทยศาสตร์เลขหมู่                      615.1 ต367จสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2508ลักษณะวัสดุ               104 หน้า หัวเรื่อง                     ยาภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกตำราพระโอสถพระนารายณ์คือ ตำราพระโอสถตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชกรุงเก่า ถ่ายถอดมาจากคัมภีร์ใบลาน เนื้อหากล่าวถึงตำรับยา สรรพคุณของสมุนไพร พร้อมวิธีปรุงยาแบบโบราณแก้อาการต่างๆ  


วันที่ 7 มกราคม 2566 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ สถาบันอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) จัดโครงการนิทานผลิบาน : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ การใช้นิทานสร้างกิจกรรม และสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กเล็ก ครั้งที่ 6 โดยนางทัศนีย์ เทพไชย ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วย นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ, นางสาวณัฐพร เพ็ชรกลับ บรรณารักษ์ชำนาญการ นางสาวกาญจนา ศรีเหรา , นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์ นางสาวปิยวรรณ พลอยสุกใส เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา วิทยากรโดย นางสาวอุษา ศรีนวล นักจัดการความรู้อาวุโส สถาบันอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลห้วยวังทอง ตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี


วันที่ 13 มีนาคม 2567 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับสถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park จัดโครงการนิทานผลิบาน: ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ การใช้นิทานสร้างกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ สำหรับเด็กเล็ก ประจำปี 2567 ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพธิ์นฤมิตร และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดห้วยสุวรรณาราม




โรงเรียนนายร้อยจปร. จ.นครนายก  (เวลา 08.00-12.00 น.) จำนวน 23 คน 


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จัดกิจกรรม 100 ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ กับ "100 ปี มีอะไร?? 10 สิ่งห้ามพลาดในงาน 100 ปี ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน" ประกอบด้วย            - นิทรรศการ Homecoming โบราณวัตถุคืนถิ่น "ประวัติศาสตร์" "ศรัทธา" "ศิลปะ" โบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมที่เคยไปอวดโฉมในพระนคร บัดนี้ได้กลับ "คืนถิ่น" สู่เมืองลพบุรี พร้อมบอกเล่าเรื่องราวให้กับทุกท่านแล้ว พบกับนิทรรศการพิเศษที่จัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของเมืองลพบุรีที่เคยไปอวดโฉมอยู่ต่างถิ่น ซึ่งได้นำกลับมายังภูมิลำเนาในวาระ 100 ปี ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2567 - 5 มกราคม 2568 ณ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระนารายณ์ราชนิเวศน์            - นิทรรศการ Black & White Palace เมื่อครั้ง... วังนี้สี "ขาวดำ" จัดแสดงภาพถ่ายเก่าของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ อาทิ ภาพเมื่อแรกตั้ง“ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน”ภาพถ่ายเก่าจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ที่ได้บันทึกภาพรูปแบบการจัดแสดงเมื่อปี พ.ศ. 2479 ช่วยพาเราย้อนกลับไปเมื่อช่วงแรกตั้งพิพิธภัณฑ์ที่ได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ พ.ศ.2466 จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2567 - 5 มกราคม 2568 ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล อาคารทิมดาบด้านทิศใต้            ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จะได้รับโปสเตอร์เพื่อสะสมตราประทับจากนิทรรศการพิเศษจุดต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป หรือจนกว่าของจะหมด            พิเศษ!!! สำหรับผู้ที่เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ในช่วงงาน 100 ปี ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน ระหว่างวันที่ 11 - 13 ตุลาคม 2567 จะได้รับตั๋วเข้าชมที่ประทับตรา 100 ปี ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสพิเศษนี้เท่านั้น และเมื่อนำโปสเตอร์สะสมตราประทับจากนิทรรศการพิเศษจุดต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ครบแล้ว ยังสามารถนำมาแลกของที่ระลึกพิเศษเพิ่มเติมได้อีกด้วย           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี เปิดให้บริการ วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น. ปิดให้บริการ วันจันทร์ - วันอังคาร อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท ติดตามข้อมูลข่าวสารรายละเอียดกิจกรรม ได้ที่ Facebook พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ : King Narai National Museum สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3641 1458



รวบรวมและเรียบเรียง : ประวิทน์ ตันตลานุกุล, ครูภูมืปัญญาไทย (ด้านภาษาและวรรกรรม) ปีที่พิมพ์ : 2552สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่สำนักพิมพ์ : หจก.เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์      วัดสำคัญต่างๆ ในเมืองเชียงใหม่ล้วนแล้วแต่สถาปนาขึ้น โดยพระมหากษัตริย์แทบทั้งสิ้น วัดเหล่านั้นมีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ ควรที่จะพิมพ์เผยแพร่ให้อนุชนได้ศึกาา และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมล้านนาในวันอนุรักษ์มรดกไทย


การขึ้นทะเบียนโบราณสถานมีหลักเกณฑ์อย่างไร? ต้องการสืบค้นข้อมูลโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วได้ที่ไหน?   ตอบ    หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน คือ โบราณสถานนั้นจะต้องมีคุณค่าในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และโบราณคดี เช่น เป็นสถานที่สำคัญในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เป็นอาคารที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ฯลฯ  เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรจะต้องออกไปสำรวจ เพื่อประเมินคุณค่าของโบราณสถาน หากโบราณสถานนั้นมีเจ้าของ จะต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าของรับทราบและยินยอมก่อนประกาศขึ้นทะเบียน   การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ช่วยให้สามารถคุ้มครอง ควบคุม และดูแลรักษาโบราณสถานได้อย่างเต็มที่เพราะหากจะมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้สภาพของโบราณสถาน หรือพื้นที่ที่กำหนดเป็นเขตโบราณสถานต้องเปลี่ยนแปลงไป เช่น การปลูกสร้างอาคารใหม่ในพื้นที่ การซ่อมแซมหรือบูรณะอาคาร ฯลฯ จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร   สืบค้นข้อมูลรายชื่อโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนได้จาก กลุ่มทะเบียนโบราณสถานและสารสนเทศ โทร. ๐ ๒๒๘๒ ๔๘๐๑, ๐ ๒๒๘๒ ๔๘๔๖



Messenger