ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง ลิลิตพายัพ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ซึ่งในปีนั้นการสร้างทางรถไฟสายเหนือสำเร็จตลอดถึงเมืองนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดทางรถไฟที่สถานีรถไฟบ้านพาชี แล้วเสด็จประพาสเมืองลพบุรีและมณฑลนครสวรรค์ อันเป็นที่สุดของทางรถไฟ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองพายัพ โดยมีพระราชประสงค์ให้ทรงทำความรู้จักคุ้นเคยกับเจ้านายและข้าราชการในหัวเมืองฝ่ายเหนือ รวมทั้งทอดพระเนตรบ้านเมืองในภูมิภาคนี้เพื่อจะได้เป็นแนวทางที่จะทรงพระราชดำริสั่งราชการในกาลข้างหน้าได้โดยถูกต้องต่อไป สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ได้กราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สถานีรถไฟนครสวรรค์ แล้วเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนเรือพระที่นั่งจากเมืองนครสวรรค์ไปถึงเมืองอุตรดิตถ์ ในระหว่างทางได้เสด็จประพาสเมืองพิจิตรและพิษณุโลกด้วย จากเมืองอุตรดิตถ์ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนช้างและม้าสู่เมืองแพร่แล้วเสด็จประพาสเมืองลำปาง เมืองพะเยา เมืองเชียงราย ก่อนที่จะเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ในวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ในช่วงเวลาที่เสด็จประพาสเมืองต่าง ๆ จึงทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง ลิลิตพายัพ พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เมื่อครั้งเป็นหลวงอภิรักษราชฤทธิ์ เลขานุการในพระองค์ที่ตามเสด็จครั้งนั้น เล่าว่าทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ในเวลาว่าง เมื่อถึงเวลาพิมพ์ มีพระราชประสงค์ไม่ให้ผู้ใดทราบว่าเป็นหนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ จึงใช้พระนามแฝงว่า หนานแก้วเมืองบูรพ์ โดยคำว่า “หนาน” หมายถึง ผู้ที่เคยอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ในภาษามณฑลพายัพ “แก้ว” หมายถึง วชิราวุธ และ “เมืองบูรพ์” หมายถึง พระอิสริยยศ กรมเทพทวารวดี นอกจากนี้ ยังมีผู้แต่งร่วมอีก ๓ คน ซึ่งเป็นข้าราชบริพารที่ตามเสด็จ คือ หม่อมเจ้าถูกถวิล สุขสวัสดิ์ ใช้นามแฝงว่า น้อย สบจินดา พระยาบำเรอบริรักษ์ ใช้นามแฝงว่า หนานขวาย และพระยาสุรินทราชา ใช้นามแฝงว่า นายมยูรลลิตพายัพ เป็นพระราชนิพนธ์ที่แต่งด้วยโคลงและร่าย บรรยายเกี่ยวกับบรรยากาศ สภาพดินแดนล้านนา เส้นทางการเสด็จพระราชดำเนิน สภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพชีวิตความเป็นอยู่ ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ประเพณีต่าง ๆ ตลอดจนการพัฒนาด้านคมนาคม ด้านการศึกษา และการกระจายความเจริญจากส่วนกลางไปสู่หัวเมือง รวมทั้ง สอดแทรกตำนานพื้นเมืองของสถานที่ที่เสด็จพระราชดำเนิน เช่น ตำนานพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ ตำนานหลักเมืองหรือตำนานเสาอินทขิล จังหวัดเชียงใหม่ ตำนานพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ตำนานพระเจ้าตนหลวง จังหวัดพะเยา วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เนื่องในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าและวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ขอร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หนังสือพระบารมีปกเกล้าฯ ยุพราชวิทยาลัย ๑๐๐ ปี นามพระราชทาน นครเชียงใหม่ : ประวัติศาสตร์ การพัฒนา การศึกษา และสังคมนครเมืองเชียงใหม่อ้างอิง : ๑. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๕๑๐. ลิลิตพายัพ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. พระนคร: มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. (มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย จัดพิมพ์โดยเสด็จพระกุศล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงบำเพ็ญในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๐).๒. โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย. ๒๕๕๐. พระบารมีปกเกล้าฯ ยุพราชวิทยาลัย ๑๐๐ ปี นามพระราชทาน นครเชียงใหม่ : ประวัติศาสตร์ การพัฒนา การศึกษา และสังคมนครเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.๓. วศวรรษ สบายวัน. ๒๕๖๑. “การใช้เวลาในการเล่าเรื่องในลิลิตพายัพ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.” HOSO Journal of Humanities and Social Sciences. ๒(๒): ๙๗-๑๓๐.
นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)
ชบ.บ.75/1-1ง
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)
ชบ.บ.95ข/1-18
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.305/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 18 หน้า ; 4 x 54 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124 (287-301) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิรมฺม (อภิธัมมสังคิณี-พระมาหาปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
. ในช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังจะเข้าสู่ 'ประเพณียี่เป็ง' ของล้านนาค่ะ จะเห็นได้ว่าตามวัดและบ้านเรือนต่างๆ เริ่มประดับประดาโคมไฟหลากหลายสีสัน ก่อให้เกิดเป็นภาพงดงามซึ่งจะมีโอกาสได้เห็นกันในช่วงประเพณีนี้เท่านั้นค่ะ. ประเพณียี่เป็ง หรือประเพณีเดือนยี่ เป็นประเพณีเก่าแก่ของล้านนาที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ โดยคำว่า “ยี่” แปลว่า สอง “เป็ง” แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนานั้นเอง. กิจกรรมอีกหนึ่งอย่างที่ชาวล้านนานิยมทำกันในวันนี้คือ การจุดผางประทีปและโคมไฟบูชาพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ และอธิษฐานขอพรเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองค่ะ . พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จึงขอพาทุกๆท่านไปทำรู้จักกับ”โคมยี่เป็ง : มนต์เสน่ห์แห่งล้านนา ” พร้อมกับเก็บภาพบรรยายงานประเพณียี่เป็งของเชียงใหม่ในปีนี้ค่ะ มาฝากทุกๆท่านค่ะ """"""""""""""""""""""""/// ความหมายของโคม ///. “โคม” หรือ ภาคเหนือออกเสียงว่า “โกม” หมายถึง ตะเกียง หรือ เครื่องโคมไฟ ซึ่งมีบังลม อาจทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม, แปดเหลี่ยม, วงกลม หรือทรงอื่นๆ หิ้วหรือแขวน ตามที่ต่างๆ เพื่อให้แสงสว่างโดยตรงและเป็นเครื่องบูชาสิ่งที่เคารพนับถือ/// ความสำคัญและความเชื่อของการจุดโคมยี่เป็ง ///. “โคม” เป็นงานหัถตกรรมพื้นบ้าน ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ให้คงอยู่สืบต่อจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือ ซึ่งชาวล้านนาใช้เพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง โดยเชื่อกันว่าแสงประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข. นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า การปล่อยโคมขึ้นบนท้องฟ้า เป็นการลอยเคราะห์ลอยนาม โคมที่ปล่อยขึ้นไปนั้นก็เพื่อจะให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสรรค์อันเป็นที่บรรจุพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีจออีกด้วยค่ะ /// ประเภทของโคมยี่เป็ง /// มีหลักๆอยู่ 4 ประเภท ได้แก่--- 1.โคมถือ. โคมถือ คือ โคมที่มีกำบังทำด้วยกระดาษสี มี 2 แบบ คือ “โคมหูกระต่าย” จะมีลักษณะคล้ายหูกระต่าย มักใช้ถือไปเดินขบวนแห่งานลอยกระทง ข้างในโคมจะจุดเทียนไขไว้ เมื่อเดินขบวนเสร็จแล้ว ก็จะนำไปปักไว้บริเวณรอบๆ โบสถ์ วิหาร หรือ สถานที่มีงานพิธีกรรม ส่วนอีกแบบคือ “โคมกลีบบัว” มีลักษณะคล้ายกลีบบัว มีด้ามไม้ใช้ถือคล้ายๆเป็นก้านดอกบัว เมื่อแห่ขบวนเสร็จแล้วมักจะนำไปบูชาพระประธานในพระวิหาร--- 2.โคมลอย. โคมลอย คือ โคมที่จุดแล้วปล่อยให้ลอยไปในอากาศ มีลักษณะเป็นรูปถุงทรงกระบอก ก้นใหญ่ปากแคบ ทำด้วยกระดาษว่าว โคมลอยที่ปล่อยขึ้นไปนั้น เชื่อกันว่าจะให้ลอยขึ้นไป เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์อันเป็นที่บรรจุพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีจอ หรือเพื่อบูชาแก่เจ้าผู้ใช้กำเนิดของตนบนสวรรค์ ที่เรียกว่า "พ่อเกิดแม่เกิด" --- 3.โคมแขวน. โคมแขวน คือ โคมที่ใช้แขวนบนหลักหรือขื่อ นิยมแขวนในวิหาร โบสถ์ หรือทำค้างไม้ไผ่ชักรอกแขวนข้างโบสถ์ วิหาร เพื่อเป็นพุทธบูชา หรือใช้ตกแต่งบ้านเรือน เพื่อบูชาเทพารักษ์ ผู้รักษาหอเรือน อาคารบ้านเรือนก็ได้ โคมแขวนมีหลากหลายรูปแบบและรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป เช่น โคมรังมดส้ม (โคมเสมาธรรมจักร), โคมดาว โคมไห, โคมเงี้ยว (โคมเพชร), โคมกระบอก เป็นต้น--- 4. โคมผัด. โคมผัด คือ โคมที่มีภาพไว้ตรงที่ครอบ เมื่อจุดไฟแล้วที่ครอบนั้นจะหมุน ทำให้เงาของภาพสะท้อนบนพื้นผนัง บอกเล่าเรื่องราวภาพในตัวโคมได้ มักนิยมทำเป็นรูป 12 ราศี. โคมผัด เป็นภาษาพื้นเมือง คำว่า "ผัด" แปลว่า หมุนหรือเวียนไปรอบ ดังนั้น โคมผัดคือโคมที่มีลักษณะหมุนไปรอบๆ หรือเวียนไปรอบๆ เมื่อจุดไฟในโคมก็จะเกิดอากาศร้อนลอยสูงขึ้น อากาศเย็นจะเวียนเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดเป็นกระแสอากาศเบาๆ พัดให้โคมหมุนไปรอบๆทำให้ตัวโคมที่ติดรูปภาพต่างๆ หมุนไปเกิดการสะท้อนของภาพไปตกอยู่ที่ตัวโคม ซึ่งเป็นฉากอยู่ทำให้เกิดความสวยงาม โคมผัดจะตั้งไว้เป็นที่ ไม่เคลื่อนย้าย""""""""""""""""""""""""""". “โคม” กับงานประเพณียี่เป็ง ถือได้ว่าเป็นของคู่กัน แต่ก่อนชาวล้านนามีโคมใช้ไม่แพร่หลายมากนัก จุดประสงค์ของการใช้สอยของโคมไฟโบราณทำขึ้นเพื่อใช้เป็น ตะเกียง หรือสิ่งประดิษฐ์ สำหรับจุดไฟให้สว่าง แต่ด้วยเหตุผลที่น้ำมันมีราคาแพง ประเพณีการจุดโคมแต่เดิมจึงมักมีเฉพาะในพระราชสำนักและบ้านเรือน ของเจ้านายใหญ่โต เท่าที่ผ่านมาชาวล้านนาจะใช้โคมไฟในฐานะของเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องใช้ในพิธีกรรมเท่านั้น. ในปัจจุบันโคมไฟถูกนำไปใช้อย่างหลากหลาย เช่น ตกแต่ง บ้านเรือน โรงแรม รีสอร์ท วัด สถานที่ราชการ และเอกชน เพื่อความสวยงามดูบรรยากาศสบายๆแบบล้านนา และเสริมความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน ซึ่งชาวล้านนาเชื่อว่า การจุดโคมไฟนั้น จะนำความเจริญรุ่งเรืองและความสุขมาให้กับตนและครอบครัวต่อไป--------------------------. ช่วงนี้อากาศในเชียงใหม่กำลังดีเลยค่ะ ยิ่งช่วงเวลากลางคืน ลมหนาวเย็นๆพัดมา บวกกับบรรยากาศแสงเทียนจากโคมยี่เป็งและจากผางประทีปตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ ก่อให้เกิดเป็นภาพที่งดงามจริงๆค่ะ . ทางพิพิธภัณฑ์ของเราเลยเก็บภาพสวยๆมาฝากทุกๆท่าน หากมีโอกาสแวะมาเที่ยวประเพณียี่เป็งที่จังหวัดเชียงใหม่ได้นะคะ พบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้าค่ะ ---------------------------/ เอกสารอ้างอิง /มณี พยอมยงค์. (๒๕๔๗). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.ศรีเลา เกษพรหม. (๒๕๔๒). ล่องสะเพา. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๑, หน้า ๕๘๕๐-๕๘๕๐). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.สงวน โชติสุขรัตน์. (๒๕๑๑). ประเพณีไทย ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์.https://lampssky.com/โคมล้านนามรดกของชาวเหนือ เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ย. 2564/ ภาพประกอบ / คุณกานต์ธีรา ไชยนวล และ คุณวรรณพร ปินตาปลูก""""""""""""""""""""""""""""""""""""""พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.e-mail: cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call: +66 5322 1308+
#พี่นักโบชวนเที่ยวทิพย์ "...ตามรอยสยามมกุฎราชกุมาร ทอดพระเนตรโบราณสถาน...เมืองนครราชสีมา..."
.
นับตั้งแต่ กิจการรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เปิดเดินรถอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2443 โดยมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชสีมา ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดเส้นทางเป็นปฐมฤกษ์ นั้น กิจการรถไฟสยามก็เติบโตเรื่อยมา โดยนำความเจริญมาสู่เมืองนครราชสีมา ในฐานะประตูสู่ที่ราบสูง ก่อให้เกิดการคมนาคม การแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภคและบริโภคได้สะดวก และหลากหลายมากยิ่งขึ้น จึงนับได้ว่ากิจการรถไฟทำให้เมืองนครราชสีมาเติบโตอย่างก้าวกระโดดจนถึงปัจจุบัน
.
หลังจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชได้ 3 ปีนั้น ในปี พ.ศ.2446 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวดำรงพระอิสริยายศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (ขณะนั้นมีพระชนมายุ 22 พรรษา) พร้อมด้วยสมเด็จพระลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ (ขณะนั้นมีพระชนมายุ 14 พรรษา) และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขณะนั้นมีพระชนมายุ 41 พรรษา) ได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชสีมา ในระหว่างวันที่ 10-20 มกราคม พ.ศ.2446 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจราชการเมืองนครราชสีมา ในฐานะศูนย์กลางมณฑลนครราชสีมา (ลาวกลาง) และเสด็จทอดพระเนตรโบราณสถานในหลายแห่ง อาทิ 1. อำเภอสูงเนิน ประกอบด้วย เมืองโบราณเสมา ปราสาทเมืองแขก ปราสาทโนนกู่ 2. อำเภอพิมาย ประกอบด้วย ปราสาทพิมาย ท่านางสระผม กุฏิฤาษี ไทรงาม และ 3. อำเภอเมืองนครราชสีมา ประกอบด้วย ปราสาทพนมวัน
.
โดยในวันนี้ พี่นักโบ ขอพาทุกท่านตามรอยสยามมกุฏราชกุมาร เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เเละคณะ เสด็จทอดพระเนตรโบราณสถาน กันครับ
#เริ่มต้นเสด็จทอดพระเนตรโบราณสถาน...
°วันที่ 12 มกราคม เวลาเช้า 1 โมงเศษ ได้เสด็จทรงม้าไปประทับรถไฟพิเศษไปประพาสอำเภอสูงเนิน เมื่อถึงสะเตชั่นสูงเนิน ได้เสด็จทรงม้าไปประทับที่ว่าการอำเภอประมาณครู่หนึ่ง แล้วเสด็จไปทอดพระเนตรเสมาร้าง (สันนิษฐานว่าคือเมืองโบราณเสมา) แลเทวสถานที่เมืองเก่า ซึ่งราษฎรเรียกว่าเมืองแขก กับเทวสถานกู่แลเทวสถานที่เมืองเก่า แล้วเสด็จพระราชดำเนินขึ้นรถไฟพิเศษที่ตำบลกุดจิก กลับไปประทับพลับพลาเมืองนครราชสีมา
.
°วันที่ 14 มกราคม เวลาเช้า 1 โมงเศษ เสด็จทรงม้าออกจากหนองบัวบ้านตูม (บ้านตูม ตำบลทองหลาง อำเภอจักราช) ไปประทับร้อนที่พลับพลาห้วยศักราช (ปัจจุบันเรียก ห้วยจักราช) อำเภอ #เมืองพิมาย เวลาบ่าย 1 โมงเศษ เสด็จทรงช้างไปถึงวังหิน แล้วเสด็จประทับเรือทอดพระเนตรลำน้ำวังหิน ไปขึ้นที่ท่าริมเมือง แล้วเสด็จทรงช้างมาประทับแรมที่พลับพลาเมืองพิมาย เวลาประมาณย่ำค่ำเศษ
.
°วันที่ 15 มกราคม เวลาเช้า เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร #ปราสาทหินแลคลังเงิน (ปัจจุบันเรียก พลับพลาเปลื้องเครื่อง ปราสาทพิมาย) ซึ่งก่อด้วยหิน ตามที่ราษฎรได้เรียกกันมาแต่เดิม เมื่อทรงทอดพระเนตรทั่วแล้ว ได้เสด็จกลับยังพลับพลา ครั้นเวลาบ่ายได้เสด็จวอทอดพระเนตร #สระเพลง แล #เมรุพรหมทัตแล้วเสด็จประทับพลับพลาที่สนามหญ้าริมที่ว่าการอำเภอ ทอดพระเนตรมวย แล้วเสด็จประทับที่ว่าการอำเภอพิมาย มีรับสั่งให้นายเหม นายอำเภอเมืองพิมาย ทดลองเครื่องสัญญาชนิดที่เรียกลูกบ้าน มาประชุมจับโจรผู้ร้าย เมื่อลูกบ้านถือสาตราวุธมาประชุมพร้อมกัน ทอดพระเนตรแล้วเสด็จกลับพลับพลาที่ประทับ
.
°วันที่ 16 มกราคม เวลาเช้า เสด็จทรงม้าไปทอดพระเนตร #ท่านางสระผม #กุฏิฤาษี #ไทรงาม แล้วเสด็จลงประทับเรือมาตามลำน้ำมูล มาขึ้นที่ท่าสงกรานต์ เลยเสด็จกลับมายังพลับพลา ทอดพระเนตรการที่นายอำเภอลองเครื่องสัญญาชนิดจับโจรอีก เพื่อให้ช่างถ่ายรูปลูกบ้านที่มาประชุมนั้นไว้ แล้วทอดพระเนตรมวย ซึ่งนายอำเภอจัดมาถวาย
.
°วันที่ 17 มกราคม เวลาเช้า เสด็จทรงช้างออกจากอำเภอเมืองพิมายมาประทับร้อนที่พลับพลาบ้านโคกพระ เวลาบ่ายประมาณ 2 โมง เสด็จทรงม้ามาประทับแรมที่พลับพลาบ้านทองหลาง อำเภอกลาง (สันนิษฐานว่าคือ บ้านทองหลาง ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง) ในที่นั้นได้มีมวยถวายทอดพระเนตร 1 คู่
.
°วันที่ 18 มกราคม เสด็จทรงช้างจากพลับพลาบ้านทองหลางมาประทับพักร้อนพลับพลาวัดพนมวัน ท้องที่อำเภอเมือง แลทรงทอดพระเนตรเพลงและ #ปราสาทหิน เวลาบ่าย เสด็จทรงช้างเข้าเมืองนครราชสีมา ประทับพลับพลาที่กองทหาร จนกระทั่งเช้าวันที่ 20 มกราคม จึงประทับรถไฟพิเศษกลับกรุงเทพฯ
กว่า 6 วัน ที่พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ให้
.
ความสนใจในการเสด็จทอดพระเนตรโบราณสถาน ทั้งในเขตอำเภอสูงเนิน อำเภอพิมาย และอำเภอเมืองนครราชสีมา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นในการสำรวจโบราณสถานต่างภูมิภาค เพราะหลังจากเสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชาสีมาได้ 4 ปีนั้น พระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรโบราณสถานที่เมืองกำแพงเพชร เมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองศรีสัชนาลัย เมืองพิษณุโลก และเมืองพิจิตร กว่า 67 วัน ดังปรากฏในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง ซึ่งสามารถตามไปอ่านกันได้เลยครับ
.
เอกสารอ้างอิง
อ้างอิงข้อมูลจาก สำเนา ลายพระหัตถ์ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ถึง กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จตรวจประพาสตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา ที่ 2453/13050 ลงวันที่ 4 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 122 (พ.ศ.2446) จากหนังสือรวมเรื่องเมืองนครราชสีมา น.178-182
.
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ
ออกแบบกราฟฟิกโดย นายธันยธรณ์ วรรณโพธิพร ผู้ช่วยนักโบราณคดี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์) สพ.บ. 421/13กหมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง หิมพานต์ ชาตกประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ 40 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 55.7 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
50Royalinmemory ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๐๖ (๑๕๙ ปีก่อน) - วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ [พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าชั้นเอก]
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) กับเจ้าจอมมารดาบัว (สกุลเดิม ณ นคร) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ มีพระโอรส-ธิดา ๗ พระองค์ สิ้นพระชนม์วันที่ ๕ เมษายน ๒๔๖๖ พระชันษา ๖๑ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๗๔.)
Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๒๐ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖
(เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาสวันพิพิธภัณฑ์ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ เรื่อง “พระพุทธศาสนาในเมืองลำพูน” จัดแสดงระหว่างเดือนกันยายน ๒๕๖๕ - สิงหาคม ๒๕๖๖
นิทรรศการครั้งนี้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาในเมืองลำพูน ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของภาคเหนือที่เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ตั้งแต่สมัยหริภุญไชย สืบเนื่องมาในสมัยล้านนาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ผ่านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นเยี่ยม
ขอเชิญชวนผู้สนใจเรียนรู้ประวัติศาสตร์อารยธรรมเมืองลำพูน ชมการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ “พระพุทธศาสนาในเมืองลำพูน” ณ พิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน เปิดทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๓๕๑ ๑๑๘๖ หรือติดตามข่าวสารกิจกรรมอื่นๆ ได้ทางเฟสบุ๊ก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ลำพูน
#มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๐๕ วันประสูติพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช และเป็นพระองค์เดียวที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม พระสนมเอก ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๐๕ ชาววังออกพระนามโดยลำลองว่า "พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร หรือ เสด็จพระองค์ดิศ" โดยรัชกาลที่ ๔ ทรงนำเอานามของพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาชุ่มมาตั้งพระราชทาน เนื่องจากทรงพระราชดำริว่าท่านเป็นคนซื่อตรง.พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือไทยชั้นต้นจากสำนักคุณแสงและคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง ซึ่งมีมิสเตอร์ ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์ พุทธศักราช ๒๔๑๘ ขณะพระชันษา ๑๓ ปี ผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร.ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๒๙ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ครั้นพุทธศักราช ๒๔๓๐ ได้เป็นนายพลตรี ราชองครักษ์ (มหาดเล็ก) ตำแหน่งผู้ช่วยบัญชาการทหารบกในกรมยุทธนาธิการ แล้วเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการ และพุทธศักราช ๒๔๓๒ เป็นอธิบดีกรมธรรมการต่อมาพุทธศักราช ๒๔๓๔ ได้เป็นราชทูตพิเศษเสด็จไปยุโรป ครั้ง ๑ ครั้นวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ โปรดเกล้าฯ เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เลื่อนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๔๒.ในรัชกาลที่ ๖ ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ อิศริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารราชกฤตยานุสร อาทรประพาสการสวัสดิ์ วรรัตนปัญญาศึกษาพิเศษ นรินทราธิเบศร์บรมวงศ์อดิศัย ศรีรัตนตรัยคุณธาดา อุดมเดชานุภาพบพิตร ในพุทธศักราช ๒๔๕๘ เป็นเสนาบดีที่ปรึกษา เป็นสภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร ครั้นพุทธศักราช ๒๔๖๕ เป็นกรรมการตรวจชำระกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นกรรมการสภาการคลัง แล้วเป็นเสนาบดีกระทรวงมุรธาธรและเป็นนายพลเอก ราชองครักษ์พิเศษ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๖.ถึงรัชกาลที่ ๗ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๘ เป็นอภิรัฐมนตรีครั้นวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๖๙ เป็นนายกราชบัณฑิตยสภา แล้วเลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารรัฐประศาสน์ ปิยมหาราชนรานุศิษย์ ไพศาลราชกฤตยการี โบราณคดีปวัติศาสตรโกศล คัมภีรพนธนิรุกติปฏิภาน ราชบัณฑิตวิธานนิติธรรมสมรรถ ศึกษาภิวัธปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวาศรัย พุทธาทิไตรสรณาทรพิเศษ คุณาภรณ์ธรรมิกนาถบพิตร เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๒.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๘๖ สิริพระชันษา ๘๑ ปี เป็นต้นราชสกุล ดิศกุล.ภาพ : พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
แนะนำหนังสือน่าอ่าน เรื่อง จดหมายเหตุกรณีกราดยิง ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมากรมศิลปากร, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. จดหมายเหตุกรณีกราดยิง ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 2565. 399 หน้า. ภาพประกอบ.สืบเนื่องจากเหตุการณ์กรณีกราดยิงประชาชนที่ศูนย์การค้าเทอร์มินอล ๒๑ โคราช จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันเสาร์ที่ ๘ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ จนมีผู้เสีย ชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงมอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รวบรวมและประมวลเอกสารทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ตั้งแต่เกิดเหตุ การบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ รวมถึงการแก้ไขสถานการณ์ การไว้อาลัย การจัดพิธีการศาสนาและการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างกำลังใจ โดยเฉพาะพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระกรุณาธิคุณของพระบรมวงศานุวงศ์ และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือจดหมายเหตุกรณีกราดยิง ณ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ เรื่อง "ค้างคาว ลวดลายแห่งโชคลาภ"ผนังวิหารวัดนางพญา เมืองศรีสัชนาลัย ปรากฏลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ที่เกิดจาการผสมผสานลายที่เป็นมงคลต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ “ลายค้างคาว” สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลรูปแบบมาจากศิลปกรรมจีน ผ่านการเข้ามามีอำนาจเหนือเมืองศรีสัชนาลัยของอาณาจักรอยุธยา ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลายค้างคาวของวัดนางพญา มีลักษณะเป็นขมวดลายใบไม้ธรรมชาติ ประดับมุมอยู่ที่บริเวณกรอบสี่เหลี่ยมทั้งในแนวตั้งและแนวนอนของผนังวิหาร โดยค้างคาว ภาษาจีนออกเสียงว่า เปียนฝู biān fú (蝙蝠) คำว่า 蝠 (ฝู) พ้องเสียงกับคำว่า 福 (ฝู) ที่มีความหมายว่า โชคลาภ โชคดี เหตุนี้ชาวจีนตั้งแต่สมัยโบราณจึงนับถือค้างคาวเป็นสัตว์มงคล นิยมนำมาตกแต่งเป็นลวดลายบนสิ่งของเครื่องใช้ ภาชนะดินเผา และสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ลวดลายดังกล่าวยังมีลักษณะคล้ายกับลวดลายปูนปั้นผนังสกัดหน้าวิหารวัดไลย์ จ.ลพบุรี และยังคล้ายกับลวดลายสลักไม้มุมบานประตูวิหารพระทรงม้าหรือวิหารพระมหาภิเนษกรมณ์ ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราชอีกด้วย นับเป็นความฉลาดของช่างในการเปลี่ยนพื้นที่สี่เหลี่ยมให้กลายเป็นวงกลม และได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ลายปูนปั้นวัดนางพญาตอนที่ ๑ “หรูอี้” ลวดลายแห่งสิริมงคล : https://www.facebook.com/photo/?fbid=336988361942695&set=a.255972353377630ตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถาน: https://goo.gl/maps/npdYUTYsqj2vWsjs5เอกสารอ้างอิงกนกพร ศรีญาณลักษณ์. “การสื่อความหมายของภาพมงคลจีน.” วารสารจีนศึกษา ๔, ๔ (เมษายน ๒๕๕๔): ๒๒ – ๔๓.สงวน รอดบุญ. พุทธศิลป์สุโขทัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๓.สันติ เล็กสุขุม. ความสัมพันธ์จีน-ไทย โยงใยในลวดลายประดับ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๐.วิไลรัตน์ ยังรอต และธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์. คู่มือท่องเที่ยว - เรียนรู้ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๑.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 55/3ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา