พระพุทธรูปไม้ ศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์
สวัสดีทุกท่านค่ะ ช่วงนี้ก็ใกล้เข้าสู่เทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2565 กันแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ของเราก็มี #องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ พร้อมกิจกรรมดีๆ มาต้อนรับเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้ กับองค์ความรู้เรื่อง "พระพุทธรูปไม้ ศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์" พระพุทธรูปสมัยนี้มีลักษณะอย่างไร และความสำคัญเช่นไร มาติดตามไปพร้อมๆ กันเลยค่าา
.
.
ประเทศเมียนมาร์เป็นประเทศที่เป็นอู่อารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งในดินแดนอุษาคเนย์ รูปแบบงานศิลปกรรม และวัฒนธรรมมากมายจากพม่าหรือเมียนมาร์ได้มีความเกี่ยวข้องหรือส่งอิทธิพลต่องานศิลปกรรมในประเทศไทยหลายยุคสมัย ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมฝาผนัง นับตั้งแต่สมัยทวารวดี หริภุญไชย สุโขทัย ล้านนา อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ซึ่งเรามักจะพบศิลปะพม่ามีอิทธิพลโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดในศิลปะล้านนา และรัตนโกสินทร์ช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 – 25 ที่มีการอพยพและกวาดต้อนชาวมอญ พม่า เข้ามายังสยาม และการอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อเข้ามาทำกิจการป่าไม้ของชาวพม่าและชาวไทใหญ่ในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย เช่น แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน ชาวมอญ พม่า และไทใหญ่ เมื่อย้ายถิ่นฐานมาอาศัยในประเทศไทยในปัจจุบันแล้ว ก็ได้นำช่างมาก่อสร้างวัด อาคาร ศาสนสถานในรูปแบบศิลปะของเชื้อชาติตนเข้ามาด้วย พระพุทธรูปจึงเป็นประติมากรรมสำคัญอย่างหนึ่งที่นิยมสร้างพร้อมกันกับการสร้างศาสนสถานเนื่องในศาสนาพุทธของชาวมอญ พม่า และไทใหญ่
.
ในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 – 25 ตรงกับสมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ) (พ.ศ. 2295 – 2428) ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอังวะ อมรปุระ และมัณฑะเลย์ ทั้งนี้ ศิลปะพม่าสมัยมัณฑะเลย์น่าจะเป็นหนึ่งในรูปแบบศิลปะพม่าที่คุ้นตาของคนไทยมากที่สุด ทั้งการสร้างเจดีย์และอาคารทรงปยาทาด อันเป็นอาคารที่มีเรือนยอดซ้อนชั้นกันหลายๆ ชั้น มักนิยมสร้างเป็นอุโบสถ วิหาร หรือหอไตร ในส่วนของพระพุทธรูปสมัยมัณฑะเลย์ มีการสร้างด้วยวัสดุที่หลากหลาย ทั้งโลหะผสม (สำริดหรือทองเหลือง) หินอ่อน ปูน รักสมุก (การใช้ไม้ไผ่สานโครงให้เป็นรูปทรงพระพุทธรูป จากนั้นช่างจะใช้เถ้าถ่านหรือเศษขี้เลื่อยที่ได้จากการเผาคัมภีร์ใบลานต่างๆ มาพอกทับโครงไม้ไผ่สาน เมื่อวัสดุที่พอกแห้งดีแล้ว จึงทำการลงรักและตกแต่งพระพุทธรูปให้มีความสวยงามตามรูปแบบศิลปะ) และไม้ ซึ่งเป็นวัสดุประเภทหนึ่งทีนิยมนำมาสร้างพระพุทธรูปอย่างมาก
.
พระพุทธรูปศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์ มีลักษณะที่โดดเด่น คือ พระพุทธรูปมีความสมจริงคล้ายมนุษย์ โดยส่วนพระพักตร์มีการสร้างให้พระเนตรมองตรง และประดับอัญมณี เช่น นิลและมุก เพื่อให้คล้ายดวงตาของมนุษย์ พระโอษฐ์มีลักษณะสมจริง ขมวดพระเกศาเล็กมาก อุษณีษะ (มวยผม) สูงมาก และไม่มีรัศมี ริ้วจีวรเป็นริ้วแบบธรรมชาติ ปลายจีวรเป็นหยักโค้งไปมา ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับอิทธิพลการสร้างริ้วจีวรเช่นนี้มาจากศิลปะจีน กรอบพระพักตร์เป็นแถบหนา มีไรพระศก และมักทำลวดลายพร้อมประดับอัญมณีหรือกระจกสีที่กรอบพระพักตร์และขอบจีวร คล้ายพระพุทธรูปทรงเครื่อง (พระพุทธรูปที่มีการทรงเครื่องประดับต่างๆ อย่างกษัตริย์ อาทิ มงกุฎ กุลฑล กรองศอ สังวาลย์ และทับทรวง เป็นต้น) ขณะเดียวกันพระพุทธรูปทรงเครื่องเองก็ยังคงนิยมสร้างในสมัยนี้อยู่ โดยสืบทอดแนวคิดมาจากสมัยอังวะ (ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24) ตามคติชมพูบดีสูตร ซึ่งเป็นพุทธประวัติตอนหนึ่งในคัมภีร์พุทธศาสนา นิกายเถรวาท ที่ชาวพม่าให้ความเคารพนับถือ ในพุทธประวัติได้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้เนรมิตพระองค์ให้มีขนาดพระวรกายใหญ่โต พร้อมทรงเครื่องประดับอย่างกษัตริย์ เพื่อสั่งสอนพญาชมพูบดีผู้เป็นกษัตริย์ที่ไม่ยอมรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งพญาชมพูบดีเชื่อฟังในคำสอนของพระพุทธเจ้าและออกผนวช จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
.
พระพุทธรูปศิลปะพม่า ไม่ได้มีเพียงสกุลช่างหลวงของพม่าเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ยังมีสกุลช่างอื่นๆ อีกมากที่มีลักษณะปลีกย่อยแตกต่างกันไปตามชาติพันธุ์นั้นๆ อาทิ สกุลช่างมอญ สกุลช่างอาระกัน (ยะไข่) และสกุลช่างไทใหญ่ เป็นต้น แต่ในสมัยมัณฑะเลย์อาจถือได้ว่าเป็นยุคศิลปะบริสุทธิ์ของพม่า เนื่องจากมีการรวบรวมเอาศิลปะจากสกุลช่างต่างๆ มาพัฒนาเป็นรูปแบบศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ในช่วงยุคหลังมาจนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูปไม้ศิลปะพม่าสมัยมัณฑะเลย์จึงได้รับความนิยมในกลุ่มนักสะสมของเก่า หรือผู้ค้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จึงมีการผลิตซ้ำพระพุทธรูปไม้รูปแบบศิลปะพม่าสมัยมัณฑะเลย์ เพื่อนำเข้าหรือส่งออกเป็นจำนวนมาก นี่จึงเป็นหลักฐานที่บ่งบอกถึงสุนทรียภาพของพระพุทธรูปศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์ เป็นที่ยอมรับว่ามีความงดงามอย่างมีเอกลักษณ์ตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน
.
เอกสารอ้างอิง
1). เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2560). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส.
2). ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2557). ศิลปะพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน.
3). สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์. (2550). พระพุทธรูปศิลปะพม่า ประวัติศาสตร์ชนชาติพม่ากับปฏิมากรรมในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สยามอินเตอร์เนชั่นแนลบุคส์.
.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมสักการะพระสิงห์ และพระพุทธรูปไม้ พระอุปคุตและพระสาวกไม้ รูปแบบศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์ รวม 9 องค์ พร้อมทั้งสักการะพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อความเป็นสิริมงคลตลอดเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 นี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2564 – 30 มกราคม 2565
.
พิเศษ!! พิพิธภัณฑ์ของเรามีของขวัญปีใหม่แจกให้ทุกท่านที่เข้าชมนิทรรศการฟรี ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม และตลอดเดือนมกราคม 2565 หรือจนกว่าของจะหมด รีบมาชมกันเยอะๆ นะคะ
.
.
ประเทศเมียนมาร์เป็นประเทศที่เป็นอู่อารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งในดินแดนอุษาคเนย์ รูปแบบงานศิลปกรรม และวัฒนธรรมมากมายจากพม่าหรือเมียนมาร์ได้มีความเกี่ยวข้องหรือส่งอิทธิพลต่องานศิลปกรรมในประเทศไทยหลายยุคสมัย ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมฝาผนัง นับตั้งแต่สมัยทวารวดี หริภุญไชย สุโขทัย ล้านนา อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ซึ่งเรามักจะพบศิลปะพม่ามีอิทธิพลโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดในศิลปะล้านนา และรัตนโกสินทร์ช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 – 25 ที่มีการอพยพและกวาดต้อนชาวมอญ พม่า เข้ามายังสยาม และการอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อเข้ามาทำกิจการป่าไม้ของชาวพม่าและชาวไทใหญ่ในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย เช่น แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน ชาวมอญ พม่า และไทใหญ่ เมื่อย้ายถิ่นฐานมาอาศัยในประเทศไทยในปัจจุบันแล้ว ก็ได้นำช่างมาก่อสร้างวัด อาคาร ศาสนสถานในรูปแบบศิลปะของเชื้อชาติตนเข้ามาด้วย พระพุทธรูปจึงเป็นประติมากรรมสำคัญอย่างหนึ่งที่นิยมสร้างพร้อมกันกับการสร้างศาสนสถานเนื่องในศาสนาพุทธของชาวมอญ พม่า และไทใหญ่
.
ในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 – 25 ตรงกับสมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ) (พ.ศ. 2295 – 2428) ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอังวะ อมรปุระ และมัณฑะเลย์ ทั้งนี้ ศิลปะพม่าสมัยมัณฑะเลย์น่าจะเป็นหนึ่งในรูปแบบศิลปะพม่าที่คุ้นตาของคนไทยมากที่สุด ทั้งการสร้างเจดีย์และอาคารทรงปยาทาด อันเป็นอาคารที่มีเรือนยอดซ้อนชั้นกันหลายๆ ชั้น มักนิยมสร้างเป็นอุโบสถ วิหาร หรือหอไตร ในส่วนของพระพุทธรูปสมัยมัณฑะเลย์ มีการสร้างด้วยวัสดุที่หลากหลาย ทั้งโลหะผสม (สำริดหรือทองเหลือง) หินอ่อน ปูน รักสมุก (การใช้ไม้ไผ่สานโครงให้เป็นรูปทรงพระพุทธรูป จากนั้นช่างจะใช้เถ้าถ่านหรือเศษขี้เลื่อยที่ได้จากการเผาคัมภีร์ใบลานต่างๆ มาพอกทับโครงไม้ไผ่สาน เมื่อวัสดุที่พอกแห้งดีแล้ว จึงทำการลงรักและตกแต่งพระพุทธรูปให้มีความสวยงามตามรูปแบบศิลปะ) และไม้ ซึ่งเป็นวัสดุประเภทหนึ่งทีนิยมนำมาสร้างพระพุทธรูปอย่างมาก
.
พระพุทธรูปศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์ มีลักษณะที่โดดเด่น คือ พระพุทธรูปมีความสมจริงคล้ายมนุษย์ โดยส่วนพระพักตร์มีการสร้างให้พระเนตรมองตรง และประดับอัญมณี เช่น นิลและมุก เพื่อให้คล้ายดวงตาของมนุษย์ พระโอษฐ์มีลักษณะสมจริง ขมวดพระเกศาเล็กมาก อุษณีษะ (มวยผม) สูงมาก และไม่มีรัศมี ริ้วจีวรเป็นริ้วแบบธรรมชาติ ปลายจีวรเป็นหยักโค้งไปมา ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับอิทธิพลการสร้างริ้วจีวรเช่นนี้มาจากศิลปะจีน กรอบพระพักตร์เป็นแถบหนา มีไรพระศก และมักทำลวดลายพร้อมประดับอัญมณีหรือกระจกสีที่กรอบพระพักตร์และขอบจีวร คล้ายพระพุทธรูปทรงเครื่อง (พระพุทธรูปที่มีการทรงเครื่องประดับต่างๆ อย่างกษัตริย์ อาทิ มงกุฎ กุลฑล กรองศอ สังวาลย์ และทับทรวง เป็นต้น) ขณะเดียวกันพระพุทธรูปทรงเครื่องเองก็ยังคงนิยมสร้างในสมัยนี้อยู่ โดยสืบทอดแนวคิดมาจากสมัยอังวะ (ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24) ตามคติชมพูบดีสูตร ซึ่งเป็นพุทธประวัติตอนหนึ่งในคัมภีร์พุทธศาสนา นิกายเถรวาท ที่ชาวพม่าให้ความเคารพนับถือ ในพุทธประวัติได้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้เนรมิตพระองค์ให้มีขนาดพระวรกายใหญ่โต พร้อมทรงเครื่องประดับอย่างกษัตริย์ เพื่อสั่งสอนพญาชมพูบดีผู้เป็นกษัตริย์ที่ไม่ยอมรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งพญาชมพูบดีเชื่อฟังในคำสอนของพระพุทธเจ้าและออกผนวช จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
.
พระพุทธรูปศิลปะพม่า ไม่ได้มีเพียงสกุลช่างหลวงของพม่าเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ยังมีสกุลช่างอื่นๆ อีกมากที่มีลักษณะปลีกย่อยแตกต่างกันไปตามชาติพันธุ์นั้นๆ อาทิ สกุลช่างมอญ สกุลช่างอาระกัน (ยะไข่) และสกุลช่างไทใหญ่ เป็นต้น แต่ในสมัยมัณฑะเลย์อาจถือได้ว่าเป็นยุคศิลปะบริสุทธิ์ของพม่า เนื่องจากมีการรวบรวมเอาศิลปะจากสกุลช่างต่างๆ มาพัฒนาเป็นรูปแบบศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ในช่วงยุคหลังมาจนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูปไม้ศิลปะพม่าสมัยมัณฑะเลย์จึงได้รับความนิยมในกลุ่มนักสะสมของเก่า หรือผู้ค้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จึงมีการผลิตซ้ำพระพุทธรูปไม้รูปแบบศิลปะพม่าสมัยมัณฑะเลย์ เพื่อนำเข้าหรือส่งออกเป็นจำนวนมาก นี่จึงเป็นหลักฐานที่บ่งบอกถึงสุนทรียภาพของพระพุทธรูปศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์ เป็นที่ยอมรับว่ามีความงดงามอย่างมีเอกลักษณ์ตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน
.
เอกสารอ้างอิง
1). เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2560). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส.
2). ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2557). ศิลปะพม่า. กรุงเทพฯ: มติชน.
3). สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์. (2550). พระพุทธรูปศิลปะพม่า ประวัติศาสตร์ชนชาติพม่ากับปฏิมากรรมในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สยามอินเตอร์เนชั่นแนลบุคส์.
.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมสักการะพระสิงห์ และพระพุทธรูปไม้ พระอุปคุตและพระสาวกไม้ รูปแบบศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์ รวม 9 องค์ พร้อมทั้งสักการะพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อความเป็นสิริมงคลตลอดเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 นี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2564 – 30 มกราคม 2565
.
พิเศษ!! พิพิธภัณฑ์ของเรามีของขวัญปีใหม่แจกให้ทุกท่านที่เข้าชมนิทรรศการฟรี ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม และตลอดเดือนมกราคม 2565 หรือจนกว่าของจะหมด รีบมาชมกันเยอะๆ นะคะ
(จำนวนผู้เข้าชม 8048 ครั้ง)