ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.4/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



งานบันทึกหลักฐานสภาพความชำรุดของจิตรกรรมฝาผนังด้วยการบันทึกภาพถ่าย เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการปฏิบัติงานอนุรักษ์ในขั้นตอนต่อไป กิจกรรมงานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง ภายในอุโบสถเก่า วัดไผ่ล้อม ตำบลจันทนิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี หนึ่งในโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ โดยมีนางสาวกนกวรรณ สุนทรวิภาต นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน เป็นผู้ควบคุมงาน ระยะเวลาดำเนินงาน มกราคม-กรกฎาคม ๒๕๖๔พุทธประวัติ ตอน"มารผจญ"และ"เสด็จจากดาวดึงษ์"พุทธประวัติ ตอน"มารผจญ"งานบันทึกภาพถ่ายพระอรรถโมลี (อบ ปสาโท) เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีอุโบสถเก่า



          โบราณสถานปรางค์กู่ เป็นศาสนสถานประจำโรงพยาบาล หรือ อโรคยศาล สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยภาพสลักหน้าบันที่พบจากปรางค์กู่ มีทั้งสิ้น 2 จุด ได้แก่ 1. หน้าบันเหนือทับหลังปราสาทประธานด้านทิศตะวันออก เเละ 2. หน้าบันเหนือทับหลังบรรณาลัยหรือวิหาร ด้านทิศตะวันตก           หน้าบันเหนือทับหลังปราสาทประธานประตูด้านตะวันออก ประกอบด้วยหินทรายที่วางเรียงเป็นส่วนหน้าบัน สลักภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 9 กร ประทับยืน มีสาวก 9 องค์ (คน) นั่งพนมมืออยู่ด้านล่าง หน้าบัน สลักภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ประทับยืน สภาพชำรุดแตกหัก คงเหลือสภาพไม่ครบส่วน ท่อนล่างส่วนเท้าและขาขาดหายไป พระหัตถ์ซึ่งสภาพสมบูรณ์นั้นจะมี 4 กร พระหัตถ์ขวาบนถือลูกประคำ พระหัตถ์ขวาล่างถือดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายบนถือคัมภีร์ และพระหัตถ์ซ้ายล่างถือ ก้อนดิน (แท่งทรงกระบอก) ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะพระหัตถ์ซ้ายบน ด้านขวาและด้านซ้ายของพระโพธิสัตว์ คงเหลือภาพของบุคคลยืนอยู่ด้านละ 1 องค์ (คน) ไม่ชัดเจนว่าเป็นบุคคล พระโพธิสัตว์หรือเทพองค์ใด ด้านล่างของภาพ ใต้แท่นฐานที่พระโพธิสัตว์ประทับยืน มีภาพบุคคลในท่านั่งพนมมือเรียงกัน 9 คน ที่กึ่งกลางภาพเป็นบุคคลนั่งในท่าขัดสมาธิ หันลำตัวตรงออกทางด้านหน้า ส่วนเศียรชำรุดขาดหายไป ด้านวามือและด้านซ้ายมือ มีบุคคลนั่งด้านละ 4 คน ในลักษณะหันเข่าด้านข้างเข้าสู่ด้านใน แต่ส่วนลำตัวและเศียรหันตรงออกด้านหน้า ในภาพรวมน่าจะหมายถึงเหล่าสาวกหรือผู้ที่ให้การนับถือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นั่งถวายการเคารพ          ในบรรดาพระโพธิสัตว์องค์สำคัญๆ ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ปรากฏว่าพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ มีผู้เคารพเลื่อมใสมากที่สุด พระปฏิมาของพระองค์ พระนามว่าอวโลกิเตศวร หมายความว่า ผู้เป็นใหญ่ในการทัศนาโลก คือ พระองค์ทรงไว้ซึ่งความกรุณาอันไพศาล ไม่มีขอบเขต ทรงคอยสอดส่องดูแลปลดเปลื้องทุกข์ของสรรพสัตว์เสมอ เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพุทธศาสนามหายานที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด พระองค์เป็นตัวแทนของกรุณาบารมีและเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นทุกข์และเข้าถึงพระโพธิญาณ ความเสียสละที่ทรงมีต่อสรรพสัตว์ทั้งปวงในจักรวาล นับเป็นการแสดงความรักของพระองค์ที่มีต่อสรรพชีวิตทั้งหลาย จนกล่าวได้ว่าพระองค์คือ “ที่สุดแห่งกรุณาบารมี” การอธิบายคุณลักษณะของพระอวโลกิเตศวร เป็นอุบายโกศลวิธี ชักจูงคนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธามั่นคงในพระโพธิสัตว์ แท้จริงคุณลักษณะของพระอวโลกิเตศวร คือพระปัญญาคุณ พระสันติคุณ และพระกรุณาคุณ ผู้ใดสามารถอัญเชิญพระอวโลกิเตศวรให้เข้ามาประทับอยู่ในดวงจิตได้ ด้วยการหมั่นนึกภาวนารำลึกถึงเสมอ ก็ต้องปรับปรุงกายวาจาใจของตนให้ประกอบด้วยปัญญาคุณ สันติคุณ กรุณาคุณ ดุจองค์พระโพธิสัตว์ เมื่อเป็นดังนี้ ภัยต่างๆ จะบังเกิดแก่ผู้นั้น ย่อมไม่มีทางจะเป็นไปได้ หรือแม้ว่าจะเกิดมีขึ้นก็หาทำให้ผู้นั้นต้องหวั่นไหวเดือดร้อนไม่ เพราะดวงจิตผู้นั้น ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระอวโลกิเตศวรแล้วนั้นเอง ฉะนั้นผู้ที่เคารพบูชาพระโพธิสัตว์องค์นี้ ย่อมสุดแล้วแต่วุฒิปัญญาและฐานะของผู้นั้น จะบูชาพระองค์ในฐานะเป็นพระเจ้า คอยประทานอะไรต่อมิอะไรให้ ตามคำอ้อนวอนขอร้องของเราหรือจะบูชา ด้วยการเข้าถึงแก่นแห่งธรรมะในพระองค์           ทั้งนี้ การสร้างอาโรคยศาล ที่มีเป้าหมายในการสร้างขึ้นเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชนในชุมชน ภายใต้คติความเชื่อในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งยอมรับนับถือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรว่า ทรงเป็น ที่สุดแห่งกรุณาบารมี จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยว่า ส่วนหน้าบันที่ตั้งอยู่ด้านหน้าสุดของปราสาทประธานจึงสลักภาพของพระองค์ไว้ ---------------------------------------------------------ข้อมูลโดย : นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา---------------------------------------------------------


--- วันเนาว์ --- . "วันเนาว์” หรือ “วันเน่า" เป็นวันที่สองของปีใหม่เมือง  (ในปี 2564 นี้ วันเนาว์ตรงกับวันที่ 15 เม.ย. ) . วันนี้ยังไม่ถือว่าเป็นวันปีใหม่ เป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยังเนาอยู่ระหว่างราศีมีนกับราศีเมษ ในแง่โหราศาสตร์ถือเป็นวันไม่ดี ไม่ส่งเสริมมงคลและเชื่อว่าหากใครด่าทอ ทะเลาะ วิวาทกัน จะทำให้เป็นอัปมงคลตลอดทั้งปี ดังนั้นวันนี้จะไม่ดุด่า ว่าร้ายให้แก่กัน . ในวันนี้เป็นวันที่จะต้องเตรียมสิ่งของต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในประเพณีปีใหม่เมือง  เช่น ช่อ ตุง ข้าวตอกดอกไม้ หมากเหมี้ยง เสื้อผ้า เป็นต้น เพื่อใช้ในการทำบุญ ดำหัว ผู้มีพระคุณ ขนมที่มักนิยมทำกันในช่วงปีใหม่ ได้แก่ ข้าวหนมจ็อก ข้าววิตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวต้มหัวงอก ข้าวต้มมัด ข้าวหนมจั้น ข้าวแคบ ข้าวควบ ข้าวแตน เป็นต้น  . ตลอดทั้งวัน เด็กๆ คนหนุ่มสาว คนเฒ่าคนแก่ จะพากันไปขนทรายที่แม่น้ำเข้าวัด เพื่อก่อเป็นเจดีย์ทราย โดยมีคติในการกำหนดรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น ก่อเป็นเจดีย์ ทรายเล็กๆ เท่าจำนวนอายุ หรือก่อเจดีย์ทรายตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว เมื่อก่อเสร็จ ให้นำตุงแบบต่างๆ ช่อข้าวตอก ดอกไม้ปักประดับให้สวยงามเพื่อเป็นพุทธบูชา """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""" พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.  (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)  e-mail : cm_museum@hotmail.com สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308 For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+



พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงประภา ศรีธรรมาธิเบศ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๗


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๔ กรกฎาคม ๒๓๙๘ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ           พระองค์เจ้าหญิงศรีนาคสวาดิ เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๑๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง ประสูติเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๓๙๘           พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ เมื่อแรกทรงพระเยาว์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๑ พระองค์เจ้าหญิงพลับ ทรงพระเมตตารับไปทรงเลี้ยงดู กระทั่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิทรงได้รับมรดก และสืบทอดงานของพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๑ พระองค์เจ้าหญิงพลับสืบมานั่นคือ การร้อยตาข่ายดอกไม้สดประดับฐานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในเวลาพระราชพิธี และร้อยมาลัยประดับพระโกศพระบรมอัฐิรัชกาลที่ ๑ มาตลอดพระชนม์ชีพ            พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ ทรงได้รับการศึกษาอักขรสมัยตามแบบอย่างพระราชกุมารีในราชสำนักเป็นเบื้องต้น แต่ทรงมีความรู้เชี่ยวชาญในด้านนาฏศาสตร์ และโหราศาสตร์อีกส่วนหนึ่งด้วย             ในรัชกาลที่ ๕ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ เป็นพระเจ้าน้องนางเธอพระองค์หนึ่งซึ่งสนิทชิดชอบกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับพระมหากรุณาพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ฝ่ายใน เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ ชั้นที่ ๒ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕ ชั้น ๒ และเมื่อถึงรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๖ ชั้นที่ ๓ เป็นพระเกียรติยศด้วยเป็นเจ้านายฝ่ายในพระองค์หนึ่งซึ่งสนิทสนมกับพระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๕ ทุกพระองค์           พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๔๕๖ พระชันษา ๕๙ ปี   ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ


องค์ความรู้ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เรื่อง ชุดความรู้ทางวิชาการ :หลักฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในภาคใต้ของประเทศไทย ตอน "พระศิวะปางดุร้าย “พระวฏุกไภรวะ" ค้นคว้า/เรียบเรียง นางสาวสุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ




           นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยสถานการณ์ล่าสุดหลังเกิดน้ำท่วมอย่าง ฉับพลันในหลายพื้นที่ ซึ่งกรมศิลปากรได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานใน จังหวัด ปกป้องโบราณสถานสำคัญและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง น้ำไม่ท่วมโบราณสถาน แหล่งมรดกโลกสุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร            สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย รายงานพื้นที่แหล่งมรดกโลก ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งอยู่ในพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบนที่ได้รับอิทธิพลพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ทำให้มีปริมาณน้ำฝนสะสมเป็นจำนวนมากและเกิดน้ำท่วมขังรอการระบายภายในบริเวณโบราณสถาน ปัจจุบันภาพรวมของสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เนื่องจากปริมาณฝนตกสะสมลดน้อยลง ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยพบว่า มีปริมาณน้ำฝนที่ท่วมขังไม่มากนักรอการระบายออกจากพื้นที่ ส่วนอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับผลกระทบจากพายุฝน มีต้นไม้บางส่วนล้มทับทำให้โบราณสถานเสียหายเล็กน้อย ได้แก่ แนวกำแพงศิลาแลงวัดพระนอน และป้อมทุ่งเศรษฐีซึ่งมีน้ำฝนที่ท่วมขังรอการระบาย อย่างไรก็ตาม การเดินทางท่องเที่ยวในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง ๓ แห่ง นักท่องเที่ยวยังคงสามารถเดินทางมาเที่ยวชมโบราณสถานภายในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ได้ตามปกติภาพที่ ๑ - ๓ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยภาพที่ ๔ - ๖ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา           พื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ถือว่ามีความเสี่ยงระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อ ประเมินแล้วพบว่าจะมีผลกระทบกับโบราณสถานที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบริเวณภายในและภายนอกเกาะเมืองทั้งหมด ดังเช่น วัดเชิงท่า วัดธรรมาราม วัดกษัตราธิราชวรวิหาร วัดไชยวัฒนาราม ป้อมเพชร บ้านโปรตุเกสและบ้านฮอลันดา ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กันยายน ที่ผ่านมา กรมศิลปากรจึงติดตั้งแผงป้องกันน้ำในจุดแรกคือวัดไชยวัฒนาราม เนื่องจาก เป็นพื้นที่ที่มีระดับต่ำสุด และดำเนินการในโบราณสถานอื่นๆ ตามลำดับ          ล่าสุดเมื่อเวลา ๐๖.๐๐ น. ของวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๔ เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำท้ายเขื่อน ๒,๗๔๙ ลบ.ม. ต่อวินาที ทำให้ขณะนี้ระดับน้ำสูงกว่าสันเขื่อนแล้วในโบราสถานบางแห่ง เช่น วัดไชยวัฒนารามและวัดธรรมาราม ในระดับ ๓๐ - ๔๐ เซนติเมตร อย่างไรก็ตามแผงป้องกันน้ำของโบราณสถานทั้งสองแห่งสามารถป้องกันน้ำได้ถึงระดับ ๒ - ๒.๕ เมตร ต่อจากนี้กรมศิลปากรได้มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดเตรียมกำลังคนและวัสดุอุปกรณ์ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เทศบาลฯ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา ฯลฯ ภาพที่  ๗ - ๙ : วัดธรรมาราม จ.พระนครศรีอยุธยาภาพที่ ๑๐ - ๑๑ : วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยาผลกระทบจากอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนล่างเสียหายในพื้นที่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา          เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายนที่ผ่านมา เกิดเหตุการชำรุดของเขื่อนลำเชียงไกรตอนล่าง ทำให้มวลน้ำ จำนวนมากเริ่มไหลทะลักลงมายังพื้นที่ท้ายเขื่อน บางส่วนของอำเภอเมือง อำเภอโนนไทย อำเภอโนนสูง อำเภอ พิมาย ทำให้เกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับโบราณสถาน และแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยปริมาณน้ำในแม่น้ำมูลได้เพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว และเริ่มเอ่อล้นเข้าในพื้นที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย มากขึ้น ทำให้สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ต้องเร่งบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานในสังกัดและส่วนราชการต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยระดมเจ้าหน้าที่ทั้งจากสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย หน่วยทหารจากกรมทหารช่างที่ ๒ ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ และจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ ชุดปฎิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติ อบต.กระชอนและตำบลชีวาน กว่า ๕๐ ชีวิต เร่งวางแนวกระสอบทรายเพื่อเสริมความสูงของแนวกระสอบทรายบริเวณริมตลิ่งด้านหลังพิพิธภัณฑ์ที่ติดกับแม่น้ำมูล ซึ่งมีระยะทางยาวกว่า ๑๘๐ เมตร โดยในขณะนี้สามารถวางแนวกระสอบทรายได้ที่ความสูงเหนือจากพื้นตลิ่งโดยเฉลี่ยประมาณ ๖๐ - ๗๐ เซนติเมตร ตลอดแนวความยาวตลิ่ง ทำให้ปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำมูลยังอยู่ต่ำกว่าจุดสูงสุดของแนวกระสอบทรายประมาณ ๓๐ – ๔๐ เซนติเมตร นอกจากนี้ ยังทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อคอยสูบน้ำที่ซึมเข้ามาตามแนวท่อ และพื้นของสนามที่อยู่ติดริมแม่น้ำมูล อีก ๒ เครื่อง โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมตลอด ๒๔ ชั่วโมง รวมถึงยังมีการเสริมแนวกระสอบทรายเพื่อป้องกันโดยรอบตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ บริเวณทางเข้าออก เตรียมการขนย้ายเอกสาร หนังสือ และสิ่งของสำคัญภายในอาคารพิพิธภัณฑ์อีกด้วยภาพที่ ๑๒ - ๑๕ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย          ด้านอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ขณะนี้สถานการณ์โดยทั่วไปเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ เนื่องจาก ช่วง ๒ – ๓ วันที่ผ่านมา สภาพอากาศปลอดโปร่งและไม่มีฝนตก ทำให้ไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง แต่อย่างไรก็ดีทางอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำประจำจุดเสี่ยงในบริเวณโดยรอบปราสาทพิมาย เพื่อเตรียมการรองรับสถานการณ์หากเกิดฝนตกติดต่อกันหลายวัน นอกจากนี้ยังได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมพร้อมและติดตามสถานการณ์ตลอด ๒๔ ชั่วโมง อีกจุดหนึ่งที่สำคัญของพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย คือบริเวณประตูเมืองด้านทิศเหนือ หรือประตูผี ซึ่งติดกับคลองคูเมืองพิมาย และแนวของลำน้ำมูลเก่า ทางอุทยานประวัติศาสตร์พิมายได้จัดวางแนวกระสอบทรายสูงประมาณ ๖๐ – ๗๐ เซนติเมตร ตลอดความยาวแนวประตูเพื่อป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้ามาในพื้นที่ของเมืองพิมาย ซึ่งในปัจจุบันระดับน้ำยังคงอยู่ต่ำกว่าแนวกระสอบทรายที่จุดสูงสุดอยู่มาก          สำหรับโบราณสถานท่านางสระผม และที่ตั้งของสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง ลำน้ำเค็ม ทางทิศใต้ของประตูชัย ห่างจากตัวปราสาทพิมายประมาณ ๑ กิโลเมตร เหนือขึ้นไปจากจุดที่เป็นที่ตั้งโบราณสถานท่านางสระผม และสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ประมาณ ๕๐๐ เมตร เป็นประตูระบายน้ำ ลำน้ำเค็มของกรมชลประทาน ซึ่งลำน้ำเค็มนี้เป็นลำน้ำสาขาที่เชื่อมต่อกับลำจักราช และแม่น้ำมูล ทำหน้าที่รับน้ำ ที่ระบายมาจากอ่างลำเชียงไกรล่างที่อยู่ตอนบนเป็นระยะ ทำให้ขณะนี้พื้นที่บริเวณนี้มีความเสี่ยงจากระดับน้ำของลำน้ำเค็มที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา และบางส่วนของโบราณสถานท่านางสระผมก็เริ่มถูกน้ำท่วมบ้างแล้ว จึงได้เริ่มตั้งแนวกระสอบทรายตลอดแนวอาคารสำนักงาน และบ้านพักเจ้าหน้าที่ รวมถึงเริ่มมีการขนย้ายวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ตลอดจนเอกสารต่างๆ ขึ้นที่สูงเพื่อเป็นการระวังป้องกันน้ำที่อาจจะเอ่อล้นตลิ่งขึ้นมาได้ตลอดเวลา พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ คอยเฝ้าระวังระดับน้ำอยู่ตลอดเวลา



Messenger