ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

           กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวนอ่านหนังสือออนไลน์ “การเรียนรู้ไม่มีสะดุด หอสมุดแห่งชาติไม่หยุดให้ความรู้” เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและลดความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)            นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) กรมศิลปากรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ จึงได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้กับงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมในการบริการประชาชนด้วยระบบดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลมรดกศิลปวัฒนธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว โดยหอสมุดแห่งชาติ ได้จัดทำห้องสมุดดิจิทัล ให้สามารถอ่านหนังสือได้ง่ายๆ จากที่บ้าน โดยบริการให้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ฉบับเต็มจากสำนักพิมพ์ต่างๆ กว่า ๒,๒๐๐ ชื่อเรื่อง บริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารออนไลน์ จาก ๑๐๐ ประเทศทั่วโลก กว่า ๗,๐๐๐ ชื่อเรื่อง ซึ่งมีถึง ๖๐ ภาษา บริการหนังสือหายาก หนังสือพิมพ์เก่า แบบเรียนเก่ากว่า ๑,๙๐๐ ชื่อเรื่อง ผู้สนใจสามารถอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ออนไลน์ ได้ ๒ ช่องทาง ได้แก่ อ่านผ่านเว็บไซต์ ห้องสมุดดิจิทัล หอสมุดแห่งชาติ http://mobile.nlt.go.th หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น NLT Library ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android          นอกจากนี้ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ยังได้พัฒนาฐานข้อมูลจารึก คัมภีร์ใบลาน หนังสือสมุดไทยและ ตู้พระธรรม (เอกสารโบราณ) ให้บริการสืบค้นออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ http://manuscript.nlt.go.th และจัดทำรายการ "หนังสือดีมีให้ฟัง" โดยนำหนังสือดีทรงคุณค่าที่มีสาระและความบันเทิงมาเล่าให้ผู้สนใจได้รับฟังผ่านทาง ช่อง National Library of Thailand ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ YouTube และในรูปแบบ Podcast ทาง spotify.com





พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงแข เพ็ชราภิบาล (แข ณ สงขลา) ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส พระนคร วันเสาร์ที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๐๕


         มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๐๔ วันประสูติสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี          สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๕๒ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี พระสนมเอก เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๐๔          ในรัชกาลที่ ๕ พุทธศักราช ๒๔๒๓ ทรงสถาปนาเป็นพระนางเธอสุขุมาลมารศรี ครั้นพุทธศักราช ๒๔๒๔ เป็นพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ทรงเป็นราชเลขานุการส่วนพระองค์ในรัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นอุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง ทรงตั้งโรงเรียนสุขุมาลัยที่วัดพิชยญาติการาม เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๔๑        ในรัชกาลที่ ๗ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๖๘        สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๔๗๐ สิริพระชันษา ๖๖ ปี   ภาพ : สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร พระราชธิดา


          คลังสิ่งพิมพ์มีมาตั้งแต่หอสมุดสำหรับพระนคร ตามที่พระยาอนุมานราชธนกล่าวไว้ในเรื่องสมเด็จกรมพระยาราชานุภาพและหอสมุดแห่งชาติ (อนุมานราชธน, พระยา, ๒๕๐๕ : ๑๖-๑๗) ความว่า “หอสมุดสำหรับพระนครจัดแบ่งหอสมุดออกเป็น ๒ หอ คือหอพระสมุดชิรญาณหอหนึ่ง สำหรับเก็บหนังสือตัวเขียน และหอพระสมุดวชิราวุธหอหนึ่ง สำหรับเป็นที่เก็บหนังสือตัวพิมพ์ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ           หอพระสมุดวชิราวุธ ซึ่งเป็นที่รวบรวมหนังสือตัวพิมพ์แยกออกเป็นภาษาไทยส่วนหนึ่งและภาษาต่างประเทศส่วนหนึ่ง ในส่วนที่เป็นภาษาไทยนอกจากหนังสือที่มีอยู่แล้วแต่เดิมจากผู้มีจิตศรัทธา ให้เป็นสมบัติของหอพระสมุดบ้าง ซื้อบ้างจากโรงพิมพ์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือเรื่องใดขึ้น ก็ต้องส่งหอพระสมุดเรื่องละ ๒ เล่ม ตามที่กฎหมายบังคับไว้ เล่มหนึ่งเก็บไว้ที่พอพระสมุดสำหรับประชาชนอ่าน อีกเล่มหนึ่งเก็บไว้ในสถานที่ เรียกว่า ห้องหนังสือพิสูจน์ สำหรับเป็นหลักฐานอ้างอิง เมื่อเกิดคดีขึ้นในโรงศาล เมื่อศาลสั่ง           ในพ.ศ. ๒๕๐๙ หอสมุดแห่งชาติได้ก่อสร้างอาคารที่ให้บริการในปัจจุบัน จึงได้มีการย้ายหนังสือทั้งหมด รวมทั้งห้องหนังสือพิสูจน์ ให้เข้ามาอยู่ในความดูแลของงานจัดหาหนังสือ ห้องหนังสือพิสูจน์ได้เปลี่ยนเป็นงานคลังสิ่งพิมพ์ด้วยเช่นกัน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ มีการปรับปรุงโครงสร้าง การจัดส่วนราชการ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กองหอสมุดแห่งชาติเปลี่ยนเป็นหอสมุดแห่งชาติ การขยายโครงสร้างภายในจึงขยับปรับเปลี่ยนตามไปด้วย กล่าวคืองานคลังสิ่งพิมพ์จึงได้เปลี่ยนเป็นฝ่ายคลังสิ่งพิมพ์ อยู่ภายใต้ของส่วนพัฒนาทรัพยากรห้องสมุดและในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้เปลี่ยนเป็นคลังสิ่งพิมพ์ภายใต้การบังคับบัญชาของกลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ จนถึงปัจจุบัน           ภารกิจการดำเนินงานของคลังสิ่งพิมพ์ แบ่งออกเป็น ๑. การจัดเก็บ การคัดแยกสิ่งพิมพ์ตามลักษณะสิ่งพิมพ์แต่ละประเภท เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ เพื่อลงทะเบียนและจัดเก็บ๒. การรักษาให้คงสภาพ จากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น แสง ความชื้น และ มอดแมลง ๑. การลงทะเบียน เก็บสิ่งพิมพ์ทุกประเภท ที่กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศได้รับตามพระราชบัญญัติ จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ อย่างละ ๑ เล่ม/ฉบับ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ ที่จัดพิมพ์ในประเทศ โดยทำการลงทะเบียนในฐานข้อมูล และทำบัตรหลักฐาน ๒. การจัดเก็บรักษา จัดเก็บลงกล่องเพื่อป้องกันแสง ใส่พริกไทยห่อด้วยผ้าขาวบางเพื่อป้องกันมอดและแมลง และควบคุมอากาศ ด้วยเครื่องปรับอากาศ และเครื่องควบคุมความชื้น หากตรวจพบมอดและแมลง จะต้องทำการกำจัดโดยการนำสิ่งพิมพ์ไปแช่แข็งด้วยอุณหภูมิ -๑๘ องศาเซลเซียส ///คลังสิ่งพิมพ์มีสิ่งพิมพ์มากขึ้นจึง สำนักหอสมุดแห่งชาติได้จัดทำโครงการก่อสร้างอาคารคลังสิ่งพิมพ์ โดยได้รับการอนุมัติให้ก่อสร้างอาคาร ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม บริเวณใกล้สำนักช่างสิบหมู่ และหอภาพยนตร์(องค์การมหาชน) ทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔ ในวงเงิน ๔๕,๕๔๐,๐๐๐ บาท (สี่สิบห้าล้านห้าแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๔๘ และเริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบัน เป็นอาคาร ๕ ชั้น มีสิ่งพิมพ์ทั้งหมด ๑,๘๔๗,๘๔๐ เล่ม/ฉบับ ข้อมูลสรุป ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ ------------------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นายสรพล ขาวสะอาด บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ------------------------------------------------------------------------บรรณานุกรม จุฑาภัค ศิริพรวัฒนะกุล. ความรู้ด้านการจัดการคลังสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, [2549]



          พระพุทธรูปยืนตริภังค์ปางแสดงธรรม พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม อุษณีษะเป็นกะเปาะสูง เม็ดพระศกใหญ่ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรโปน เหลือบลงต่ำ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา อมยิ้มเล็กน้อย พระกรรณยาวเซาะเป็นร่อง พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรเรียบ จีวรบางแนบพระวรกาย เห็นขอบสบงบริเวณบั้นพระองค์ พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระแสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายหักหายไปสันนิษฐานว่าอาจยึดชายจีวรในระดับบั้นพระองค์ ยืนตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพก) ทั้งนี้การยืนตริภังค์ของพระพุทธรูป แสดงถึงอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ แต่ลักษณะพระพักตร์เป็นแบบทวารวดีแล้ว จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)           พระพุทธรูปยืนตริภังค์ พบจำนวนไม่มากนักในสมัยทวารวดี โดยพบในกลุ่มพระพุทธรูปแสดงวรมุทรา (ปางประทานพร) สลักด้วยหินขนาดใหญ่ กลุ่มพระพุทธรูปสำริด และพระพิมพ์อีกจำนวนหนึ่ง พระพุทธรูปยืนตริภังค์ ศิลปะทวารวดี มักจะครองจีวรห่มเฉียง และแสดงวิตรรกมุราด้วยพระหัตถ์ขวา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายยึดชายจีวรในระดับบั้นพระองค์หรือปล่อยลงข้างพระวรกาย เป็นลักษณะการแสดงพระหัตถ์ที่ไม่สมมาตร ต่างจากกลุ่มพระพุทธรูปยืนสมภังค์ (ยืนตรง) มักจะครองจีวรห่มคลุม แสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่นิยมในพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยทวารวดี ซึ่งพบเป็นจำนวนมากกว่าพระพุทธรูปยืนตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพก)           นอกจากพระพุทธรูปยืนตริภังค์องค์นี้แล้ว ที่เมืองโบราณอู่ทองยังพบพระพุทธรูปยืนตริภังค์อีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปสำริดยืนตริภังค์ จากเจดีย์หมายเลข ๒ และ ๑๓ รวมทั้งยังพบพระพิมพ์ดินเผาภาพพระพุทธรูปยืนตริภังค์จากเจดีย์หมายเลข ๒ และ ๓ อีกด้วย---------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง---------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.




          ตราดินเผารูปสิงห์ พบจากเมืองโบราณอู่ทอง นายเรวัตร ธรรมจักร มอบให้เมื่อ ๙ มีนาคม ๒๕๐๔ จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           ตราดินเผารูปกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๒ เซนติเมตร หนา ๒.๒ เซนติเมตร ผิวหน้ามีรอยประทับเป็นนูนต่ำรูปสิงห์ มองเห็นด้านข้าง โดยสิงห์นั่งหันหน้าไปทางด้านขวา สิงห์มีตากลมโต จมูกกลม อ้าปาก มีแผงคอลักษณะเลียนแบบธรรมชาติ ขาหน้าเหยียดตรง ขาหลังพับงอนั่งลงกับพื้น หลังเอนลาดลง หางยกตั้งขึ้น รูปสิงห์บนตราประทับนี้แสดงลักษณะทางกายวิภาคและท่านั่งที่ค่อนข้างสมจริงตามธรรมชาติ ด้านหน้าของสิงห์มีรูปนูนต่ำ อาจเป็นสัญลักษณ์มงคลอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ลบเลือนมากไม่สามารถระบุได้แน่ชัด ด้านข้างของตราดินเผามีรอยประทับเป็นรูปทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๖ เซนติเมตร ภายในเป็นรอยประทับนูนต่ำรูปสิงห์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับสิงห์ที่อยู่ด้านหน้าตราดินเผา          สิงห์เป็นสัตว์มงคลที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับศาสนา ตามคติในศาสนาพุทธ สิงห์เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระพุทธเจ้า เนื่องจากพระองค์ได้รับการขนานนามว่าเป็นสิงห์แห่งศากยวงศ์ ทั้งยังเป็นสัตว์ที่มีอำนาจและพละกำลัง เป็นตัวแทนของผู้พิทักษ์และความดี พบมากในงานศิลปกรรมสมัยทวารวดี ทั้งในประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นประดับศาสนสถาน ประติมากรรมรูปสัตว์ที่สันนิษฐานว่าเป็นส่วนประดับฝาภาชนะ และตราดินเผา นอกจากนี้ที่เจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง ยังพบประติมากรรมสำริดรูปสิงห์ที่มีรูปแบบลักษณะและท่านั่งที่คล้ายคลึงกับรูปสิงห์บนตราประทับนี้ด้วย          ตราดินเผารูปสิงห์ลักษณะคล้ายคลึงกันนี้พบมาแล้วในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๑ หรือประมาณ ๑,๕๐๐ – ๑,๖๐๐ ปีมาแล้ว) และหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ หรือประมาณ ๑,๓๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) จึงสันนิษฐานว่าตราดินเผารูปสิงห์นี้เป็นของที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่นโดยคนพื้นเมืองทวารวดี โดยรับอิทธิพลทางด้านรูปแบบและคติความเชื่อมาจากอินเดีย อาจใช้สำหรับเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาหรือเป็นชนชั้นสูง รวมถึงอาจใช้เป็นเครื่องรางเพื่อความเป็นสิริมงคล กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมือง โบราณ, ๒๕๖๒. อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ. “การศึกษาความหมายและรูปแบบตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสต รมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.



นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)  ชบ.บ.75/1-1ช  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.308/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124  (287-301) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ) ชาตกฎฐกถา,ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ภูริทัสต์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



Messenger