ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อผู้แต่ง พุทธทาสภิกขุ , ๒๔๔๙-๒๕๓๖
ชื่อเรื่อง คำบรรยายธรรม อบรมพระธรรมทูตในสวนโมกขพลาราม พ.ศ. ๒๕๑๐ (อบรมพระธรรมทูต คำบรรยายสำหรับเตรียมตัว
เพื่อประกาศพรหมจรรย์)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ อตัมมโย
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๑
จำนวนหน้า ๑๙๙ หน้า
รายละเอียด
พระธรรมทูต คือผู้ประกาศศาสนา หรือประกาศพรหมจรรย์ นำความจริงและแบบอย่างชีวิตอันประเสริฐไปแสดงแก่ชาวโลก หนังสือคำบรรยายธรรม อบรมพระธรรมทูต ในสวนโมกขพลาราม พ.ศ. ๒๕๑๐ นี้ประกอบด้วยสารบาญเรื่องได้แก่คำกล่าวเปิดการอบรม คำอธิบายสภาพความเป็นมาของวัดธารน้ำไหลและเรื่องที่อบรมต่างๆ ได้แก่ ทำวัตรคืออะไร การประกาศพระศาสนา สารบาญคำบรรยายเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบริขาร บางอย่าง และหารือเรื่องทำวัตร สวดมนต์ เป็นต้น นับว่าเป็นการอบรมที่น่าสนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างบุคลากรทางศาสนาได้ในโอกาสต่อไป
เลขวัตถุ
ชื่อวัตถุ
ขนาด (ซม.)
ชนิด
สมัยหรือฝีมือช่าง
ประวัติการได้มา
ภาพวัตถุจัดแสดง
43/2553
(23/2549)
ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ขอบปากผายออก ส่วนบนเรียบ ไม่มีลวดลาย ส่วนล่างตกแต่งลายขูดขีด
ส.15.6
ก.17
ดินเผา
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว
ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539
เลขทะเบียน : นพ.บ.426/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4 x 59 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 153 (109-119) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : พระธัมสังคิณี--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.569/5 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 186 (347-356) ผูก 5 (2566)หัวเรื่อง : กถาวัตถุปกรณ์แปล--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พิพิธภัณฑ์กับความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดี : วันพิพิธภัณฑ์สากล พ.ศ.2566 (IMD2023)
สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (ICOM) ได้บัญญัติให้วันที่ 18 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑสากล (International Museum Day) เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ในการเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การเพิ่มพูนคุณค่าทางวัฒนธรรม การพัฒนาความเข้าใจ ความร่วมมือและสร้างสันติภาพระหว่างประชาชน ซึ่งในแต่ละปี ICOM จะกำหนดนิยามเพื่อเป็นแนวทางให้พิพิธภัณฑ์สามารถดำเนินการสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
โดยในปีพ.ศ. 2566 นี้ ICOM ได้กำหนดนิยามว่า “พิพิธภัณฑ์กับความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดี” (Museums, Sustainability and wWell-being) พิพิธภัณฑ์เป็นสถาบันที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีพร้อมกับการพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน ในฐานะสถาบันที่น่าเชื่อถือและอยู่ร่วมกันสังคมมาอย่างยาวนาน ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอย่างสม่ำเสมอ สามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้หลายแนวทาง เช่น ให้การสนับสนุนรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมและสุขภาพจิต
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมไทย
อ้างอิง : https://icom.museum/en/international-museum-day/
#วันพิพิธภัณฑ์สากล #imd2023 #icom #สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ #กรมศิลปากร
เบนเนตต์, ลีโรน จูเนียร์. ดร. มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์=What manner of man, A biography of Martin Luther King, Jr. พระนคร: ก้าวหน้า, ๒๕๑๓.
ว่าด้วยเรื่องราวและประวัติของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ผู้เป็นศาสนาจารย์ ผู้นำนิโกรอเมริกัน และนักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองชาวแอฟริกัน-อเมริกัน
วันนี้แอดจะพามาทำความรู้จัก "แข่ว"โดย นางสาวกัญญารัตน์ ฝอฝนนักศึกษาฝึกประสบการณ์สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี//สีแข่วมื้อละ 2 เทื่อ เพื่อแข่วแข็งแฮง แมงบ่มี
เคล็ดลับความร่ำรวยของชนชาติที่ร่ำรวยที่สุด ชาวยิวสอนไว้ว่า การเรียนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ที่เหมาะสมที่สุดก็คือ การเรียนรู้ตั้งแต่เด็กนั่นเองอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ สุดป่วนก๊วนกระเป๋าตุง ตอน รวยง่ายๆ สไตล์ชาวยิว ให้บริการที่ห้องหนังสือเยาวชน หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่#เคล็ดลับความรวย#บรรณารักษ์ชวนอ่าน
องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง โบราณสถานวัดท้าวโคตร
ที่ตั้ง : ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประวัติและความสำคัญ
วัดท้าวโคตร เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่นอกกําแพงเมืองนครศรีธรรมราช ทางด้านทิศใต้ เดิมบริเวณนี้มีวัด ตั้งอยู่ ๕ วัด คือ วัดประตูทอง วัดธาราวดี (วัดไฟไหม้) วัดวา วัดศพเดิม และวัดท้าวโคตร
โบราณสถานสําคัญภายในวัดได้แก่ เจดีย์ขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐและหินปะการัง ส่วนยอดพังทลาย ได้รับการขุดแต่งและบูรณะโดย หน่วยศิลปากรที่ ๘ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ อุโบสถหลังเก่ามีลักษณะเป็นอาคารทรงไทย ขนาด ๕ ห้อง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยลงรักปิดทอง จีวรทาสีชาด และมีภาพจิตรกรรมแบบไทยประเพณีเขียนบนไม้กระดานคอสอง เล่าเรื่องพุทธประวัติและทศชาติชาดก บางภาพปรากฏภาพชาวตะวันตกทำให้กำหนดอายุได้ว่าน่าจะเขียนขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา โดยรอบอุโบสถปักใบเสมา สลักลวดลาย นอกจากนี้ทางด้านทิศใต้ของอุโบสถยังเคยมีเนินโบราณสถาน ปัจจุบันได้สร้างอาคารขนาดเล็ก บนเนินนี้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง ๓ องค์ เรียกว่า วิหารหลวงพ่อสบเดิม.
--------------------------------------------------------------------------
ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๔๕ หน้า ๒๙๕๔ วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๒๒
พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒ ไร่ ๒ งาน ๓๑ ตารางวา
อายุสมัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา)
--------------------------------------------------------------------------
สิ่งสำคัญ
๑. เจดีย์ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมบนฐานสี่เหลี่ยม ด้านทิศตะวันออกมีมุขยื่นออกมา ขนาดของฐานกว้าง ๑๓.๓๐ เมตร ยาว ๑๗.๓๐ เมตร ทางด้านมุขหน้ามีการย่อขนาดแล้วตัดตรง ส่วนยอดพังทลาย
๒. อุโบสถหลังเก่า เป็นอาคารทรงไทย ขนาด ๕ ห้อง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีลานปูอิฐบริเวณส่วนหน้าของอาคารภายในกำแพงซึ่งผนังกำแพงเป็นผนังเดียวกันกับผนังของอุโบสถ เสาร่วมในของอุโบสถเป็นเสาไม้แก่น ด้านนอกมีเสาปูนติดอยู่กับส่วนผนังอาคาร ผนังอาคารมีความสูง ๒ เมตร ถัดขึ้นไปเป็นช่องลมทำด้วยบานไม้เกล็ดสูงขึ้นไปจนถึงเชิงชาย เครื่องบนเป็นเครื่องไม้ ไม่ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา หน้าบันไม่มีการตกแต่งลวดลายด้านในของเสาร่วมในทั้งสองแถวประดับด้วยแผงไม้คอสองด้านละ ๑ แถว ภายในอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง จีวรสีทาชาด
๓.วิหารหลวงพ่อสบเดิม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง ๓ องค์
--------------------------------------------------------------------------
#ภาพจิตรกรรม:
ภายในอุโบสถหลังเก่ามีภาพจิตรกรรมเขียนบนไม้กระดานคอสอง เขียนด้วยสีฝุ่นบนไม้ มีภาพทั้งหมด ๔๐ ห้อง ฝั่งทิศใต้เขียนเรื่องพุทธประวัติ ฝั่งทิศเหนือเขียนเรื่องทศชาติชาดก
--------------------------------------------------------------------------
จัดทำโดย
นายสรรชัย แย้มเยื้อน และ นายสหภาพ ขนาน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
--------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง
นภัคมน ทองเผือ. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๓
สำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช. จิตรกรรมบนคอสองอุโบสถหลังเก่าวัดท้าวโคตร. สำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช, ๒๕๕๐.
พระพิมพ์ลีลา
แบบศิลปะ : อยุธยา
ชนิด : โลหะชิน
ขนาด : สูง 31.5 เซนติเมตร กว้าง 9.5 เซนติเมตร
ลักษณะ : พระพิมพ์พระพุทธรูปประทับยืนภายในซุ้มจระนำ พระหัตถ์ซ้ายจีบพระอังคุตกับพระดัชนียกเสมอพระอุระ พระหัตถ์ขวาทอดยาวแนบพระวรกาย ด้านข้างซุ้มจระนำประดับแจกันดอกไม้ กั้นฉัตรเหนือซุ้มจระนำ
สภาพ : ค่อนข้างสมบูรณ์ ผิวโลหะด้านซ้ายผุกร่อนเล็กน้อย
ประวัติ : กรมศิลปากรได้รับคืนจากกระทรวงมหาดไทย เดิมเก็บที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/08/
ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง โบราณสถานวัดสนามชัย
ผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
บ้องไฟเมืองน่าน จาก สารคดี 5 นาที กองวิทยาการ กรมประชาสัมพันธ์ ปี พ.ศ. 2513เอนก ส่งแสง๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓ประเพณีการแห่บ้องไฟของชาวจังหวัดน่านที่ผู้เขียนจะได้นํามาเสนอ ท่านผู้ฟังในวันนี้เก็บความมาจาก พงศาวดารเมืองเหนือ ตอนที่ว่า ด้วยเมืองน่าน และจากรายงานกิจการประจำปีของจังหวัดน่าน ปี ๒๕๐๖ เพราะเห็นว่ามีสาระน่ารู้ควรแก่การที่จะได้นําออกเสนอให้ท่านผู้ฟังได้ทราบบ้าง เท่ากับเป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามอีกโสดหนึ่งด้วยการแห่บ้องไฟของชาวจังหวัดน่าน มีปรากฏในพงศาวดารเมืองน่านว่า ครั้งพญาการเมืองโปรดให้สมโภชเฉลิมฉลององค์พระธาตุแช่แห้งครั้งแรก (พระธาตุแช่แห้งเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดน่าน) ซึ่งได้ทรงก่อสร้างและประจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง ประชาชนได้จัดทำบ้องไฟนําไปจุดเป็นพุทธบูชามากหลาย การจุดบ้องไฟในครั้งนั้น กล่าวว่าเป็นเวลานานถึง ๗ วัน ๗ คืน จึงหมดสิ้น ด้วยเหตุนี้เมื่อมีงานพิธีทางศาสนา เช่น มีงานสมโภชเฉลิมฉลองวัดวาอาราม จึงนิยมจุดบ้องไฟเป็นพุทธบูชาเสมอมา เฉพาะงานเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุเขาน้อย พระพุทธรูปทองทิพย์ ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญของจังหวัดน่าน มีการแห่แหนน้องไฟกันอย่างมโหฬาร ซึ่งสมัยเมื่อยังมีเจ้าครองนครด้วยแล้วจะต้องมีบ้องไฟส่วนพระองค์อย่างน้อย ๓ กระบอก และต้องทำให้กระบอกใหญ่กว่าของราษฎร จะต้องไปทรงเป็นประธาน ณ ประรำที่พักซึ่งจัดไว้ และเจ้าครองนครจะต้องทรงจุดบ้องไฟนําก่อนด้วยขบวนแห่บ้องไฟแต่ละคณะและวัดต่าง ๆ นั้น ประกวดประชันกันยิ่งนัก มีกลองยาว ฉิ่ง ฉาบ ฆ้องโหม่งใหญ่ เล็ก หลายลูกตามลำดับ มีประสานเสียงกันอย่างครื้นเครง (ทํานองเดียวกันกับการตีประกอบฟ้อนเล็บเชียงใหม่) มีนักรำ ร่ายรำเข้ากับจังหวะฆ้องกลอง เป็นระเบียบสวยงามและร้องหมู่เป็นคํากลอนเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “กําฮ่กบ่อกไฟ” เป็นคํากล่าว ยกย่องบูชาสิ่งเคารพในพุทธศาสนาซึ่งต้องนําบ้องไฟไปจุดเป็นพุทธบูชาเมื่อแห่บ้องไฟไปถึงที่จะจุดแล้ว ก็มีผู้นําบ้องไฟขึ้นไปบนห้างหรือค้างซึ่งทำไว้สำหรับจุดบ้องไฟโดยเฉพาะเมื่อนําบ้องไฟขึ้นไปเพื่อเตรียมจุดนั้น ผู้จุดซึ่งอยู่บนค้างจะประกาศให้บรรดาผู้ดูทราบว่าเป็นบ้องไฟของคณะศรัทธาวัดไหน เมื่อได้ประกาศให้ผู้ดูทราบแล้วก็จะถึงเวลาจุด ในการจุดนั้นมีวิธีอยู่ ๒ วิธีคือ จุดทางหัวลงและจุดทางท้ายขึ้น จุดทางหัวลงใช้สายชนวนสอดลงไปตามรูที่เจาะไว้ จุดทางท้ายขึ้นใช้หลอดไม้ไผ่ยาว สอดสายชนวนไปตามหลอดไม้ไผ่แล้วสอดไม้ไผ่เข้าไปตามรูที่เจาะไว้ในการทำบ้องไฟนั้นอุปกรณ์ในการทำก็มี ไม้ไผ่ป่าขนาดพอเหมาะที่จะทำเป็นกระบอกบ้องไฟได้ (ปัจจุบันนิยมใช้กระบอกสังกระสีเป็นกระบอก) ไม้เรี้ย ดินประสิว ถ่าน และหวาย ดินประสิวมากน้อยตามขนาดของบ้องไฟ ตําดินประสิวกับถ่านคลุกกันให้ละเอียดอย่างดินปืนธรรมดา แล้วบรรจุลงในกระบอกไม้กระทุ้งให้แน่นจนได้ที่ ตอนปลายสุดของกระบอกไม้ให้เหลือไว้ประมาณ ๑ ศอก ใช้ดินเหนียวผสม บรรจุลงในกระบอกไม้ที่เหลือไว้ แล้วกระทุ้งให้แน่น ทับดินปืน ใช้เหล็กจี (เหล็กแหลม ) ขนาดต่าง ๆ เจาะเนื้อดินเหนียวและดินปืนที่บรรจุในกระบอกไม้ ตลอดตั้งแต่ท้ายจดหัว แล้วตัดไม้เรี้ยเป็นท่อน ๆ ตามลำดับปล้องสั้นยาว ลดหลั่น กันมากน้อยตามขนาดของบ้องไฟ ตรงปากกระบอกไม้ตกแต่งให้เป็นรูปปากฉลามทั้งหมดนี้รวม เรียกว่า “โหว้บอกไฟ” หางของบ้องไฟต้องใช้ไม้เรี้ยยาวและตรงตลอด ตอนหัวของไม้เรี้ยที่ทำเป็นหาง ตรงปากกระบอกตกแต่งเป็นรูปปากฉลามเช่นเดียวกับ โหว้ เรียกว่า โตน แล้วนําโตนกับโหวมาประกอบกันเอาหวายมัดให้แน่นติดกับลําตัวของบ้องไฟ เมื่อบ้องไฟพุ่งขึ้นไปบนอากาศ จนหมดกําลังดินปืนแล้วจะหันหัวตกลงสู่พื้นดิน เมื่อโหว้และโตนที่ผูกติดกับลําตัวของบ้องไฟถูกลมเป่าตอนกลาง จึงเกิดเสียงดังขึ้นหลายเสียงตามเสียงลดหลั่นของกระบอกไม้เป็นเสียงประสานและดังกึกก้องเป็นที่ชื่นชอบของคนดูและเจ้าของบ้องไฟ ฆ้องกลองจะตีประสานกันอย่างอื้ออึง หนุ่มสาวเฒ่าแก่ก็ฟ้อนรําสลับกันไปด้วย เป็นที่สนุกสนานยิ่งนัก การจุดบ้องไฟเป็นพุทธบูชานี้ ชาวเมืองน่านยังคงกระทำเป็นประเพณีอยู่จนทุกวันนี้ และทำเป็นประจำทุกปีที่ถือกันว่าเป็นงานใหญ่ก็คือ จุดในงานเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุเขาน้อย และพระพุทธรูปทองทิพย์ โดยถือเอาวันเพ็ญเดือน ๓ วันเพ็ญเดือน ๖ และ วันสงกรานต์ ตามลำดับเป็นวันเริ่มจุด หากท่านผู้ฟังใคร่จะได้เห็นประเพณีดังกล่าวนี้แล้วละก้อ ควรจะได้ไปให้ตรงกับงานเทศกาลดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอรับรองว่าท่านจะไม่ผิดหวังภาพงานประเพณีสงกรานต์ เทศบาลเมืองน่าน ปี 2542เอกสารอ้างอิงกรมประชาสัมพันธ์. กองวิทยาการ. สารคดี 5 นาที. โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ : กรุงเทพฯ. 2515 เข้าถึงได้โดย https://digital.library.tu.ac.th/.../Info/item/dc:138634
วันที่ 4-5 เมษายน 2567 นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ และเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของบุคลากรหอสมุดแห่งชาติ โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิด นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน ณ โรงแรมไมด้า เดอ ซี หัวหิน (MIDA DE SEA HUA HIN) จังหวัดเพชรบุรี
บอกกล่าว "ข่าวเมืองชล"
นำเสนอข่าวสารของจังหวัดชลบุรีในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาให้ผู้อ่านได้ติดตามกันค่ะ
รวบรวมโดย นางสาวอาทิตยา พิบูลแถว บรรณารักษ์ปฏิบัติการ
โรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์แบ๊บติสต์ จ.กรุงเทพฯ (เวลา 10.00 น.) จำนวน 40 คนวันศุกร์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. เหล่าคณาจารย์ พนักงานและนักศึกษา จำนวน ๔๔ คน จากโรงเรียนคริสต์ศาสนาแบ๊บติสต์ กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้