ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อเรื่อง : อลังการศาสตร์
ชื่อผู้แต่ง : วาคฺกฏ
ปีที่พิมพ์ : 2504
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์
จำนวนหน้า : 116 หน้า
สาระสังเขป : อลังการศาสตร์ คือ ตำราการแต่งคำประพันธ์ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาสันสกฤต ผู้แต่งคือ วาคฺกฏ กรมศิลปากรได้ให้พราหมณ์ ป.ส.ศาสตรี แปลไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 มีเนื้อหาว่าด้วยเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการประพันธ์ เช่น การใช้คำที่เป็นประโยชน์ การใช้คำให้เหมาะสมกับบริบทและสถานที่ ให้คำแนะนำผู้ฝึกหัดการประพันธ์ แนะนำภาษาต่าง ๆ ที่ควรใช้ในการประพันธ์ ประเภทการประพันธ์ อธิบายถึงสิ่งที่เป็นความบกพร่องในการประพันธ์ และสิ่งที่เป็นลักษณะดีในการประพันธ์ เป็นต้น
ชื่อผู้แต่ง พ.ต.หญิงผะอบ โปษะกฤษณะ
ชื่อเรื่อง วรรณกรรมประกอบการเล่นหนังใหญ่วัดขนอนจังหวัดราชบุรี
ครั้งที่พิมพ์
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ปีที่พิมพ์ 2520 จำนวนหน้า 230 หน้า
หมายเหตุ
รายงานการวิจัยวรรณกรรมประกอบการเล่นหนังใหญ่วัดขนอน ต.สร้อยฟ้า อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เนื้อหาประกอบด้วย บทนำ ว่าด้วยความเป็นมาของปัญหา ความมุ่งหมาย ขอบเขต ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับและวิธีดำเนินการ บทที่ ๒ ความเป็นมาของหนังใหญ่วัดขนอน บทที่ ๓ การเก็บข้อมูล บทที่ ๔ การวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ ๕ ความสัมพันธ์ของศิลปแขนงต่างๆ บทที่ ๖ บทพากย์บทเจรจา บทที่ ๗ การศึกษาและวิเคราะห์บทพากย์ บทที่ ๘ การเผยแพ่บทพากย์ บทที่ ๙สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ
องค์ความรู้ เรื่อง พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
วันอังคารที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญ กุศลถวายเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท โดยมีนายสตวัน ฮ่มซ้าย รองอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรร่วมในพิธี ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ทั้งนี้ด้วยวันที่ ๓ พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประชาชนชาวไทยต่างล้วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่พระองค์ทรงทุ่มเทประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ด้วยพระวิริยอุตสาหะ และพระปรีชาสามารถเป็นอเนกประการในการรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นสืบมาจนถึงทุกวันนี้
จารึกฐานพระพุทธรูปศิลาเขียว วัดข้าวสาร
แผ่นหิน ปลายมน จำหลักรูปพุทธปฏิมากรรม
พุทธศตวรรษ ๒๐ ได้จากวัดข้าวสาร
ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
จารึกนี้เป็นจารึกที่อยู่ใต้ฐานพระพุทธรูปศิลาจำหลักลายเส้น พุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย พบโดยนายจิตร พ่วงแผน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓ ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย ซึ่งได้นำมามอบให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ต่อมา ศ. ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้อ่านคำจารึกและนำไปตีพิมพ์ลงในวารสารศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้นำมาตีพิมพ์อีกครั้งในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๒๗ กรมศิลปากรได้นำมาตีพิมพ์ในรวมอยู่ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย และในครั้งนี้ ได้มีการเพิ่มเติมคำอธิบายเกี่ยวกับการกำหนดอายุของ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ลงไปด้วย
ที่มาของข้อมูล : https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/231
ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ผ่าน QR code
จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก
โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓
วัดช่องลม พระอารามหลวงชั้นสามัญ ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๓ งาน ๘๐ ตารางวา ลักษณะพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมคางหมู กว้างทางทิศตะวันตก และแคบทางทิศตะวันออก พื้นที่แบ่งเป็นเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสโดยถนนสายเล็ก ๆ ที่วัดบริจาคเป็นทางสาธารณะแก่ชุมชน ภายในเขตสังฆาวาสพบหลักฐานบ้านเรือนของชาวจีนที่มีอายุเก่าแก่ เจ้าของได้ถวายที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้กับวัดช่องลม สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในบ้านถูกปรับเปลี่ยนเป็นกุฏิสงฆ์และหอฉันท์ของทางวัด และหลักฐานที่สำคัญที่ยังคงอยู่คือ ซุ้มประตูทางเข้าบ้าน
บ้านจีน ตั้งอยู่ภายในเขตสังฆาวาสของวัดช่องลม วางตัวแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก หน้าบ้านหันสู่แม่น้ำแม่กลอง จากคำบอกเล่าของพระครูโสภณปัญญาวัตน์ เจ้าอาวาสวัดช่องลม ว่า
“บ้านคนจีนบริเวณนี้น่าจะเป็นบ้านที่เก็บภาษีอากรบ่อนเบี้ย (อาจจะเป็นเรือ ไม้ หรือหวย) มีฐานะดีระดับเศรษฐีและมีข้าทาสบริวารมากมาย ภายในบริเวณบ้านมีสิ่งปลูกสร้างจำนวนมาก เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ สมัยที่ท่านเจ้าอาวาสอุปสมบทใหม่ ๆ ยังคงมีอาคารอีกหลายหลังภายในบริเวณนี้ ได้แก่
๑) อาคารแบบจีนใต้ถุนสูงพื้นทำจากปูนขาวสอด้วยกาวหนังวัวและปูไม้กระดานทับ ผนังหนา เสาทำจากไม้สัก และหลังคาใช้กระเบื้องที่นำเข้ามาจากเมืองจีนถูกดัดแปลงให้เป็นที่อยู่ของเด็กวัด
๒) อาคารตรงกลางที่มี ๘ ห้องต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นอาคารเรียนนักธรรม (โรงเรียนพระปริยัติธรรม)
๓) ศาลาริมน้ำมีชานยื่นออกไปสำหรับขึ้นเรือกว้างประมาณ ๒ เมตร ซึ่งปัจจุบันศาลาท่าน้ำได้ชำรุดทรุดโทรมจนไม่เหลือร่องรอยแล้ว
๔) ซุ้มประตูแบบจีนที่ยังหลงเหลือหลักฐานค่อนข้างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลาแต่ก็ยังคงรูปแบบศิลปะแบบจีนที่สวยงาม
สาเหตุที่เจ้าของยกบ้านและที่ดินให้เป็นสมบัติของวัด เนื่องจากเกิดอหิวาตกโรคข้าทาสบริวารในบ้านเสียชีวิต จึงย้ายครอบครัวไปตั้งรกรากที่อื่น”
บ้านหลังนี้เป็นบ้านเศรษฐีหรือคหบดีมีหน้าที่เก็บส่วยและภาษี (ไม้/เรือ/ฝิ่น) จากเรือบรรทุกสินค้าในแม่น้ำแม่กลอง สอดคล้องกับสถานที่ตั้งที่อยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง และชื่อบ้านบริเวณนั้นว่า บ้านท่าเสา ภายในบ้านพบสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ ๑) เรือนประธานจำนวน ๘ ห้อง ๒) เรือนบริวารขนาบเรือนประธาน 2 ด้าน ซ้ายและขวา มีลักษณะเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง ๓) ศาลาท่าน้ำ ๔) ซุ้มประตู
จากหลักฐานของสิ่งก่อสร้างที่พบมีลักษณะแผนผังเหมือนกับบ้านคหบดีจีนที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ เช่น บ้านหวั่งหลี บ้านโปษ์กี่ เป็นต้น อาคารวางตัวโดยคำนึงถึงแม่น้ำซึ่งถือเป็นมงคล หรือถนนที่ตัดผ่านมากกว่าการคำนึงถึงทิศทาง บ้านมีการวางผังแบบซานเหอเอี้ยน คือการนำอาคาร ๓ อาคารมาประกอบเข้ากันเป็นรูปตัว U ประกอบด้วย เรือนประธานมีลักษณะเป็นตึกขนาดใหญ่วางตัวขนานกับแม่น้ำ สำหรับเป็นห้องบูชาบรรพบุรุษหรือห้องรับแขก และตึกยาวขนาบเรือนประธานทั้งสองข้าง ตึก ๓ หลังมีลักษณะชั้นเดียวหรือสองชั้น มีบันไดทางขึ้นจากด้านนอก สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย พื้นที่ตรงกลางระหว่างตึกทั้ง ๓ เป็นลานโล่ง (open court) ทางด้านหน้ามีซุ้มประตูแบบจีน มีหลังคาคลุมและป้ายชื่อบ้าน บริเวณผนังเขียนภาพเล่าเรื่อง
ซุ้มประตูจีน มีลักษณะตัวซุ้มประตูก่ออิฐถือปูน ประตูทางเข้าและเครื่องบนทำจากไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาสีแดง สันหลังคาประดับลวดลายกระเบื้องเคลือบ ในการศึกษานี้แบ่งศึกษาเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ส่วนหลังคา หลังคาแบบซานเหมินติ่ง หมายถึง หลังคาสำหรับซานเหมิน ซานเหมิน คือชื่อเรียกอาคารหรือซุ้มด้านหน้าของบริเวณหนึ่ง โดยปกติอาคารซานเหมินจะทำหลังคาลดหนึ่งชั้นหรือซ้อนชั้น สันหลังคามีลักษณะแอ่นตรงกลาง ปลายสันหลังคาทั้ง ๒ ด้านจะเชิดหัวขึ้น ส่วนปลายสุดทำเป็นรูปหางนกนางแอ่น บนหางนกนางแอ่นเป็นมังกรพ่นน้ำลายเครือเถาหรือใบไม้ม้วนสะบัดปลายทั้งสองด้าน ส่วนกลางของสันหลังคาประดับปูนปั้นรูปกิเลน และหงส์ชูดอกโบตั๋นและดอกเบญจมาศตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางสีแดงที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนโค้งหงาย
ตอนบน คือ ส่วนตั้งแต่เหนือขอบประตูจรดใต้หลังคา ส่วนนี้ประกอบด้วย ป้ายชื่อบ้าน และภาพเล่าเรื่อง ฮก ลก ซิ่ว
ป้ายชื่อบ้านเป็นตัวอักษรจีน 2 ตัว 合芳 สีเหลืองบนพื้นสีแดง อ่านว่า “ฮวง ฮะ” (แต้จิ๋ว, อ่านจากหลังมาหน้า) เป็นชื่อเจ้าของบ้าน สอดคล้องกับหลักฐานการสร้างศาลเจ้าพ่อกวนอูว่า สมเด็จเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดศรีสุริยวงศ์ จำนวน ๒ ไร่ ๓๗ ตารางวา ให้แก่ชาวราชบุรีสร้างศาลเจ้าโดยการนำของนายฮวงฮะ แซ่อึ้ง นายเซียมง้วน แซ่เตียว ร่วมกันสละทรัพย์สินตามจิตศรัทธา หรืออ่านว่า “ฟาง เหอ” (จีนกลาง) แปลว่า กลิ่นหอม บรรยากาศดี
ตอนกลาง คือ ส่วนที่อยู่ระหว่างฐานถึงตอนบน เหนือกรอบประตูมีตัวอักษรจีนอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมเขียนด้วยสีเขียวคู่กัน กรอบทางขวาอ่านว่า “ปู่” แปลว่า ร่ำรวย กรอบทางซ้ายอ่านว่า “กุ้ยหรือกุ่ย”แปลว่า ยศศักดิ์ ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายมงคล และลวดลายต่าง ๆ ในกรอบกระจกเป็นภาพบุคคลและนก
ตอนล่าง ส่วนที่เป็นฐานของอาคาร
ระบบโครงสร้างรับน้ำหนัก ระบบโครงสร้างรับน้ำหนักของซุ้มประตูของศาลเจ้าหรือบ้านมีระบบที่เหมือนกันทุกสกุลช่าง ประกอบจากคานหน้าตัดสี่เหลี่ยม ด้วยขนาดที่เล็กของซุ้มประตูนี้ทำให้มีคานแค่คานเดียว และใช้โครงสร้างทางตั้งมารับที่เรียกว่า เสาดั้ง รองรับแปกลม และมีไม้กลอนวางขวางแป เสาดั้งจะตั้งอยู่บนเสาอีกทีหนึ่ง โดยซุ้มประตูนี้มีด้านละ ๒ เสา มีขื่อพาดระหว่างเสาทั้งสองต้น การถ่ายน้ำหนักของหลังคาจะถ่ายลงบนแปกลมไปสู่เสาดั้งและเสา เสาทุกต้นทำหน้าที่รับแปโดยตรง
จากหลักฐานมีชื่อเจ้าของบ้านเป็นผู้บริจาคทรัพย์สร้างศาลเจ้าพ่อกวนอู ในสมัยรัชกาลที่ ๕ รูปแบบของแผนผังบ้านที่คล้ายคลึงกับบ้านจีนในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ และรูปแบบศิลปกรรมหลังคาแบบซานเหมินติ่ง การตกแต่งลวดลายสันหลังคาโดยใช้กระเบื้องตัดหลากหลายสีสันเป็นที่นิยมทำในสกุลช่างแต้จิ๋ว สันนิษฐานว่าบ้านและซุ้มประตูเป็นศิลปะจีนสกุลช่างแต้จิ๋วที่เข้ามาตั้งรกรากในจังหวัดราชบุรีสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เรียบเรียงโดย: นางสาวสุกัญญา เรือนแก้ว ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ
เอกสารอ้างอิง
ชูพงษ์ ทองคำสมุทร , ฮวงจุ้ยกับการออกแบบสถาปัตยกรรม , (ขอนแก่น :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น , ๒๕๕๕) , ๑๖.
ผุสดี ทิพทัส , บ้านในกรุงรัตนโกสินทร์ ๒ : รัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัว (พ.ศ.๒๓๙๔ - พ.ศ.๒๔๕๓) , (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย , ๒๕๔๕) , ๖๙.
พรพรรณ จันทโรนานนท์ , วิถีจีน , (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แปลน พริ้นติ้ง ,
๒๕๔๖) , ๙๗
_______. ฮก ลก ซิ่ว โชคลาภอายุยืน , (กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์ ,
๒๕๔๙) ,๒๕๓.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด มุจลินทร์, โครงการบูรณะซ่อมแซมซุ้มประตูเก๋งจีนวัด
ช่องลม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ๒๕๕๙, (ม.ป.ท. :
๒๕๕๙), หน้า ๑-๒.
อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. ศาลเจ้าในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๖๑.
สัมภาษณ์
พระครูโสภณปัญญาวัฒน์, เจ้าอาวาสวัดช่องลม
ที่มาของภาพ
Google Earth
https://www.triptravelgang.com/travel-thailand/43662/
ชื่อเรื่อง เทศนาธัมมสังคิณี-ยมกปกรณ์สพ.บ. 193/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 4.8 ซ.ม. ยาว 56.7 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ร้อยเรื่องเล่าเมืองสามอ่าว ตอนที่ ๔ "หุบไร่คา ที่รัก" บันทึกความทรงจำจากการสำรวจภาพเขียนสีที่เขาสามร้อยยอดจัดทำโดย : นางสาวชนัญชิตา กิจโฉ ผู้ช่วยนักโบราณคดี กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.68/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4.5 x 49.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 44 (19-28) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.100/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 72 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 59 (160-169) ผูก 10 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสหร-นคร-กัณฑ์) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.130/6กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 70 หน้า ; 4.7 x 54.6 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 76 (288-301) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา (ฎีกาธมฺมจกฺก)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม