ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
จดหมายเหตุเมืองนครราชสีมา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2521
รวบรวมเนื้อหาเรื่องจดหมายเหตุนครราชสีมา เรื่องการฝึกหัวใจ โภชนาการในโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง ความสัมพันธ์ของโรคกระดูกกับผู้สูงอายุ วิธีบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพ และตำราอาหารภาคต่าง ๆ
- โบราณสถานวัดศรีโทล -
.
โบราณสถานวัดศรีโทลตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยทางด้านทิศตะวันตก ห่างจากประตูอ้อหรือประตูเมืองด้านทิศตะวันตกไปประมาณ ๕๐๐ เมตร ถือเป็นโบราณสถานสำคัญอีกแห่งหนึ่งในเขตอรัญญิก เมืองเก่าสุโขทัย
.
โบราณสถานแห่งนี้ประกอบด้วย มณฑปเป็นประธานของวัด ซึ่งเดิมเคยประดิษฐานพระพุทธรูปที่ได้ชำรุดหักพังไปหมดแล้ว มณฑปก่อขึ้นจากอิฐเป็นห้องสี่เหลี่ยม มีเสาสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่เพื่อรองรับส่วนบนที่เป็นหลังคาก่ออิฐน้ำหนักมาก อาคารที่มีเครื่องบนก่อด้วยอิฐนี้แสดงระดับศักดิ์ความสำคัญของตัวอาคารประดิษฐานพระพุทธรูป ว่าแตกต่างจากวิหาร ซึ่งเห็นเหลือแต่ฐานกับเสาที่ตั้งชิดกันอยู่ข้างหน้า ตัววิหารเดิมมีส่วนบนเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เป็นสถานที่สำหรับประชาชนทั่วไปเข้าไปเพื่อนมัสการพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในมณฑป องค์ประกอบทั้งหมดน่าจะเป็นการจำลองภาพสมัยพุทธกาลเมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ในพระคันธกุฎี หรือกุฏิส่วนพระองค์ในพระอารามแห่งใดแห่งหนึ่ง โดยมีวิหารสำหรับเป็นสถานที่ให้สาธุชนใช้เป็นที่สักการะพระพุทธองค์ เป็นอาคารที่แยกสัดส่วนต่างหากจากพระคันธกุฎี
.
ชื่อวัดศรีโทล ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๔ วัดป่ามะม่วง ภาษาเขมร (ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๑-๑๔) ความว่า “...พระมหาเถร...ผู้ทรงพระไตรปิฎกมาจากลังกาทวีปประจำอยู่...สีโทลโดยทิศทักษิณของป่ามะม่วง (เขียน) พระคาถาไว้สรรเสริญ พระเกียรติยศทั้งปวง...” ทำให้สันนิษฐานว่าเดิมโบราณสถานวัดศรีโทลแห่งนี้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถรผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎกจากลังกาทวีป พระมหาเถรผู้นี้ เชื่อกันว่าคือผู้ประพันธ์คาถาสรรเสริญพระเกียรติ พระมหาธรรมราชาลิไท ที่ทรงผนวช ณ ป่ามะม่วง เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๔ (อ่านข้อมูลจารึกหลักนี้เพิ่มเติมได้ตามลิ้งก์นี้ >>> https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1329)
การทำสมุดไทย และการเตรียมใบลาน
การทำสมุดไทยและการเตรียมใบลาน มีวิธีการที่แปลก น่าสนใจ และควรศึกษาอย่างยิ่ง แต่ละอย่างต้องใช้แรงงานและเวลาพอสมควร จึงผลิตออกมาเป็นเล่ม เป็นผูก ใช้ประโยชน์ในการขีดเขียนได้อย่างดี
โดยทั่วไปหนังสือสมุดไทยมี ๒ สี คือ สีดำ และสีขาว เรียกว่าสมุดไทยดำ และสมุดไทยขาว ในภาคใต้นิยมเรียกสมุดไทยดำและสมุดไทยขาวว่า บุดดำและบุดขาว สมุดไทยนี้ส่วนใหญ่ทำจากเปลือกของต้นข่อย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมุดข่อย
หนังสือใบลาน เป็นหนังสือโบราณประเภทหนึ่งซึ่งจารลายลักษณ์อักษรลงบนใบของต้นลาน ใบลานที่ใช้เป็นใบลานที่ไม่แก่จัด เรียกกันว่าเพสสาด คือใบอ่อนที่สองซึ่งเริ่มจะคลี่กลีบใบออกนั่นเอง ใบลานที่รวมได้มาทั้งหมดมีขนาดไม่เท่ากัน ก่อนที่จะนำไปตกแต่งเพื่อใช้ประโยชน์ต้องคัดเลือกให้ได้ขนาดเท่า ๆ กันทุกใบ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ แล้วจึงนำไปเจียนก้านลาน ลานที่เจียนก้านแล้วจะมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า นำลานไปแช่น้ำนาน ๑ คืน หรือประมาณ ๒๔ ชั่วโมง บางท้องถิ่นนำใบลานไปต้มในน้ำซาวข้าว ต้มให้เดือดแล้วจึงนำออกผึ่งหรือตากให้แห้ง ตากให้ถูกแดดและน้ำค้าง ประมาณ ๑-๒ วัน ใบลานที่แห้งสนิทดีแล้วต้องคลี่ออก เช็ดทำความสะอาดทีละใบก่อนที่จะนำมาแทงลาน ซึ่งใช้ขนอบเป็นพิมพ์สำหรับแทงลานโดยเฉพาะ นำใบลานที่แทงแล้วประมาณ ๑๐-๒๐ ใบ มาเรียงซ้อนกันแล้วประกับด้วยขนอบตามขนาดที่ต้องการ
ใบลานแต่ละกับที่แห้งแล้ว ต้องนำลานทั้งกับมาไสด้วยกบให้ขอบลานเรียบเสมอกันทั้ง ๔ ด้าน แล้วทำความสะอาดลานทีละใบโดยใช้ทรายละเอียดคั่วหรือตากแดดให้ร้อนจัดโรยลงบนใบลาน แล้วใช้ลูกประคบลูบไปมาให้ผิวหน้าลานเรียบพร้อมทั้งใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดใบลานดีแล้ว จากนั้นจึงใช้เหล็กแหลมเผาไฟเจาะตามช่องที่แทงไว้ในตอนแรก แล้วจัดใบลานเข้าผูก พร้อมจะใช้จารหนังสือได้ทันที
หนังสือสมุดไทยและคัมภีร์ใบลาน เป็นหลักฐานวิชาการที่มีคุณลักษณะทางเสริมสร้างทักษะแก่นักศึกษาและประชาชนในด้านประวัติการของประเทศชาติ และภูมิหลังของอารยธรรมแห่งสังคมกลุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วราชอาณาจักรไทย นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เอกสารที่บันทึกสรรพวิชาการของบรรพชนไทยเหล่านั้น เป็นเสมือนกระจกเงาที่ส่องสะท้อนให้เห็นอารยธรรม วัฒนธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม และคุณธรรม ที่มีมาแต่อดีต ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแบบอย่างในการปูพื้นฐานสู่สังคมปัจจุบันและอนาคต
รวมรวบโดย. นางสมร พูนพนัง บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
อ้างอิง. ก่องแก้ว วีรประจักษ์. หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. กรุงเทพฯ ; กรมศิลปากร, ๒๕๓๐.
ตีพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒ กรกฎาคม ๒๔๑๘ วันประสูติพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมสุภาพ ประสูติเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๑๘ มีพระนามเดิมว่า "หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร"
ทรงศึกษาวิชา ณ ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนวอเรนส์ ฮิลส์, แฮร์โรว์, ตรินิตี, มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และโรงเรียนกฎหมาย กรุงลอนดอน สอบไล่ได้วิชาทางกฎหมายมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ
ในรัชกาลที่ ๕ รับราชการเป็นเลขานุการพิเศษ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฏ์ครั้งทรงเป็นผู้กำกับราชการทูต ณ ยุโรป เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๐ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๔๓ เป็นนักเรียนผู้ช่วยกองที่ปรึกษา กระทรวงการต่างประเทศ แล้วไปเป็นเลขานุการพิเศษ กระทรวงมหาดไทย พุทธศักราช ๒๔๔๕ เป็นปลัดมณฑลนครศรีธรรมราช และผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พุทธศักราช ๒๔๔๘ เป็นอุปทูตสยามกรุงปารีส กระทรวงการต่างประเทศ พุทธศักราช ๒๔๔๙ เป็นอัครราชทูตสยามกรุงปารีส มาดริด ลิสบอน พุทธศักราช ๒๔๕๒ เป็นรองเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ในรัชกาลที่ ๖ เป็นเสนาบดี เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๕๔ รับพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์เอก พุทธศักราช ๒๔๕๕ เป็นอัครราชทูตพิเศษมีอำนาจเต็มประจำกรุงปารีส หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาและรับพระราชทานพระสุพรรณบัฏเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๖๒ ทรงเป็นผู้แทนสยาม ลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ครั้งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ร่วมกับพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร นับเป็นพระราชนัดดาพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพิเศษ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๔๗๑ พระชันษา ๕๔ ปี
ภาพ : มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
นางวิรยาร์ ชำนาญพล ผู้อำนวยการกลุ่มระบบสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม ร่วมอภิปรายแบบคณะ ในการจัดกิจกรรมเปิดตัวนิทรรศการออนไลน์ “Forging History: Metals in the Crucible of ASEAN’s Transformation” ภายใต้โครงการจดหมายเหตุดิจิทัลทางมรดกวัฒนธรรมแห่งอาเซียน ACHDA โดยมีผู้แทนเข้าร่วมอภิปราย จาก ประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และ ไทย เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14.00 น.ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม https://heritage.asean.org/e-exhibitions
ความเชื่อที่หมอเฮาส์ได้บันทึกไว้ ในจดหมายเหตุโหร ในรัชกาลที่ 2 ระบุว่า “ปีมะโรง จ.ศ. 1182 [พ.ศ.2363] ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 เวลายามเศษ ทิศพายัพเปนแสงไฟจับอากาศ โหรดูเคราะห์เมืองว่าร้าย จะมีศึกผีมาแต่ทิศทักษิณ” นอกจากนี้ยังมีจดหมายเหตุโหรอีกฉบับของหอสมุดแห่งชาติ ก็กล่าวถึงคำทำนายของโหรหลวงในสมัยรัชกาลที่ 2 ทำนองเดียวกันนี้ว่า “เดือน 7 จะมีศึกมาแต่ทิศทักษิณ เปนทัพผีเข้ามาแต่ ปากน้ำ” ในเบื้องต้นนี้สรุปได้ว่า มีคำทำนายที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ว่าจะมีข้าศึกมารุกรานโดยยกเข้ามาทางปากน้ำสมุทรปราการ เมื่อเกิดโรคอหิวาต์ระบาดโดยแพร่ลามมาจากมหาสมุทรอินเดีย เข้าเกาะหมาก ปีนัง ไทรบุรี และหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตก แล้วมาปากน้ำสมุทรปราการและกรุงเทพฯ ตามลำดับ ผู้คนก็เข้าใจไปว่าโรคอหิวาต์นั้นคือ “กองทัพผี” ตามคำทำนายของโหรหลวง เมื่อโรคระบาดถูกเข้าใจในภาษาว่าเป็นกองทัพผีที่ยกมารุกรานจากภายนอก ... ---------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ---------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง กำพล จำปาพันธ์. “โรคห่ากับการสร้างนาฏกรรมรัฐ ทำไมจึง ยิงปืนใหญ่ไล่ผี เมื่อโรคอหิวาต์ระบาดใน กรุงเทพฯ พ.ศ.2363”. ศิลปวัฒนธรรม. 8 (มิถุนายน 2563) : 104-109. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. จิตรกรรมรอบวิหารหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.m-culture.in.th/album/170854/ (วันที่ 27 พฤษภาคม 2564) ศิลปวัฒนธรรม SILPA-MAG.COM ประวัติศาสตร์ . [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_35105 (วันที่ 14 พฤษภาคม 2564) เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ. พระนคร : ศิลปบรรณคาร, 2513. เลขหมู่ 895.9112 ช521ส เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก D-LIBRARY National Library of Thailand : http://164.115.27.97/digital/items/show/18856 (วันที่ 18 พฤษภาคม 2564)
สมเด็จย่า ผู้พิชิตยอดดอยอินทนนท์เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๐๗ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเชิญสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีให้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรมที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสร้างเสร็จได้ประมาณปีเศษ นับเป็นครั้งแรกที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จประพาสหัวเมืองในประเทศไทย เพื่อทรงพักพระราชอิริยาบทและทรงเยี่ยมราษฎร พระองค์ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากของราษฎร โดยเฉพาะความเจ็บไข้ได้ป่วย จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งหน่วยแพทย์อาสาเคลื่อนที่ในพระองค์ขึ้นในเวลาต่อมา* โดยจัดตั้งที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นแห่งแรก พระราชทานนามว่า “แพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนี” มีอักษรย่อว่า “พอ.สว.” วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๗ ขณะมีพระชนมายุ ๖๔ พรรษา มีพระราชดำริในการพิชิตยอดดอยอินทนนท์ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีถนน ผู้ที่ประสงค์จะขึ้นไปถึงยอดดอยต้องไต่เขาไปตามทางเดินของช้างป่า โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเริ่มเสด็จพระราชดำเนินจากบ้านผาหมอน ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกที่จะไปสู่ยอดดอยอินทนนท์ แล้วประทับแรมที่ปางสมเด็จ จากนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปที่ยอดดอย ขาลงมาจากยอดดอยทรงประทับแรมที่บ้านผาหมอน แล้วประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ จัดขบวนเล่นมาร์ชชิ่งแบนด์คอยรับเสด็จสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ กองรักษาการตำรวจภูธร เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินมาถึง ทรงบรรเลงดนตรีและทรงแสดงความยินดีกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ขอร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่* สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โปรดเกล้าฯ จัดตั้งหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ต่อมาจดทะเบียนหน่วยแพทย์อาสาเป็น “มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หนังสือเสด็จฯ พิชิตยอดดอยอินทนนท์ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๗อ้างอิง :๑. สำนักพระราชวัง. ๒๕๓๑. เสด็จฯ พิชิตยอดดอยอินทนนท์ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๗. กรุงเทพฯ: บวรสารการพิมพ์.๒. อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. ม.ป.ป. พระราชกรณียกิจสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (Online). http://www.theprincessmothermemorialpark.org/page.php?id=7, สืบค้นเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๔.
ชื่อเรื่อง ฌาปนกิจฺจานิสํสกถา (สลองปงสบ)
สพ.บ. 306/1
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 26 หน้า กว้าง 4.8 ซม. ยาว 55.5 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม-ธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
วินยธรสิกฺขาปทวินิจฺฉย (วินยสิกฺขาปทวินิจฺเฉยฺย)
ชบ.บ.96/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.309/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 5 x 57.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124 (287-301) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : มาราวิภงฺคปริตฺตสุตฺต (มาราวิภังคปริตฺตสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม