ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

          วันศุกร์ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖  เวลา ๑๔.๐๐ น. นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการพิเศษ “๑๐๐ ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” (100 Years of Silpa to Siam : Aesthetics of modern Art) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ           เนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (Corrado Feroci) เดินทางมารับราชการที่ประเทศไทยในฐานะประติมากรของกรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ – ๒๕๖๖ (ค.ศ. 1923 – 2023) และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ซึ่งเป็นห้องทำงานเดิมที่ศาสตราจารย์ศิลป์ใช้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ปิดปรับปรุงชั่วคราว กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จึงได้จัดนิทรรศการพิเศษ “๑๐๐ ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” ขึ้น เพื่อเผยแพร่ประวัติและผลงานของศาสตราจารย์ศิลป์ ทั้งในฐานะ     ประติมากรของกรมศิลปากร และครูผู้วางรากฐานการศึกษาทางด้านศิลปะตามหลักวิชาการแบบตะวันตก (Western Academic Art) โดยจำลองบรรยากาศห้องทำงานเดิมของศาสตราจารย์ศิลป์ จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนตัว ภาพร่าง และงานประติมากรรมอันทรงคุณค่าของศาสตราจารย์ศิลป์ รวมทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ของกลุ่มลูกศิษย์รุ่นบุกเบิก ศิลปินชั้นเยี่ยม และศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเคยจัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ โดยใช้พื้นที่อาคารนิทรรศการ ๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดนิทรรศการ แบ่งออกเป็น ๔ ห้อง ดังนี้           ห้องที่ ๑ จำลองบรรยากาศห้องทำงานเดิมของศาสตราจารย์ศิลป์ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ จัดแสดงประติมากรรมปลาสเตอร์และสำริด อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ส่วนตัว ภาพถ่าย และภาพลายเส้นแผนการสอนของศาสตราจารย์ศิลป์ โดยนำเสนอประวัติของศาสตราจารย์ศิลป์และลำดับเหตุการณ์ชีวิตและผลงานของศาสตราจารย์ศิลป์ผ่านเส้นเวลา (Timeline) เทียบเคียงเหตุการณ์สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ของไทยและโลก (ส่วนที่ ๑)            ห้องที่ ๒ เป็นส่วนต่อขยายจากห้องที่ ๑ จัดแสดงผลงานของศาสตราจารย์ศิลป์ เช่น ประติมากรรม ปลาสเตอร์และสำริด  แบบร่างภาพจิตรกรรมภายในพระพุทธรัตนสถาน พระบรมมหาราชวัง งานออกแบบประติมากรรมนูนต่ำบนเหรียญ ภาพถ่ายศาสตราจารย์ศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุจัดแสดงภายในห้อง และลำดับเหตุการณ์ชีวิตและผลงานของศาสตราจารย์ศิลป์ผ่านเส้นเวลา (Timeline) เทียบเคียงเหตุการณ์สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ของไทยและโลก (ส่วนที่ ๒)           ห้องที่ ๓ จัดแสดงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่เป็นศิลปินไทยรุ่นบุกเบิก ศิลปินชั้นเยี่ยม และศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเคยจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ สะท้อนให้เห็นถึงถึงความพยายามในการขับเคลื่อนวงการศิลปะสมัยใหม่ของไทยในยุคเริ่มต้น ผ่านผลงานที่ศาสตราจารย์ศิลป์ได้ซื้อไว้เพื่อสนับสนุนให้ลูกศิษย์มีกำลังใจและกำลังทรัพย์ในการสร้างสรรค์ผลงานต่อไป โดยผลงานบางส่วนได้รับรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติในยุคแรก ๆ             ห้องที่ ๔ เป็นส่วนต่อขยายจากห้องที่ ๓ จัดแสดงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่เป็นศิลปินไทยรุ่นบุกเบิก ศิลปินชั้นเยี่ยมและศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเคยจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์            ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการพิเศษ “๑๐๐ ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๖ ณ อาคารนิทรรศการ ๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ค่าเข้าชม ชาวไทย   ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท 


ชื่อเรื่อง                     กิจจานุกิตย์ผู้แต่ง                       ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ความรู้ทั่วไป เลขหมู่                      030 ท486กศสถานที่พิมพ์               ธนบุรี สำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2508ลักษณะวัสดุ               196 หน้าหัวเรื่อง                     หนังสือรับรองงานศพ                              คำถามและคำตอบ                              ความรู้ทั่วไปภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือกิจจานุกิตย์เป็นเรื่องความรู้รอบตัว เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์เบื้องต้น ตลอดจนศาสนา เช่น เรื่องการกำหนดนับวันเดือนปี ดินฟ้าอากาศ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ


ชื่อผู้แต่ง          พระเทพสิทธิมุนี (โชดก ป. ๙) ชื่อเรื่อง           กตัญญูกตเวที ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        หจก.การพิมพ์พระนคร ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๖ จำนวนหน้า      ๑๑๐ หน้า รายละเอียด                         หนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์มาหลายครั้งแล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๑๒ เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีสาระ ประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกเพศทุกวัย ทุกชั้น เหมาะแก่นักเรียนนักศึกษา นักปฏิบัติ มีหลายรสหลายเรื่อง อ่านแล้วได้คติ เพลิดเพลิน ซาบซึ้งในพระคุณของบิดามารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธเจ้าและพระมหากษัตริย์  หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย


เลขวัตถุ ชื่อวัตถุ ขนาด (ซม.) ชนิด สมัยหรือฝีมือช่าง ประวัติการได้มา ภาพวัตถุจัดแสดง 47/2553 (27/2549) ภาชนะดินเผา ก้นกลม ปากกว้างผายออก ด้านในเรียบไม่มีลวดลาย ด้านนอกมีลายขูดขีดโดยรอบ สภาพชำรุด ขอบปากหักหายไปส่วนหนึ่ง ก้นทะลุ ส.18 ปก.19 ดินเผา ทวารวดี ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539


เลขทะเบียน : นพ.บ.427/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 154  (120-128) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : มาลาวิภักค์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.573/1                             ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 187  (357-364) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : วัตถุเผด--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม






ช้างบุเงิน ช้างยืนแท่นแกะสลักจากไม้บุด้วยเงิน ซึ่งการบุ หมายถึงการตี การแผ่ การกดทับ โดยการเอาโลหะที่มีลักษณะบางๆ ทำการหุ้มของบางสิ่งเข้าไว้ หรือการตีให้เข้ารูป โดยช่างอาจจะเลือกโลหะมีค่าชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างเช่น  ทองและเงิน แผ่ให้เป็นแผ่น นำมาหุ้มชิ้นงานที่แกะสลักจากไม้ จากนั้นตกแต่งให้เข้ารูปและสลักเป็นลวดลายตามต้องการ  ตัวช้างมีเครื่องประดับประดอบด้วย-ปกกระพองคือผ้าปิดด้านหน้าหัวช้าง แขวนกระดิ่ง -ผ้าคลุมหลังทำจากผ้าตาด ปักประดับด้วยแผ่นเงิน ดิ้น และเลื่อมโลหะ ชายผ้าห้อยพู่สีเขียวและสีแดง คงจำลองมาจากเครื่องประดับช้างที่มีการใช้จริงในขณะนั้น ด้านบนมีสัปคับเงินประดิษฐานพระพุทธรูป กางกั้นด้วยฉัตรปรุเงิน ๕ ชั้น                                    ซึ่งในแต่ละส่วนล้วนมีจารึกระบุปีที่สร้าง ในปี พ.ศ.๒๔๖๗-๒๔๖๘                                                       เมื่อแล้วเสร็จคงนำมาประกอบกันแล้วถวายแก่วัดพระธาตุหริภุญชัยเพื่อเป็นพุทธบูชา ช้างทรงเครื่องพร้อมสับคัปประดิษฐานพระพุทธรูปเชือกนี้ ปรากฏจารึกอักษรธรรมล้านนาอยู่หลายแห่งที่ระบุถึงผู้สร้างถวาย ในแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้ แผ่นเงินที่ฐาน มีจารึกความว่า “จุลสักราชได้ ๑๒๘๖ ตั๋วปี กาบไจ้ เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เม็งวัน ๑ ไตยรวงเหม้า ตรงกับวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ปะถะมูลศรัทธา แม่เจ้าบัวติ๊บเป๋นเค้า พร้อมกับด้วยลุกหลาน ปี่น้อง จุผู้จุคน ก็ได้สร้างยังรูปจ๊างเงินตั๋ว ๑ มาถวายเปนตานกับพระวิหารวัดหลวงลำพูนตราบ ๕,๐๐๐ พระวัสสาดีหลี ขอจุ่งจักเป็นพระก้ำยังศรัทธาผู้ข้าทั้งหลาย ตราบถึงยัง แก้วยอดพระนิปปานเจ้าจิ่ม เต๊อะ เรียบเรียงเป็นข้อความปัจจุบันได้ว่า เจ้าแม่บัวทิพย์พร้อมด้วยลูกหลานและพี่น้องทุกคน สร้างช้างเงิน ๑ ตัวถวายวัดพระธาตุหริภุญชัย (วัดหลวงลำพูน) ไว้ตราบเท่าพระพุทธศาสนาได้ ๕,๐๐๐ ปี และขอเป็นปัจจัยไปสู่ยังพระนิพพาน สัปคับ ฉลุจากแผ่นเงิน ประดิษฐานพระพุทธรูป จำนวน ๒ องค์ กางกั้นด้วยฉัตรเงิน ๕ ชั้น พระพุทธรูปแต่ละองค์นั้น มีจารึกดังต่อไปนี้ องค์ที่ ๑ ด้านซ้าย ความว่า “ศรัทธาเจ้าสายแก้วเป็นเก๊า พร้อมด้วยแม่ปี่น้องจุคน ก็ได้สร้างพุทธรูปเจ้าองค์นี้ไว้ก้ำจ๊ะตะกะ ๕,๐๐๐ วัสสา องค์ที่ ๒  ด้านขวา ความว่า “ศรัทธาเจ้ากาบคำเป็นเก๊า พร้อมด้วยแม่ปี่น้องจุกคน ก้ได้สร้างพุทธรูปเจ้าองค์นี้ไว้ก้ำจูจ๊ตะกะ ๕,๐๐๐ พระวัสสา ดีหลีแด่เต๊อะ อ้างอิง ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.


           สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเข้าใช้บริการ CU-eLibrary แหล่งรวมอีบุ๊ค ตำราวิชาการ และหนังสือทั่วไปกว่า 300 ชื่อเรื่อง รองรับการใช้งานผ่านเว็บไซต์ https://elibrary-nltelib.cu-elibrary.com และแอปพลิเคชัน CU-eLibrary ได้ทั้งระบบ iOS และ Andriod ผู้สนใจสามารถดูวิธีการสมัครใช้บริการได้ที่ https://shorturl.at/NOU46 หรือสอบถามแอดมินทาง inbox page: National Library of Thailand



๔ พฤศจิกายน ครบรอบ ๓๔ ปี ชุมพรในเส้นทางผ่านของพายุไต้ฝุ่นเกย์ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ช่วงปลายเดือนตุลาคม ๒๕๓๒ มีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นที่บริเวณปลายแหลมญวน ชายฝั่งประเทศเวียดนาม และเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก หย่อมความกดอากาศต่ำนี้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นดีเปรสชัน เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ บริเวณตอนใต้ของอ่าวไทย และทวีกำลังแรงต่อเนื่องเป็นพายุโซนร้อนในเวลาต่อมา โดยถูกตั้งชื่อเรียกว่าพายุโซนร้อน “เกย์” ซึ่งยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอีกจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ต่อมาพายุไต้ฝุ่น “เกย์” ได้ทวีกำลังแรงขึ้น โดยมีอัตราเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุถึง ๑๐๐ นอต หรือประมาณ ๑๘๕ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วของพายุไต้ฝุ่นระดับ ๓ ก่อนเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่บริเวณรอยต่อระหว่าง อ.ปะทิว กับ อ.ท่าแซะ จังหวัดชุมพร  ในตอนเช้าของวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ เมื่อเวลาประมาณ ๑๐.๓๐ น. แล้วเคลื่อนผ่านลงทะเลอันดามันในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ต่อไปยังมหาสมุทรอินเดียเหนือและถูกเปลี่ยนชื่อเป็นพายุไซโคลน KAVALI หลังจากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ ๕ ก่อนเคลื่อนขึ้นฝั่งไปยังรัฐอานธรประเทศ รัฐที่ใหญ่เป็นอันดับ ๔ ของประเทศอินเดีย แล้วสลายตัวไปบริเวณเหนือเทือกเขากัตส์ตะวันตก เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ทำไม ? พายุไต้ฝุ่น “เกย์” จึงเป็นพายุลูกประวัติศาสตร์ ๑. เป็นพายุลูกแรกและลูกเดียว (ตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลจนถึงปี ๒๕๖๑) ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในขณะที่เป็นพายุไต้ฝุ่น ๒. เป็นพายุไต้ฝุ่นลูกแรกและลูกเดียวที่ก่อตัวขึ้นในบริเวณอ่าวไทย ซึ่งเป็นอ่าวที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่แคบ รวมทั้งยังอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร การก่อตัวของพายุไต้ฝุ่นเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างกะทันหันในพื้นที่ดังกล่าว จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน อุณหภูมิของน้ำทะเลจะต้องใกล้เคียงหรือมากกว่า ๓๐ °C ซึ่งอยู่ในระดับที่ค่อนข้างอุ่น อีกทั้งช่วงความอุ่นของน้ำทะเลจะต้องอุ่นลึกลงไปมากพอที่คลื่นของน้ำที่เย็นกว่าจะไม่เข้ามาแทรกอยู่บนผิวน้ำ ซึ่งอ่าวไทยเป็นอ่าวน้ำตื้น ต่างกับทะเลฟิลิปินส์ที่จะเกิดพายุได้ง่ายกว่า ส่วนลมเฉือนจะต้องมีกำลังน้อย เพราะหากเมื่อลมเฉือนมีกำลังมาก การพาความร้อน และการหมุนเวียนในพายุหมุนจะถูกทำให้กระจาย และส่งผลให้ทวีกำลังไม่สำเร็จในระยะเวลาอันสั้น การพัฒนาตัวเป็นพายุไต้ฝุ่นจึงเป็นไปได้ยาก ๓. เป็นพายุ ๒ มหาสมุทร ในขณะที่เคลื่อนตัวอยู่บริเวณอ่าวไทย (ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก) ถูกตั้งชื่อว่า พายุไต้ฝุ่น "เกย์ (GAY) ซึ่งมีความแรงสูงสุดในเกณฑ์ ไต้ฝุ่นระดับ ๓ หลังจากเคลื่อนผ่านภาคใต้ของไทยลงสู่ทะเลอันดามันและเคลื่อนตัวต่อไปยังมหาสมุทรอินเดีย ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นพายุไซโคลน Kavali ซึ่งความแรงสูงสุดในเกณฑ์ ซุปเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ ๕ ๔. เป็นไต้ฝุ่นกำลังแรงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าไต้ฝุ่นลูกอื่น ๆ ที่มีกำลังแรงเท่ากัน ๕. เป็นพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดขณะขึ้นฝั่งเท่าที่เคยมีมาในคาบสมุทรมลายู ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากพายุไต้ฝุ่นเกย์ พายุไต้ฝุ่นเกย์ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปถึง ๔๔๖ คน บาดเจ็บ ๑๕๔ คน บ้านเรือนเสียหาย ๓๘,๐๐๒ หลัง ประชาชนเดือดร้อน ๑๕๓,๔๗๒ คน เรือล่ม ๓๙๑ ลำ ถนนเสียหาย ๕๗๙ เส้น สะพาน ๑๓๑ แห่ง ทำนบและฝาย ๔๙ แห่ง โรงเรียนพัง ๑๖๐ โรง วัด ๙๓ วัด มัสยิด ๖ แห่ง พื้นที่การเกษตร ๘๐,๙๐๐,๑๐๕ ไร่ (๑๒๙,๔๔๐.๑๖๘ ตร.กม.) สัตว์เลี้ยงตาย ๘๓,๔๙๐ ตัว ประเมินความเสียหาย ๑๑,๒๕๗,๒๖๕,๒๖๕ บาท  นอกจากนี้ยังมีรายงานเรือขุดเจาะน้ำมันซีเครสต์อับปางลงนอกชายฝั่ง มีลูกเรือเสียชีวิต ๙๑ คน รวมผู้เสียชีวิตทั้งหมด ๕๓๗ คน เช่นเดียวกับความเสียหายอย่างหนักที่เกิดขึ้นกับปะการังนอกชายฝั่งประเทศไทย พายุไต้ฝุ่นเกย์ถือเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยมากที่สุดในรอบ ๒๗ ปี นับตั้งแต่พายุโซนร้อนแฮเรียตถล่มแหลมตะลุมพุก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ส่วนทรัพย์สินของทางราชการและเอกชนเสียหายมูลค่าไม่ต่ำกว่า ๑ หมื่นล้านบาท เรือประมงจมลงสู่ใต้ท้องทะเลประมาณ ๕๐๐ ลำ นับเป็นการสูญเสียจากพายุไต้ฝุ่นครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย   อ้างอิง  - https://tiwrmdev.hii.or.th/current/1989/gay/main.html - National Oceanographic and Atmospheric Administration : NOAA, www.digital-typhoon.org - https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1416990 - https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_3913


          พระพุทธรูปนาคปรก           แบบศิลปะ : ลพบุรี           ชนิด : สำริด            ขนาด : สูง 46.50 เซนติเมตร   ตักกว้าง 22.50 เซนติเมตร           อายุสมัย : พุทธศตวรรษที่ 17 - 18           ลักษณะ : พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิ แสดงปางสมาธิบนขนดนาค   สามชั้น   เหนือพระเศียรมีนาค 7 เศียรแผ่พังพานโดยรอบ สวมเครื่องประดับศีรษะแบบกะบังหน้า มงกุฎยอดแหลม  สวมเครื่องประดับ ได้แก่ กุณฑล กรองศอ พาหุรัด กำไลข้อพระกร และข้อพระบาท ปรากฏกรอบไรพระศก พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงต่อกันเกือบเป็นเส้นตรง ลืมพระเนตร พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หนาแย้มพระสรวลเล็กน้อย ครองจีวรห่มคลุมบางแนบพระวรกายลักษณะคล้ายไม่ครองจีวร ปรากฏขอบสบงเป็นวงโค้งใต้พระนาภี           สภาพ : สมบูรณ์ สามารถถอดชิ้นส่วนได้                ประวัติ : กรมศิลปากรซื้อมาจากนายบรรจง ติณนนท์ 672 ตำบลลาดหญ้า อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544           สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/01/   ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi


           กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมทัวร์ไปกับศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 1 ครั้งแรกกับกิจกรรม "ไหว้พระ ชมโขน ยลศิลป์ ถิ่นพิมาย" ที่จะพาท่านเดินทางไปท่องเที่ยวไปกับกรมศิลปากรในราคาย่อมเยาว์ เพียงท่านละ 4,000 บาท  (ราคารวมค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พักและค่าเข้าชม) ในระยะเวลา 2 วัน 1 คืน ระหว่างวันที่ 20 - 21 มกราคม 2567 เพื่อชมโบราณสถานสำคัญในจังหวัดนครราชสีมา พร้อมวิทยากรมากประสบการณ์ผู้ทำงานในพื้นที่ รวมถึงนักโบราณคดีผู้ขุดค้นแหล่ง พบกับไฮไลท์สำคัญ คือ การชมโขนกรมศิลปากร เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "สำมนักขาก่อเหตุ อาเพศลงกา" ในบรรยากาศโบราณสถานปราสาทพิมาย ยามพลบค่ำ ณ ปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย             มีเส้นทางท่องเที่ยว  ดังนี้            - ขึ้นรถที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร            - วัดธรรมจักรเสมาราม (พระนอนทวารวดี 1,300 ปี)            - ปราสาทเมืองแขก            - เมืองพิมาย            - ท่านางสระผม            - กุฏิฤาษี            - ประตูชัย            - ชม “ปราสาทพิมายยามค่ำคืน” (Phimai Night: Light Up)            - ชมการแสดงโขนกรมศิลปากรชุดใหญ่            - สักการะพระเจ้าชัย(องค์จริง) ณ พิพิธภัณฑ์พิมาย            - ปราสาทพนมวัน            - ปราสาทบ้านบุใหญ่            - แหล่งตัดหินสีคิ้ว ทั้งนี้ "รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย สมทบกองทุนโบราณคดีเพื่อบูรณะโบราณสถานและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ            ผู้สนใจสามารถจองที่นั่ง หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ คุณวรรณพงษ์ 0958214816 คุณอรุณี 0958214791 หรือผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook Page : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร หรือ สแกน QR Code เพื่อติดต่อ Line Official (ไลน์)


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง ตลาดเก้าห้อง ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


Messenger