ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
พระวิษณุ (พระนารายณ์)
ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ เทวรูปองค์นี้ถูกเคลื่อนย้ายจากเมืองโบราณสุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย นำไปประดิษฐานไว้ ณ เทวสถาน กรุงเทพฯ และนำกลับมาจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗
พระวิษณุ หรือที่เรียกอีกนามหนึ่งว่า "พระนารายณ์" เป็นเทพหนึ่งในสามของศาสนาฮินดู (ตรีมูรติ) พระพรหมเป็นผู้สร้าง พระวิณุเป็นผู้รักษา พระศิวะหรือพระอิศวร เป็นผู้ทำลาย พระนารายณ์ทรงบรรทมเหนือหลังพญาอนันตนาคราช เมื่อโลกถูกทำลายลงและทรงสร้างโลกขึ้นมาใหม่ด้วยดอกบัวที่ผุดออกจากพระนาภีของพระองค์และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่บนนั้น พระนารายณ์ทรงเป็นเทพสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไวษณพนิกาย มีสี่กร ทรงถือจักร สังข์ คถา และดอกบัว ทรงครุฑเป็นพาหนะ และทรงมรพระมเหสี นามว่า พระลักษมี
ที่มาของข้อมูล :
หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ผ่าน QR code
จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก
โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓
เสฐียร พันธรังษี. ประเพณีทำบุญ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2514. เรื่องประเพณีทำบุญ เป็นหนังสือประเพณีเกี่ยวกับชีวิต มีเรื่องต่าง ๆ รวม 5 เรื่อง คือ ประเพณีทำบุญ ประเพณีเลียงลูก ประเพณีบวชนาค ประเพณีแต่งงาน และประเพณีทำศพ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ. 126/7ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.68/4คห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 44 (19-28) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ประติมากรรมปูนปั้นรูปบุรุษ พบที่เจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ประติมากรรมปูนปั้นรูปบุรุษ ยืนเอียงสะโพก เกล้าผมเป็นมวยสูงที่เรียกว่าทรงชฎามกุฎ ไม่มีรายละเอียดของเครื่องประดับศีรษะ แต่ปรากฏผ้าหรือสายรัดที่โคนมวยผม ใบหน้าค่อนข้างเหลี่ยม คิ้วต่อกันเป็นปีกกา ตาเหลือบมองลงต่ำ จมูกโด่ง ริมฝีปากได้รูป แสดงอาการอมยิ้มเล็กน้อย ใบหน้าแสดงความรู้สึกถึงความมีเมตตา เป็นประติมากรรมที่ถูกปั้นด้วยฝีมือช่างชั้นเยี่ยม ทั้งนี้ไม่ปรากฏรายละเอียดของเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ลักษณะการยืนแบบเอียงตนของประติมากรรมชิ้นนี้ แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะ แต่เนื่องจากใบหน้าแสดงถึงงานฝีมือช่างที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดีแล้ว จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) ประติมากรรมปูนปั้นชิ้นนี้ ไม่มีลักษณะทางประติมานวิทยาของรูปเคารพพระโพธิสัตว์ เช่น รูปพระอมิตาภะหรือสถูปจำลองบนมวยผม อาจเกิดจากมวยผมส่วนบนหักหายไปก็เป็นได้ แต่มีลักษณะที่โดดเด่นคือ ช่างได้ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกถึงความมีเมตตา ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญที่พระโพธิสัตว์ทรงมีต่อมวลมนุษย์ ประกอบกับท่ายืนแบบเอียงตน ชวนให้นึกถึงประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ ที่พบจากมืองโบราณสมัยทวารวดีอื่น ๆ ในภาคกลางของประเทศไทย เช่น พระโพธิสัตว์ดินเผา พบที่เจดีย์หมายเลข ๔๐ เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน งานประติมากรรมปูนปั้นถือเป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับศิลปกรรมสมัยทวารวดี แสดงให้เห็นถึงวิธี และรสนิยมในการตกแต่งศาสนสถาน ที่มีความหลากหลาย ทั้งประติมากรรมรูปเคารพ เช่น พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวดา หรือลวดลายประดับต่าง ๆ ชวนให้จินตนาการว่าเมื่อครั้งที่ศาสนสถานเหล่านี้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ จะเปี่ยมไปด้วยความสวยงาม และแสดงถึงความศรัทธาของช่างในสมัยทวารวดีมากเพียงใด -------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง-------------------------------------------------บรรณานุกรม กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. สมศักดิ์ รัตนกุล. โบราณคดีเมืองคูบัว. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๕.
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสุรินทร์
องค์ความรู้ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
เรื่อง โบราณสถานในจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชอัธยาศัยโปรดฯ ในการเสด็จประพาสทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง การเสด็จประพาสหัวเมืองใหญ่น้อยในประเทศนั้นมีจุดประสงค์เพื่อทรงตรวจราชการและสำรวจทุกข์สุขของราษฎรเป็นหลัก
บางคราวก็เสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถ จึงไม่โปรดฯ ให้จัดการรับเสด็จอย่างเป็นทางการ ไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใดๆ ไม่มีหมายกำหนดการล่วงหน้า และไม่มีพระประสงค์ที่จะแสดงพระองค์ให้ผู้อื่นรู้จัก
กำแพงเพชรมีโบราณสถานขนาดใหญ่น้อยเป็นจำนวนมากทั้งภายในเมืองและนอกเมือง เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรทางชลมารค ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๗ สิงหาคม ๒๔๔๙ พระองค์ทรงถ่ายรูปบุคคล วัดวาอาราม โบราณสถาน และสถานที่ต่างๆ ของเมืองกำแพงเพชร แล้วทรงมีพระราชนิพนธ์เล่าเรื่องเสด็จประพาสต้นไว้ด้วย
ลำดับการเสด็จประพาสต้นโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร
๒๒ สิงหาคม ๒๔๔๙ เสด็จทอดพระเนตรเมืองไตรตรึงษ์ ทรงแวะวัดวังพระธาตุ และวัดเจดีย์เจ็ดยอด
๒๓ สิงหาคม ๒๔๔๙ เสด็จประพาสในเมืองเก่ากำแพงเพชร ได้แก่ กำแพงเมือง ประตูบ้านโนน ป้อมเจ้าจันทร์ วัดพระแก้ว สระมน ศาลพระอิศวร
๒๔ สิงหาคม ๒๔๔๙ เสด็จประพาสตอนเหนือของเมืองเก่ากำแพงเพชร ได้แก่ ป้อมเพชร ประตูสะพานโคม วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ วัดอาวาสใหญ่
๒๕ สิงหาคม ๒๔๔๙ เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรฝั่งนครชุม ทอดพระเนตรวัดพระบรมธาตุ
๒๖ สิงหาคม ๒๔๔๙ เสด็จประพาสวัดเสด็จ และวัดคูยาง
บรรณานุกรม
- พระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง, ๒๕๔๗.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.5/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)