ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง อู่ทอง:  www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong ประวัติการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง            พุทธศักราช 2446 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี และเสด็จสำรวจเมืองโบราณอู่ทอง ทรงนิพนธ์เล่าเรื่องเมืองอู่ทอง ในรายงานเสด็จตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี และทรงนิพนธ์หนังสือเรื่องนิทานโบราณคดี            พุทธศักราช 2476 ราชบัณฑิตยสภาได้เริ่มทำการสำรวจทำแผนผังเมืองโบราณอู่ทองโดยสังเขป ซึ่งปรากฏว่าเป็นเมืองโบราณสำคัญที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี แห่งหนึ่ง            พุทธศักราช 2502 กรมศิลปากรได้จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ขึ้นเป็นอาคารชั่วคราวเพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจและขุดค้น ทางโบราณคดีที่เมืองโบราณอู่ทอง              พุทธศักราช 2504 กรมศิลปากร ทำการสำรวจขุดแต่งโบราณสถานที่มีกระจายอยู่ทั่วไปในเมืองโบราณอู่ทองเพิ่มเติม พบโบราณวัตถุสมัยทวารดีจำนวนมาก           พุทธศักราช 2507 - 2509 ศาตราจารย์ช็อง บวสเซลีเย่ร์ (M.JeanBoisselier) ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ชาว ฝรั่งเศส และหัวหน้าหน่วยศิลปากรในขณะนั้น ได้ทำการสำรวจขุดแต่งโบราณสถานในเมืองอู่ทอง และศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีกับเมืองโบราณอู่ทอง                         พุทธศักราช 2508 - 2509 กรมศิลปากรได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ขึ้นเป็นการถาวรเพื่อเก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พุทธศักราช 2509


ครบรอบ ๑๐๗ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร   วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑ ครบรอบ ๑๐๗ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร กำหนดการในโอกาส 107 ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2561 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   วันอาทิตย์ ที่ 25 มีนาคม 2561                  เวลา 08.30 น.- 09.45 น.                      - ผู้เข้าร่วมฟังเสวนาลงทะเบียน ณ ห้องดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เวลา 09.45 น.- 10.00 น.                      - อธิบดีกรมศิลปากร (นายอนันต์  ชูโชติ) กล่าวต้อนรับ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล                                                               รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เวลา 10.00 น.-11.00 น.                       - บรรยายพิเศษ การขับเคลื่อนนวัตกรรมในภาครัฐ                                                             โดย นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เวลา 11.10 น.                                    - อธิบดีกรมศิลปากร เปิดงาน 107 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร                                                 *  อธิบดีกรมศิลปากร เปิดนิทรรศการแผ่นดินไทยในอดีต                                                                       ณ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร                                                 * อธิบดีกรมศิลปากรพร้อมด้วยผู้บริหารและข้าราชการ                                                    เยี่ยมชมการออกร้านCreative Fine Artsและนิทรรศการของหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากร เวลา 12.00 น.-13.30 น.                       - รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) เวลา 13.30 น.-16.00 น.                       - เสวนาเรื่อง ฟิล์มกระจกและภาพถ่ายต้นฉบับ ชุด หอสมุดวชิรญาณ มรดกความทรงจำ                                                              ผู้ร่วมเสวนา                                                              นายภูธร  ภูมะธน นักวิชาการอิสระ                                                              นายนิติกร  กรัยวิเชียร  ผู้อำนวยการโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม                                                               บริษัทไทย เบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)                                                               นางสาวนันทกา  พลชัย  ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ                                                              ผู้ดำเนินรายการ                                                             นางสาวกรพินธ์  ทวีตา ผู้อำนวยการกลุ่มเอกสารจดหมายเหตุและบริการ เวลา 16.00 น.                                 - ชมการแสดงจากสำนักการสังคีต ณ สังคีตศาลา   วันจันทร์ ที่ 26 มีนาคม 2561 เวลา 08.30 น.- 09.30น.                             - ผู้ร่วมฟังเสวนาลงทะเบียน ณ ห้องดำรงราชานุภาพ                                                            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เวลา 09.30 น. – 12.00 น.                          - เสวนาเรื่อง พบปะอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันวาน                                                            ผู้ร่วมเสวนา                                                             นายเดโช สวนานนท์  อดีตอธิบดีกรมศิลปากร                                                            นายสุวิทย์  รัศมิภูติ  อดีตอธิบดีกรมศิลปากร                                                            นายอารักษ์  สังหิตกุล  อดีตอธิบดีกรมศิลปากร                                                            ผู้ดำเนินรายการ                                                            นายเขมชาติ  เทพไชย  อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร เวลา 12.00 น.- 13.00 น.                            - รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) เวลา 13.00 น.- 15.00 น.                            - เสวนาเรื่อง เมืองท่าโบราณกับเส้นทางสายไหมทางทะเลในประเทศไทย                                                                 ผู้ร่วมเสวนา                                                            นางอมรา  ศรีสุชาติ นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ                                                            นายพงศ์ธันว์  สำเภาเงิน นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ                                                                  นายภาณุวัตน์  เอื้อสามาลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ                                                            ผู้ดำเนินรายการ                                                            นายธราพงศ์  ศรีสุชาติ  อดีตผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี   16.00 น.                                              - ชมการแสดงจากสำนักการสังคีต ณ สังคีตศาลา   วันอังคารที่ 27 มีนาคม 2561 เวลา 08.50 น.                                        - รองอธิบดี ผู้อำนวยการสำนัก และข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร                                                                 พร้อมกัน ณ กรมศิลปากร เวลา 09.00 น.                                       - นายอนันต์  ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากรและคณะ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกรมศิลปากร 12 แห่ง เวลา 10.30 น. – 11.30 น.                     - พิธีบำเพ็ญกุศล ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เวลา 10.30 น. – 12.10 น.                     - พิธีมอบเกียรติบัตรและรางวัลให้แก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น  ผู้ปฏิบัติงานดีเด่นในสังกัดกรมศิลปากร                                                            - บุคคลที่สมควรยกย่องเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยความชื่อสัตย์สุจริต ประจำปี พ.ศ. 2561 เวลา 12.10 น. – 13.00 น.                    - รับประทานอาหารร่วมกัน ณ ห้องดำรงราชานุภาพ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เวลา 13.00 น. – 18.00 น.                     - กิจกรรมแข่งขันกีฬาภายในกรมศิลปากร เวลา 18.00 น .- 21.00 น.                     - กิจกรรมการแสดงเชิงสร้างสรรค์ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก)           - ปิดงาน 107 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร


วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2559 เวลา 8.30 น. นางวัญญา ประคำทอง ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม ร่วมพิธีเปิด งานDigitalThailand2016 โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี ณ ห้อง PlenaryHall ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในการนี้นางสาวตรีชฏา แสนศรีชัย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ นายณัฐภัทร สุขวิลัย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ และนายอภิญญา รุ่งพิทักษ์มานะ นักจัดการงานทั่วไป ร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย






วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ ๔ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านขามเดื่อราษฎร์สงเคราะห์ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๘๙ คน คุณครูจำนวน ๑๑ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางศรีสุดา ศรีสด และนางสาวอภิญญา สุขใหญ่ พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วัสดุ หินทราย แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย แบบบาปวน อายุสมัย ราวพุทธศตวรรษที่ 16 สถานที่พบ ได้จากปราสาทกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด หน้าบัน คือ แผงปิดจั่วหลังคาทั้งหน้าและหลังของอาคาร ในศิลปะเขมรมีการตกแต่งสลักแผงดังกล่าวเป็นลวดลายหรือภาพเล่าเรื่อง ซึ่งลวดลายเหล่านี้มีวิวัฒนาการทางศิลปะ สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องกำหนดอายุได้ สำหรับหน้าบันชิ้นนี้คงเป็นชิ้นส่วนของหน้าบันชั้นวิมาน (ชั้นที่ซ้อนเหนือเรือนธาตุปราสาท) หน้าบันแผ่นนี้สลักภาพพระอินทร์ประทับนั่งในท่ามหาราชลีลา (ชันเข่าขวา) เหนือช้างเอราวัณสามเศียร แวดล้อมด้วยลายก้านขดในผังสามเหลี่ยมคล้ายซุ้มเรือนแก้วรอบนอกมีลายใบไม้สามเหลี่ยม กรอบหน้าบันหยักโค้งบนกรอบสลักลายแถวดอกซีกดอกซ้อน ที่ปลายกรอบสลักเป็นรูปเศียรนาค พระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์สมัยโบราณเป็นเทพที่ได้รับการนับถือมาก ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม และเทพเจ้าแห่งสายฝน เป็นกษัตริย์แห่งปวงเทพ โดยทั่วไปพระอินทร์ทรงถือวัชระ 6 แฉกอันเป็นสัญลักษณ์แห่งสายฟ้า แต่บางครั้งก็ทรงถือดอกบัวในพระหัตถ์ได้เช่นเดียวกัน พระองค์ทรงช้างเอราวัณ (ไอราวัต) เป็นพาหนะ ทรงมีพันเนตรและมีพระฉวีสีทอง ต่อมาภายหลังความสำคัญของพระองค์ได้คลายลงจนบางครั้งทรงมีฐานะเป็นเพียงเทพผู้รักษาทิศคือทิศตะวันออกเท่านั้น


โครงการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติ เพื่อให้เป็น แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต   ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ภายใต้กิจกรรม“คนโคราช อ่านได้ อ่านดี”   ในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๑   ณ  หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา



กำหนดการเข้าร่วมกิจกรรม    2 - 10 พ.ย. 58 จังหวัดเปิดรับลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมฯ ทางเว็บไซต์ http://www.ayutthaya.go.th/bikefordad/  2 - 10 พ.ย. 58 รับลงทะเบียนด้วยตนเอง ณ ศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชั้น 2 อาคาร 4 ชั้น ห้องสำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.30 น. และวันหยุดราชการตั้งแต่เวลา 09.00 - 12.00 น.  20 พ.ย. 58 เวลา 15.00 น. จังหวัดซักซ้อมเส้นทางการปั่นจักรยานตามเส้นทางจริง  2 ธ.ค. 58 ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมพิธีการรับสิ่งของพระราชทาน และจัดพิธีที่ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  5 ธ.ค. 58 พิธีมอบเสื้อและสิ่งของพระราชทานให้กับผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมฯ ที่ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  11 ธ.ค. 58 เวลา 15.00 น. กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558 "ปั่นเพื่อพ่อ BIKE FOR DAD" รายละเอียดเส้นทางปั่นเพื่อพ่อ   ระยะทางปั่นเพื่อพ่อ 29 กิโลเมตร จุดเริ่มต้น ถนนหน้าศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดสิ้นสุด ถนนหน้าศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดพัก บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) สถานที่มงคลของจังหวัด - เจดีย์วัดสามปลื้ม - มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา - ศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) - พระตำหนักสิริยาลัย - เจดีย์พระศรีสุริโยทัย - พลับพลาตรีมุข - วัดหน้าพระเมรุ - วัดธรรมมิกราช - วัดราชบูรณะ - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม - โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ - เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา - วัดมหาธาตุ - พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) - วิหารพระมงคลบพิตร - ศาลหลักเมือง - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา - วัดใหญ่ชัยมงคล





***บรรณานุกรม***  หนังสือหายาก  ขุนศึกษากรรม์พิเศษ.  ตำนาน เมืองพิษณุโลก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  พระพุทธชินราช และวัดจุฬามณี เรียบเรียงขึ้นน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  และสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนารถ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาส  จังหวัดพิษณุโลก  เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๑.  ธนบุรี : โรงพิมพ์ประยูรวงศ์, ๒๕๐๑.


Messenger