ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,482 รายการ
ชื่อผู้แต่ง พลเรือตรี อุทัย หงส์โสภณชื่อเรื่อง อุทัยลิขิตครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 1สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ศูนย์การทหารราบปีที่พิมพ์ 2518จำนวนหน้า 65 หน้ารายละเอียด เป็นหนังสือที่ผู้เขียนมอบให้ แด่ท่านผู้ให้อุปการะ ในงานฌาปนกิจศพ ของคุณถวิล หงส์โสภณ ซึ่งเป็นภรรยาของผู้เขียน ในหนังสือเล่มนี้ มีทั้งคำโคลง คำกลอนและร้อยแก้ว ปะปนกันไปด้วยนานาอารมณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้เขียนยังใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับภรรยา ก่อนที่ภรรยาจะล่วงลับ
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “ลักษณะของทุเรียน”
จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย และยังเป็นเมืองผลไม้ ที่มีผลไม้นานาชนิด ตอนที่แล้วได้แนะนำ ทุเรียน ที่เป็นผลไม้ปลูกกันมากและมีชื่อเสียงของจันทบุรี เป็นสินค้าส่งออกประเทศจีนจำนวนมาก โดยเฉพาะทุเรียนหมอนทอง ผลผลิตทุเรียนสามารถแปรรูปได้หลายอย่างเพื่อเก็บไว้กินนานๆ ในตอนนี้จะมีรายละเอียดที่มาของทุเรียน และสายพันธุ์ทุเรียนที่ปลูกกันมาก
ทุเรียน อาจมีแหล่งกำเนิดมาจากเกาะบอร์เนียวหรือเกาะสุมาตรา ปัจจุบันการปลูกทุเรียนกระจายในทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งศรีลังกา แม้ไทยจะไม่ใช่แหล่งกำเนิดของทุเรียน แต่ชื่อเสียงทุเรียนไทยขจรขจายไปทั่วภาคพื้นเอเซีย แหล่งที่มีพื้นที่ปลูกทุเรียนสูงสุด 3 จังหวัดแรก คือ จันทบุรี ชุมพร และระยอง
ทุเรียนเป็นไม้สูงใหญ่ เปลือกไม้หยาบ เนื้อไม้สีแดงเข้มโดยเฉพาะที่ไส้ หรือแกน ใบ สลับบางหรือหนาขึ้นอยู่กับพันธุ์ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปหอก หรือรูปขอบขนานแกนรูปรี ฐานใบแหลมหรือบางทีก็ป้าน ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นเงางาม มีเส้นใบโยงใยเป็นร่างแหชัดกเจน เส้นกลางใบจม ใต้ใบเต็มไปด้วยเกล็ดเล็กๆ สีเงินหรือคล้ายสีทอง ใต้เกล็ดนี้มีชั้นของขนรูปดาวอยู่ เส้นกลางใบนูน เส้นแนงใบ (มีได้ถึง 15 คู่) เรียวโค้งจรดกันใกล้ๆริมใบ หูใบที่รีจนเกือบแหลม ยาว 5-10 มม. อยู่ไม่นานก็ร่วง
ส่วนดอกทุเรียนจะออกดอกแตกต่างกันไปตามพันธุ์และลักษณะอากาศ ช่อดอกทุเรียนออกตามด้านข้างและด้านล่างของกิ่งแก่ ดอกทุเรียนจัดเป็นพวกดอกสมบูรณ์ คือ มีทั้งใบประดับ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย ส่วนต่างๆของดอกทุเรียนเรียงกันอยู่เป็นวง
ผลทุเรียน เปลือกนอกเต็มไปด้วยหนามแหลมคม จึงได้ชื่อว่าดูเรียน (ดูริ Duri แปลว่าหนาม ผิวเปลือกสีเขียว-เหลือง รูปร่างผลกลม รี รูปไข่ บิดเบี้ยว ความสามารถในการพัฒนาของไข่ในพูเป็นตัวกำหนดรูปร่างของผล ปกติผลหนึ่งๆมี 5 พู น้อยครั้งจะพบผลมี 6 พู ก้านผลยาว 3-15 ซม. เนื้อหยาบหรือละเอียด มีสีขาว-เหลือง รสหวาน กลิ่นมากน้อยขึ้นอยู่กับพันธุ์และความแก่ความงอมเมื่อตอนฉีก เมื่อแก่หากไม่ตัดบ่ม ผลจะหล่นทั้งๆที่เปลือกยังไม่เปิด
อ้างอิง : ไพโรจน์ ผลประสิทธิ์. ผลไม้ไทยๆ : สำนักนายกรัฐมนตรี. 2545.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
บทความออนไลน์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
+++ทับหลังปราสาทเขาโล้นกลับคืนสู่มาตุภูมิ แผ่นดินจังหวัดสระแก้ว+++
--จากการที่ได้มีการติดตามโบราณวัตถุ ทับหลังปราสาทเขาโล้น และทับหลังปราสาทหนองหงส์ จากสหรัฐอเมริกา จนได้กลับคืนสู่ประเทศไทยนั้นล่าสุดกรมศิลปากรได้เคลื่อนย้าย และส่งมอบโบราณวัตถุทั้งสองรายการกลับคืนสู่มาตุภูมิทั้งจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดบุรีรัมย์เป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันที่ ๒๙ - ๓๐ มิถุนายน ที่ผ่านมา
--สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกรมศิลปากรรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก ได้มอบหมายให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี และอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม รับมอบทับหลังปราสาทเขาโล้น พร้อมชุดนิทรรศการพิเศษจากสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการส่งมอบโบราณวัตถุทับหลังดังกล่าว ณ อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ โดยมีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุ
--ในเบื้องต้น กรมศิลปากรกำหนดให้ดำเนินการจัดแสดงโบราณวัตถุทับหลังปราสาทเขาโล้นไว้ ณ ศูนย์บริการข้อมูล อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว เนื่องจากเป็นหน่วยงานของกรมศิลปากรที่อยู่ใกล้ปราสาทเขาโล้น ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านเจริญสุข หมู่ที่ ๖ ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ทั้งนี้ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธมนั้น มีอาคารศูนย์ข้อมูลที่เหมาะสมในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่โบราณวัตถุ รวมถึงระบบการจัดแสดง สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่พร้อมให้บริการแก่ประชาชนทั้งชาวจังหวัดสระแก้ว และผู้สนใจมาเยี่ยมชม
--ในการนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ขอนำภาพเบื้องหลังการรับมอบ และนำทับหลังมาจัดแสดงในนิทรรศการให้ได้ชมกัน และขอเล่าย้อนถึงหลักฐานในการติดตามทับหลังชิ้นสำคัญนี้ และรูปแบบศิลปกรรมอันทรงคุณค่า ดังนี้
--ทับหลังปราสาทเขาโล้น ปรากฏหลักฐานภาพถ่ายเก่า ว่าเดิมติดตั้งอยู่เหนือประตูทิศตะวันออกของปราสาทหลังกลาง ที่ปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว ต่อมาถูกลักลอบนำออกไปจากประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๑๑ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย โดยความร่วมมือของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้ติดตามกลับคืนมาถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา
--ทับหลังปราสาทเขาโล้น แกะสลักจากหินทรายปรากฏเป็นรูปบุคคลประทับอยู่เหนือเกียรติมุข (หน้ากาล) อยู่กึ่งของภาพจำหลัก สภาพชำรุด ผิวหน้าสึกกร่อน หน้าเทวดาหักหายไป ทับหลังแตกเป็น ๓ ส่วน Asian Art Museum ได้ซ่อมแซมโดยใช้ตะปูโลหะและเรซิ่นเชื่อมรอยแตกไว้ ขนาดกว้าง ๑๖๓.๘ เซนติเมตร สูง ๕๕ เซนติเมตร
--จากสภาพที่ปรากฏในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายเก่าที่บันทึกไว้นั้น เป็นที่น่าเสียดายว่ารูปเทวดานั่งชันเข่าที่มีอยู่เดิมได้ถูกกะเทาะหักหายไปบางส่วน อีกทั้งทับหลังได้ถูกตัดให้บางลงอาจเพื่อสะดวกแก่การขนย้าย ปัจจุบันจึงเหลือความหนาเพียง ๑๑ – ๑๕ เซนติเมตร
--จากรูปแบบศิลปกรรมที่ปรากฏบนทับหลังจำหลักภาพเทวดาประทับเหนือหน้ากาล ปราสาทเขาโล้น นั้น จัดเป็นทับหลังศิลปะเขมรในประเทศไทยแบบบาปวนตอนต้น กำหนออายุได้ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ทับหลังจำหลักภาพลักษณะนี้ยังพบได้จากโบราณสถานหลายแห่ง ดังเช่นที่ปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
--ทั้งนี้ อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธรม ได้เปิดให้เข้าชมทับหลังปราสาทเขาโล้น และนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ทับหลังปราสาทเขาโล้นคืนสู่มาตุภูมิ” ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป จึงขอเรียนเชิญประชาชน นักท่องเที่ยว ได้มาชมโบราณวัตถุชิ้นสำคัญนี้ เพื่อร่วมกันภาคภูมิใจ สร้างสรรค์จรรโลง ส่งเสริมการดูแล อนุรักษ์ รักษา และสืบทอดมรดกอันทรงคุณค่ายิ่งของประเทศนี้สืบต่อไป
อ้างอิง :
- สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. ข้อมูลสรุปการการติดตามโบราณวัตถุทับหลังเขาโล้นกลับคืนสู่ประเทศไทย
- สิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์. “ปราสาทเขาโล้น อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว” ใน ศิลปากร, ปีที่ ๖๓, ฉบับที่ ๓ (พฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๖๓): หน้า ๖๔-๘๕.
- สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ.. ศิลปะสมัยลพบุรี. กรุงเทพฯ, ๒๕๑๐.
- อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ. ๒๕๖๒.
ผู้เรียบเรียง : นางสาววัชรี ชมภู ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “นโยบายการดำเนินงานของกรมศิลปากรในปี ๒๕๖๖” วิทยากรโดย นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และชมย้อนหลังได้ทาง Youtube : กรมศิลปากร
ประติมากรรมรูปช้างมีบุคคลขี่อยู่บนหลัง
พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑
ได้มาจากจังหวัดสวรรคโลก กระทรวงมหาดไทยส่งมาให้
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประติมากรรมดินเผาเคลือบสีเขียวมีรอยแตกราน รูปช้างชูงวงที่รัดดอกบัวขึ้น ขาหลังย่อตัวลง บนหลังช้างมีพานเชิงสี่เหลี่ยม และบุคคลนั่งอยู่คล้ายกับเป็นควาญท้าย ตัวช้างยืนอยู่บนแผ่นภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบ
ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นตัวอย่างงานที่ผลิตขึ้นจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒ มีแหล่งเตาสำคัญสองแห่งคือ แหล่งเตาป่ายางและแหล่งเตาบ้านเกาะน้อย ผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาเหล่านี้พบทั้งประเภทภาชนะ อาทิ ชาม จาน กระปุก ไห ตลับ ฯลฯ ประเภทเครื่องประดับสถาปัตยกรรม อาทิ หน้าจั่ว บราลี กระเบื้องเชิงชาย ฯลฯ และประเภทประติมากรรม อาทิ รูปบุคคล หมากรุก และรูปสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะประติมากรรมรูปช้างนั้นพบทั้งสองแหล่งเตา ทั้งแบบเทคนิคเคลือบสีเขียว เทคนิคเคลือบสีน้ำตาล และเทคนิคเคลือบสองสี
สำหรับคำว่า “สังโลก” นั้นมีข้อสันนิษฐานถึงที่มาของชื่อเรียกต่างกันออกไป โดยแนวคิดแรก สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า มาจากคำว่า “ซ้องโกลก” ซึ่งแปลว่าเตาแผ่นดินซ้อง* ขณะที่แนวคิดที่สองคือ ชารล์ เนลสัน สปิงส์ (Charles Nelson Spinks) เชื่อว่ามาจากคำว่า “สวรรคโลก”**
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงสนพระราชหฤทัยเครื่องสังคโลกจากเมืองสุโขทัยอย่างมาก ด้วยมีพระประสงค์จะนำมาจัดแสดงในมิวเซียมหลวง*** ดังข้อความในพระราชหัตถ์เลขา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๘ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...ด้วยถ้วยชามสังคโลกต่าง ๆ ฃ้างเมืองเหนือเหนจะยังมีมาก หยากจะได้มาเกบไนมิวเซียม เปนที่คนต่างประเทศมาดูมาก ๆ ฃอให้ทรงมีตราไปให้เจ้าเมืองกรรมการสืบหา แต่กลัวจะไปกดขี่เอาแก่ราษฎร ฤๅหลอกลวงเอาถ้วยชามอื่น ๆ ที่เคยเปนมาแล้ว ฤๅจะให้ใครฃึ้นไปคิดอ่านจัดซื้อเสียต่างหากก็ตาม สุดแต่อย่าให้เปนต้องพระราชประสงค์แล้วฃ่มเหงเอา ถึงที่เจ้าเมืองกรมการจะหามาก็ให้เปนจัดซื้อทั้งสิ้น ฃอให้ทรงจัดให้ดีด้วย ถึงเปนของแตกเปนซีกแต่ใหญ่โต ฤๅที่เปนฃองเสียในเวลาเผา คือติดกันเลอะไปบ้าง เบี้ยวแฟบไปบ้างอย่างหนึ่งอย่างใดใช้ได้ทั้งนั้น...”
เดือนถัดมาทางกระทรวงมหาดไทยจึงได้แจ้งไปยังพระยาวิชิตภักดีผู้ว่าราชการเมืองสวรรคโลกให้ดำเนินการค้นหาเครื่องสังคโลก และจัดซื้อเครื่องสังโลกที่ประชาชนเก็บรักษาไว้ส่งไปยังมิวเซียมที่พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ และในเดือนกันยายนพระยาวิชิตภักดีได้ทูลเกล้า ถวายรายงานว่าได้จัดหาเครื่องสังคโลกแล้ว ดังข้อความว่า
“...แต่งให้กรมการคุมมาส่ง ฉะบับ ๑ ว่าได้รับตราพระราชสีห์ว่าต้องพระราชประสงค์ชามถ้วยโถสังคโลกนั้นได้จัดหาซื้อได้ ชาม ๕ จาน ๓ ขวด ๔ ถ้วย ๑ ให้กรมการคุมลงมาทูลเกล้า ฯ ถวายครั้งหนึ่งก่อน...”
*คำว่า “ซ้อง” ในที่นี้หมายถึง ราชวงศ์ซ้อง หรือ ซ่ง ซึ่งปกครองแผ่นดินจีนระหว่าง พ.ศ. ๑๕๐๓-๑๘๒๒
** สวรรคโลก เป็นชื่อที่ปรากฏในเอกสารสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมาตัวอย่างเช่น “พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง” มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงเจ้าเมืองสวรรคโลก (เมืองศรีสัชนาลัย) ว่า “...ออกญากระเสตรสงครามรามราชแสนญาธิบดีศรีสัชนาไลยอภัยพิริยบรากรมภาหุ พญาสวรรคโลก...”
***ขณะนั้น มิวเซียมหลวงอยู่ที่ หอคองคอเดีย ในพระบรมมหาราชวัง
อ้างอิง
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจรายวันภาค ๑๙. พิมพ์ครั้งที่ ๒.ธนบุรี: สุทธิสารการพิมพ์, ๒๕๑๓ (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานพลิงศพ นายถม สังข์กังวาน ณ เมรุวัดหัวลำโพง พระนคร วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๓).
ธันยกานต์ วงษ์อ่อน และปริวรรต ธรรมาปรีชากร. เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัยและศรีสัชนาลัย. กรุงเทพฯ: S.P.M. การพิมพ์, ๒๕๕๘.
วินัย พงศรีเพียร. “ศรีสัชนาลัย เชลียง และสวรรคโลก ในหลักฐานประวัติศาสตร์ไทย” ใน ข้อมูลใหม่และทัศนะใหม่ด้านสุโขทัยศึกษา (สุมาลี บำรุงสุข บรรณาธิการ). นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๙.
สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ รล.-ตราน้อย เล่ม ๗/๑๑๔. เอกสารเย็บเล่ม ตราน้อย รัชกาลที่ ๕ เรื่อง ที่ ๑๑๔ เมืองสวรรคโลกย์ให้จัดซื้อชาม โถ ถ้วย ไห สังคโลกต่าง ๆ แต่งกรมการคุมลงมาส่ง ณ กรุงเทพฯ.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ บ.1.2/๑๒. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๕ เบ็ดเตล็ด เรื่องพระราชกระแสโปรดฯ ให้รวบรวมถ้วยชามสังคโลกจากหัวเมืองเหนือมาจัดเป็นมิวเซียม.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 31/3ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 40 หน้า : กว้าง 4.9 ซม. ยาว 53.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 45/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 142/3เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1จ เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
จะเป็นอย่างไรหากแมวมงคลตามตำรา กระโดดออกจากหน้าเอกสารโบราณไปปรากฏตัวตามมุมต่าง ๆ ในบ้านของเรา วาเลนไทน์ปีนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ขอเอาใจนักรัก (แมว) ทั้งหลายด้วยชุดข้อมูลส่วนหนึ่งจากเอกสารโบราณ ในองค์ความรู้เรื่อง "สรุปความลักษณะแมวมงคลตามตำรา"
โบราณวัตถุ : สมุดไทยขาว หรือหนังสือบุดขาว
ลักษณะ : เรื่องตำราดูดาวประจำเมืองต่าง ๆ ตำราดูพระอาทิตย์ พระจันทร์ เมฆ ตำราดูลักษณะแมวและสุนัข
อายุสมัย : สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25
ที่มา : รับมอบจาก นายเจตนา ณ สงขลา
ปัจจุบันเก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
ความเชื่อแต่โบราณนานมา ระบุว่าให้นรชนผู้มีปัญญา เร่งแสวงหาแมวที่มีลักษณะมงคลตามตำรามาเลี้ยงไว้ข้างกายซึ่งหากเลี้ยงดูไว้อย่างดี จะช่วยส่งเสริมทั้งบารมี การค้าขาย และทรัพย์สินเงินทอง โดยสามารถถอดแบบและสรุปความลักษะแมวมงคลตามตำราฉบับนี้ไว้ได้ 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
1. วิลาศ
แมวใดหน้าผากสีขาว สองหู ท้อง หลังตลอดจนหาง และทั้ง 4 เท้า มีสีขาวดุจสำลี เป็นแมวดี มีค่า แมวนั้นอยู่เรือนใคร จะให้โชคลาภ ค้าขายได้กำไร พืชผลไร่นาอุดมสมบูรณ์
2. นิลรัตน์ (สีดำปลอด)
แมวใดสีดำล้วน ทั้งลิ้น ฟัน ตลอดจนดวงตามีสีดำสนิทดุจอัญมณี มีชื่อเป็นมงคลว่านิลรัตน์ หากใครเลี้ยงไว้จะได้ดี ได้เป็นเศรษฐี และเติบโตในหน้าที่การงาน
3. ศุภลักษณ์ (สีทองแดง)
แมวใดดูงามพร้อมสีทองแดง หากเลี้ยงไว้ จะมากด้วยทรัพย์สินเงินทอง และลาภยศสรรเสริญ รับราชการจะเจริญก้าวหน้า
4. มาเลศ (สีสวาด)
แมวใดสีขนงามตาดั่งดอกเลา นัยน์ตาสวยงามดั่งหยดน้ำค้าง หากได้มาเลี้ยงไว้ข้างกาย จะเสริมเมตตามหานิยม คิดทำสิ่งใดก็จะราบรื่น ประสบความสำเร็จ
5. นิลจักร (คอด่างรอบ)
แมวใดลำตัวสีดำ มีสีด่าง (ขาว) รอบคอดูสวยงาม หากเลี้ยงไว้ หน้าที่การงานจะเจริญก้าวหน้า ทรัพย์สินเงินทองจะเพิ่มพูน
6. อานม้า
แมวใดมีลักษณะหลังด่าง คล้ายอานม้า ใบหน้าด่างดูสวยงาม เป็นแมวที่มีค่ามาก ราคาสูงเปรียบได้แสนตำลึงทอง หากอยู่เรือนใคร บุตรหลายจะเติบโตเป็นเจ้าคนนายคน ทรัพย์สมบัติจะมากเหลือหลาย
7. การเวก
แมวใดที่มีจมูกด่าง เสมือนผู้เลี้ยงได้ของมีค่า เปรียบได้กับดาบทอง หากได้มาเลี้ยงจะให้โชคให้ลาภ และสมหวังในความปรารถนาใน 7 เดือน
8. ปัดเสวตร
แมวใดที่มีลักษณะด่างกลางหลัง ตั้งแต่หัวจรดหาง เลี้ยงไว้จะได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง ส่งเสริมเกียรติยศและนำชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล
ถอดแบบแมวเหมียว : จุฑาทิพย์ สวัสดี สาขาการจัดการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
กราฟฟิก/ เรียบเรียง : ธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
ตรวจความถูกต้อง : จรัญ ทองวิไล นักภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา
ชื่อผู้แต่ง กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่อง วารสารกรุงเทพมหานคร (มิถุนายน ๒๕๑๘)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ กรมการปกครอง
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๘
จำนวนหน้า ๑๑๘ หน้า
รายละเอียด
วารสารกรุงเทพมหานคร เป็นวารสารรายเดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่กิจการกรุงเทพมหานคร เนื้อหามีทั้งหมด ๑๕ เรื่อง ได้แก่ เนื่องมาจากปก กทม. – อตร.? พรรคการเมืองนั้นสำคัญไฉน มารู้จักสุนทรพู่กันนิด รวมทั้งประมวลภาพข่าวต่างๆ สรุปข่าวในรอบเดือน เป็นต้น พร้อมภาพประกอบ
เลขทะเบียน : นพ.บ.377/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142 (7-25) ผูก 7 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.509/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 4 x 49.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 171 (243-247) ผูก 12 (2566)หัวเรื่อง : อานิสงส์สร้างพระเจ้า--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม