ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,502 รายการ

กี อยู่โพธิ์.  ความเป็นอยู่ของประชาชนสมัยพุทธกาล.  พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2479.         อธิบายถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศตอนกลางของอินเดียที่เรียกในสมัยนั้นว่า “มัชฌิมประเทศ” ที่มีกล่าวไว้ในบาลีคัมภีร์พระพุทธศาสนา เช่น เรื่องราวของกรรมสิทธิ์ที่ดิน อาชีพของพราหมณ์ อาหารการกิน การมีทาส ศิลปกรรมและการช่าง เงินตรา ฯลฯ







ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์ : 2483 หมายเหตุ : พิมพ์ถวายพระภิกษุสามเณรในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2483                    รวบรวมเรื่องราวการจัดแสดง และระเบียบการเข้าชมราชพิพิธภัณฑ์ ที่ตึกศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2483


ชื่อเรื่อง : พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยและพุทธศิลปในประเทศไทย ชื่อผู้แต่ง : บริบาลบุรีภัณฑ์, หลวง และสุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. ปีที่พิมพ์ : 2503 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 104 หน้า สาระสังเขป : เรื่องพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติและมูลเหตุที่สร้างพระพุทธรูป อธิบายถึงพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย พร้อมลักษณะของพระพุทธรูปในสมัยนั้น ๆ ได้แก่ พระพุทธรูปสมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน สมัยสุโขทัย สมัยศรีอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ พร้อมรูปภาพประกอบ เรื่องพุทธศิลป์ในประเทศไทย ของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล มีเนื้อหากล่าวถึง พระพุทธรูปอินเดียรุ่นเก่าที่พบในประเทศไทย และพุทธศิลปแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น พุทธศิลปแบบอินเดีย พุทธศิลปแบบทวารวดี พุทธศิลปแบบอู่ทอง พุทธศิลปแบบอยุธยา เป็นต้น




ชื่อเรื่อง                                นิพฺพานสุตฺต(นิพพานสูตร)สพ.บ.                                  223/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           40 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 59.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พระพุทธศาสนา                                           พุทธประวัติ บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


+++รอยพระพุทธบาทจากวัดเขาพระบาทใหญ่+++ ---สืบเนื่องจากบทความเรื่อง การดำเนินงานทางโบราณคดีโบราณสถานวัดเขาพระบาทใหญ่ (ต.ต. 45) ก่อนหน้าที่ทางแอดมินเพจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เผยแพร่ไป ซึ่งได้เกริ่นถึงรอยพระพุทธบาทที่วัดเขาพระบาทใหญ่ไว้ว่า เมื่อ พุทธศักราช 1902 พระมหาธรรมราชาลิไททรงโปรดฯ ให้จำลองแบบรอยพระพุทธบาทจากเขาสุมนกูฏ ประเทศศรีลังกา และสร้างรอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ ณ ยอดเขาสุมนกูฏ (เขาพระบาทใหญ่) บริเวณทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองสุโขทัย ในครั้งนี้ทางเพจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจะขอนำเสนอความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาท อันถือเป็นโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่พบจากเขาพระบาทใหญ่ ---รอยพระพุทธบาทได้ประดิษฐานไว้ ณ ฐานประดิษฐานรอยพระพุทธบาททางทิศตะวันตกของวิหารวัดเขาพระบาทใหญ่ จนกระทั่งเมื่อพุทธศักราช 2470 ท่านเจ้าคุณโบราณวัตถาจารย์ ได้เล็งเห็นว่า หากยังคงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่บนเขาวัดพระบาทใหญ่ในที่เดิมต่อไป อาจถูกผู้ร้ายทุบแตกทำลาย หรือทำให้เสียหายได้ จึงเกณฑ์ชาวบ้านและพระเณรบ้านธานี และบ้านเมืองเก่า อัญเชิญพระพุทธบาทศิลาลงมาจากเขาพระใหญ่ โดยใช้แรงคนจำนวนมากชักลากด้วยความระวัง คือ ใช้หม่อนไม้ท่อนกลม ๆ หลายอันเป็นหมอนลูกกลิ้งมีไม้กระดานรองรอยพระพุทธบาท ใช้เชือกที่ทำด้วยหนังสัตว์ขันชะเนาะ 3 สาย ขึงตรึงไว้กับต้นไม้ ค่อย ๆ ปล่อยเชือกประคองพระพุทธบาทลงมา แล้วจึงใส่ล้อเกวียนนำไปประดิษฐานไว้ที่มณฑปกลางน้ำในวัดตระพังทองดังปรากฏเช่นในปัจจุบัน ---รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นรอยพระพุทธบาทข้างขวา จำหลักหินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 202 เซนติเมตร ยาว 207 เซนติเมตร บริเวณภายในกรอบหินที่สลักเป็นพระบาทพุทธบาทมีขนาดความกว้าง (วัดจากขอบนอกนิ้วหัวแม่เท้าถึงขอบนอกของนิ้วก้อย) 58 เซนติเมตร ยาว (วัดจากปลายสุดของนิ้วกลางถึงปลายสุดของส้นพระบาท) 131 เซนติเมตร ตรงกลางรอยฝ่าพระพุทธบาทสลักเป็นธรรมจักรขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 21 เซนติเมตร และสลักเป็นตารางสี่เหลี่ยมเป็นช่อง ๆ อยู่โดยรอบธรรมจักร แกะสลักภายในเป็นภาพเขียนมงคล 108 ประการอยู่ภายใน ลักษณะการของการจัดวางลวดลายมงคล 108 ประการ ที่บรรจุอยู่ในช่องตาราง และเว้นที่ตรงกลางพระบาทสำหรับลวดลายธรรมจักรนี้ มีความคล้ายคลึงกับรอยพระพุทธบาทบาทที่พบในพุกาม ประเทศเมียนมาร์  ---บริเวณพื้นที่ส่วนล่างขนาบข้างทางด้านซ้ายของรอยพระพุทธบาท สลักเป็นภาพพระพุทธสาวกยืนพนมมือถือช่อดอกไม้หันหน้าเข้าหารอยพระพุทธบาท ซึ่งแสดงออกถึงการกราบไหว้ บูชารอยพระพุทธบาทอย่างนอบน้อมคารวะ ความสูงของพระพุทธสาวกเฉพาะส่วนองค์ (จากเศียรถึงพระบาท) 40 เซนติเมตร โดยพระพุทธสาวกยืนอยู่บนแท่นขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร สูง 9 เซนติเมตร ---บริเวณพื้นที่ส่วนล่างขนาบข้างทางด้านขวาของรอยพระพุทธบาท สลักเป็นภาพพระอิศวรยืนย่อองค์อ่อนน้อมพนมมือถือดอกไม้หันหน้าเข้าหารอยพระพุทธบาท พระอิศวรมีขนาดความสูงเท่ากันกับภาพพระพุทธสาวก องค์พระอิศวรทรงสวมมงกุฎ สร้อยสังวาล เครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย ---ส่วนบริเวณขอบแผ่นศิลาของรอยพระพุทธบาทแกะสลักเป็นรูปดอกจันทร์เรียงกันเป็นขอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อไปกับขอบแผ่นศิลา ด้านยาวมีดอกจันทร์ด้านละ 35 ดอก ด้านกว้างมีดอกจันทร์ด้านละ 19 ดอก รวมทั้งสี่ด้านมีจำนวน 108 ดอก  ---การสร้างรอยพระพุทธบาทไว้บนเขาสุมนกูฏของพระมหาธรรมราชาลิไทเป็นการจำลองมาทั้งลักษณะรูปแบบของรอยพระพุทธบาท และชื่อเขาที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท แสดงให้เห็นถึงการเน้นย้ำว่ารอยพระพุทธบาทมีความสำคัญ อันประดิษฐานอยู่บนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คือเขาสุมนกูฏดังเช่นที่ประเทศศรีลังกา อีกทั้งยังแสดงถึงการรับคติพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ อันสัมพันธ์กับหลักฐานการรับพุทธศาสนาประเภทอื่น ๆ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ด้วย เช่น การปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ คติเรื่องเจดีย์ช้างล้อม เจดีย์ทรงลังกา เป็นต้น ดังนั้นเขาพระบาทใหญ่จึงถือเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองสุโขทัย ซึ่งมีความสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ผู้คนสามารถใช้ประโยชน์ได้ และในแง่ของการเป็นเขตพุทธสถานบนเขาตามคติพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ของเมืองสุโขทัยด้วย  . เรียบเรียงข้อมูลโดย นายสุเมธ สารีวงษ์ สามารถอ่านหรือดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://drive.google.com/.../10l0fRTLev.../view... อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาท หนังสือที่ระลึกพระราชพิธียกจุลมงกุฏและสมโภชพระพุทธบาทจังหวัด สระบุรี พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2542. นันทนา ชุติวงศ์. รอยพระพุทธบาทในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2533.


เลขทะเบียน : นพ.บ.124/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  66 หน้า ; 4.7 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 71 (243-247) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : ปพฺพชาขนฺธก (ปัพพชาขันธ์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม