ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,523 รายการ
กกุธภัณฑ์หรือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามรูปศัพท์แปลว่า เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ แต่มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นเครื่องหมายแห่ง ความเป็นพระราชาธิบดี จึงเป็นสิ่งที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เครื่องราชกกุธภัณฑ์ประกอบด้วย ฉัตรมงกุฎ พระแสงขรรค์ ธารพระกร วาลวิชนีและฉลองพระบาท การถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นประเพณี สืบเนื่องมาจากลัทธิพราหมณ์ ที่มีพราหมณ์ (พระมหาราชครู) เป็นผู้กล่าว คำถวายตามคติความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ เครื่องราชกกุธภัณฑ์จึงล้วนเป็นสัญลักษณ์แห่งเทพทั้งสิ้น ดังที่กล่าวใว้ใน ปัญจราชาภิเษกความว่า - เศวตฉัตร 6 ชั้น หมายถึง สวรรค์ 6 ชั้น - พระมหามงกุฎ หมายถึง ยอดวิมานของพระอินทร์ - พระขรรค์ หมายถึง พระปัญญาอันจะตัดมลทินถ้อยความไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน - เครื่องประดับผ้ารัดกัมพล หมายถึง เขาคันธมาทน์ ประดับเขาพระสุเมรุราช (ต่อมาใช้วาลวิชนีแทน) - เกือกแก้ว (ฉลองพระบาท) หมายถึงแผ่นดินอันเป็นที่รองรับเขาพระสุเมรุ ราชและเป็นที่อาศัยแก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งหลายทั่วแว่นแคว้นขอบ ขัณฑสีมา ไทยรับคติความเชื่อนี้มาจากเขมรซึ่งรับทอดมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง ประเพณีการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย มีปรากฏมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่พระมหาราชครูถวายใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย พระมหาเศวตฉัตร พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี และฉลอง พระบาทเชิงงอน ซึ่งมีประวัติความเป็นมาดังนี้ พระมหาเศวตฉัตรหรือพระนพปฏล มหาเศวตฉัตร เป็นฉัตร 9 ชั้น เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ที่สำคัญยิ่งกว่าราชกกุธภัณฑ์อื่นๆ แต่เดิมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ของไทยบางรัชกาลมิได้กล่าวรวมพระมหาเศวตฉัตรเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ด้วย เพราะฉัตรเป็นของใหญ่โตมีปักอยู่แล้วเหนือ พระที่นั่งภัทรบิฐ จึงถวายธารพระกรแทน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นราชศิราภรณ์ที่สำคัญในบรรดาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระมหากษัตริย์จะทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระแสงราชศัสตราประจำพระองค์พระ มหากษัตริย์ พระแสงขรรค์ชัยศรีเป็นพระแสงราชศัสตราที่สำคัญที่สุดใน พระราชพิธีสำคัญหลายพิธี เช่นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธี ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ธารพระกร ของเดิมทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ปิดทอง ครั้นถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างธารพระกรขึ้นใหม่องค์หนึ่งทำด้วยทองคำ ครั้นต่อมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับเอาธารพระกรไม้ชัยพฤกษ์ออกมาใช้อีก จึงคงใช้ธารพระกรชัยพฤกษ์อยู่ต่อมา วาลวิชนี (พัดและแส้) พัดวาลวิชนีทำด้วยใบตาลแต่ปิดทองทั้ง 2 ด้าน ด้ามและเครื่องประกอบทำด้วยทองลงยาส่วนพระแส้ทำด้วยขนจามรีด้ามเป็นแก้ว “วาลวิชนี” เป็นภาษาบาลีแปลว่าเครื่องโบก ฉลองพระบาทเชิงงอน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามแบบอินเดียโบราณ----------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นายเศรษฐเนตร มั่นใจจริง นักวิชาการวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
จดหมายเหตุ : เล่าอดีต
ประกาศ...ตามหาเจ้าของเรือมาด ปี ๒๔๖๘
เรือขุด เป็นเรือที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เชื่อกันว่าเป็นการพัฒนามาจากการต่อซุงให้เป็นแพ การสร้างเรือขุดจะใช้วิธีขุดถากจากท่อนซุงทั้งต้น ต้นไม้ที่จะนำมาขุดต้องเป็นไม้เนื้อแข็ง ไม่มีตา โพรง รอยแตกร้าวหรือเนื้อไม้ที่ยังแห้งไม่สนิท การใช้ขวานถากซุงให้เป็นรูปเรืออย่างหยาบๆ เช่น มีหัวและท้ายเล็กแหลมกว่าส่วนกลาง การกระทำเช่นนี้เรียกว่า “มาด”
เรือมาด เป็นเรือขุดลักษณะท้องกลม หัวและท้ายเรือแบนกว้าง บางลำมีแอกยื่นออกจากหัวและท้ายเรือ ขุดจากไม้ซุง มักเป็นไม้ตะเคียน เพราะเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ซึ่งในสมัยก่อนหาได้ไม่ยาก มีหลายขนาด คือ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เรือมาดนับเป็นเรือเก่าแก่ชนิดหนึ่งของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีประโยชน์ใช้สอยมากมาย นับเป็นต้นแบบของเรือขุดที่มีการดัดแปลงไปใช้ประโยชน์ได้หลายแบบ เช่น เรือมาดประทุน และเรือมาดเก๋ง
จากเอกสารจดหมายเหตุ พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๐ ได้ระบุว่านายสิบตำรวจโทโก๋ ม้าแก้ว เก็บเรือมาดลอยน้ำได้ โดยพบเรือมาดลอยอยู่ในทะเลไม่มีเจ้าของ จึงนำส่งให้ทางการ โดยนายอำเภอแหลมสิงห์ได้จัดทำบัญชีตำหนิรูปพรรณเรือของกลางรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีเพื่อประกาศโฆษณาหาเจ้าของในอำเภอต่างๆ ดังนี้
--------- รายชื่อของกลาง ---------
เรือกราบ ๑ ลำ
---------- ตำหนิรูปพรรณ ---------
มาดไม้ตะเคียนขึ้นกราบข้างละ ๑ แผ่น
ยาว ๓ วา ๕ นิ้ว กว้าง ๒ ศอก ๒๒ นิ้ว
ที่มาดตอนหัวเรือมีรอยหัก ๑ แห่ง
ที่กราบซ้ายมีรอยหัก ๑ แห่ง แหว่ง ๑ แห่ง
หากไม่มีผู้ใดมาแสดงตัวเป็นเจ้าของภายใน ๙๐ วัน ทางการจะนำเรือดังกล่าวขายทอดตลาดต่อไป ซึ่งท้ายที่สุดเรือลำนี้ได้ถูกประกาศขายทอดตลาดในราคา ๑๑ บาท
.
ผู้เขียน
นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
------------------------------
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี (๑๓) มท ๒.๓.๕/๒๐ เรื่องนายสิบตำรวจโท โก๋ ม้าแก้ว เก็บเรือมาดลอยน้ำได้ (๒๖ ก.ย. ๒๔๖๘ – ๓๐ มิ.ย. ๒๔๗๐).
อิงตะวัน แพลูกอินทร์ และนิรันดร์ เรือนอินทร์. ๒๕๔๗. เรือ : ภาพสะท้อนวิถีชีวิตของชาวบ้านในลุ่มน้ำ (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม ขอเชิญชม ทับหลังปราสาทเขาโล้น และนิทรรศการพิเศษ "ทับหลังเขาโล้นคืนสู่มาตุภูมิ" จัดแสดง ณ ศูนย์บริการข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม เปิดให้เข้าชมฟรี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว เปิดทุกวัน เวลา 8.30 น. - 16.30 น. ศูนย์บริการข้อมูล เปิดทุกวัน เวลา 9.00 น. - 16.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: โทร 0 3755 0454 หรือทางเฟสบุ๊ก https://www.facebook.com/Sadokkokthom.hp
ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
เรื่อง กัญชายาวิเศษ
สมยศ ศุภกิจไพบูลย์. กัญชายาวิเศษ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน, 2562.
ห้องหนังสือทั่วไป 1 เลขเรียกหนังสือ 615.7827 ส274ก
ประเทศไทยปลดล็อกกัญชา กัญชง ออกจากบัญชียาเสพติดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทุกส่วนของกัญชาและกัญชงไม่เป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดจากกัญชง กัญชาที่มีปริมาณ THC เกิน 0.2% เท่านั้นที่ยังถือเป็นยาเสพติด ประชาชนสามารถปลูกเพื่อประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ใช้ในครัวเรือน หรือการพานิชย์ได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่ต้องจดแจ้งการปลูกตามข้อกำหนดของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
กัญชายาวิเศษ เล่มนี้ ผู้เขียนพาเราไปพบกับ กัญชาสมุนไพรไทยประจำบ้านที่มีจุดกำเนิดสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลกอยู่ในประเทศไทย โลกในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองต่อกัญชาในมิติใหม่จากยาเสพติดเลวร้ายกลายเป็นยารักษาโรค เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าและรายได้อย่างมหาศาล พืชตระกูลกัญชาแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Ruderalis Sativa หรือกัญชง และ Indica หรือกัญชา ซึ่ง 2 สายพันธุ์หลังได้รับความนิยมอย่างมากและหลายคนยังเข้าใจผิดว่าต้นกัญชงคือกัญชา ซึ่งแท้จริงแล้วมีแค่ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เท่านั้นที่คล้ายคลึงกัน กัญชงนิยมนำมาแปรรูปทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถักทอ ในขณะที่กัญชานิยมนำส่วนต่างๆ อาทิ กิ่ง ก้าน ใบ และยอดช่อดอก มาเสพเพื่อให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ช่วยให้นอนหลับ และนิยมนำมาผสมในอาหารเพื่อให้มีรสชาติอร่อยมากขึ้น พบในลักษณะกัญชาสดและแห้งที่อัดเป็นแท่งหรือก้อน และปัจจุบันพบในรูปแบบของน้ำมันกัญชา ลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือดำ กัญชามีสรรพคุณรักษาโรคได้มากกว่า 50 โรค อาทิ โรคหัวใจ ช่วยรักษาอาการเบื่ออาหารในผู้ป่วยโรคเอดส์ รักษาโรคไขมันอุดตันของหลอดเลือดจากการสูบบุหรี่ และที่กล่าวถึงกันอย่างมากคือสรรพคุณในการรักษาโรคมะเร็ง เนื่องจากกัญชาเริ่มได้รับความสนใจประกอบกับหลายประเทศทั่วโลกนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ ผลการวิจัยจากหลายสถาบันในอเมริกาและยุโรปพิสูจน์แล้วว่ากัญชาสามารถหยุดยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งไม่ให้ลุกลามและกำจัดเซลล์มะเร็งได้ กัญชาต่างจากสารเสพติดอื่นๆ เพราะไม่มีสารเคมีใดๆ ที่กระตุ้นให้อยากกัญชาหรือมีอาการลงแดงหากไม่ได้เสพ แต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นจะส่งผลเสียต่อร่างกาย เกิดความคิดเลื่อนลอย ควบคุมตัวเองไม่ได้ ความจำเสื่อม หัวใจเต้นเร็ว และหูแว่ว จึงควรใช้กัญชาในทางที่ถูกต้องและปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้สนใจสามารถหาอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติชลบุรี (วันอังคาร – วันเสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ได้รับงบประมาณจากจังหวัดลพบุรี ในการพัฒนาสื่อนำชม “King Narai Palace” ตามโครงการส่งเสริมการตลาดและพัฒนาสินค้าที่ระลึกเพื่อสร้างมูลค่าด้านการท่องเที่ยว “King Narai Palace” สื่อนำชมรูปแบบสันนิษฐานของพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นการนำเอาเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) เทคโนโลยีโลกเสมือนมาผสานเข้ากับโลกแห่งความจริง เพื่อนำเสนอรูปแบบสันนิษฐานพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ตลอดจนที่อยู่ของข้าราชบริพารฝ่ายในด้วยภาพ ๓ มิติ และนำเสนอข้อมูลโบราณสถานและโบราณวัตถุภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ รวมไปถึงโบราณสถานใกล้เคียงด้วย ซึ่งถือเป็นการพัฒนาสื่อนำชมโบราณสถานรูปแบบใหม่เพื่อให้สอดรับกับโลกยุคดิจิทัลที่ทุกคนสามารถพกพาความรู้และความเพลิดเพลินไปได้ทุกที่และเข้าถึงได้ทุกเวลา ทั้งยังเป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ตอบสนอง และอำนวยความสะดวกในการเที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะสามารถเที่ยวชมได้ด้วยตนเอง ขอเชิญชวนผู้สนใจเที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ในรูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) เปิดทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๑๔๕๘
บานประตูไม้จำหลัก
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔
รับมอบมาจากพระยาสฤษดิการบรรจง ผู้บัญชาการกรมรถไฟ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๕
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องมุขเด็จ หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
บานประตูจำหลักจากไม้แผ่นเดียวลงรักปิดทองประดับกระจก จำหลักแถบลูกประคำและแถบดอกไม้สี่กลีบเป็นกรอบลาย กึ่งกลางแต่ละบานจากด้านบนลงมาด้านล่างจำหลัก รูปเทพนม ครุฑ พาลี สุครีพ หนุมาน และสิงห์ คั่นด้วยกระจังและลายหน้าขบ* รายล้อมด้วยลายกระหนกก้านขดออกรูปต่างๆ จากด้านบนลงมาด้านล่าง คือ กุมาร เทพนม กินนร หงส์ นกการเวก เหมราช ราชสีห์ คชสีห์ อัสดรเหรา และไกรสรนาคา อกเลาประตูจำหลักลายรักร้อย กลางอกเลาจำหลักลายกระหนกกระจังในผังสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
มีข้อสังเกตว่ารูปที่จำหลักบานประตูไม้นี้จะเรียงลำดับภาพตามคติไตรภูมิในพุทธศาสนา จากตอนล่างสุดจะเป็นภาพสิงห์ ที่แสดงถึงสัตว์ในป่าหิมพานต์ ครุฑ เป็นอมนุษย์จำพวกกึ่งเทพกึ่งสัตว์ ที่อาศัยอยู่บนยอดต้นงิ้วในวิมานฉิมพลี และเทพนม สื่อถึงสรวงสวรรค์ของเหล่าเทพยดา ซึ่งการลำดับภาพในลักษณะนี้พบมาแล้วในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังตัวอย่างการลำดับรูปภาพบนบานประตูประดับมุกวัดบรมพุทธาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๒๙๕
ส่วนของการกำหนดอายุบานประตูไม้จำหลักคู่นี้ เมื่อครั้งกรมรถไฟส่งมอบบานประตูนี้แก่พิพิธภัณฑสถาน พ.ศ. ๒๔๗๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทอดพระเนตรแล้วมีรับสั่งว่า “บานประตูไม้เป็นฝีมือช่างเก่าไม่เกินสมัยรัชกาลที่ ๑”
*หน้าขบ หมายถึง ด้านหน้าตรงของสิงห์หรือยักษ์ที่เรียกว่า หน้าอัด แยกเขี้ยวขบฟัน ในทางศิลปกรรมใช้เป็นลายเขียนปั้น แกะสลัก สำหรับประดับตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรม ตลอดจนเป็นลายปักเสื้อโขนละคร ลายผ้านุ่ง ผ้าม่าน ฯลฯ นอกจากนี้ยังปรากฏเป็นภาพเขียนบนโล่ เขน เครื่องป้องกันอาวุธคู่กับดาบและพิมพ์สีเป็นลายเสื้อเสนากุฎ เครื่องแบบทหารสมัยโบราณ ซึ่งแต่งเข้ากระบวนแห่ของหลวงอีกด้วย
อ้างอิง
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม อักษร ซ-ฮ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, (๔) ศธ. ๒.๑.๑/๓๔๑. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง “ส่งบานประตูไม้สลักคู่หนึ่งมาให้พิพิธภัณฑสถานฯ” (๒๗ ต.ค. - ๔ พ.ย. ๒๔๗๕).
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 31/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า : กว้าง 4.59 ซม. ยาว 53.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 45/1ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
กรมศิลปากร ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานการสัมมนา "วิจัย วิจักขณ์" นำเสนอผลงานวิชาการของกรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๖๕ วันที่ ๓๐ - ๓๑ มกราคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมใหญ่และห้องดอกไม้สด หอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนา โดยสแกนคิวร์อาร์โค้ดในภาพ หรือกดลิ้ง https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfrqrsF0rLazO16UmTXBiWcXBA4wGAKFTgEDiBcGfs8Fg9Jog/viewformโดยมีผลงานวิชาการของกรมศิลปากรที่น่าสนใจหลากหลายเรื่อง ดังนี้
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 142/2
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ง เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และแพทยสภา
ชื่อเรื่อง วารสารสุขภาพ ( ปีที่ ๑ เล่มที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๑๖)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ อุดมศึกษา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๖
จำนวนหน้า ๑๓๑ หน้า
รายละเอียด
วารสารสุขภาพสำหรับประชาชน เป็นวารสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บและเพื่อเผยแพร่บทความต่างๆ เกี่ยวกับการแพทย์รวมทั้งตอบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ เนื้อหาประกอบด้วยบทความเรื่องบ้านเมืองสะอาด ประชาชาติสมบูรณ์ โรคหัวใจ – ไขมันหรือคอเลสเตอรอล เป็นต้น โดยได้อธิบายถึงสาเหตุการเกิดโรคพร้อมวิธีป้องกันอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังมีรายการแสงธรรม ถาม – ตอบและ รายชื่อสมาชิกวารสารเพิ่มเติม
เลขทะเบียน : นพ.บ.377/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142 (7-25) ผูก 6 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.508/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 49 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 171 (243-247) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : อานิสงส์รักษาสีน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม