ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,523 รายการ

ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๘ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๗ (ต่อ) –๗๘) ประวัติศาสตร์      ยูนนาน และทางไมตรีกับจีน ปราบเงี้ยว ตอนที่ ๒.  พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพ ฯ : องค์การ      ค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๓.  ๒๖๑ หน้า.      พงศวดารเล่มนี้เริ่มต้นได้กล่าวถึงการชิงราชบัลลังก์ยูนนานที่มีต่อเนื่องอย่างยาวนานต้องสู้รบและสูญเสียผู้นำมากมาย  มีรายชื่อแขวงต่าง ๆ ราชวงศ์ตวนเป็นยุคทองของศาสนา เมื่อพระเจ้าตวนเหลียงอี้ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยหยางอิเจงชิงราชบัลลังก์ เกาจิงไต้ยึดกลับคืนได้ก็คือให้ตวนเฉียวหวยครองต่อไป ในราชวงศ์ต้าจุงโกวมีเจ้าชายตนเช็งจุนครองราชย์   ราชวงศ์ตวนได้ราชบัลลังก์อีกครั้งหนึ่งมีการยกเลิกการเกณฑ์แรงงาน กองทัพมองโกลบุกยูนนานพระเจ้าตวนเสียงหิงจึงส่งนายพลเกาโหเป็นไปสมทบกับกองทัพของมูเซอร์ ยูนนานเสียเมืองให้แก่มงโกล  ปราบปรามทิเบต  วาระสุดท้ายของราชวงศ์ตวน ความยุ่งยากในญวน ผนวกประเทศยูนนานเข้ากับประเทศจีนโดยเด็ดขาด การยึดครองของพวกมงโกล การจัดระเบียบการปรกครองของมณฑล การกบฏเพ่อต่อต้านอำนาจของชาวมงโกล ประเทศยูนนานภายใต้การปกครองของราชวงศ์เหม็ง จีนได้ชัยชนะประเทศยูนนาน ราชวงศ์มงโกลถูกขับไล่ออกจากประเทศยูนนาน  อวสานขอตระกูลตวน การกบำต่อการปกครองของจีน การต่อต้านการปกครองของราชวงศ์เหม็งต่อไป ชาวพม่ารับรองอำนาจการปกครองของประเทศจีน ความบาดหมางระหว่างจีนกับพม่า การกบฏต่อการปกครองของราชวงศ์เหม็ง ความพินาศของราชวงศ์เหม็ง หลีสือเจ็ง ชิงราชบัลลังก์จีน  ชาวตาดเขายุดราชบัลลังก์จีน การต่อต้านของหลีสือเจ็ง  อูชานกวยมาถึงประเทศยูนนาน  อูซานกวยสถาปนาความสงบสุขในประเทศยูนนาน  การสร้างประเทศยูนนานของอูซานกวย  อูซานกวยประกาศเอกราช  การยึดครองประเทศยูนนานโดเด็ดขาดของราชวงศ์ตาด  ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้พัฒนาและเกิดนโยบายสาธารณะขึ้น      เกิดกบฏ และการตีเมืองแพร่แตกผู้พิพากษาเมืองแพร่หนีมาอยู่เมือง และขอกำลับจากกรุงเทพขึ้นไปเสริมเพราะไม่มีกำลังปราบปรามได้ สุดท้ายก็ปราบได้สำเร็จ


เครื่องประดับกับสตรีผู้งดงาม      ไข่มุก คืออัญมณีประจำราศีเมถุน ชาวยิวสมัยโบราณเชื่อว่า มุกเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ จะนำพาโชคลาภและสิริมงคลมาให้แก่ผู้ที่สวมใส่และครอบครอง ไข่มุกคืออัญมณีที่มีความงดงามเฉพาะตัว ซึ่งแตกต่างจากอัญมณีชนิดอื่น ๆ ตรงที่สามารถนำไปทำเครื่องประดับสำหรับสวมใส่ได้โดยไม่ต้องผ่านการเจียระไนก่อน ไข่มุกยังถูกนำไปทำยาตามตำรับจีน มีสรรพคุณในการรักษาผิวหนังไม่ให้เหี่ยวย่น  ดังจะเห็นได้จากตำนานพระนางสูสีไทเฮา ซึ่งว่ากันว่าเสวยผงไข่มุกอยู่เป็นประจำ ทำให้คงความงามเป็นอมตะ ปัจจุบันนิยมนำไข่มุกมาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล นับว่าไข่มุกเป็นอัญมณีที่แฝงไปด้วยสรรพคุณที่หลากหลายเพราะว่าสามารถที่จะนำมาดัดแปลงและใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้






เลขทะเบียน: กจ.บ.9/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมสงฺคิณีปกรณ พระสมนฺตมหาปฏฺฐานปริจฺเฉท ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาดประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 386 หน้า


เมื่อครั้งที่แล้วเราได้คุยกันถึงเรื่องทองแดงที่เราพบจากแหล่งเรือจมบางกะไชย 2 เบื้องต้นกันแล้วนะครับ สำหรับวันนี้ เราจะมาเล่าให้ฟังว่าเหตุใดทำไมเราจึงอยากรู้จักทองแดงเหล่านี้ให้ลึกลงไปอีกขั้นนึงครับ อย่างแรกเลยเราอยากรู้ว่าเนื้อทองแดงที่เป็นสินค้าเหล้านี้มีลักษณะพิเศษไหม? มีส่วนประกอบอะไรบ้าง? ทองแดงเป็นทองแดงที่บริสุทธิ์แค่ไหน? โดยหลังจากการวิเคราะห์ทางกายภาพด้วยการวัดขนาด จัดจำแนกทองแดงเหล่านี้ด้วยรูปร่างลักษณะของทองแดงแล้ว เราได้เลือกใช้การวิเคราะห์เชิงลึกและนำมาทดลองประยุกต์ใช้กับทองแดงของเราเพื่อแยกประเภท เนื้อทองแดงเบื้องต้น(ที่ตาไม่สามารถแยกได้) อีกครั้งหนึ่ง วิธีที่ว่านั้นคือการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของทองแดงด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนส์แบบเคลื่อนที่ได้ (Portable X-Ray Fluorescence , PXRF, HHXRF) ซึ่งเครื่องวิเราะห์องค์ประกอบนี้เป็นเครื่องที่กองโบราณคดีใต้น้ำมีไว้ใช้เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของโบราณวัตถุ โดยหลักการทำงานเบื้องต้นของเครื่องนี้คือ เครื่องจะทำการส่งรังสี X-Ray ไปที่วัตถุจนอะตอมเกิดการแตกตัว จะเกิดปรากฏการเรื่องแสง ซึ่งเรียกว่า Fluorescence โดยอาศัยหลักการที่อิเล็กตรอนในวงโคจรของอะตอมของธาตุแต่ละธาตุถูกกระตุ้น โดยรังสี x-ray เมื่ออะตอมถูกกระตุ้น อะตอมจะมีการเปลี่ยนระดับชั้นที่มีพลังงานสูงไปยังชั้นที่มีพลังงานต่ำกว่า ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับชั้น จะมีการคายพลังงานออกมา โดยพลังงานที่คายออกจะมีลักษณะจำเพาะ ของแต่ละธาตุ เครื่องจะทำการวัดความยาวคลื่นดังกล่าวแล้วแปลผลออกมาเป็นธาตุให้เราได้รับรู้ว่ามีธาตุแต่ละชนิดในปริมาณเท่าไหร่? โดยนักโบราณคดีได้นำวิธีนี้มาใช้ในการศึกษาโบราณวัตถุต่างๆอย่างกว้างขวาง โดยจากการวิเคราะห์ทองแดงของกองโบราณคดีใต้น้ำ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นดังนี้ 1.ทองแดงจากแหล่งเรือจมบางกะไชยนั้นในทุกรูปแบบ มีทองแดงเป็นองค์ประกอบหลักปริมาณไม่น้อยกว่า 93% ซึ่งถือว่ามีทองแดงในปริมาณที่มาก 2.ผู้ผลิตนั้นตั้งใจเติมตะกั่วเข้าไปในเนื้องทองแดงเพื่อให้ทองแดงนั้นไหลง่ายเวลาหล่อขึ้นรูปทองแดง 3.ต่อเนื่องจากการเติมตะกั่ว ทองแดงรูปแบบทรงชามซ้อนชั้นกับแบบแผ่นนั้นพบว่ามีปริมาณตะกั่วมากกว่าแบบอื่นซึ่งสันนิษฐานว่าผู้ผลิตต้องการให้ทองแดงนั้นเหลวมากกว่าปกติเพื่อง่ายต่อการขึ้นรูปในแบบที่ต้องการ เนื่องจากการหล่อทองแดงรูปแบบการซ้อนชั้นนั้นต้องอาศัยการกดเพื่อให้น้ำทองแดงนั้นไหลไปเรียงตัวเป็นชั้นๆได้ (ประเด็นนี้จะมาเล่าให้ฟังต่อไปในตอนหน้าครับ) 4.พบธาตุ ซัลเฟอร์(S) และ เหล็ก(Fe) ผมอยู่ในเนื้องทองแดงทุกก้อน สันนิษฐานว่าเป็นมลทินที่ติดมาจากก้อนแร่ที่ใช้ในการถลุง ซึ่งแสดงถึงการที่ทองแดงที่ไม่ค่อยบริสุทธิ์ รวมถึงการถลุงที่ค่อนข้างหยาบ(การถลุงโบราณไม่สามารถดึงเอามลทินออกจากแร่ได้ทั้งหมด) 5.พบธาตุ ซิลิกา(Si) และ ฟอสฟอรัส((P) ปะปนอยู่ในเนื้องทองแดงบางส่วน ซึ่งน่าจะปะปนเป็นมลทินที่ติดมาจากก้อนแร่เช่นกัน ซึ่งแสดงถึงและเป็นเครื่องยืนยันถึงการที่ทองแดงที่ไม่ค่อยบริสุทธิ์ รวมถึงการถลุงที่ค่อนข้างหยาบ(การถลุงโบราณไม่สามารถดึงเอามลทินออกจากแร่ได้ทั้งหมด) 6.พบธาตุ ดีบุก(Sn) สังกะสี(Zn) และเงิน(Ag) อยู่ในปริมาณไม่มาก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คืออาจเป็นมลทินที่ติดมาจากก้อนแร่ หรือ อาจเกิดจากการนำเอาโลหะเก่ามาผลิตซ้ำเป็นก้อนทองแดง


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร งดการแสดงรายการ “เหมันต์บันเทิง รื่นเริงสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๕ วันเสาร์ที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๕ และวันอาทิตย์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๕ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑


เลขทะเบียน : นพ.บ.177/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 100 (74-79) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกฎีกา(ฎีกาธัมมจักร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ปฐมสมฺโพธิ (ปถมสมฺโพธิ)  ชบ.บ.89/1-17ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.234/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  20 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 113 (180-193) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : หัวใจนิรพาน--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.369/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 140  (420-433) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : จีรธารกถา (แทนน้ำนมแม่)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ชื่อผู้แต่ง         พร  รัตนสุวรรณ ชื่อเรื่อง           แว่วเสียงสวรรค์ ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์วิญญาณ ปีที่พิมพ์          2517 จำนวนหน้า      231 หน้า รายละเอียด           เป็นหนังสือที่นำเนื้อเรื่องมาจากหนังสือวิญญาณในปี 2509 ซึ่งจะเป็นตอน ๆ นำมารวบรวมจัดพิมพ์ขึ้นเป็นหนังสือเล่มนี้ ชื่อ “แว่วเสียงสวรรค์” เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ที่อ่าน ได้อ่านติดต่อกันเป็นลำดับ ผู้เขียนหวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะให้ความสว่างแก่ผู้อ่านมากทีเดียว กับคนที่สงสัยเกี่ยวกับชีวิตในโลกหน้าหรือโลกโอปปาติกะ