ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ

1. ว่าด้วยยาเกร็ด เช่น ยาแก้สุนัขกัด, ยาแก้เลือด เป็นต้น 2. เวทย์มนต์คาถา อักษรขอม – ไทย ภาษาบาลี – ไทย 3. ตำราม้าป่า 4. ตำนานกำเนิดสุนัขป่าและการรักษาพิษสุนัขป่าตามเดือนและวัน


ผู้แต่ง : เอนก อมรธัมโม, พระ ปีที่พิมพ์ : 2526 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ทิพย์เนตรการพิมพ์


ชื่อผู้แต่ง         สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ชื่อเรื่อง          ชุมนุมพระนิพนธ์ (บางเรื่อง) ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ปีที่พิมพ์         2519            จำนวนหน้า     178 หน้า หมายเหตุ       พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายนารถ    มนตเสวี                    หนังสือชุมนุมพระนิพนธ์ (บางเรื่อง) เป็นการรวมพระนิพนธ์ 2 เรื่อง ไว้ด้วยกัน คือ เรื่องโอวาทเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ร.ศ.121 ทรงกล่าวแนะนำข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามสำหรับข้าราชการหัวเมือง ที่ดำรงตำแหน่งในการปกครอง เมื่อ ร.ศ.121 (พ.ศ.2445) เรื่องหนึ่งและเรื่องชุมนุมพระนิพนธ์ 2 ภาค 55 เรื่อง โดยเลือกพิมพ์อีก 9 เรื่อง ประกอบด้วย ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ สร้างเมือง สร้างตลาดสำหรับเมือง ตำนานกฎหมายเมืองไทย ประเพณีประกาศพระราชกฤษฎีกาแต่โบราณกระทรวงสมัยเก่า อธิบายเรื่องประเทศสยาม สร้างพระบรมรูปทรงม้าและจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย


หินลับ อายุสมัย : ก่อนประวัติศาสตร์ (๖,๕๐๐ – ๔,๗๐๐ ปีมาแล้ว) วัสดุ : หินทราย ประวัติ : พบจากหลุมขุดค้นถ้ำเบื้องแบบ หมู่ที่ 3 บ้านเบื้องแบบ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๕ โดยโครงการโบราณคดีเชี่ยวหลาน กองโบราณคดีกรมศิลปากร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางรับมาเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ ................................................................          หินลับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับลับคมให้กับเครื่องมือหินขัดที่สึกกร่อนจากการใช้งานให้มีความคมขึ้นมาอีกครั้ง เช่นเดียวกับหินลับมีดในปัจจุบัน  จากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบซึ่งพบโบราณวัตถุชิ้นนี้ พบร่องรอยการใช้งานพื้นที่สองสมัย คือสมัยรัตนโกสินทร์ และสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่น่าสนใจคือ โครงกระดูกมนุษย์ (ไม่ครบส่วน) กระดูกและฟันสัตว์ เปลือกหอย ภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ กระสุนดินเผา เครื่องมือหินรูปแบบต่างๆ หินลับ หินทุบเปลือกไม้ และกำไลหิน ................................................................ที่มาข้อมูล : กรมศิลปากร. โบราณสถานถ้ำเบื้องแบบ. สืบค้นข้อมูลเมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๖๓. เข้าถึงข้อมูลจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/ นงคราญ สุขสม. ประวัติศาสตร์โบราณคดีสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ : อาทิตย์ คอมมูนิเคชั่น, ๒๕๔๕.


วันพุธที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการยุวมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์โดยนางชูศรี เปรมสระน้อย หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์เป็นผู้กล่าวรายงานณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์


กรมพลศึกษา.  กติกาหมากรุก.  พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2499.        หนังสือกติกาหมากรุกนี้ เนื้อหาประกอบด้วย กติกาหมากรุกไทย และกติกาหมากรุกฝรั่ง เกี่ยวกับ การวางหมาก การเดินหมาก การนับ และการตัดสิน


          สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์“สมเด็จพระนเรศวร” พระนามแปลกปลอมของ “สมเด็จพระนเรศ”.ศิลปวัฒนธรรม.(27).3;ม.ค.2549           “สมเด็จพระนเรศวร” เป็นพระนามที่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยากลุ่มฉบับความพิสดารใช้เรียกพระราชโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า กษัตริย์กรุงศรีอยุทธยาผู้ขึ้นเสวยราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาใน พ.ศ. ๒๑๓๓ แต่แท้ที่จริงพระนามนี้หาใช่พระนามทางการของพระองค์ไม่           หลักฐานร่วมสมัยอย่างศิลาจารึกวัดอันโลก (รามลักษณ์) หมายเลข K 27 เรียกพระนามร่วมสมัยของพระองค์เมื่อคราวยกทัพไปตีเมืองละแวกใน พ.ศ. ๒๑๓๑ ว่า “พระนเรสส”           พระไอยการกระบดศึกที่ตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนเรศเอง อันเป็นพระบรมราชโองการของสมเด็จพระเอกาทศรุทรอิศวรพระอนุชาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๖ ออกพระนามพระองค์ว่า “สมเดจ์บรมบาทบงกชลักษณอัคบุริโสดมบรมหน่อนราเจ้าฟ้านเรศเชษฐาธิบดี” ตรงกับมหาราชวงศ์พงษาวดารพม่า (พงศาวดารฉบับหอแก้ว) ที่พระเจ้าอังวะจักกายแมง (พะคยีดอ) โปรดให้ราชบัณฑิตเรียบเรียงขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๗๒ เรียกว่า “พระนเรศ”           พงศาวดารฯ ฉบับวันวลิต (The Short History of the Kings of Siam) ของเยเรมีส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vlient) หัวหน้าสถานีการค้าบริษัทอินเดียตะวันออก (The East India Company) ของฮอลันดา ซึ่งเรียบเรียงขึ้นในรัชกาลพระเจ้าปราสาททองเมื่อ พ.ศ. ๒๑๘๒ เรียกพระองค์ว่า “พระนริศ” (Prae Naerith) และ “พระนริศราชาธิราช” ตรงกับคำให้การชาวกรุงเก่า (โยธยา ยาสะเวง) จากการสอบปากคำเชลยศึกชาวศรีอยุทธยาเมื่อครั้งเสียกรุงใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เรียกพระองค์ว่า “พระนริศ” และคัมภีร์สังคีติยวงศ์ของสมเด็จพระพนรัตน์วัดพระเชตุพน (สมัยที่ยังดำรงสมณศักดิ์พระพิมลธรรม) ซึ่งรจนาเป็นภาษาบาลีใน พ.ศ. ๒๓๓๒ เรียกพระองค์ว่า “พระนริสสราช” (นริสฺสราชา) อันมีความหมายเช่นเดียวกับพระนามว่า “สมเด็จพระนเรศ”




ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 64 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2514 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาผัน  เปรมมณี ต.ช. ณ เมรุวัดธาตุทอง  พระโขนง  วันที่  30  สิงหาคม  พุทธศักราช  2514. มีรูปและประวัติผู้ตาย         ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต และ ปัจจุบันพยาบาล ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง ต่าง ๆ รวม 5 เรื่อง ได้แก่ ประเพณีทำบุญ  ประเพณีบวชนาค ประเพณีแต่งงาน ประเพณีทำศพ และปัจจุบันพยาบาล


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 8 (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 7 และ 8) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : -สำนักพิมพ์ : - จำนวนหน้า : 292 หน้าสาระสังเขป : หนังสือประชุมพงศาวดาร เล่ม 8 ภาคที่ 7 มีเรื่องคำให้การรวม 4 เรื่อง ดังนี้ 1.คำให้การจีนกั๊กเรื่องเมืองบาหลีนั้น 2.คำให้การเฒ่าสา เรื่องหนังราชสีห์นั้น 3.คำให้การขุนโขลนนั้น 4.คำให้การนายจาด ในส่วนของภาคที่ 8 จะอธิบายไว้ 5 เรื่อง ดังนี้ 1.หนังสือจดหมายเหตุโหร 2.จดหมายเหตุของจมื่นก่งศิลป์นั้น 3.พระราชพงศาวดารกรุงเก่า 4.เรื่องปฐมวงศ์ 5.เรื่องตำนานพระโกศนั้น



พระวิษณุมัธยมโยคสถานะมูรติ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ศิลปะอินเดีย แบบปัลลวะ ประกอบด้วย ๑. พระวิษณุ วัสดุ : หินทรายที่เกิดจากเถ้าภูเขาไฟ (Tuffacous Sandstone) ขนาด : สูง ๒๓๕ เซนติเมตร กว้าง ๘๕ เซนติเมตร หนา ๒๕ เซนติเมตร ประวัติ/สถานที่พบ :  พระวิษณุเป็นรูปเคารพในกลุ่มมัธยมโยคสถานกะมูรติ พบพร้อมฤษีมารกัณเฑยะ และนางภูเทวีที่โคนต้นตะแบก (ชาวบ้านเรียกว่า “ที่พระนารายณ์”) ริมฝั่งคลองตะกั่วป่าตรงข้ามกับเขาพระนารายณ์ (เขาเวียง) โดยมีข้อมูลว่าเดิมน่าจะประดิษฐานอยู่บนเขาพระนารายณ์ (เขาเวียง) วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๙ เจ้าหน้าที่จากหน่วยศิลปากรที่ ๘ นครศรีธรรมราช ได้นำเทวรูป พระวิษณุ ฤษีมารกัณเฑยะ และแผ่นหินจารึกภาษาทมิฬจากที่พระนารายณ์ มาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช            ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต ๒. ฤษีมารกัณเฑยะ วัสดุ : หินทรายที่เกิดจากเถ้าภูเขาไฟ (Tuffacous Sandstone) ขนาด : ขนาดสูง ๑๒๕ เซนติเมตร กว้าง ๗๗ เซนติเมตร หนา ๒๕ เซนติเมตร ประวัติ/สถานที่พบ :  ฤษีมารกัญเฑยะ เป็นรูปเคารพในกลุ่มพระวิษณุมัธยมโยคสถานกะมูรติ พบพร้อมพระวิษณุ และนางภูเทวี ที่โคนต้นตะแบก (ชาวบ้านเรียกว่า “ที่พระนารายณ์”) ริมฝั่งคลองตะกั่วป่าตรงข้ามกับเขาพระนารายณ์ (เขาเวียง) โดยมีข้อมูลว่าเดิมน่าจะประดิษฐานอยู่บนเขาพระนารายณ์ (เขาเวียง) พ.ศ.๒๕๐๙ (เดือนมีนาคม-เมษายน) ถูกคนร้ายลักลอบสกัดพระพักตร์ออกไป (ปัจจุบันยังไม่พบส่วนพระพักตร์)           ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต           ฤษีมารกัญเฑยะ ตามลำดับวงศ์ที่กล่าวไว้ในปุราณะนั้น มีศักดิ์เป็นเหลนของฤษีภฤคุกล่าวคือ เป็นลูกของ มฤกัณฑุซึ่งเป็นหลานปู่ของฤษีภฤคุ การปรากฏกายของฤษีมารกัณเฑยะพร้อมนางภูเทวีโดยมีพระวิษณุอยู่ตรงกลางนั้น เรียกว่า พระวิษณุมัธยมโยคสถานะมูรติ ๓. นางภูเทวี วัสดุ : หินทรายที่เกิดจากเถ้าภูเขาไฟ (Tuffacous Sandstone) ขนาด : สูง ๑๑๕ เซนติเมตร กว้าง ๗๕ เซนติเมตร หนา ๒๕ เซนติเมตร ประวัติ/สถานที่พบ :  นางภูเทวี เป็นรูปเคารพในกลุ่มพระวิษณุมัธยมโยคสถานกะมูรติ พบพร้อมพระวิษณุและฤษีมารกัณเฑยะที่โคนต้นตะแบก (ชาวบ้านเรียกว่า “ที่พระนารายณ์”) ริมฝั่งคลองตะกั่วป่าตรงข้ามกับเขาพระนารายณ์ (เขาเวียง) โดยมีข้อมูลว่าเดิมน่าจะประดิษฐานอยู่บนเขาพระนารายณ์ (เขาเวียง)            พ.ศ.๒๕๐๙ (เดือนมีนาคม-เมษายน) คนร้ายได้สกัดเอาพระพักตร์นางภูเทวีไปและนำส่วนองค์ไปทิ้งไว้ที่คลองบางปิด            พ.ศ.๒๕๑๐ ชาวบ้านพบส่วนองค์ของนางภูเทวีในคลองดังกล่าวจึงนำไปไว้ที่วัดนารายณิการาม ต.เหล อ.กะปง จ.พังงา ต่อมาเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๖ กรมศิลปากรได้รับส่วนพระพักตร์นางภูเทวี จากบริษัทค้าของเก่าสปิงค์แลนด์ซัน จำกัด คืนจากประเทศอังกฤษ จึงนำมาเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช            ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต (เฉพาะส่วนเศียร)            นางภูเทวี เดิมปรากฏในคัมภีร์พระเวทในชื่อ ปฤถิวี เทพีแห่งปฐพี คู่กับทโยส เทพแห่งท้องฟ้า ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดเทพและเทพีทั้งหลาย ในยุคหลังปฤถิวีและทโยสถูกลืมเลือนไป แม้ปฤถิวีจะยังมีคนนับถืออยู่แต่เป็นเพียงเทพเล็กๆ ต่อมาเมือเข้าสู่ยุคของศาสนาฮินดู ปฤถิวีอยู่ในฐานะของชายาของพระวิษณุอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า ภูเทวี เนื่องจากพระวิษณุทรงปราบอสูรผู้ขโมยแผ่นดินและยกแผ่นดินขึ้นเหนือน้ำในปางวราหาวตาร นอกจากนั้นในเทวีภาควตะกล่าวว่า เมื่อพระพรหมเกิดจากดอกบัวที่ผุดจากพระนาภีของพระวิษณุ มีของเหลวไหลออกมาจากพระกรรณ (หู) ทั้งสองข้างของพระวิษณุ ของเหลวนี้เกิดเป็นรากษก ๒ ตน ชื่อ มธุ และไกฏกะ รบกวนพระพรหม พระวิษณุตื่นขึ้น จึงฆ่ามธุและไกฏกะ ไขมันของแข็งของ ๒ รากษกได้ผนึกเข้ากับแผ่นดินปรากฏเป็นเทพสตรีหรือ ภูมิเทวี หรือ ภูเทวี ในปุราณะถือว่าภูมิเทวีเป็นชายของพระวิษณุหรือเป็นศักติของพระวิษณุเช่นเดียวกับมหามายาหรือมายาเทวี การปรากฏของพระวิษณุมัธยมโยคสถานะมูรติ           การปรากฏกายของพระวิษณุที่ประดิษฐานในเทวสถาน มักมี ๓ ท่า คือ ท่ายืน เรียกว่า สถานกะมูรติ (Sthanaka-murti) ท่านั่งเรียกว่า อาสนมูรติ (Asana- murti) และท่านอน เรียกว่า ศยนะมูรติ (Sayana- murti)           ท่าประทับยืน มี ๔ แบบ คือ โยคสถานกะมูรติ (Yogasthanaka-murti) โภคสถานกะมูรติ (Bhogasthanaka-murti) วีรสถานกะมูรติ (Virasthanaka-murti) และอาภิจาริกสถานกะมูรติ (Abhicharikasthanaka-murti)  โดยโยคสถานกะมูรติจะประกอบด้วยฤษี ๒ องค์ คือ ภฤคุ (Bhrigu) และมารกัณเฑยะ (Markandeya) นั่งคุกเข่าอยู่ทางขวาและซ้ายของพระวิษณุ หรืออาจเป็นนางภูเทวี และมารกัณเฑยะ อยู่ทางขวาและซ้ายของพระวิษณุตามลำดับ ในเทวสถานที่ประดิษฐานพระวิษณุในท่านี้จะต้องมีพระศิวะ ๔ กร สลักบนกำแพงด้านเหนือ (หันหน้าไปทางใต้) มีพระพรหมประทับยืน ๔ กร บนกำแพงด้านใต้ (หันหน้าไปทิศใต้) โดยถ้าพระวิษณุห้อมล้อมด้วยเทพ เทพี และฤาษี คือ พระศิวะ พระพรหม นางภูเทวี ภฤคุ มารกัณเฑยะ จัดเป็นโยคสถานกะมูรติชั้นสูงสุด (Uttama Class) ถ้าไม่มีพระพรหมและพระศิวะ จัดเป็นโยคสถานกะมูรติชั้นกลาง (Madhyama Class) และถ้าไม่มีฤษีจัดเป็นโยคสถานกะมูรติชั้นต่ำสุด (Adhana Class)           ดังนั้น การพบพระวิษณุพร้อมฤษีมารกัณเฑยะและพระนางภูเทวีที่แหล่งโบราณคดีเขาพระนารายณ์ (เขาเวียง) จึงจัดเป็นพระวิษณุมัธยมโยคสถานะมูรติ (ชั้นกลาง)เขาพระนารายณ์ (เขาเวียง)           เป็นภูเขาลูกเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงจุดที่คลองเหลและคลองรมณีย์ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำตะกั่วป่า บนยอดเขามีเทวสถานเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระวิษณุและเทพบริวาร (ฤษีมารกัณเฑยะ และพระนางภูเทวี)            ก่อนการขุดค้นทางโบราณคดีพบเศษอิฐและเศษหินกระจายอยู่ทั่วไป ต่อมามีการขุดค้นและขุดแต่งในโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีเขาพระนารายณ์ ตำบลเหล อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ของสำนักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต ใน พ.ศ.๒๕๕๒ พบโบราณสถาน ๒ แห่ง คือ            โบราณสถานหมายเลข ๑ เป็นที่ประดิษฐานเทวรูป พระวิษณุและเทพบริวาร เป็นอาคารก่ออิฐ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๕ เมตร ยาว ๕.๒๐ เมตร มีฐานเขียงก่อซ้อนกัน ๒ ชั้น สภาพถูกขุดทำลายอย่างมาก จากการขุดแต่งไม่พบรอยเสาอาคารและกระเบื้องหลังคา            โบราณสถานหมายเลข ๒ เป็นฐานอาคารก่ออิฐไม่ทราบประโยชน์ใช้งาน พบเพียงแนวอิฐในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง ๒ เมตร ยาว ๒ เมตร สภาพชำรุดมาก----------------------------------------------------------ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ---------------------------------------------------------- อ้างอิง - บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ และเรไร นัยวัฒน์. ทุ่งตึก เมืองท่าการค้าโบราณ. ภูเก็ต : สำนักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต, ๒๕๕๐. - ผาสุข อินทราวุธ, รูปเคารพในศาสนาฮินดู. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์, ๒๕๒๒. - พิริยะ ไกรฤกษ์, “พระวิษณุ : ประติมากรรมที่พบในภาคใต้,” สารานุกรมวัฒนธรรม ภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๖.กรุงเทพฯ:สถาบันทักษิณคดีศึกษา, ๒๕๒๙. - รายงานเบื้องต้นการขุดค้น-ขุดแต่งโบราณสถานเขาพระนารายณ์ ตามโครงการโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีเขาพระนารายณ์ ตำบลเหล อำเภอกะปง จังหวัดพังงา พ.ศ.๒๕๕๒. - อมรา ศรีสุชาติ, ดร.“โยคะนิทรา,” พิพิธวิทยาการ รวมบทความวิชาการด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และพิพิธภัณฑสถานวิทยา ๒๕๕๕. กรุงเทพฯ: สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๖), หน้า ๑๑.


ชื่อเรื่อง                     เรื่องพระปฐมเจดีย์ผู้แต่ง                       เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ผู้แต่งเพิ่ม                   ม.จ. สุภัทรดิส ดิสกุลประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.3135 ท486รผสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 กรมแผนที่ทหารบกปีที่พิมพ์                    2504ลักษณะวัสดุ               128 หน้า หัวเรื่อง                     พระปฐมเจดีย์ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานประชุมเพลิงศพ นายผิว  พุกผาสุก ณ เมรุวัดท่าตำหนัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม วันที่ 12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2504 เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติขององค์พระปฐมเจดีย์


ชื่อเรื่อง                                ตำราโหราศาสตร์ (โหราศาสตร์)สพ.บ.                                  216/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           46 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 27.4 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 โหราศาสตร์ บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน-ไทยโบราณ เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน-ไทยโบราณ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 


Messenger