ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ



เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2562 (Public Sector Management Quality Award)  จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการองค์การของหน่วยงานภาครัฐ และใช้ประกอบในการพิจารณารางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐต่อไป 


ในปี พ.ศ. 2563 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้พัฒนาหลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมให้สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาระบบราชการ เพื่อส่งเสริมการเปิดระบบราชการให้ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการที่สร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาต่อระบบราชการ และสร้างการยอมรับจากภาคประชาชนในการเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องและร่วมทำงานกับภาครัฐแบบหุ้นส่วนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมและขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังหน่วยงานของรัฐให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ได้เห็นชอบให้กำหนดรางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทเปิดใจใกล้ชิดประชาชน (Open Governance)2) ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม (Effective Change) 3) ประเภทผู้นำหุ้นส่วนความร่วมมือ (EngagedCitizen) 4) ประเภทเลื่องลือขยายผล (Participation Expanded) และ 5) ประเภทร่วมใจแก้จน (AntipovertyEmpowered)


          ประจวบคีรีขันธ์จัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดทางภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย มีลักษณะภูมิประเทศที่มีความลาดชันค่อนข้างสูง ลาดเอียงในด้านตะวันตกซึ่งเป็นเทือกเขาตะนาวศรีลงสู่ด้านตะวันออกซึ่งเป็นอ่าวไทยตลอดแนวเขตของจังหวัด ประกอบด้วยเทือกเขาและภูเขาอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเลและพื้นที่ตอนกลางของจังหวัด มีเทือกเขาสำคัญเช่น เทือกเขาสามร้อยยอด และมีเกาะเล็ก ๆ รวม ๕๘ เกาะ ประกอบด้วยแหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปราณบุรีในอำเภอปราณบุรี แม่น้ำกุยบุรีในอำเภอกุยบุรี แม่น้ำบางสะพานในอำเภอบางสะพาน คลองบางนางรมในอำเภอเมือง คลองกรูดตั้งอยู่ในอำเภอบางสะพาน ประกอบไปด้วยอ่าวน้อย อ่าวประจวบ และอ่าวมะนาว จึงได้ฉายาว่าเมืองสามอ่าว ทำให้สะดวกต่อการติดต่อดินแดนภายนอก มีดินร่วนปนทรายลึกลงไปเป็นดินเหนียวปนทรายที่เหมาะแก่การเพาะปลูก แร่ธาตุที่สำคัญได้แก่ แร่ควอร์ทซ หินอ่อน ดีบุก ทองคำ ลูโคซิน โปแตสเซียม และเฟลด์สปาร์ ภาพที่ 1 แผนที่ตำแหน่งแหล่งโบราณคดีถ้ำภาพเขียน           นอกจากอาณาเขตทางทะเลที่ประกอบไปด้วยอ่าวทั้งสามแล้ว ประจวบคีรีขันธ์ยังมีอาณาเขตติดกับสหภาพพม่าตลอดแนวทิศตะวันตกประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร สามารถสัญจรถึงกันได้ ๓๐ ช่องทาง ชายแดนที่สำคัญคือ ด่านสิงขร อำเภอเมืองซึ่งเชื่อมต่อกับบ้านมูด่อง เมืองมะริด เขตตะนาวศรี ประเทศพม่า โดยปรากฏชื่อด่านสิงขรในพงศาวดารสมัยอยุธยาในฐานะช่องทางเดินทัพระหว่างไทย-พม่า และปรากฏชื่อเมืองซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในคำให้การชาวกรุงเก่า ได้แก่กุยบุรี ปราณบุรี เมืองนารัง เมืองบางตะพาน เมืองสิงคอง (สิงขร) เมืองคลองวาฬ และเมืองบางตะพานน้อยอีกด้วย อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสนใจว่าการศึกษาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภายในภาคตะวันตกยังคงมีไม่มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเกิดโครงการสำรวจแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันตกของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๓ โดยสำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรีขึ้น ภาพที่ 2 ภูมิประเทศเทือกเขาสามร้อยยอด 1 ภาพที่ 3 ภูมิประเทศเทือกเขาสามร้อยยอด 2 ภาพที่ 4 ภูมิประเทศเทือกเขาสามร้อยยอด 3 ภาพที่ 5 ภูมิประเทศเทือกเขาสามร้อยยอด 4           ร่องรอยก่อนประวัติศาสตร์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ปรากฏที่อำเภอกุยบุรี อำเภอปราณบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอสามร้อยยอด แหล่งโบราณคดีที่น่าสนใจแห่งหนึ่งคือถ้ำภาพเขียน ตั้งอยู่หมู่ ๒ บ้านโรงเจ ตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่แห่งนี้มีลักษณะเป็นเพิงผาหินปูน รายล้อมไปด้วยป่าเบญจพรรณ ภายในถ้ำไม่พบโบราณวัตถุ พบเพียงภาพเขียนสีบนเพิงผาทางด้านเหนือของปากถ้ำซึ่งได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะของน้ำและการกะเทาะของหิน โดยระดับของภาพมีความสูงต่ำที่สุดที่ ๑.๕๐ เมตร สามารถยืนเขียนได้ตามปกติ และระดับสูง ๖ เมตรที่ต้องใช้เครื่องมือเช่น นั่งร้านหรือบันได เพื่อปีนขึ้นไปเขียนภาพ ภาพที่ 6 สภาพแหล่งโบราณคดีถ้ำภาพเขียน ภาพที่ 7 สภาพภายในแหล่งโบราณคดีถ้ำภาพเขียน ภาพที่ 8 ภาพเขียนสี ถ้ำภาพเขียน           ภาพเขียนสีที่พบในถ้ำภาพเขียนมีจำนวน ๑๐๖ ภาพ สามารถจำแนกออกได้ ๓ ประเภท ได้แก่ ภาพคน ๑๓ ภาพ ภาพสัตว์ ๑๒ ภาพ ภาพสัญลักษณ์ ๕๘ ภาพ และภาพที่เสียหายไม่สามารถพิจารณาได้จำนวน ๒๓ ภาพ เล่าเรื่องราวของของการล่าฝูงวัวและเก้งหรือกวาง และมีบุคคลที่สวมเสื้อคลุมยาว ศีรษะประดับด้วยเขายาวแหลมกำลังประกอบพิธีกรรม มีวิธีการลงสีแบบเงาทึบ (Silhouette) แบบโครงร่างภายนอก (Outline) แบบเงาทึบบางส่วน (Partial Silhouette) และแบบลายเส้น (Line) //เนื่องจากสภาพแหล่งไม่เอื้ออำนวยให้ใช้เป็นที่พักพิงถาวร จึงสันนิษฐานว่าถ้ำภาพเขียนไม่ใช่แหล่งที่อยู่อาศัยและไม่ใช่ที่พักชั่วคราว แต่เป็นสถานที่เชิงพิธีกรรมโดยกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ตามพื้นราบในบริเวณใกล้เคียง เช่น ในเขตบ้านพุน้อย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด, บ้านโป่งกระสัง อำเภอกุยบุรี, เขาจ้าว อำเภอปราณบุรี และเขตที่ราบหุบเขาในอำเภอหัวหิน ภาพสัญลักษณ์ส่วนใหญ่มีรูปแบบและเทคนิคคล้ายกับที่พบจากแหล่งศิลปะถ้ำประตูผา จังหวัดลำปาง จึงสันนิษฐานว่ากลุ่มที่เข้ามาเขียนภาพนั้นอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมกสิกรรม ประมาณ ๓,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ภาพที่ 9 กลุ่มภาพคนล่าสัตว์และสัญลักษณ์ ภาพที่ 10 กลุ่มภาพคนไล่ต้อนฝูงสัตว์ ภาพที่ 11 กลุ่มภาพสัญลักษณ์ ภาพที่ 12 กลุ่มภาพสัญลักษณ์ ภาพที่ 13 คณะทำงาน ภาพที่ 14 คณะทำงาน อ้างอิง -กรมศิลปากร, ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๓๙. -กรมศิลปากร, วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๔๔. -สำนักศิลปากรที่ ๑ จังหวัดราชบุรี, ศิลปะถ้ำเขาสามร้อยยอด ราชบุรี: กรมศิลปากร, ๒๕๔๖.


***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก ประเพณีทำบุญเมืองไทย พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นางดำรงรถการ (บุญมา แคร่น้อย)  ณ วัดชำนิหัตถการ  วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๔๘๔.  พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๘๔.



หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                             บาลีหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                   12 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว  54.5 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


หลังจากปิดชั่วคราวกว่า 2 เดือน กรมศิลปากรเปิดแหล่งเรียนรู้ในสังกัด อุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 22 พ.ค.นี้ พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างเคร่งครัด   นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบค. ได้มีมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 2 กรมศิลปากรจึงจะเปิดให้บริการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถานที่เก็บค่าเข้าชม หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รวมถึงหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และหอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมนี้ หลังจากปิดชั่วคราวกว่า 2 เดือน พร้อมย้ำให้ทุกหน่วยงานดำเนินตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบแหล่งเรียนรู้ในสังกัดกรมศิลปากรจะต้องดาวน์โหลดแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” จาก www.ไทยชนะ.com และติดตั้ง QR CODE ให้ผู้รับบริการลงทะเบียน เพื่อเก็บข้อมูลการเข้าออกในพื้นที่ สำหรับมาตรการหลักที่แจ้งให้ถือปฏิบัติ ได้แก่ จัดระบบการคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิทั้งเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการ หากมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะให้เจ้าหน้าที่งดการปฏิบัติหน้าที่และงดจำหน่ายบัตรให้กับผู้ขอรับบริการดังกล่าว สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา บริการเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆ ที่มีการสัมผัสบ่อย เช่น บริเวณจุดจำหน่ายบัตร ส่วนให้บริการ ห้องสุขา พร้อมทั้งทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ทุก 2 ชั่วโมง จัดระบบการเข้าชมให้มีระยะห่างระหว่างบุคคลไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และไม่ให้มีความหนาแน่นภายในพื้นที่จัดแสดง สำหรับกรณีการเข้าชมแบบหมู่คณะ จำกัดเข้าชมได้ไม่เกิน 10 คนและให้ประสานงานล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในการจัดระบบดูแล งดบริการนำชม การจัดบรรยาย และสัมมนาภายในแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร ทั้งนี้ ขอให้ผู้เข้ารับบริการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด   “นอกจากนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบแหล่งเรียนรู้แต่ละแห่งจะต้องประสานงานกับจังหวัด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการย่อยของแต่ละจังหวัดที่จะต้องประเมินความเสี่ยงของสถานที่ต่างๆ อีกครั้ง และรายงานสถานการณ์ของจังหวัดอันเป็นที่ตั้งให้กรมศิลปากรทราบทุกสัปดาห์ เพื่อประเมินสถานการณ์ในการเปิดให้บริการ” นายประทีป อธิบดีกรมศิลป์ กล่าว


องค์ความรู้ เรื่อง "พระพิมพ์รัตนตรัยมหายาน" เรียบเรียงข้อมูล โดยนางสาวสโรชินี หง่าสงฆ์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี



เลขทะเบียน : นพ.บ.50/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  42 หน้า ; 4.6 x 53.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 31 (326-330) ผูก 5หัวเรื่อง :  แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ชื่อผู้แต่ง          -                            ชื่อเรื่อง           บทดอกสร้อยสุภาษิต สุภาษิตพระร่วงและสุภาษิตอิศรญาณ             ครั้งที่พิมพ์        -         สถานที่พิมพ์     กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์       บริษัทศรีอนันต์การพิมพ์ จำกัด               ปีที่พิมพ์          ๒๕๔๑            จำนวนหน้า      ๑๐๒ หน้า        หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูประดิษฐ์สรธรรม (สงัด ญาณวิโร)                      หนังสือเรื่องบทดอกสร้อยสุภาษิต สุภาษิตพระร่วงและสุภาษิตอิศรญาณ เนื้อเรื่องเป็นบทร้อยกรอง ประกอบด้วย ๓ เรื่องด้วยกันแต่มีลักษณะคำประพันธ์แตกต่างกัน คือ บทดอกสร้อยสุภาษิตจะเกี่ยวกับเพลงกล่อมเด็ก สุภาษิตพระร่วงเป็นประเภทร่ายสุภาพ ซึ่งเกี่ยวกับวิถีสังคมไทย ส่วนสุภาษิตอิศรญาณ เป็นกลอนแปด ว่าด้วยโวหารที่คมคาย


Messenger