ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ

ชื่อเรื่อง                     ตำราไสยศาสตร์ (เสียเคราะห์)สพ.บ.                       442/1กหมวดหมู่                   พุทธศาสนาภาษา                       ไทยอีสานหัวเรื่อง                     ไสยศาสตร์                              เวทย์มนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ               38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 34.5 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก                              เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ศูนย์ประสานงานอำเภอศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ (เวลา 13.30 น.) จำนวน 160 คนวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. ศูนย์ประสานงานอำเภอศรีเทพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๓ นำคณะผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๑๖๐ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีนางสาวณัฏฐกานต์ มิ่งขวัญ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน และว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้




วันพุธที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้แทนกรมศิลปากร เข้ารับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ “รางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี” ประเภทนวัตกรรมบริการ ผลงาน Application AR Smart Heritage รูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานในพื้นที่มรดกโลก ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ณ อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้จัดพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ให้แก่หน่วยงานที่มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศ ซึ่งผลงาน Application AR Smart Heritage รูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานในพื้นที่มรดกโลก ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ได้รับรางวัลบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมบริการ ที่มีการพัฒนาการให้บริการด้วยการนำนวัตกรรมที่เกิดจากการนำแนวคิด องค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชนให้ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และเกิดความพึงพอใจ ถือได้ว่าเป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการที่ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง



โบราณสถานวัดวังตะวันตก           ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลคลัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช  จังหวัดนครศรีธรรมราช สถานที่ตั้งวัดวังตะวันตกแต่เดิมเป็นป่าขี้แรด ใช้เป็นที่ค้างศพของคนในเมือง ซึ่งจะนำออกมาทางประตูผี ทิศตะวันตกของเมือง กระทั่งกลายเป็นที่รกร้าง ต่อมาเจ้าจอมปรางเห็นเป็นที่ว่างและอยู่ใกล้กับวังของท่านเพียงคนละฟาก จึงเกิดความคิดที่จะดัดแปลงที่ว่างนั้นให้เป็นอุทยาน เพื่อเป็นที่พักผ่อนของเจ้าพระยานคร (น้อย) บุตรชาย ประกอบกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (ระหว่างพ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๗) จึงได้ดัดแปลงป่าขี้แรดให้เป็นอุทยาน           ต่อมาเมื่อเจ้าพระยานคร (น้อย) เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (ระหว่างพ.ศ.๒๓๕๗-๒๓๘๑) จึงได้เลือกเอาอุทยานแห่งนี้เป็นที่ฌาปนกิจศพเจ้าจอมมารดาปราง และปรับปรุงวังตะวันออกให้เป็นวัดวังตะวันออก พร้อมกับแปรสภาพอุทยานแห่งนี้ให้เป็นวัดอีกวัดหนึ่งเรียกว่า “วัดวังตะวันตก”                           โบราณสถานสำคัญภายในวัด ได้แก่ กุฏิทรงไทย ลักษณะเป็นหมู่เรือนไทยสร้างด้วยไม้ ประกอบด้วยเรือน ๓ หลัง แบบเรือนฝาปะกน มีลวดลายแกะสลักไม้ตกแต่งตามส่วนต่าง ๆ เป็นรูปบุคคล รูปสัตว์ ลายพันธุ์พฤกษา และลายเรขาคณิต มีจารึกสลักบนไม้เหนือกรอบประตูหลังกลาง ใจความสรุปได้ว่าอาจารย์ย่อง เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น   ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะในพ.ศ. ๒๕๓๔ และพ.ศ. ๒๕๕๒           โบราณสถานวัดวังตะวันตกได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑0 ตอนที่ ๒๒๐ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๓ งาน ๒๕.๗๕ ตารางวา     Wat Wang Tawan Tok (The Western Palace Temple)           Wat Wang Tawan Tok is located on Ratchadamnoen Road, Klang Sub-district, Mueang Nakhon Si Thammarat District, Nakhon Si Thammarat Province. The location of Wat Wang Tawan Tok was originally The Khi Rat woods (Khi Rat is a southern local name of Khoi Nam which is a shrub or small tree). It was used as a resting place after dead bodies were brought out through Pratu Phi or The Ghost Gate, which is the gate that allowed dead bodies to pass, was on west side of the town. Later it became a wasteland. Chao Chom Prang, came up with an idea to convert the space, which was opposite her palace, into a garden for her son, Chao Phraya Nakhon (Noi). When Chao Chom Prang’s husband, Chao Phraya Nakhon (Phat) was appointed as the governor of Nakhon Si Thammarat, The Khi Rat woods was transformed into a garden.           When Chao Phraya Nakhon (Noi) was the governor of Nakhon Si Thammarat during  1814 - 1838, he selected this garden as a crematorium for Chao Chom Prang. The Wang Tawan Ok or The Eastern Palace was turned into a temple called Wat Wang Tawan Ok along with this garden that also turn into another temple called Wat Wang Tawan Tok or The Western Palace Temple.           The highlight of the temple is Thai-style Kuti or monastic residence, made of wood, consists of 3 buildings which have the fabricated walls. The fabricated walls made of many small wooden pieces to rabbet joint without nails, called “Fa Pakon”. There are patterns, namely portraits, animals, flora and geometric patterns were carved in wood to decorate in various parts. Above the door’s frame of the middle house, there was an inscription about Phra Ajarn Yong who was the initiator of the construction in 1888. Later in 1991 and 2009 this building was restored by the Fine Arts Department.             The Fine Arts Department announced the registration of the 1,303 squares - metres area of Wat Wang Tawan Tok as a national monument in the Royal Gazette, Volume 110, Part 220 Special, page 18, dated 24th September 1993.      




***บรรณานุกรม***    กฎหมายตราสามดวง เล่ม 5 พระนคร  โรงพิมพ์คุรุสภา 2506


ชื่อเรื่อง : เจ็ดร้อยปีเมืองเชียงใหม่ ผู้แต่ง : ครูเชียงใหม่ปีที่พิมพ์ : 2540 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ต้นอ้อ แกรมมี่      เมืองเชียงใหม่ เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เพียบพร้อมไปด้วยขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา รวมทั้งเป็นแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวล้านนาที่สืบทอดกันมาอันยาวจวบจนครบเจ็ดร้อยปี ในปีพุทธศักราช 2539 สาระสำคัญในเล่มประกอบด้วย อาเศียรวาทสดุดี ตำนานสมโภชเชียงใหม่เจ็ดร้อยปี ครูบาศรีวิชัย : นักบุญแห่งล้านนาไทย ผังเมืองเชียงใหม่ในฐานะเมืองประวัติศาสตร์ และเรื่องที่น่าติดตามอีกหลายเรื่อง นอกจากนี้ยังมีภาพเชียงใหม่ในอดีต ภาพโบราณสถานและโบราณวัตถุและแหล่งท่องเที่ยว หนังสือเล่มนี้ให้สาระความรู้ตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามที่สืบทอดกันมายาวนาน ทำให้ผู้อ่านมีความรักและหวงแหนในท้องถิ่นและความเป็นชาติไทย



เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหว ขนาด ๖.๓ ริกเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ที่ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ส่งผลให้โบราณสถานในเขตรับผิดชอบของสำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ ได้รับความเสียหาย ดังนี้วัดพระยืน จังหวัดลำพูน ยอดเจดีย์รายหักพังวัดกิตติ จังหวัดเชียงใหม่ ปลายยอดฉัตรหัก ส่งผลให้ลูกแก้วประดับแตกเสียหายวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ยอดฉัตรคดงอเล็กน้อยโบสถ์คริตจักร์ที่ ๑ เวียงเชียงราย ปูนฉาบกระเทาะบางส่วน



วัสดุ หินทราย แบบศิลปะ ศิลปะทวารวดี อายุสมัย อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13-15 (ประมาณ 1,100–1,300 ปีมาแล้ว) สถานที่พบ พบที่บ้านเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นายวีระ วุฒิจำนงค์ มอบให้เมื่อ 11 เมษายน 2538 หินทรายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แกะลายเป็นรูปเครื่องประดับลึกลงไปในเนื้อหินทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งแกะเป็นรูปเครื่องประดับสามเหลี่ยม ตุ้มหูรูปวงกลมทั้งแบบไม่มีและมีลวดลาย ตุ้มหูรูปหัวใจ อีกด้านแกะเป็นรูปกำไล ตุ้มหูรูปกลม ตุ้มหูรูปเรียวคล้ายพระจันทร์เสี้ยว และตุ้มหูรูปไข่ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นแม่พิมพ์แบบประกบกัน 2 ชิ้น ใช้หล่อเครื่องประดับในชีวิตประจำวันซึ่งทำมาจากทอง เงิน ดีบุก เช่น ตุ้มหู และเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ รูปแบบของเครื่องประดับเหล่านี้ แม้จะเริ่มทำมาตั้งแต่สมัยฟูนันราวพุทธศตวรรษที่ 8 แล้วก็ตาม แต่ความเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบนั้นมีน้อยมาก



Messenger