ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
สำนักช่างสิบหมู่ จัดการฝึกอบรมด้านงานศิลปกรรม สำหรับบุคคลภายนอกทั่วไป หลักสูตร “การประดับกระจก” เปิดรับสมัครบุคคลทั่วไป นักเรียน - นักศึกษา อายุระหว่าง ๑๘ – ๖๐ ปี จำนวน ๔๐ คน เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ อาคารศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ จังหวัดนครปฐม โดยผู้รับการฝึกอบรมจะต้องเตรียมค่าประกันอุปกรณ์ จำนวน ๔๐๐ บาท (สามารถรับคืนเมื่อคืนอุปกรณ์ หลังจบการอบรม) คลิปบอร์ด ขนาด A4 จำนวน ๑ ชิ้น และใบมีดคัตเตอร์ขนาดใดก็ได้ จำนวน ๑ อัน
ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมการฝึกอบรมได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ โดยสแกน QR Code แล้วกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มใบสมัคร และจะประกาศผลการคัดเลือกวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ทางเพจเฟสบุ๊ก สำนักช่างสิบหมู่ www.facebook.com/officeoftraditionalarts สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๔๘๒ ๑๓๙๙
หมายเหตุ :
* ผู้สมัครต้องได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้จัดฝึกอบรม โดยพิจารณาจากลำดับใบสมัคร คุณสมบัติ ความต้องการ กลุ่มอาชีพ เพื่อกระจายตามกลุ่มเป้าหมายของโครงการ แล้วจะแจ้งประกาศผลให้ทราบอีกครั้ง เพื่อให้ผู้สมัครยืนยันการเข้าร่วมโครงการ จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการฝึกอบรม
** ผู้สมัครควรมีความพร้อมในเรื่องของระยะเวลา สามารถร่วมการอบรมได้ครบตามระยะเวลาที่กำหนด ๕ วัน(หากเข้าอบรมไม่ครบตามระยะเวลา ขอตัดสิทธิ์การเข้าอบรมในโครงอื่นๆ )
แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะพื้นบ้านล้านนา ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕
วัสดุ (ชนิด) ไม้แกะสลักลงรักปิดทองล่องชาด ประดับกระจกจืน
ขนาด หน้าตักกว้าง ๖.๙ เซนติเมตร สูง ๑๘ เซนติเมตร
ประวัติความเป็นมา พุทธสถานเชียงใหม่ มอบให้
ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากไม้ ลงรักปิดทองล่องชาดและประดับกระจก พระพักตร์เรียวยาว พระวรกายเพรียวบาง พระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม ชายสังฆาฏิยาว ส่วนชายตัดตรง ขอบสบงนูนขึ้นมามาก พระกรมีขนาดเล็กไม่สมส่วน จากลักษณะทางศิลปกรรมที่แสดงถึงความเป็นท้องถิ่นล้านนา ด้วยเทคนิคงานประดับตกแต่งที่มีความหลากหลายนี้ สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปนี้สร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕ ตรงกับสมัยพระเจ้ากาวิละ ดังปรากฏว่าภายหลังจากการขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา พระเจ้ากาวิละได้เริ่มต้นการฟื้นฟูบ้านเมือง ด้วยวิธี “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ด้วยการนำไพร่พลจากหลายพื้นที่เข้ามาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ แล้วเร่งฟื้นฟูบ้านเมืองตลอดจนงานศิลปกรรม ยังผลให้เกิดการผสมผสานรูปแบบงานศิลปกรรมจากหลากหลายท้องถิ่น ทำให้ศิลปกรรมล้านนาในระยะนี้มีรูปแบบที่หลากหลาย
จังหวัดนครนายกเป็นจังหวัดที่มีหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการพบแหล่งโบราณคดีในพื้นที่รวม ๘๕ แหล่ง เป็นแหล่งโบราณคดีที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ๔ แหล่ง และที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ๘๑ แหล่ง โดยมีแหล่งโบราณคดีที่มีชื่อเสียง คือ แหล่งโบราณคดีเมืองดงละคร
เมืองโบราณดงละคร ตั้งอยู่ในตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ผังเมืองลักษณะเป็นรูปไข่หรือวงรี มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
ตำนานของเมืองดงละคร เชื่อว่าเป็นเมืองลับแล ในเวลากลางคืนจะได้ยินเสียงดนตรีมโหรีแว่วมาจากกลางป่า คล้ายกับมีการเล่นละคร จึงเรียกว่า ดงละคร ส่วนอีกตำนานหนึ่ง มีชาวบ้านคนหนึ่งมีอาชีพตัดฟืน ได้หลงเข้าไปในเมืองลับแล หาทางกลับออกมาไม่ได้ จึงตัดสินใจอยู่กินกับหญิงสาวนางหนึ่งและมีลูกด้วยกัน วันหนึ่งชายดังกล่าวพลั้งทำผิดกฎเกณฑ์ของเมือง จึงต้องให้ออกจากเมืองไป ก่อนออกจากเมืองภรรยาของชายตัดฟืนได้มอบห่อผ้าสองห่อให้นำติดตัวมา พร้อมทั้งกำชับให้แกะห่อผ้าเมื่อถึงบ้านแล้วเท่านั้น แต่ระหว่างทางชายตัดฟืนเกิดอยากรู้สิ่งของภายในห่อผ้า จึงได้แกะห่อผ้าหนึ่งห่อออกดู พบว่าเป็นทรายจึงได้เททิ้งไว้ เหลือห่อผ้าอีกห่อที่นำกลับมาเปิดที่บ้านของตนและพบว่าภายในห่อผ้ามีทองคำจำนวนหนึ่งบรรจุอยู่ จึงใช้ทองคำเหล่านั้นเลี้ยงตัวและดูแลมารดาไปตลอดชีวิต พร้อมทั้งสร้างวัดขึ้น ณ บริเวณที่เททรายทิ้ง เรียกว่า วัดหนองทรายทอง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของดงละคร
ตำนานของเขานางบวช เมื่อประมาณ ๑,๐๐๐ ปีก่อน เจ้าเมืองกัมพูชามีโอรสพระองค์หนึ่ง นามว่า เจ้าปราจิตร เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้ออกเดินทางและพักอาศัยอยู่ร่วมกับหญิงท้องแก่คนหนึ่ง จนกระทั่งนางนั้นให้กำเนิดบุตรสาว นามว่า อรพิน
เมื่อนางอรพินโตเป็นสาว เจ้าปราจิตรจึงได้สู่ขอนางเป็นคู่ครอง แต่ก็ถูกคนของเจ้าเมืองพิมายลักพาตัวไป เมื่อเจ้าปราจิตรทราบข่าวจึงตามไปช่วยและพาหนีออกจากวังเจ้าเมืองพิมาย ระหว่างทางเจ้าปราจิตรและนางอรพินเกิดพลัดหลงกัน นางอรพินได้เดินทางจนพบกับวิหารบนภูเขา จึงอธิษฐานแปลงร่างจากหญิงเป็นชายบวชอยู่บนวิหารนั้น จนกระทั่งเจ้าปราจิตรมาพบ จึงได้ลาสิกขา และเรียกขานนามภูเขานั้นว่า เขานางบวช
พระคเณศเป็นเทพเจ้าสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่มีผู้เคารพศรัทธาและนับถืออย่างแพร่หลายในหมู่คนหลายชาติหลายภาษา และทุกชนชั้น พระองค์เป็นเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค ประทานความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรือง ทรงปกป้องคุ้มครองจากเคราะห์ร้าย และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พระคเณศเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาด สติปัญญา ความรู้ การเรียน ความมั่งคั่ง สัมฤทธิผล ความสำเร็จ และการบรรลุซึ่งความปรารถนาทั้งปวง
“คเณศ” มาจากคำว่า “คณะ” รวมกับ “อีศะ” หมายถึง เจ้าแห่งคณะ ทั้งนี้ในทางปรัชญา อักษร “ค” แปลว่า ชญาณ ส่วนอักษร “ณ” แปลว่า ทางหลุดพ้น ขณะที่ “อีศะ” แปลว่า เจ้า เมื่อรวมกันแล้วจึงหมายถึง ผู้เป็นเจ้าทั้งชญาณและทางหลุดพ้น
พระคเณศ เป็นเทพเจ้าที่ปรากฏพระนามถึง ๑๐๘ พระนาม โดยบางพระนามเหล่านี้บ่งบอกให้ทราบถึงการกำเนิด การปรากฏขึ้นของพระองค์ รูปลักษณ์ และบุคลิกภาพของพระองค์ เช่น “เอกทันตะ” หรือ “เอกศฤงคะ” แปลว่า เจ้าผู้มีงาข้างเดียว
ตำนานเกี่ยวกับพระผู้มีงาเพียงข้างเดียว มีอยู่ด้วยกันหลายตำนาน เช่น
๑. ถูกปรศุราม (อวตารของพระวิษณุเทพในปางที่ ๖) ใช้ขวานจาม เนื่องจากปรศุรามจะเข้าเฝ้าพระอิศวรที่เขาไกรลาส แต่พระคเณศซึ่งเฝ้าอยู่ไม่ให้ใครเข้ามารบกวนขณะที่พระอิศวรกำลังบรรทม จึงเกิดการต่อสู้กันขึ้น ปรศุรามไม่สามารถเอาชนะพระคเณศได้ จึงใช้ขวานที่พระอิศวรประทานให้เป็นอาวุธจามลงบนเศียรพระคเณศ พระคเณศเห็นขวานนั้นก็จำได้ว่าเป็นของพระบิดาก็ไม่กล้าตอบโต้ด้วย จึงเบี่ยงเศียรเอางาข้างหนึ่งรับไว้ (บางทีก็ว่าเป็นข้างซ้ายและบางครั้งก็พบเห็นในภาพเป็นงาข้างขวา)งานั้นก็ถูกคมขวานขาดสะบั้นลง พระคเณศจึงเก็บเอางาข้างที่ขาดถือกำไว้ในมือ ต่อมางาข้างที่ขาดนั้นก็ถือว่าเป็นอาวุธวิเศษ ใช้ปราบพวกมารขององค์พระคเณศ
๒. เมื่อครั้งพระอิศวรและพระอุมา จะจัดให้มีพิธีโสกันต์ (โกนจุก) ให้กับพระคเณศในวันอังคาร จึงได้เชิญทวยเทพและพระวิษณุมาร่วมอำนวยพรและเป็นสักขีพยาน แต่เนื่องด้วยพระวิษณุทรงบรรทมหลับสนิทอยู่เมื่อถูกปลุกให้ตื่นจากการบรรทมจึงพลั้งพระโอษฐ์ออกไปว่า “ไอ้ลูกหัวหายจะนอนให้สบายก็ไม่ได้” ด้วยอำนาจวาจาสิทธิ์แห่งพระวิษณุที่ตรัสออกมานั้น จึงทำให้พระเศียรของพระโอรสขาดหายไป เหล่าบรรดาทวยเทพต่างก็ประหลาดใจจึงลงความเห็นว่าวันนี้เป็นวันฤกษ์ไม่ดีห้ามทำการมงคลในวันอังคาร และเรียกวันนี้ว่า “วันโลกาวินาศ”จากนั้นพระอิศวรจึงมีบัญชาให้พระวิษณุไปหาเศียรของมนุษย์ที่เสียชีวิตแล้วมาต่อให้พระคเณศ แต่ปรากฏว่าในวันนั้นซึ่งเป็นวันอังคารไม่มีมนุษย์คนใดถึงฆาต จะมีก็เพียงช้างพลายที่มีงาเพียงข้างเดียวนอนตายหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก จึงตัดเอาเศียรนั้นมาต่อให้กับพระคเณศ กำเนิดเป็นองค์พระคเณศผู้มีเศียรเป็นช้างและมีงาเพียงข้างเดียว
๓. ถูกพระอิศวรใช้ขวานจาม เมื่อครั้งพระอุมามีรับสั่งให้พระคเณศเฝ้าประตูทางเข้าห้องสรงน้ำ พระอิศวรต้องการเข้าพบพระอุมา แต่พระคเณศไม่ยอมให้เข้าพบ ตอนนั้นพระอิศวรยังไม่รู้ว่าพระคเณศเป็นลูกที่เกิดจากพระอุมาจึงเกิดการต่อสู้กัน พระอิศวรจึงใช้ขวานจามลงไปถูกงาของพระคเณศขาดสะบั้นลงเสียข้างหนึ่ง
๔. พระคเณศสามารถถอดงาออกได้เองตามธรรมชาติ เมื่อคราวต่อสู้กับอสูรอสุรภัค พระคเณศได้ถอดเอางาข้างหนึ่งของตัวเองใช้เป็นอาวุธขว้างไปที่อสูรอสุรภัค
จากการที่พระคเณศทรงมีเศียรเป็นช้างและมีงาเพียงข้างเดียว (แม้เป็นภาวะที่ไม่สมบูรณ์หรือพิการ) แสดงให้เห็นว่า พระองค์อุทิศอวัยวะของพระองค์เองเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีและเชิดชูการเรียนรู้ และงาที่หักไปนั้นชี้ให้เห็นว่า คนเราต้องปลดปล่อยตัวเองให้พ้นจากอหังการ (ความรู้สึกว่ามีตัวเอง) และ มมังการ (ความรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง) เพื่อโฆกษะ คือการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. พระคเณศ เทพแห่งศิลปากร = Ganesha: Lord of Fine Arts.กรุงเทพฯ: สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔.
เจริญ มาบุตร. การวาดภาพพระพิฆเณศวร. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์, ๒๕๕๓.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. คเณชา. ปทุมธานี: เวิร์คพอยท์, ๒๕๕๔.
ศุภลักษณ์ หัตถพนม. การศึกษาวิเคราะห์การเคารพบูชาพระคเณศของชาวพุทธในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสนศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๘.
เรียบเรียงโดย: นางสาวอรวรรณ เจริญกูลบรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ตุงและคันตุง
เลขทะเบียน ๘๙ / ๒๕๔๑
แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่
วัสดุ (ชนิด) โลหะ
ขนาด สูงพร้อมฐาน ๓๕.๕ เซนติเมตร
ประวัติความเป็นมา ได้จากวัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ตุง เป็นเครื่องแขวนอย่างหนึ่งสำหรับใช้ในพิธีกรรม คล้ายธง โดยตุงถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่หลากหลาย เช่น ผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ตามแต่โอกาสที่ใช้และฐานะของผู้สร้าง หากเป็นตุงที่สร้างจากวัสดุที่ไม่กวัดไกวตามกระแสลม จะเรียกตุงชนิดนั้นว่า ตุงกระด้าง ซึ่งสร้างด้วยโลหะ ไม้ หรือปูน เป็นต้น
หลักฐานการใช้ตุงเป็นเครื่องพุทธบูชาปรากฏในเอกสารล้านนาโบราณหลายฉบับ เช่น ตำนานเมืองเชียงแสน กล่าวถึงการประดิษฐานพระบรมธาตุเหนือยอดดอยลูกหนึ่ง แล้วพระมหากัสสปเถระเจ้าก็ได้อธิษฐานตุงขึ้นตั้ง คันตุงนั้นสูงแปดพันวา ตุงยาวเจ็ดพันวา กว้างสี่ร้อยวา หลังจากเหตุการณ์นี้ คนทั้งหลายจึงเรียกดอยแห่งนั้นว่าดอยตุง โดยหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการใช้ตุงปรากฏในศิลาจารึกวัดพระยืน ระบุว่าเมื่อราว พ.ศ.๑๙๑๓ เมื่อพญากือนาตั้งขบวนต้อนรับพระสุมนเถระจากสุโขทัย ในขบวนนั้นมีการประดับด้วยธง (ตุง) เหตุที่ชาวล้านนานิยมถวายตุงไว้ในพระพุทธศาสนา เพราะมีความเชื่อว่าการถวายทานตุงนั้นได้อานิสงค์มาก เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วจะไม่ตกนรก
สำหรับตุงเครื่องพุทธบูชารายการนี้ มีลักษณะเป็นเสาตุงที่ตั้งอยู่เหนือหม้อน้ำ หม้อน้ำนั้นอาจหมายถึงหม้อบูรณฆฏะ (หม้อดอก) ตามคติความเชื่อดั้งเดิมของอินเดียที่เข้ามานิยมแพร่หลายอยู่ในล้านนา ในฐานะสัญลักษณ์มงคลที่สะท้อนให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญเติบโต ส่วนคันตุงด้านบนแยกออกเป็นสามแฉก แขวนตุงสามชิ้น ตุงมีสัณฐานยาวรี ชิ้นหนึ่งสลักลายเส้นรูปปราสาทที่ตั้งอยู่เหนือฐานกลีบบัวคว่ำบัวหงายซ้อนกันเจ็ดชั้น ระหว่างชั้นฐานกลีบบัวคั่นด้วยลายริ้วขนานกันในแนวนอนเหมือนระลอกคลื่น อาจเป็นสัญลักษณ์หมายถึงภูมิจักรวาลตามคติความเชื่อในล้านนา ดังนั้น ตุงและคันตุงนี้ จึงให้ความหมายของความอุดมสมบูรณ์ของจักรวาล หรือการกำเนิดขึ้นของจักรวาล ก็เป็นได้
ที่มา
ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร, บรรณาธิการ, ตำนานเมืองเชียงแสน (เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง จำกัด, ๒๕๓๘), ๒๗.
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมงาน ราตรีนี้...ที่วัดไชยฯ ท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน พบกับศิลปิน ดาราจากละครเรื่อง พรหมลิขิต และการบรรเลง - ขับร้องดนตรีไทยสากล จากสำนักการสังคีต ในวันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ณ วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรเลงเพลงโดย ดุริยางคศิลปิน สำนักการสังคีต ควบคุมการบรรเลงโดย นาวี คชเสนี อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. 0 2224 1342 และ โทร. 0 2221 0171
วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2567 นายวิเชต ลิ้มภักดี พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และประชาชนในพื้นที่บ้านนามะเฟือง ร่วมกันบวงสรวงก่อนทำการขุดค้น โครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีดอนอูบมุง ตำบลนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ปีงบประมาณ 2567 ในการนี้ขอขอบคุณองค์การบริหารส่วนตำบลนามะเฟือง ที่ให้ความอนุเคราะห์เต็นท์คลุมหลุมขุดค้น
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันเด็กแห่งชาติ”
จากคำกล่าวที่ว่า อนาคตของประเทศชาติ จะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งต้องขึ้นอยู่กับ คุณภาพชีวิตของเด็กในประเทศนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องให้ การพิทักษ์รักษาคุ้มครองทางด้านกฎหมาย ตลอดจนให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ เพราะถือว่า เด็กคิอมนุษย์ที่ยังอ่อนอยู่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ คือ "เด็ก" หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก อ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์
วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 13 มกราคม 2567 มีการให้ คำขวัญวันเด็กทุกปี โดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น ในปี 2567 นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้มอบคำขวัญวันเด็กปีไว้ว่า “มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย”
งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงเห็นว่าควรจะเปลี่ยนไปเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมเสียทุกสิ่งทุกอย่างได้สะดวกสบายขึ้น และมีความเหมาะสมมากกว่า
จากข้อเสนอดังกล่าว คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 จึงประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ.2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว
งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ.2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก
สำหรับปี 2567 หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี ร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี ร่วมกันจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567 โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ เอกชน มูลนิธิ ชมรม สโมสร ธนาคาร และห้างร้านต่างๆ บริจาคเงินและสิ่งของต่างๆในการจัดงาน เด็กๆที่มาร่วมงานจะได้รับแจกของขวัญ ของรางวัล อย่างมากมาย จึงขอเชิญเด็กๆและผู้ปกครอง ร่วมกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ที่หอสมุดแห่งชาติฯ จันทบุรี ในวันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 เวลา 08.00 - 12.00 น.
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549.
บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะอยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ และพระพุทธรูปทองคำฐานบุด้วยเงิน ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๔ ได้จากกรุภายในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)
วัดบวรสถานสุทธาวาส อยู่ในพื้นที่ของพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เดิมบริเวณนี้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๑ โปรดให้สร้างวัดประทานแก่หลวงชีนักนางแม้น ผู้เป็นมารดาของนักองค์อีและนักองค์ภาพระสนมเอกของพระองค์ เรียกว่า “วัดหลวงชี”
ต่อมาวัดนี้ชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๒ จึงโปรดให้รื้อวัดหลวงชีทำเป็นสวนเลี้ยงกระต่าย และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๓ ทรงอุทิศบริเวณสวนกระต่ายโปรดให้สร้างวัดขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า “วัดบวรสถานสุทธาวาส” เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อทรงแก้บน หรือเฉลิมพระเกียรติเมื่อครั้งได้เสด็จยกกองทัพไปปราบกบฏเวียงจันทน์ในปีพุทธศักราช ๒๓๖๘
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการก่อสร้างได้แล้วเสร็จ มีการเขียนจิตรกรรมเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ล้อมรอบ โดยมีพระราชดำริให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ให้มาประดิษฐาน แต่ก็ได้ล้มเลิกไป
“กรุ” หมายถึง ช่องว่างหรือห้องเล็ก ๆ ภายในสถูปเจดีย์ พระปรางค์ หรือพระอุโบสถ ทำไว้เพื่อบรรจุพระพุทธรูป พระพิมพ์ เครื่องราชูปโภค หรือพระบรมสารีริกธาตุ
คติการสร้างกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมพระพุทธปฏิมาและเครื่องบูชาต่างๆ นั้น มีหลักฐานกล่าวถึงจำนวนมาก ทั้งตำนานการอัญเชิญพระบรมธาตุจากลังกามาบรรจุยังสถานที่ต่างๆ อาทิ ตำนานพระปฐมเจดีย์ และจารึกวัดบูรพาราม แสดงให้เห็นความเชื่อการรับพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ผ่านการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ สอดคล้องกับคติพระมหาธาตุประจำเมือง ความศักดิ์สิทธิ์ และการอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา
จากคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถาเรื่อง “ธาตุนิธานกรรม” (การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ) กล่าวว่า “ครั้งพระมหากัสสปะรวบรวมและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในมหาสถูปกรุงราชคฤห์ ให้ขุดดินฝังพระธาตุลึกลงไป ๘๐ ศอก ...ทำรูปพระบรมโพธิสัตว์ ๕๕๐ ชาติ รูปพระอสีติ ๗ องค์ รูปพระเจ้าสุทโธทนะ พระนางสิริมหามายา และสหชาติทั้ง ๗ พร้องเครื่องราชปสาธนอลังการาภรณ์ อันพระเจ้าอชาตศัตรูถวายภายในเป็นการสัการบูชา แล้วปิดทวารห้องพระบรมธาตุอย่างมั่นคง”
ในคัมภีร์มหาวงศ์พงศาวดารลังกา กล่าวถึง “...สมัยพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยโปรดให้สร้างธาตุคัพภจรนะ (ห้องพระบรมสารีริกธาตุ) เป็นห้องสี่เหลี่ยมขาวเหมือนก้อนเมฆตกแต่งอย่างวิจิตร ...ตั้งพระพุทธรูปทองคำประดับรัตนะบนบัลลังก์แวดล้อมด้วยพระพรหมถือฉัตร ท้าวสักกะถือสังข์ พระปัญจสิขรถือพิณ พญากาฬนาค และพญามารพันมือขี่ช้างพร้อมบริวาร สร้างรูปพุทธประวัติ รูปชาดก ท้าวมหาราชประจำ ๔ ทิศ รูปยักษ์ เทวดาประนมมือ ฟ้อนรำ ประโคมเครื่องดนตรี ถือสิ่งของเครื่องบูชาต่างๆ มีแถวตะเกียงสว่างไสว มุมทั้งสี่กองด้วยทอง แก้วมณี กองไข่มุก และกองเพชร จากนั้นกระทำธาตุนิธานะ แล้วก่อปิดสถูปไว้...”
จากหลักฐานข้างต้น ทำให้เห็นว่าคติความเชื่อการสร้างกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องอุทิศถวายฯ ยังได้ส่งต่อมายังสมัยอยุธยาด้วยทั้งจากพระปรางค์วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระศรีมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และการบรรจุพระพุทธรูปภายในพระอุระของพระมงคลบพิตร
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ยังมีการพบกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมพระพุทธรูปและเครื่องบูชาต่างๆ ทั้งภายในสถูปเจดีย์และเพดานพระอุโบสถด้วย
เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๐๗ ได้มีการสำรวจพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส และได้พบพระพุทธรูปพร้อมเครื่องอุทิศถวายต่างๆ จำนวนหนึ่งภายในเพดานของพระอุโบสถ ซึ่งสร้างมาจากแก้วผลึกหรือหินมีค่า ทองคำ และสัมฤทธิ์ สามารถกำหนดอายุได้ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
โดยนำไปจัดแสดงอยู่ภายในส่วนของมุขกระสันด้านหลังพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า “ห้องมหรรฆภัณฑ์” เป็นห้องนิรภัยสำหรับเก็บรักษาเครื่องทองหลวง และของมีค่าหายาก อันเป็นสมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและได้จากการขุดค้นหรือสำรวจทางโบราณคดี ต่อมามีการปรับปรุงพื้นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จึงได้ย้ายมาเก็บรักษา ณ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่ได้มีการนำพระพุทธรูปแก้วผลึกส่วนหนึ่งออกมาให้ประชาชนได้สักการะบูชาตามโอกาสสำคัญด้วย
อ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณวัตถุ กรุพระเจดีย์ วัดพระศรีสรรเพชญ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร ๒๕๖๔
กรมศิลปากร. วัดบวรสถานสุทธาวาส “วัด”ในเขตพระราชวังบวรสถานมงคล เข้าถึงเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/T5ezS
กรมศิลปากร. สักการะพระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : ทศพุทธปฏิมาวังหน้า. เข้าถึงเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/OhEQ2
กรมศิลปากร. พระพุทธรูปและพระพิมพ์จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา : วิเคราะห์รูปแบบ แนวคิดและคติความเชื่อในการบรรจุในกรุเจดีย์. เข้าถึงเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/BukAO
รายงานสรุปผลการดำเนินกิจกรรม โครงการศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 1 “ไหว้พระ ชมโขน ยลศิลป์ ถิ่นพิมาย”
ชื่อเรื่อง ตำราไสยศาสตร์ (เสียเคราะห์)สพ.บ. 442/1กหมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา ไทยอีสานหัวเรื่อง ไสยศาสตร์ เวทย์มนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 34.5 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี