ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ


ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ประเสริฐสมุด ปีที่พิมพ์ : 2476 หมายเหตุ : พิมพ์ในงานปลงศพนางเปี่ยม เทศสอาด และพระราชทานเพลิงศพนายร้อยโทเปรื่อง เทศสอาด               อธิบายเรื่องธงไทยเล่มนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้เมื่อคราวยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกราชบัณฑิตย์สภา โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหมวดธงประจำพระองค์ หมวดธงแผ่นดิน หมวดธงประจำกอง หมวดธงประจำตำแหน่ง และธงหมายยศ 





ชื่อเรื่อง                     จดหมายเหตุ ประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.128 ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์เลขหมู่                      915.93 ศ528จสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 มหามกุฏราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์                    2502ลักษณะวัสดุ               284 หน้า หัวเรื่อง                     ประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้                              สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช        ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกเอก พระยาอุดมราชภักดี พศ.2502    เนื้อหาเกี่ยวกับระยะทางที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จประพาสหัวเมืองปักใต้


ชื่อเรื่อง                                ตำราโหราศาสตร์ (โหราศาสตร์)สพ.บ.                                  216/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           40 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 28.9 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 โหราศาสตร์ บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน-ไทยโบราณ เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน-ไทยโบราณ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 


      “พระนิรโรคันตราย” เป็นพระปฏิมาซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นเป็นการพิเศษ ในวาระอันเป็นมงคล เนื่องจากทรงหายประชวรโรค เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗       ต่อมาทรงพระราชปรารภว่า เสวยราชย์มาเท่ากับรัชกาลที่ ๒ จึงโปรดให้ช่างหล่อพระพุทธรูปสมาธิ กาไหล่ทอง มีนาคแปลงเชิญฉัตรและพัดโบก เป็นสัญลักษณ์แห่งวันพระราชสมภพ จำนวน ๑๖ พระองค์ พระราชทานชื่อว่า "พระนิโรคันตราย"       ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า “พระนิรโรคันตราย” ดำริเพื่อถวายไปยังพระอารามสำคัญฝ่ายมหานิกาย จำนวน ๑๕ แห่ง และเก็บไว้ในราชการในพระบรมมหาราชวัง ๑ แห่ง ปรากฏเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำพระอารามฝ่ายมหานิกายตราบเท่าถึงทุกวันนี้ ในวารดิถีขึ้นปีใหม่ จึงนำเสนอประวัติพระนิรโรคันตราย เพื่อน้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ อันเป็นเหตุแห่งสิริมงคล ให้ปราศจากโรคและภัยอันตราย โดยทั่วกัน เรียบเรียงโดย: นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


เลขทะเบียน : นพ.บ.123/16ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 5 x 57.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 70 (232-242) ผูก 16 (2564)หัวเรื่อง : มงฺคลตฺถทีปปี (มงคลทีปนีอรรถกถา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



     ชวนมารู้จักชาวนาไทย ตอนที่ 2 "พระมหากรุณาธิคุณต่อเกษตรกรชาวไทย"      สืบเนื่องมาจากในปี พ.ศ. 2528 - 2529 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการทำปุ๋ยหมัก ทำนาและเกี่ยวข้าวที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ที่มีการเพาะปลูกข้าวมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ถึง 3 ครั้ง (ในขณะนั้น) ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อเกษตรกรชาวไทย ในด้านการพัฒนาการทำนา และที่สำคัญพระองค์ทรงเป็นผู้ให้ขวัญกำลังใจแก่ชาวนาไทยอย่างใหญ่หลวง พระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงหว่านข้าวในแปลงนาสาธิตบึงไผ่แขกด้วยพระองค์เอง ทรงถอดรองพระบาท ย่ำท้องนาด้วยพระบาทเปล่า (พระบรมฉายาลักษณ์จากหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุพรรณบุรี)      พระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมายังจังหวัดสุพรรณบุรีในพระราชกรณียกิจด้านการเกษตร ในช่วงปี พ.ศ. 2528 - 2529 (ก่อนการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย หลังแรก) รวม 4 ครั้ง ในห้วงเวลาดังกล่าว (อนุเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมโดยหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสุพรรณบุรีและหอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี)       ครั้งที่ 1 วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2528 พระองค์ทรงทอดพระเนตรการทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ณ บ้านแหลมสะแก (บึงฉวากในปัจจุบัน) ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี พระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงเกี่ยวข้าวในแปลงนาสาธิตบึงไผ่แขกด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นปฐมฤกษ์และเป็นขวัญกำลังใจแก่พสกนิกรเกษตรกรชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรี อันเป็นพระมหากรุณาล้นเกล้าล้นกระหม่อม (พระบรมฉายาลักษณ์จากหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุพรรณบุรี)      ครั้งที่ 2 วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2528 พระองค์ทรงทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและวัชพืชต่าง ๆ เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวจังหวัดสุพรรณบุรี และเกษตรกรชาวไทย ตามโครงการรณรงค์จัดทำปุ๋ยหมัก เพื่อพระราชทานแก่เกษตรกรนำไปปรับปรุงคุณภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น ณ บ้านแหลมสะแก ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี      ครั้งที่ 3 วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2529 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในการทำนาสาธิตโดยใช้ปุ๋ยหมัก ณ บึงไผ่แขก ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี      ครั้งที่ 4 วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2529 พระองค์ทรงนำพสกนิกรเก็บเกี่ยวข้าวในแปลงนาสาธิต ณ บึงไผ่แขก ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อทรงเกี่ยวข้าวแล้วทรงนำข้าวป้อนเข้าเครื่องนวดข้าว ผลปรากฏว่าได้เมล็ดข้าวจำนวน 1,047 กิโลกรัมต่อไร่ หรือไร่ละ 104 ถัง และได้พระราชทานข้าวที่ทรงเกี่ยวแก่เกษตรกรผู้เข้าเฝ้ารับเสด็จ   


ตำราปลูกเรือนและเลี้ยงสัตว์ ชบ.ส. ๓๔ เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.22/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สุนทร  ณ รังสี.  ชีวิตไทยหลายรส.  พิมพ์ครั้งที่ ๑.  พระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๐๙.  ๔๕๖ หน้า.      ชีวิตไทยหลายรส เป็นการเขียนแนวสารคดีที่เอาประสบการณ์จริง  และจาการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและจากหลายที่ ซึ่งอ่านแล้วเข้าใจง่ายไม่พิถีพิถันในเรื่องการใช้ภาษา ซึ่งรวมทั้งหมด ๒๕ เรื่องด้วยกัน เช่น  ๑) เด็กวัดสามยุค  ๒) เทศกาลตรุษไทย ซึ่งถือวันขึ้น ๑ ค่ำ เป็นวันขึ้นปีใหม่  ๓) การเล่นสงกรานต์ที่ปักษ์ใต้ ชาวปักษ์ใต้เรียกว่า “ทำบุญวันว่าง”  ๔) ความมหัศจรรย์แห่งความฝัน อาจจะมีทั้งฝันแท้และฝันเทียม  ๕) นครศรีธรรมราชเมืองประวัติศาสตร์ของปักษ์ใต้ หัวเมืองที่สำคัญในอดีตมีแค่ ๒ เมือง คือ เชียงใหม่กับนครศรีธรรมราช  ๖) โบราณสถานสำคัญของนครศรีธรรมราช คือองค์พระมหาธาตุเจดีย์ที่มียอดสูง ๓๘ วา ๒ ศอก ๑ คืบ เป็นปูชนียวัตถุที่สูงใหญ่เป็นที่สองของเมืองไทยคือสูงรองจากพระปฐมเจดีย์ ๗) อาชีพทำน้ำตาลโตนดที่จังหวัดสงขลา เริ่มตั้งแต่เขตอำเภอเมืองไปจนถึงอำเภอสะทิงพระและอำเภอระโนด  ๘) มโนห์ราสัญลักษณ์ของปักษ์ใต้ เป็นการเล่นที่สืบเนื่องมาจากละครนอกแถบจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลาจะมีมาก  ๙) หนังตะลุงมรหรศพพื้นเมืองของปักษ์ใต้ จะเป็นการละเล่นที่มีคนนั่งดูเต็มหน้าโรง ซึ่งจะได้ยินเสียงโหม่งอย่างชัดเจนมาก  ๑๐) ประเพณีการแต่งงานที่ปักษ์ใต้ มีทั้งที่ชอบพอกันมาก่อนและแบบคลุมถุงชน  ๑๑) กระดูกสันหลังของชาติที่ปักษ์ใต้ จะมีการทำนากันอย่างเอาจริงเอาจัง  ๑๒) มหากวีนรินทร์ธิเบศร์ ชื่อเดิมคือ อิน เกิดที่ตำบลบางบ่อจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความเก่งในด้านโครงนิราศนะนาวศรี หรือที่เรียกกันว่านิราศนรินทร์  ๑๓)  ยอดกวีหญิงของเมืองไทย คุณพุ่ม ยอดกวีในสมัยรัชกาลที่ ๓   ๑๔) เทียนวรรณ-นักปฏิรูปสังคมคนสำคัญของเมืองไทย  เดิมชื่อเทียนเฉย ๆ แต่รัชกาลที่ ๔ ทรงเปลี่ยนให้ใหม่ในสมัยที่ยังบวช ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เขาได้เขียนบทความเรียกร้องให้มีการปรับปรุงการบริหารบ้านเมืองขึ้น  ๑๕) เทียนวรรณ-ปรัชญาเมธีคนแรก ของเมืองไทย เขาต่อสู้ทางการเมืองด้วยหลักของนักปรัชญา  ๑๖) สตรีกับการไพเราะของกวีนิพนธ์  เรื่องที่สำคัญ ๆ ได้แก่ กำศรวลศรีปราชญ์ นิราศนรินทร์ รามเกยรติ์ พระอภัยมณี และขุนช้างขุนแผน เป็นต้น  ๑๗) แอ่วเวียงพิงค์กับขบวนกฐิน การทอดกฐินเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยมักจัดกันที่วัดอย่างเอกเกริก  ๑๘) บ้านกับศาลพระภูมิ เป็นประเพณีเรื่องที่อยู่อาศัยมาช้านานว่า ๑๙) วิทยาธรและคนธรรพ์ จะเป็นวิทยาธรได้ฝึกวิชาบำเพ็ญเพียร เป็นเทวดาพวกหนึ่งที่นับถือกันว่าเป็นผู้ชำนาญในการดนตรีและขับร้อง  ๒๐) อุทยานวรรณคดียุคกรุงสุโขทัย นับเป็นยุครุ่งเรืองวรรณคดีไทยคือหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  ๒๑) อุทยานวรรณคดีกรุงศรีอยุธยายุคต้น เกิดลิลิตโองการแช่งน้ำในสมัยพระเจ้าอู่ทอง พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา ลิลิตยวนพ่าย ๒๒) อุทยานวรรณคดีกรุงศรีอยุธยายุคกลาง เป็นยุคทองของวรรณคดี มีคนเก่ง ๆ มากมาย เช่นพระมหาราชครู พระโหราธิบดี ศรีปราชญ์ พระศรีมโหสถ   ๒๓) อุทยานวรรณคดีกรุงศรีอยุธยายุคปลาย ยุคนี้มีวรรณคดีรวม ๑๓ เรื่อง ๒๔) อุทยานวรรณคดียุคกรุงธนบุรี เกิดวรรณคดีขึ้น ๔ เรื่อง คือ รามเกีรยติ์ ลิลิตเพชรมงกุฎ อิเหนาคำฉันท์ โครงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี  ๒๕) อุทยานวรรณคดียุคกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นยุคที่มีวรรณคดีมากมายหลายคนแต่ง เช่น เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง ดาหลังหรืออิเหนาใหญ่ บทละครเรื่องอุณรุท รามเกียรติ์ กฎหมายตราสามดวง สามก๊ก เสภาขุนช้างขุนแผน อิเหนา นิราศเมืองแกลง นิราศภูเขาทอง นิราศพระประธม นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศเมืองเพชร และรำพันพิลาป พระอภัยมณี  ฯลฯ


โบราณวัตถุชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา วันนี้ขอเสนอ ชุดกาแฟที่ระลึกยกเลิกบ่อนเบี้ย  .................................................................................. ชุดกาแฟ วัสดุ : เงิน อายุสมัย : พุทธศตวรรษที่ 25 ที่มา : เป็นของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ถวายกรมพระจันทบุรีนฤนาถเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นที่ระลึกเมื่อเลิกบ่อนเบี้ย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา รับมอบจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  .................................................................................. ชุดกาแฟ วัสดุเงิน ประกอบด้วยถาดรอง เหยือกกาแฟ เหยือกนม โถน้ำตาล และที่คีบ บรรจุภายในกล่องไม้รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขอบกล่องติดชื่อ S.Smith&Son (Siam), Ltd., ซึ่งสันนิษฐานว่าห้างร้านที่ผลิตและจัดจำหน่าย โดยปรากฏชื่อห้างร้านดังกล่าวในเอกสารภาษาอังกฤษที่มีชื่อว่า The Fascination of Siam ซึ่งจัดทำและเผยแพร่โดยโรงแรมโอเรียนเต็ล กรุงเทพมหานคร ในปี 1920 (พ.ศ. 2463) เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแก่ชาวต่างชาติในขณะนั้น  ชุดกาแฟนี้มีลักษณะพิเศษตรงที่มีการประดับตกแต่งด้วยเงินซึ่งทำตามแบบเงินตราที่มีการใช้งานในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยถาดรองมีลักษณะเป็นทรงแปดเหลี่ยม ด้านในถาดมีการประดับด้วยเงินทำเป็นรูปหอยเบี้ย  ขารองฐานเป็นรูปเงินพดด้วงทำด้วยเงิน เหยือกกาแฟ โถน้ำตาล เหยือกนม ประดับด้วยเงินเป็นรูปเหรียญกรุงสยามเฟื้องหนึ่ง และสลึงหนึ่ง เหรียญอีแปะจีน และหอยเบี้ย โดยประดับนูนในส่วนต่าง ๆ ทั้งตัวเหยือก ตัวโถ ฝา และที่จับ สันนิษฐานว่าเพื่อเป็นการสื่อความถึงเหตุการณ์เลิกบ่อนเบี้ย ซึ่งประวัติที่บันทึกในทะเบียนโบราณวัตถุระบุว่า เป็นของสมุหเทศาภิบาลฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย เป็นที่ระลึกครั้งเลิกบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองได้หมดใน พ.ศ. 2449 ต่อมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ถวายกรมพระจันทบุรีนฤนาถเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพื่อเป็นที่ระลึกเลิกบ่อนเบี้ยในสยาม   “บ่อนเบี้ย” เป็นสถานที่เล่นการพนันถั่วโป ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเริ่มขึ้นในสมัยใด แต่เป็นที่รู้แล้วในสมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยปรากฏหลักฐานในพงศาวดารในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศซึ่งกล่าวถึงการกราบบังคมทูลขอตั้งบ่อนเบี้ยในเขตหัวเมือง โดยบ่อนเบี้ยในสมัยนั้นคงมีไว้สำหรับชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ และอนุญาตให้มีบ่อนเบี้ยได้เพียงบางเมือง เพื่อเก็บภาษีซึ่งเรียกกันว่า “อากรบ่อนเบี้ย” เข้าสู่คลังหลวง บ่อนเบี้ยในสมัยนั้นจึงมีขึ้นเพื่อความเพลิดเพลินของชาวจีนที่เข้ามาพำนักในสยาม   ภายหลังในสมัยกรุงธนบุรีต่อเนื่องถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมเล่นกันมากในหมู่ชาวสยาม โดยโรงบ่อนเบี้ยได้กลายเป็นทั้งความบันเทิงยามราตรี และเป็นแหล่งรายได้ที่นำเงินเข้ารัฐอย่างล้นหลาม โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีรายได้จากภาษีบ่อนเบี้ยถึงปีละ 400,000 บาท จนถึงรัชกาลที่ 5 มีสถานที่เล่นการพนันในเขตพระนครรวมกับแขวงเมืองธนบุรีทั้งหมดถึง 403 แห่ง และบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองทุกมณฑล อีกประมาณ 200 แห่ง เงินอากรบ่อนเบี้ยเข้าพระคลังจึงมีมากถึงปีละประมาณ 6,000,000 บาท  อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่าชาวสยามได้ตกเป็นทาสการพนันอย่างรุนแรง อันนำมาซึ่งปัญหาหลากหลายประการที่ส่งผลต่อความไม่สงบของบ้านเมือง อาทิ ปัญหาหนี้สิน อาชญากรรม การปล้นทรัพย์ เป็นต้น ใน พ.ศ. 2430-พ.ศ. 2433 จึงเริ่มมีการประกาศเลิกบ่อนเบี้ยในกรุงเทพมหานคร ต่อมาในปี 2441 – 2448 มีการประกาศเลิกบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองในมณฑลต่าง ๆ ซึ่งจำนวนบ่อนเบี้ยได้ลดลงเป็นลำดับ จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงมีพระราชบัญญัติห้ามมิให้ใครเล่นถั่วโปในพระราชอาณาจักรอีกต่อไป โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ในตำนานเรื่องเลิกหวยและบ่อนเบี้ยในกรุงสยามว่าอากรบ่อนเบี้ยได้เลิกหมดสิ้นกรุงสยามเมื่อวันที่ 1 เมษายน ปีมะเส็ง พุทธศักราช 2460  อนึ่ง ชุดกาแฟนี้ ไม่ได้เป็นเพียงหลักฐานของการเลิกบ่อนเบี้ยในสยาม แต่การเลือกทำชุดกาแฟเพื่อมอบเป็นของที่ระลึก ยังแสดงให้เห็นว่าเริ่มปรากฏความนิยมการดื่มกาแฟในกลุ่มชนชั้นสูง ซึ่งวัฒนธรรมการดื่มกาแฟของสยาม จะขออนุญาตกล่าวถึงในตอนถัดไป โปรดติดตาม   ................................................................................... เรียบเรียง/กราฟฟิก/ถ่ายภาพ : นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ และฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา  ................................................................................... อ้างอิง : 1. ภัทรัตน์ พันธุ์ประสิทธิ์. ความสำคัญของการพนันและการเล่นหวยในสังคมสยาม ที่มาของ “ภาษีบาป”. เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_20885 2. “โรงบ่อนเบี้ย” พนันทำเงินเข้ารัฐ บันเทิง 9 โมงเช้ายันเที่ยงคืน ไฉนจึงยกเลิก. เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_53538 3. วิบูล วิจิตรวาทการ. เล่าเรื่องเมืองสยามในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2562  4. อเนก นาวิกมูล. สมบัติเมืองสงขลา. กรุงเทพฯ: ฟิลสไตล์, 2550. 5. Oriental Hotel, Bangkok. The Fascination of Siam. Retrieved May, 31, 2021, from http://reader.library.cornell.edu/docviewer/digital...


Messenger