ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.5/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า  ; 5 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่นชื่อชุด : มัดที่ 3 (20-32) ผูก 3หัวเรื่อง : ศัพท์วินัยกิจ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี (หลังใหม่) ตั้งอยู่ในศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี อยู่บริเวณด้านทิศใต้ของอาคารศาลากลางจังหวัด (หากหันเข้าหาหน้าศาลากลาง อาคารพิพิธภัณฑ์ฯ อยู่ด้านขวามือ)           อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี หลังนี้ ออกแบบภายใต้แนวความคิดของบ้านเรือนไทยภาคกลางที่มีใต้ถุนสูง เพื่อเป็นพื้นที่ใช้งานที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาชีพของคนสุพรรณบุรีดั้งเดิมนั้นเป็นชาวนา รวมไปถึงอาชีพของคนไทยด้วย แนวคิดและการออกแบบโดย นายปณิธาน เจริญใจ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม           ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น มีใต้ถุนด้านล่าง พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 1,890 ตารางเมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับตกแต่งผนังด้วยดินเผาลวดลายรวงข้าว และประเพณีในการทำนา 12 เดือน           นิทรรศการแบ่งออกเป็น 8 ส่วน ห้องจัดแสดงชั้นที่ 1 แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น 4 เรื่อง 1. ร่องรอยของข้าวจากอดีต 2. ลมมรสุมกับฤดูกาลปลูกข้าว 3. การทำนาในประเทศไทย 4. จากคันไถสู่ควายเหล็ก ห้องจัดแสดงชั้นที่ 2 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 เรื่อง 1. ประเพณีและวิถีชีวิตชาวนา 2. พระบารมีปกเกล้าชาวนาไทย 3. ทวยราษฎร์แซ่ซ้องรอเวลา 4. พระเสด็จฯ มาโปรดชาวนาไทย           อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี หลังนี้เป็นหลังใหม่หลังที่ 2 ค่ะ สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2552 เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ พ.ศ.2553 มาถึงปีนี้ อาคารหลังนี้มีอายุครบ 10 ปี แล้วค่ะ (เขียน ณ วันที่ 28 มีนาคม 2563)           ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี เปิดให้บริการโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเข้าชม และเปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 น. อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี แห่งใหม่ (สร้างหลังที่ 2) ตั้งอยู่ในศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี บ้านใต้ถุนสูงของเกษตรกร ในจังหวัดลพบุรี แนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทยสุพรรณบุรีทั้ง 2 แห่ง จากอาคารบ้านเรือนถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวนาไทย ลักษณะของบ้านเรือนในชนบท สู่แนวความคิดในการออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สถาปนิก : นายปณิธาน เจริญใจ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากรข้อมูลประกอบการเรียบเรียง : นายปณิธาน เจริญใจ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เรียบเรียงและถ่ายภาพ : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร แบบอาคาร : สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร (ฉบับสำเนา) หมายเหตุ : เผยแพร่ข้อมูลวันที่ 28 มี.ค. 2563 Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum 





ชื่อผู้แต่ง            พุทธิวงศ์วิวัฒน์ (วงศ์ ทานวํสมหาเถระ), พระ ชื่อเรื่อง              รัตนพิมพวงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต ครั้งที่พิมพ์         ๒ พ.ศ. ๒๕๓๐ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ - ปีที่พิมพ์            พ.ศ. ๒๕๑๖              จำนวนหน้า          ๑๑๒ หน้า คำค้น               รัตนพิมพวงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต หมายเหตุ  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ (วงศ์ ทานวํสมหาเถระ)                 หนังสือ รัตนพิมพวงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต นี้ ว่าด้วยตำนานพระแก้วมรกต พระภิกษุชี่อ พระพรหมราชปัญญา ได้แต่งไว้เป็นภาษาบาลี  แต่งขึ้นในดินแดนลานนาไทยอันเคยมีความเจริญรุ่งเรืองและสูงส่งด้วยวัฒนธรรมในสมัยโบราณ  


1. ว่าด้วยวิชาจับยามสามตา 2. เวทย์มนต์คาถา อักษรขอม ภาษาบาลี เช่น คาถาปืนยิงไม่ออก, เสกน้ำล้างหน้า, หัวใจพระอิสิปิโส, หัวใจหนุมาน, ชีวิตเหล็ก ฯลฯ 3. ยันต์ต่างๆ เช่น ยันต์กันขโมย, ยันต์ลงมงคล ฯลฯ 4. เวทย์มนต์คาถา เช่น คาถาปัดเป่าโรคร้ายออกจากตัว ฯลฯ 5. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาอายุวัฒนะ, ยาแก้ทราง ฯลฯ


ผู้แต่ง : วัชรวีร์ วัชรเมธี, พระ ปีที่พิมพ์ : 2550 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : MaxxPrint (ดาวคอมพิวกราฟิก)


ชื่อผู้แต่ง           - ชื่อเรื่อง           จารึกวัดพระเชตุพนตอนโคลงภาพฤาษีดัดตน ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์      หจก.อรุณการพิมพ์ ปีที่พิมพ์         2534 จำนวนหน้า     203    หน้า หมายเหตุ       อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพคุณแม่ลมุล บุณโยปัษฎัมภ์                    หนังสือจารึกวัดพระเชตุพนตอนโคลงภาพฤาษีคัดตนฉบับพิมพ์ครั้งนี้ เป็นต้นฉบับหนังสือประชุมจารึกวัดพระเชตุพนและโคลงภาพฤาษีดัดตนรวมทั้งภาพลายเส้น จำนวน 80 ภาพ เดิมเป็นสมุดไทยดำเส้นรง ภาพฤาษีดัดตนเขียนด้วยเส้นขาว ซึ่งแต่งโดยปราชญ์ราชบัณฑิตในสมัย ร.3 เป็นคำโคลงชุดเดียวกับที่จารึกประกอบด้วยรูปฤาษีในวัดพระเชตุพนซึ่งเดิมที ร.1 โปรดให้สร้างขึ้น เมื่อถึงสมัย ร.3 ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งใหญ่ โปรดให้กรมหมื่นณรงค์ หริรักษ์ รวมช่างปั่นช่างหล่อ เมื่อ พ.ศ. 2379 รูปฤาษีทำด้วยดีบุกผสมสังกะสีตั้งไว้บนแท่นศิลา ณ ศาลารายทุกหลังมีโคลงจารึกบอกท่าดัดตน ติดไว้ที่ผนัง ต่อมามีการย้ายรูปหล่อไปที่เขา มอ ปัจจุบันเหลือเพียง 19 รูป การดัดตนเป็นการบริหารร่างกาย ให้มีสุขภาพสมบูรณ์บำบัดอาการปวดเมื่อย แก้โรคลมต่างๆ ของแพทย์แผนโบราณ นอกจากนั้นแล้วเจ้าภาพยังนำตำราแพทย์แผนโบราณวิชาหมอนวด โดยขุนโยธาพิทักษ์ ( แท่น ประทีปจิตต์ ) ไว้ด้วย


          วัดบ้านทราย ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๒ ต.บ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดลพบุรี ห่างจากอำเภอเมือง ๓๒ กม. และห่างจากอำเภอบ้านหมี่ ๓.๕กม.            ประวัติความเป็นมา วัดบ้านทราย ชาวบ้านทรายสืบเชื้อสายมาจากชาว "ไทยพวน" ซึ่งเป็นชาวไทยที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่ "เมืองพวน" ในประเทศลาวในอดีต ต่อมาได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ แล้วโดยการนำของครูบานาวาหรือ "ภิกษุหล้า" ซึ่งออกธุดงค์มาจากเมืองเชียงขวาง เมืองเวียงจันทร์ เพื่อสืบหาญาติพี่น้องที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อนแล้ว เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๙ การออกธุดงค์ของท่านจึงมีโอกาสพบกับพี่สาวของท่านชื่อ "ถอ" บริเวณวัดท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ต่อจากนั้นก็สร้างบ่อน้ำสร้างบ้านทราย สร้างวัด และพระอุโบสถขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ ซึ่งปรากฏอยู่กระทั่งทุกวันนี้           ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ ชาวบ้านทรายได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ (ณ ตำบลบ้านทรายในปัจจุบัน) โดยท่านครูบาราวาได้ออกธุดงค์มาพบแหล่งน้ำใหญ่ฤดูแล้งเดือน ๔ เดือน ๕ น้ำในวังนี้ก็ไม่แห้งจึงเรียกวังใหญ่นี้ว่า "วังเดือนห้า" และสร้างวัดบ้านทรายทางด้านทิศตะวันตกของวังเดือนห้าโดยมีครูบานาวาเป็นผู้นำสร้าง และเป็นสมภารวัดองค์แรก รวมทั้งวิหารหลังนี้ที่ยังเหลือไว้ในพระพุทธศาสนาจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้นชาวบ้านทรายจึงถือว่าท่านเป็นต้นตระกูลของชาวบ้านทราย ที่ได้เคารพสักการะอย่างสูง ปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว จากกรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ (ที่มาของข้อมูล : รายการประกอบแบบโครงการบูรณะโบสถ์วัดบ้านทราย โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี)


โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา "หมู่บ้านรักษาศีล๕"เนื่องในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเทศกาลอาฬสาหบูชาและเข้าพรรษาเพื่อถวายวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถระหว่างวันที่ ๑๖ - ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ณ วันป่าธรรมชาติ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา


          “ทุ่งเขางู” ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี ที่หน้าเขางูเป็นทุ่งกว้างใหญ่ และ ณ ทุ่งราบนี้เองเคยเป็นสมรภูมิรบในสงครามครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คือ“สงครามเก้าทัพ”           บริเวณทุ่งเขางูจะมีเทือกเขางู ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองราชบุรี ทอดยาวเหมือนงูเลื้อยอยู่ตรงกลาง ด้านหน้าเขางูเป็นท้องทุ่งใหญ่ แต่เดิมในช่วงฤดูน้ำหลากคือตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน บริเวณทุ่งราบหน้าเขางูจะมีน้ำจะไหลบ่าจากพืดเขาต่างๆ มาขังเต็มไปหมดทั้งทุ่งและท่วมนองไปจนถึงเชิงเขาคล้ายกับทะเลสาบขนาดย่อมๆ นานอยู่หลายเดือน และมีความลึกพอที่เรือบรรทุกข้าวขนาดใหญ่และเรือยนต์ต่างๆ แล่นผ่านไปมาได้ ช่วงที่มีน้ำท่วมมากที่สุด คือเริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นต้นไป ในช่วงฤดูน้ำหลากนี้ ยังก่อให้เกิดเทศกาลประเพณีพายเรือไปนมัสการหลวงพ่อฤาษีและรอยพระพุทธบาทในช่วงวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ของทุกปี ถือเป็นงานประเพณีที่อยู่คู่กับท้องทุ่งแห่งนี้มาช้านาน คนในราชบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงไม่ว่าจะเป็นคนโพธาราม บ้านโป่งฯ ต่างรอคอยที่จะพายเรือมาไหว้พระที่เขางูแห่งนี้ ส่วนผู้ที่อยู่จังหวัดใกล้เคียงถึงกับลงทุนเช่าเรือยนต์มาเที่ยวงานนี้ก็มีไม่น้อย ดังนั้นในทะเลสาบทุ่งเขางู จึงแน่นขนัดไปด้วยเรือทุกชนิด จะมองไปในทิศทางใดก็จะพบแต่เรือแพน้อยใหญ่เต็มท้องน้ำไปหมด และที่นับว่าสนุกสนานกันอย่างยิ่งในงานนี้ ก็คือ การแข่งเรือ           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จพระราชดำเนินทุ่งเขางูหลายครั้ง โดยในการเสด็จพระราชดำเนินเมื่อพ.ศ. ๒๔๓๑ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเสด็จประพาสไทรโยคครั้งที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบรรยายลักษณะของเทือกเขางูไว้ว่า            “...ตรงหน้านั้นเขางูเป็นหมู่ยาว แต่หลายยอดหลายอย่างต่างชื่อเสียง ที่เล็กเคียงข้างลงมาหน้าผาขาว เป็นเขางูอยู่อยู่เท่านั้นปั้นเรื่องราว เขาหลักว่าวแลเป็นสูงในฝูงนี้ ยอดเป็นหลักปักเห็นเด่นถนัด เขาที่ถัดเป็นรากกล้วยพรวยแผกหนี ถ้าเป็นเขารอกไปได้จะดี ต่อยอดนี้เขาจุฬาคว้าพนัน ตามเขากล่าวว่าว่าวสุวรรณหงส์ ที่ตกลงตามไต่ป่านผายผัน เมืองมัดตังอยู่ราวสุพรรณ เพียงเท่านั้นคงกันดารยักษ์มารมี...”           สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทับใจกับทัศนียภาพและความงามของทุ่งเขางูมาก โดยได้เปรียบเทียบทุ่งเขางูกับสถานที่หลายแห่งที่พระองค์เคยเสด็จไป ดังปรากฏในรายงานการเสด็จตรวจราชการมณฑลราชบุรี เมืองราชบุรีและเมืองสมุทรสงคราม พ.ศ.๒๔๔๑ ร.ศ.๑๑๗ ซึ่งทรงกล่าวถึง “ทุ่งเขางู” ไว้ดังนี้           “... ฉันพึ่งเคยมาเห็นที่ทุ่งเขางูในระดูน้ำคราวนี้ พอแลเห็นก็ทำยอมโดยทันทีว่า บรรดาทุ่งที่จะเที่ยวเล่นในระดูน้ำ จะเปนทุ่งหนึ่งทุ่งใดในกรุงเก่าก็ดี ท้องพรหมมาศเมืองลพบุรีก็ดี แม้ที่สุดถึงบึงบอระเพ็ดนครสวรรค์ก็ดี บรรดาที่เคยไปเห็นแล้วไม่มีแห่งใดที่จะสู้ทุ่งเขางูนี้เลย ด้วยเป็นทุ่งกว้างน้ำลึกแลมีเขาอยู่ใกล้ๆ จะเล่นเรือพายไปเท่าใดก็ไม่มีที่สุด โดยจะมีเรือใบเล็กๆมาแล่นเล่นก็ได้ กระบวนที่จะเที่ยวทุ่งเก็บกุ่ม เก็บสายบัวอย่างทุ่งกรุงเก่าก็ได้ หรือเอาเรือแวะจอดเข้าที่ดอนขึ้นไร่เก็บน้อยหน่าก็ได้ จะเดินเลยเที่ยวไปถึงเขาก็ไม่ทันเหนื่อย เพราะอย่างนี้ใครๆ จึงได้กลับมาชมกันว่าสนุกนัก...” ิ          ในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินเมืองราชบุรี ครั้งนั้นพระองค์ได้เสด็จประพาสทุ่งเขางูได้ทอดพระเนตรสภาพทุ่งเขางูในฤดูน้ำหลากด้วย และต่อมาภาพน้ำท่วมทุ่งที่เขางู ยังถูกใช้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดราชบุรี ในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๐๐ -๒๕๐๙ อีกด้วย           ปัจจุบันทุ่งเขางูแห่งนี้มีสภาพตื้นเขินกว่าเดิมมาก ไม่มีน้ำท่วมทุ่งเป็นทะเลสาบดังเช่นในอดีต ไม่สามารถนำเรือยนต์เข้าไปแล่น และไม่มีภาพบรรยากาศความงามของท้องทุ่งที่มีการแข่งเรือ การพายเรือเล่น ชมนกชมไม้ เก็บสายบัว กระจับ และสันตวาให้หวนคืนมาอีก นับตั้งแต่ที่ได้มีการตัดถนนหลวงผ่านหลายสายและมีการสร้างเขื่อนเมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๖ ภาพชีวิตของผู้คนที่เคยผูกพันกับสายน้ำที่ทุ่งเขางูในอดีต จึงได้เลือนหายไปพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม สภาพทุ่งเขางูที่คุ้นตาชาวราชบุรีในปัจจุบันคือเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนและเป็นพื้นที่เกษตรกรรมทำนาปลูกข้าวกระจายอยู่ทั่วไป ภาพ ๑ ขบวนเรือเสด็จฯของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเมืองราชบุรีผ่านบริเวณทุ่งเขางูเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ภาพ ๒ เขางูเมื่อหน้าน้ำ ราวปีพ.ศ. ๒๔๘๒ ภาพ ๓ งานประจำปี เขางู เป็นภาพเที่ยวเขางูหน้าน้ำ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๔ จากนิตยสารสร้างตนเอง ฉบับ ๑ ตุลาคม ๒๔๘๔ ห้องสมุดอเนก นาวิกมูล ภาพ ๔ ตราประจำจังหวัดราชบุรีเดิม เป็นอาร์มวงกลมใช้สัญลักษณ์รูปน้ำหลากทุ่ง มีภูเขาเป็นฉากหลัง ล้อมรอบด้วยงูใหญ่ส่วนท้องฟ้าเหนือภูเขามีตราครุฑ ซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินและเครื่องหมายของทางราชการ กำกับด้วยข้อความว่า “จังหวัดราชบุรี” ใช้ในช่วงระหว่างพ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๐๙ ภาพ ๕ ทุ่งเขางูในปัจจุบัน ..................................................................................เรียบเรียง : นางสาวปราจิน เครือจันทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี อ้างอิงตรี อมาตยกุล, “จังหวัดราชบุรี” เมืองราชบุรี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการประชุมเพลิงศพ คุณหญิงประพันธ์ดำรัสลักษณ์ (ชื่น ศุขะวณิช) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๐๙. มโน กลีบทอง,พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี,สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด,พ.ศ.๒๕๔๔. สถาบันดำรงราชานุภาพ “รายงานการเสด็จตรวจราชการมณฑลราชบุรี เมืองราชบุรีและเมืองสมุทรสงคราม พ.ศ.๒๔๔๑ ร.ศ.๑๑๗” การเสด็จตรวจราชการหัวเมืองของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรง ราชานุภาพ.๒๕๕๕. สมุดราชบุรี พ.ศ.๒๔๖๘,พิมพ์ที่โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย ถนนพลับพลาไชย จังหวัดพระนคร. องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี,พระบรมราชจักรีวงศ์กับเมืองราชบุรี,กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์,๒๕๒๕. อเนก นาวิกมูล,บางกอกกับหัวเมือง,กรุงเทพฯ:แสงดาว,๒๕๒๗.


กองบรรณาธิการ.พระบาทพลวง หรือ พระพุทธบาทพลวง แรงศรัทธาหลั่งไหลสู่เขาพระบาท.จันท์ยิ้ม.(3):1;ตุลาคม-พฤศจิกายน 2560(25). พระบาทพลวง หรือ พระพุทธบาทพลวง ประดิษฐานอยู่บน เขาคิชฌกูฏ โดยพระบาทพลวงนี้ เป็นรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร อยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ที่จังหวัดจันทบุรี และถือว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่สูงที่สุดของประเทศไทย และอยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 40 กิโลเมตร ทั้งนี้ประชาชนจะนิยมไปนมัสการพระบาทหลวงเป็นจํานวนมาก เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับตัวเอง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีนถึง ช่วงวันมาฆบูชาของทุกปี จะมีประชาชนขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท ทั้งกลางวันและกลางคืน ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของเขาคิชฌกูฏ ก็ได้จัดงานนมัสการพระบาทพลวงเป็นประจําทุกปีอีกด้วย ซึ่งในช่วงเทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง พุทธศาสนิกชน ที่มีศรัทธาจะเดินทางขึ้นเขาไปแสวงบุญเป็นจํานวนมาก เพราะนอกจาก จะได้นมัสการพระพุทธบาทศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังจะได้ชมความงดงาม แปลกอัศจรรย์ของหินลูกพระบาท ก้อนหินกลมใหญ่ริมหน้าผา และได้รับ ความสดชื่นจากบรรยากาศบนยอดเขาคิชฌกูฏ นอกจากนี้ ผู้ที่ถึงวัดพลวง ตอนเย็นสามารถพักค้างคืนเพื่อเริ่มขึ้นยอดเขาในตอนเช้าได้ โดยทางวัด มีที่พัก และที่อาบน้ำไว้รองรับคนได้จํานวนมาก


ชื่อผู้แต่ง : พุทธทาสภิกขุชื่อหนังสือ : เอกสารชุดมองด้านใน อันดับที่๙ เรื่อง ระวังว่างอันธพาลครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่๑สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : ร.พ.อักษรสัมพันธ์ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑          เอกสารชุดมองด้านใน อันดับที่๙ เรื่อง ระวังว่างอันธพาล ของพุทธทาสภิกขุ เป็นโอวาทที่ให้แก่ภิกขุ สามเณรในไชยา และอำเภอใกล้เคียงในการแสดงสามีจิกรรม และทำวัตรเช้าแด่ท่านพุทธทาสอินทปญโญ ประจำปี ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี



Messenger