ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

          ตุงและคันตุง           เลขทะเบียน                 ๙๐ / ๒๕๔๑           แบบศิลปะ / สมัย         ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่             วัสดุ (ชนิด)                 ชินชุบทอง           ขนาด                 สูงพร้อมฐาน ๓๖ เซนติเมตร           ประวัติความเป็นมา ได้จากวัดเจดีย์สูง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่           ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ            ตุงและคันตุงนี้มีรูปแบบทางศิลปกรรมใกล้เคียงกับเครื่องราชูปโภคจำลอง ทะเบียน ๓๙๔/ ๒๕๑๖ น่าจะถูกสร้างขึ้นเป็นชุดเดียวกัน เห็นได้จากที่แขวนตุงทำเป็นรูปนาคเกี้ยวเช่นเดียวกับพนักบัลลังก์ คันตุงตั้งอยู่บนแท่นแก้ว (บัลลังก์) ที่มีการฉลุลวดลายโปร่ง และประดับด้วยกระจังสามเหลี่ยมที่มุมทั้งสี่ของบัลลังก์ด้านบน คันตุงถูกขนาบข้างด้วยเสากลมสี่เสาสั้น ๆ ส่วนยอดเสาแหลม ยอดสุดของคันตุงแยกออกเป็นสองแฉก มีลายนาคเกี้ยวด้านบนสุดแขวนตุงสองอัน ตุงทำส่วนปลายแหลมทั้งหัวและท้าย ตุงอันหนึ่งสลักลายขูดขีด เป็นลายบัวคอเสื้อที่คอตุง ส่วนตัวตุงเป็นลายเมฆแบบศิลปะจีน ทิ้งช่องไฟห่าง ๆ กัน  


ชื่อเรื่อง                     นิราศสุพรรณของนายมีครั้งที่พิมพ์                  3ผู้แต่ง                       นายมี (หมื่นพรหมสมพัตสร)ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.9112 ม595นรสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์พระจันทร์ปีที่พิมพ์                    2504ลักษณะวัสดุ               38 หน้าหัวเรื่อง                     นิราศ                              กวีนิพนธ์ไทยภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกนิราศสุพรรณเป็นสำนวนของนายมี เพราะมีโคลงกระทู้บอกไว้ตอนท้ายว่า "เสมียนมีแต่งถวาย" ราว พ.ศ.2383 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่นายมีแต่งนิราศสุพรรณ มีบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นพรหมสมพัตสร นายอากรเมืองสุพรรณบุรี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงริ้ว เกษตรหิรัญรักษ์  



องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันครู 16 มกราคม” เหตุผลที่วันที่ 16 มกราคมของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวันครู อันเนื่องมาจาก ในปี 2488 ประเทศไทยมีการประกาศพระราชบัญญัติครูขึ้นมาในราชกิจจานุเบกษา จึงมีการกำหนดให้มีวันครูครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ เป็นผู้ที่มีหน้าที่สอน อบรมเกี่ยวกับวิชาความรู้ การอ่านเขียน (คำว่าครูนั้นมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต คำว่า "คุรุ" และภาษาบาลี คำว่า "ครุ" , "คุรุ") วันครูได้จัดให้มีขึ้น ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า "คุรุสภา" เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู จัดสวัสดิการการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม "สามัคคยาจารย์" หอประชุมของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้ แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง" จากแนวความคิดนี้ กอรปกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้อง ให้มี "วันครู" เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติ เห็นควรให้มี "วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้ การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ คำขวัญวันครูนั้นเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา ต่อมาก็เป็นคำขวัญของบุคคลทั่วไปที่ส่งเข้าประกวด และจากนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ให้คำขวัญเนื่องในโอกาสวันครู ดังนี้ “ครูวางฐานคิด ส่งเสริมศิษย์สร้างสรรค์” อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541 . ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี



"เอาผ้าขาวมาวัดตัดสบง เย็บลงฝีเข็มเหมือนเล็มเลี่ยน ตัดจีวรสไบตะไกรเจียน เย็บทับจับเนียนเป็นเนื้อเดียว”  จากขุนช้างขุนแผน ตอน พลายแก้วบวชเณร          ไตรจีวร ถือเป็นปัจจัยเครื่องอัฏฐบริขารที่พระภิกษุใช้สอย โดยพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐาน คือ ตั้งไว้เป็นของประจำตัว ประกอบด้วย อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) และสังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนนอก)           ในต้นพุทธกาลพระภิกษุคงใช้ผ้านุ่งห่มตามที่หามาได้ โดยเก็บเอาผ้าที่ถูกทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ ผ้าคลุกฝุ่น  และผ้าห่อศพ เรียกว่า “ผ้าบังสกุล”  ต่อมาพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาตให้รับผ้าจากฆราวาส ตามศรัทธาของอุบาสกอุบาสิกา และเพื่อบรรเทาความยากลำบากของพระภิกษุ           รูปแบบของสีจีวรตามพระอรรถกถาจารย์ กล่าวว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้า... ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประเสริฐสีแดง มีวรรณะละม้ายยอดอ่อนแห่งต้นไทร (นิโครธ)” และ “..แม้พระมหาเถระทั้งหลาย มีท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะเปนต้น ก็ห่มบังสุกุลจีวรมีสีแดงเหมือนเมฆ” แสดงให้เห็นว่าน้ำย้อมจีวรที่ได้จากการเคี่ยวสีย้อมจากธรรมชาติ ทำให้มีความเข้มอ่อนแตกต่างกัน แต่ยังคงเป็นโทนสีแดงหรือเรียกว่าสีกรักแดง           พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตใช้น้ำย้อมสำหรับผ้ากาสาวพัสตร์ คือ ผ้าจีวรที่ย้อมด้วยน้ำฝาด  ๖ ชนิด อันเป็นการรักษาคุณภาพของผ้า เนื่องจากยางไม้บางประเภทมีคุณสมบัติทางยา ทำให้เชื้อราไม่เจริญเติบโต มีสีเข้มไม่เปื้อน และไม่เก็บความชื้น ทั้งนี้ยังกำหนดข้อห้ามใช้จีวรบางสีเพื่อให้เกิดความแตกต่างจากนักบวชของสำนักอื่นๆ           การเย็บจีวรของพระภิกษุยังไม่มีรูปแบบชัดเจน โดยนำเศษผ้ามาเย็บต่อกันตามความสามารถของพระภิกษุสำหรับพอนุ่งหุ่มได้ แต่ยังดูไม่เป็นระเบียบ พระพุทธเจ้าจึงได้มอบให้พระอานนท์กำหนดการตัดเย็บจีวรตามรูปร่างผืนนาข้าวสำหรับเป็นแบบแผนเดียวกัน เรียกว่า ผ้าขัณฑ์ คือ ผ้าที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้พระสงฆ์ตัดจีวรเป็นกระทง มีลักษณะการตัดผ้าเป็นชิ้นๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกระทงนา แล้วเย็บติดกัน แต่ละชิ้นเรียกว่าขัณฑ์ โดยต้องตัดผ้าตามจำนวนเลขคี่ เรียกว่า ขัณฑ์ขอน          พระธรรมวินัยได้บัญญัติขนาดของจีวร ในรตนวรรคสิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า “อนึ่งภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวรหรือยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคตในคำนั้น โดยยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต” หากจีวรมีขนาดย่อมกว่า แล้วพอดีกับบุคคลผู้ครองนั้นไม่มีข้อห้าม สำหรับพระภิกษุไทยนั้น ประมาณความยาวไม่เกิน ๖ ศอก กว้างไม่เกิน ๔ ศอกของผู้ครอง           จีวรสีแก่นขนุน ๕ ขัณฑ์ นี้ ปักอักษรบริเวณกระทงความว่า “ผ้าผืนนี้ของสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริยรักธอเมื่อจุลสักราชได ๑๑๖๔ ปีจอจัตวาศก ด้ายหนักเขดลสลึงสองไพธอเป็นเนื้อเอกมือ ๛”           โดยสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินีในรัชกาลที่ ๑) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน มีบทบาทเกี่ยวกับการสงคราม โขน-ละคร และการปฏิสังขรณ์วัดเลียบ ภายหลังพระราชทานนามว่า “วัดราชบูรณะ”           จากลักษณะการเย็บทับจับเนียนเป็นเนื้อเดียว แสดงให้เห็นฝีมือการทอผ้าเนื้อละเอียดและการเย็บที่ต้องอาศัยความประณีตบรรจง มีขนาดต้องตามพระธรรมวินัย และอาจพอเหมาะกับรูปร่างของบุคคลผู้ครองจีวรด้วย จีวรผืนนี้ตามประวัติระบุว่า พระอาจารย์รวม วัดยาง ตำบลคลองกระแซง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มอบให้เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๗     อ้างอิง กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔. สุนทรี สุริยะรังษี.  จีวร : การตัดเย็บจากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์  ๓,๒(พฤษภาคม-สิงหาคม) ๒๕๕๙ พระสมุห์จักรพงศ์ จนฺทสีโล. ศึกษาการทรงผ้าจีวรของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาในเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑ ถมรัตน์ สีต์วรานนท์. ปทานุกรมผ้าไทย ใน “วารสารฝ้ายและสิ่งทอ” ๕,๙ (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ๒๕๒๕ ยิ้ม ปัณฑยางกูร. ประชุมหมายรับสั่ง ภาคที่ ๒ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, ๒๕๒๕


ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ อ.บ้านนา จ.นครนายก (เวลา 11.00 น.) จำนวน 60 คนวันศุกร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะจากศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จำนวน ๖๐ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้





โบราณสถานฐานพระสยม  (ฐานพระสยมภูวนาถ)          ตั้งอยู่ริมถนนท่าชี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมและประดิษฐานเทวรูปหรือสัญลักษณ์แทนองค์เทพเจ้าเนื่องในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย นับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพเจ้าสูงสุด จากหลักฐานโบราณคดีสันนิษฐานว่าฐานพระสยมมีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗ และสมัยอยุธยา โดยปรากฏชื่อครั้งแรกในตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช ว่า “สยมภูวนาถ” คำว่า “พระสยม” หรือ “พระสยมภูวนาถ” เป็นพระนามหนึ่งของพระอิศวร หมายถึง “ผู้ที่เกิดขึ้นเอง” ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพเจ้าสูงสุดสามองค์ตามความเชื่อในศาสนา พราหมณ์-ฮินดู          ฐานพระสยมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สภาพปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานและผนังบางส่วน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตัวอาคารแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรก เป็นห้องคูหาที่มีผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในประดิษฐานศิวลึงค์บนฐานโยนี ส่วนที่สองพบร่องรอยพื้นอิฐต่อกับฐานอาคารยาวต่อเนื่องไปทางด้านหน้า มีฐานเสา ๖ เสา สันนิษฐานว่าเป็นอาคารโถง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง และมีแท่นฐานก่ออิฐสันนิษฐานว่าใช้สำหรับประดิษฐานรูปโคนนทิ พาหนะของพระอิศวร (ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของฐานโยนีอีกฐานหนึ่ง)          กรมศิลปากรดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีและบูรณะฐานพระสยม เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๘   ซึ่งผลการศึกษาและหลักฐานที่พบแสดงให้เห็นถึงการแพร่เข้ามาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย  ในเขตเมืองนครศรีธรรมราช อย่างน้อยในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗  จึงอาจเป็นไปได้ว่าฐานพระสยม คือ หอพระอิศวรดั้งเดิมของชุมชนพราหมณ์ ก่อนที่จะมีการสร้างหอพระอิศวรขึ้นอีกแห่งที่ริมถนนราชดำเนิน ในสมัยอยุธยา            โบราณสถานฐานพระสยมได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๑๕๓๐ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๒๖ หน้า ๓๙๘๒ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ เนื้อที่โบราณสถานประมาณ ๒ งาน ๑๔.๓๒ ตารางวา     Than Phra Sayom (The Base of Shiva Statue)          Than Phra Sayom is located on Tha Chi Road, Nai Mueang Sub-district, Mueang Nakhon  Si Thammarat District, Nakhon Si Thammarat Province. It is a Shivaism sanctuary which was built for rituals and enshrining the statue of Shiva, the one of The Hindu Trinity. According to archeological evidence, it was assumed that Than Phra Sayom dates back to the 11th - 12th century or Ayutthaya period.  The word “Phra Sayom” or “Phra Sayombhuwanat” in Thai is one of Shiva’s name “Savayambhu” means “Spontaneously Born” and appeared for the first time in the Brahmin Legend of Nakhon Si Thammarat.           Than Phra Sayom is a brick building. At present, only the base and some walls remain. It is in a rectangular plan and faces east. The building was divided into two parts. The first part is a square room where lingam is set into a rectangular base or yoni. The second part, there are traces of brick platform connected steadily to the front of building base with 6 pillar bases. It was assumed to be a hall which the roof structure made of wood and covered with roof tiles. There is a brick base which was assumed to be used for enshrining the statue of Nandi. At present, it is used as the base of yoni.  In 2002 - 2005, the Fine Arts Department carried out archaeological excavations and restoration of Than Phra Sayom. The results of study and evidences showed the spread of Shaivism in Nakhon Si Thammarat at least the 11th - 12th century. It was assumed that this structure was built originally as Ho Phra Isuan (Shiva Shrine) of Brahmin community before Ho Phra Isuan on Ratchadamnoen Road which was built on in Ayutthaya period.           The Fine Arts Department announced the registration of Than Phra Sayom as a national monument in the Royal Gazette, Volume 53 Page 1530 dated 27th September 1936, and announced a national area of 857.28 square - metres in the Royal Gazette, Volume 95, Part 126, page 3982, dated 14th November 1978.   



***บรรณานุกรม***    สกุลสิงหเสนีและเครือญาติ พระนคร  โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม 2504



     บรรยากาศนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ซึ่งงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมตามนโยบายของกรมศิลปากร เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลและถวายความไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


Messenger