ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2499 หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอุเมนเทพโกสินทร์ (ประสาน บุรณศิริ)               นำเสนอเรื่องราวของทาส ตั้งแต่กฎหมายทาส พระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยเรื่องทาวและเกษียณอายุ พระราชบัญญัติพิกัดเกษียนอายุลูกทาสลูกไทย ประกาศลูกทาศ ประกาศเกษียณลูกทาสลูกไทย และเรื่องการเลิกทาส ย่อความตามพระราชบัญญัติและประกาศต่าง ๆ ที่ออกภายหลังพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย




ชื่อเรื่อง                     นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประเพณี ขนมธรรมเนียมเลขหมู่                      390.22 น222นสสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ภักดีประดิษฐ์ปีที่พิมพ์                    2508ลักษณะวัสดุ               130 หน้าหัวเรื่อง                     นางนพมาศ                              ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์        ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสะลูไร  ตุลยายน   เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติของนางนพมาศ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย



เลขทะเบียน : นพ.บ.123/15ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  72 หน้า ; 4.5 x 53.6 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 70 (232-242) ผูก 15 (2564)หัวเรื่อง : มงฺคลตฺถทีปปี (มงคลทีปนีอรรถกถา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


     ชวนมารู้จักชาวนาไทย ตอนที่ 3 "จากพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวนาสุพรรณบุรีสู่การก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี แห่งแรก"      ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในช่วงเวลาดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2532 จังหวัดสุพรรณบุรี โดยนายอารีย์ วงศ์อารยะ (ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี) มีดำริที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์เทิดพระเกียรติพระองค์ และเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำนา ประเพณี วิถีชีวิตของชาวนาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงงานโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการเกษตรในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าชมและได้รับองค์ความรู้ที่เป็นอาชีพหลักของชาวไทย        การก่อตั้งโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เกิดขึ้นจากความร่วมมือทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี โดยจังหวัดสุพรรณบุรีจัดหางบประมาณในการก่อสร้างเป็นหลัก อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยกรมศิลปากรรับผิดชอบในการออกแบบก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย ซึ่งมีแนวทางการออกแบบภายใต้แนวความคิดของบ้านเรือนไทยภาคกลางที่มีใต้ถุนสูง         อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี (หลังแรก) เป็นอาคาร 2 ชั้น ขนาด 19.20 เมตร x 25.20 เมตร ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ที่ผสมผสานระหว่างเรือนไทยและยุ้งฉางข้าวของชาวนา ซึ่งเป็นลักษณะที่อยู่อาศัยที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคกลาง      การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2532 และกระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้นกรมศิลปากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ) ได้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 117 ตอนที่ 112 วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2533        วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ณ บริเวณ ศาลากลาง (หลังเก่า) ถนนประชาธิปไตย ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่รวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ที่พระองค์ทรงใช้เมื่อครั้งทรงทำนาประวัติศาสตร์ที่บึงไผ่แขก ตลอดจนนิทรรศการข้อมูลความรู้ด้านการทำนา ประเพณี วิถีชีวิตของชาวนาไทย      วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการ จากนั้นเป็นต้นมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ได้เปิดบริการให้ประชาชนเข้าชม โดยไม่มีค่าธรรมเนียมการเข้าชมจวบจนปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี เปิดให้บริการเป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว   เครดิตภาพถ่าย : หอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล (บันทึกภาพวันที่ 1 เมษายน 2563)


ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๓๓ เจ้าอาวาสวัดพลับ  ต.พนัสนิคม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๑ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.22/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เกริกศักดิ์  กองศิลป์  แปลและรวบรวม.  คำคมของบุคคลสำคัญ.  พิมพ์ครั้งที่ ๑.  พระนคร :      แพร่พิทยา, ๒๕๐๔.  ๖๔๐ หน้า.      เป็นการรวบรวมคำคมของบุคคลสำคัญทั่วโลกที่น่าอ่านและน่าจดจำไว้เป็นบทเรียนชีวิต เป็นคติเตือนใจ ในการครองตน ครองคน ครองงาน การทำงานได้มากมายเลย เช่น ปราชญ์โรมันได้กล่าวว่า “จับวันนี้ไว้ให้มั่นแล้วใช้ให้มันเป็นประโยชน์” อริสโตเติล กล่าวว่า “เป็นการง่ายที่บุคคลจะรู้สึกโกรธ แต่การที่จะโกรธให้ถูกบุคคลโกรธให้พอดีกับเหตุการณ์ ถูกเวลา และโกรรธเพราะหวังดี อีกทั้งถูกทางนั้น เป็นการยาก ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้เสมอไป”  โจนฟอร์ด แนะวิธีการแก้อกหักว่า “เพชรตัดเพชร เหล็กตัดเหล็ก หนามยอกเอาหนามบ่ง เมื่ออกหักก็หารักใหม่เสียซี”  เบนจามิน  แฟรงคลิน กล่าวว่า “ถ้าคุณอยากจะรัก จงรัก. คุณทำได้” เชคสเปียร์ กล่าวว่า “ชีวิตเราก็เหมือนสร้างขึ้นด้วยทราย เป็นอยู่อย่างนั้น และบนทรายเราก็สลายไปดุจกัน”   ไอสไตน์ กล่าวว่า “ความสำเร็จเท่ากับงานบวกเล่นบวกเรียน” และยังมีคำคมอีกมากมายในเล่มนี้ที่ผู้อ่านสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ 


หินทุบเปลือกไม้ Bark-cloth    เครื่องมือสำหรับทำเส้นใยยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในภาคใต้ โบราณวัตถุประเภทเครื่องมือหินยุคก่อนประวัติศาสตร์ "หินทุบเปลือกไม้ " ที่มนุษย์นำมาใช้สำหรับทุบเปลือกไม้หรือพืชเพื่อนำเส้นใยมาใช้งานกัน ----------------------------------------------------------------------- เครื่องนุ่งห่มยุคก่อนประวัติศาสตร์           เชื่อกันว่ามนุษย์ในยุคแรกเริ่มยังไม่รู้จักการใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม แต่ในเวลาต่อมาจึงเริ่มนำขนสัตว์ หนังสัตว์ ใบไม้ หญ้า เปลือกไม้ มาห่อหุ้มร่างกาย ซึ่งสิ่งของจากธรรมชาติเหล่านี้ช่วยสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย ห่อหุ้มผิวหนังจากอันตราย สร้างความสวยงาม รวมทั้งอาจตอบสนองในเรื่องความเชื่อหรือพิธีกรรมต่างๆในสังคม  เครื่องนุ่มห่มจากเส้นใยพืช           ในยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้น นอกเหนือจากหนังสัตว์และวัสดุตามธรรมชาติแล้ว มนุษย์ในยุคสมัยนี้ยังสามารถคิดค้นวิธีในการนำเส้นใยจากพืชมาถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่มได้ โดยพืชที่สามารถให้เส้นใยได้นั้นได้แก่ พืชในตระกูลป่าน ปอ และลินิน สำหรับในประเทศไทยนั้นพบหลักฐานของการทอผ้าจากเส้นใยธรรมชาติบนเครื่องประดับและเครื่องมือสำริดที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และใบมีดเหล็กที่แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา หินทุบเปลือกไม้เครื่องมือสำหรับทำเส้นใย  เครื่องมือสำคัญอีกประเภทหนึ่งซึ่งสามารถใช้ในการเปลี่ยนสภาพของพืชให้เกิดเป็นเส้นใยได้นั้นก็คือ “หินทุบเปลือกไม้” หินเหล่านี้มักมีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดเหมาะมือ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายตัดซึ่งปรากฏการขูดพื้นผิวหินให้เป็นเส้นตัดกันเป็นรูปตารางบนหน้าหิน การศึกษาเรื่อง The Origins of bark cloth production in Southeast Asia โดย Judith Cameron ได้นำเสนอการจำแนกรูปแบบของหินทุบเปลือกไม้ที่พบในจีนตอนใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ ๗ รูปแบบ  หินทุบเปลือกไม้ในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  การสำรวจและการขุดค้นในปัจจุบัน มีรายงานการพบหินทุบเปลือกไม้ในภาคใต้ของประเทศจีน  เกาะไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย  ทั้งนี้บทความเรื่อง The oldest bark cloth beater in southern China (Dingmo, Bubing basin,Guangxi) โดย Dawei Li และคณะ ได้ให้ข้อมูลผลการกำหนดอายุของหินทุบเปลือกไม้จากแหล่งโบราณคดีต่างๆไว้ดังนี้           ๑.แหล่งโบราณคดี Dingmo ในมณฑลกวางสี ประเทศจีน กำหนดอายุได้ราว ๗,๙๐๐ ปีมาแล้ว            ๒.แหล่งโบราณคดี Xiantouling บริเวณที่ราบปากแม่น้ำเพิร์ล ในมณฑลกว้างตุ้ง ประเทศจีน   กำหนดอายุได้ราว ๖,๖๐๐ ปีมาแล้ว            ๓.แหล่งโบราณคดีในเวียดนามกำหนดอายุได้ราว ๔,๕๐๐-๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว            ๔.แหล่งโบราณคดี Arku Cave จังหวัดคากายัน เกาะลูซอน ฟิลิปปินส์  กำหนดอายุได้ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว  หินทุบเปลือกไม้ที่พบในแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในภาคใต้ของไทย  ในพื้นที่ภาคใต้ แม้จะยังไม่เคยพบหลักฐานการมีอยู่ของผ้าในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่การสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งได้พบหินทุบเปลือกไม้ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทำเส้นใย ในแหล่งโบราณคดีอย่างน้อย ๖ แห่ง ในพื้นที่ ๔ จังหวัดคือ           ๑.เขาถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึกเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่           ๒.บางปากวง(เชิงเขาวง) ตำบลคลองฉนวน อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี           ๓.ถ้ำเบื้องแบบ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี           ๔.เขาถ้ำพระ ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช           ๕.เขาบ้านในค่าย ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช           ๖.เพิงผาที่พักสงฆ์เขาน้ำหรา ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล     และสามารถระบุที่มาเพียงว่าพบในพื้นที่ภาคใต้จำนวน ๑ ชิ้น จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช      ทั้งนี้หากจำแนกหินทุบเปลือกไม้ที่พบในภาคใต้ตามรูปแบบที่ Judith Cameron เสนอไว้ก็จะพบว่า หินทุบเปลือกไม้ที่พบในภาคใต้ทั้งหมดซึ่งระบุแหล่งที่มาได้จัดอยู่ในรูปแบบที่ ๗ และมีเพียงชิ้นเดียวและไม่ระบุแหล่งที่มาจัดอยู่ในรูปแบบที่ ๕ +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ เรียบเรียงข้อมูลโดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที ๑๑ สงขลา


พิมพ์เป็นที่ระลึกในการฌาปนกิจศพ นายนกยูง พงษ์สามารถ ณ เมรุวัดธาตุทอง วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ 







Messenger