ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.506/1ขห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 49.5 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 170 (233-242) ผูก 1ข (2566)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง สํยุตฺตนิกายกถา (สํยุตฺตนิกาย)ลบ.บ. 35/9หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 60 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง พระไตรปิฎก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องรัก ไม้ประกับธรรมดา
แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒
วัสดุ (ชนิด) สำริด
ขนาด หน้าตักกว้าง ๑๘.๕ เซนติเมตร สูง ๕๖ เซนติเมตร
ประวัติความเป็นมา เดิมเป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มอบให้
ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
พระพุทธรูปทรงเครื่อง พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่งต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเซาะร่องลึก พระนาสิกโด่ง พระหนุเป็นปม พระอังสากว้าง พระวรกายเพรียวบาง ทรงมงกุฎ กุณฑล สังวาล พาหุรัด ทองพระกรและพระธำมรงค์ ทับทรวงประดับพลอยสีแดง มีการตกแต่งจีวรด้วยลายลูกประคำ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร บนฐาน ๒ ชั้น โดยฐานตอนบนเป็นฐานปัทม์มีเกสร ตกแต่งส่วนบัวคว่ำด้วยลวดลายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะจีน ตอนล่างเป็นฐานหน้ากระดานหกเหลี่ยม ฐานล่างสุดมีขา หรือส่วนของสายชนวนสำหรับเททอง ๓ ด้าน
พระพุทธรูปทรงเครื่องพบในศิลปะล้านนาค่อนข้างน้อย คติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องมีที่มาจากความเชื่อเรื่องพระอนาคตพุทธเจ้า หรือพุทธประวัติ ตอนทรงทรมานพญาชมภูก็เป็นได้ จากรูปแบบเครื่องประดับ สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ ซึ่งเป็นเวลาที่ศิลปะภาคเหนือได้รับอิทธิพลจากศิลปะสมัยอยุธยา ส่งผลให้รูปแบบศิลปกรรมมีความหลากหลายยิ่งขึ้น
ชื่อเรื่อง : ต้นฉบับเอกสารโบราณด้านภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านอีสาน : ตำรายา เล่ม 1
ผู้จัดทำ : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ห้องจัดเก็บ : กรมศิลปากร
ประเภทสื่อ : สิ่งพิมพ์ - หนังสือ
ISBN/ISSN : 987-616-283-592-6
สำนักพิมพ์ : นครพนม : สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี กรมศิลปากร
ปีที่จัดทำ : 2564
ลักษณะวัสดุ : 122 หน้า : ภาพประกอบ ; 30 ซม.
ภาษา : ไทย
หัวเรื่อง : ต้นฉบับตัวเขียน
เอกสารใบลาน
ยาสมุนไพร
การแพทย์แผนโบราณ
สาระสังเขป : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม เห็นความสำคัญของเอกสารโบราณที่จัดเก็บรักษาภายในหอสมุดฯ จึงได้มีการปริวรรตเอกสารโบราณ “ตำรายา” จากอักษรธรรมอีสานเป็นภาษาไทยปัจจุบัน ในการปริวรรตได้ทำการเลือกฉบับที่มีความสมบูรณ์เพื่อใช้ในการปริวรรต จากใบลานก้อม จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1. เอกสารโบราณตำรายา เลขที่ นพ.บ.2054/1ก จำนวน 55 ลาน ตัวอักษรธรรมอีสาน ลักษณะลานดิบ ไม่ปรากฏปีที่สร้างและนามผู้สร้างหรือคัดลอก 2.เอกสารโบราณตำรายา เลขที่ นพ.บ.1498/1 จำนวน 23 ลาน ตัวอักษรธรรมอีสาน ลักษณะลานดิบ ไม่ปรากฏปีที่สร้างและนามผู้สร้างหรือคัดลอก 3. เอกสารโบราณตำรายา เลขที่ นพ.บ.1498/1ก จำนวน 33 ลาน ตัวอักษรไทน้อย ลักษณะลานดิบ สร้างโดยนายคำไพและพ่อบุญปัน มีจุดมุ่งหมายเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของบรรพชนให้คงอยู่ต่อไป เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ และวิจัยผลงานทางด้านแพทย์แผนโบราณ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนหนังสืออ้างอิงด้านเอกสารโบราณให้แก่สถาบันห้องสมุด บุคคล และองค์กรต่างๆ
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 สิงหาคม”
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ผู้เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เพราะทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาล่วงหน้าก่อน 2 ปี ที่ตำบล หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ได้อย่างแม่นยำ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมากที่การคำนวณการเกิดสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์ แล้วว่าถูกต้องที่สุดยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้ ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระองค์เปรียบเสมือนเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ได้มีการจัดงาน “หว้ากอรำลึก” เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เพื่อรำลึกถึงพระองค์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นความสำคัญ จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 กำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปีเป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และได้จัดงาน วันวิทยาศาตร์แห่งชาติเป็นครั้งแรกในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2525
ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญ
ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม
การก่อตั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2524 คณะสำรวจจากสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ ด้วยความร่วมมือกับกรมศิลปากร กรมแผนที่ทหาร และคณะกรรมการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้สำรวจบริเวณในการสร้างอนุสรณ์สถาน ทีบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์
สำหรับอนุสรณ์สถาน ที่บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นั้น ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหา ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียว กับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึง "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ"
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์ ผศ., อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
สภาการจดหมายเหตุระหว่างประเทศประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Regional Branch of the International Council on Archives: SARBICA) ร่วมกับสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการ SARBICA International Symposium 2023 หัวข้อ “งานจดหมายเหตุในยุคดิจิทัล: การเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และก้าวต่อไปของจดหมายเหตุ” (Archives in the Digital Era: Changing, Adaptations, and Achievements) ระหว่างวันที่ 21 – 22 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพมหานคร เปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566
พิเศษ!! ลงทะเบียนภายในวันที่ 30 กันยายน 2566 ค่าธรรมเนียมเพียง 130 ดอลล่าร์ (US$) เท่านั้น ลงทะเบียนและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://sarbica2023.nat.go.th
สืบเนื่องจากที่สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้กำหนดจัดกิจกรรมเสวนาทางวิชาการเนื่องในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ หัวข้อ “๑๐ สุดยอดโบราณวัตถุหายากที่สูญหายไปจากความทรงจำ” พร้อมกับนำโบราณวัตถุเหล่านั้นไปจัด Mini Exhibition ขอเชิญชวนทุกท่านมาทายของชิ้นแรกที่จะนำไปจัดแสดงในนิทรรศการดังกล่าว โดยมีของรางวัลมาสุ่มแจก เพียงทำตามกติการ่วมสนุก ดังนี้
๑. กดไลก์เพจ Central Storage of National Museums : คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
๒. กดไลก์และแชร์โพสต์นี้ https://www.facebook.com/centralstorageofnationalmuseums/posts/pfbid02VoFmo6zLuiP6bvMitBHY1VP4CBmVt9orRTCHMEfNAnpTtvjDy1z1K4ViNCqAuqCCl บนหน้า Facebook ของท่าน โดยตั้งค่าเป็นสาธารณะ พร้อมติดแฮชแท็ก #๑๐สุดยอดโบราณวัตถุหายากที่สูญหายไปจากความทรงจำ ๓. ตอบคำถามใต้โพสต์นี้ว่า "เงาที่ท่านเห็น เห็นโบราณวัตถุชิ้นใด" พร้อมคำอธิบายประกอบ
ผู้สนใจร่วมกิจกรรม สามารถตอบคำถามได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๒.๐๐ น. ทั้งนี้ ท่านใดตอบได้ครบถ้วนและถูกใจทีมงานที่สุดรับรางวัลไปเลย ๑ รางวัล แต่หากพลาดรางวัลรอบนี้ สามารถติดตามเพจ Central Storage of National Museums : คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป เราจะมาแจกรางวัลกันอีกแน่นอน
“เงินพดด้วง” ในสมัยอยุธยา
เงินพดด้วงเป็นเงินตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขาย เดิมเรียกว่า “เงินกลม” แต่ด้วยปลายขาเงินที่งอและสั้นขดกลมคล้ายตัวด้วง จึงนิยมเรียกว่า “เงินพดด้วง” มีการใช้งานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยามีการผูกขาดระบบเศรษฐกิจ โดยรัฐได้มีการวางระบบเงินตราและควบคุมมาตรฐานทางการเงินเพื่อควบคุมการค้าและการคลัง ทำให้รัฐมีสิทธิ์ขาดในการผลิตเงินตราสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า พร้อมกับมีการกำหนดบทลงโทษอย่างชัดเจน
ดังปรากฎในกฎหมายตรามดวงและกฎหมายลักษณะโจร ความว่า “ผู้ใดทำเงิน ทองแดง เงินพราง เงินรวงทองพราง ทองแดงทองอาบและแกะตราปลอม ตอกตราพดด้วงเทียม พิจารณาเป็นสัจให้ตัดนิ้วมือเสียอย่าให้กุมค้อนคีมได้...” ทั้งนี้ยังมีบทลงโทษครอบคลุมถึงบุคคลใกล้เคียง คือ หากมีผู้สมรู้ให้ทำและรับซื้อขายให้ทวนด้วยลวดหนัง ๕๐ ที ส่วนผู้อยู่เรือนใกล้เคียงและรู้เห็นแต่ไม่แจ้งกรมพระนคร ให้ใส่ขื่อ ๓ วัน แล้วทวนด้วยลวดหนัง ๑๕ ที...
เงินตราที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่โบราณสถานต่างๆ ภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนใหญ่คือเงินพดด้วงและหอยเบี้ย โดยรูปแบบเงินพดด้วงในสมัยอยุธยา จะมีลักษณะเป็นทรงกลมมาตรฐาน มีรอยประทับตราที่มีความคมชัด ปลายขาด้านล่างแยกออกห่างจากกัน รอยบากมีขนาดเล็กลงจากสมัยสุโขทัยและหายไปในที่สุด รูปแบบดังกล่าวนี้ยังส่งต่อมาให้การผลิตพดด้วงสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย
ตราสัญลักษณ์ที่ตอกประทับลงบนเงินพดด้วงสมัยอยุธยา บริเวณด้านหน้าและด้านบน จำแนกเป็น ๒ ประเภท คือประเภทที่ ๑ ตราประจำแผ่นดิน ประทับบริเวณด้านบนของพดด้วง มีข้อสังเกต ๒ ชนิด คือ ตราจักรหกแฉกหรือตรากงล้อธรรม และตราจักรแบบจุด ที่มีลักษณะแปดจุดล้อมรอบจุดกลางใหญ่
สัญลักษณ์ตราประจำแผ่นดิน อาจมีความหมายถึง พระธรรมจักรหรือ กงล้อแห่งพระธรรม แทนเครื่องหมายของการนับถือพุทธศาสนา คล้ายกับสมัยสุโขทัย ทั้งนี้อาจแทนนัยยะของ “จักร” อาวุธของพระนารายณ์ตามคติเทวราชา โดยเปรียบพระมหากษัตริย์เป็นอวตารของพระนารายณ์
ประเภทที่ ๒ ตราประจำรัชกาล ประทับอยู่ด้านหน้าของพดด้วง ส่วนมากไม่มีหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์บ่งบอกรูปแบบที่เปลี่ยนตามรัชกาลอย่างชัดเจน อาจพบได้มากกว่าสามสิบรูปแบบ แต่สามารถจำแนกได้ ๓ หมวดหมู่ ดังนี้
กลุ่มที่ ๑ เป็นรูปดอกบัว กลีบดอกบัว หรือพุ่มข้าวบิณฑ์ กลุ่มที่ ๒ เป็นรูปสัตว์ อาทิ ช้าง หอยสังข์ ครุฑ และกลุ่มที่ ๓ เป็นรูปราชวัตร คือจุดอยู่ในกรอบสามเหลี่ยม
ปัจจัยที่รูปแบบของตราดอกบัวในสมัยอยุธยามีรายละเอียดแตกต่างกัน มาจากแม่ตราประทับมีความหลากหลาย ซึ่งอาจเกิดจากฝีมือช่างผู้ผลิต หรือเป็นการทดแทนแม่ตราที่ชำรุด ซึ่งเป็นการผลิตจากการแกะด้วยมือ จึงทำให้มีการลดทอนรายละเอียดลง แต่สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นตราดอกบัว
ทั้งนี้รูปแบบของตราดอกบัวของสมัยอยุธยา ยังมีความคล้ายคลึงกับตราพุ่มข้าวบิณฑ์ ตราอุณาโลมหรือตราบัวอุณาโลม มักอยู่ในกรอบพุ่มคล้ายดอกบัว มีอักขระ “อุ” รูปร่างคล้ายสังข์อยู่ตรงกลาง และต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เรียกว่าดอกบัวผัน หมายถึงความมั่งคั่ง
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบตราประทับบนพดด้วงของรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งยังมีความคล้ายคลึงกับอยุธยานั้น อาจแฝงนัยยะเรื่องการพยายามสืบทอดราชธานีต่อจากกรุงศรีอยุธยาผ่านระบบเงินตราด้วย
ภาพประกอบบทความ : ตัวอย่างเงินพดด้วงสมัยอยุธยา ภายในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อ้างอิง
กรมธนารักษ์. คู่มือเพื่อพิจารณาคัดแยกดวงตราบนเงินพดด้วงในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ที่ได้รับมอบจากสำนักบริหารเงินตรา เข้าถึงได้จาก https://asset-link.treasury.go.th/th/operationmanual/
ศิลปวัฒนธรรม. รู้จัก “เงินพดด้วง” เงินตราสะท้อนความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจและการค้าสมัยสุโขทัย เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_61704...
ชื่อเรื่อง บทสวดมนต์ (ภาณต้น)สพ.บ. 441/1หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลีหัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์ เทศน์มหาชาติ คาถาพันประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 76 หน้า : กว้าง 3.5 ซม. ยาว 39 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับรักทึบ-ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
อบต.หนองอิรุณ จ.ชลบุรี (เวลา 13.00 น.) จำนวน 94 คนวันพฤหัสบดีที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. คณะแกนนำด้านสุขภาพและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ ต.หนองอิรุณ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี จำนวน ๙๔ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีนางสาวณัฏฐกานต์ มิ่งขวัญ ตำแหน่งเจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน และนายชัยวัฒน์ กองแก้ว ตำแหน่งจ้างเหมาบริการฯ ปฏิบัติงานธุรการ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้