ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ


เขาพระอังคาร ตั้งอยู่ภายในวัดเขาพระอังคาร ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์           ในทางธรณีสัณฐานวิทยา เขาพระอังคารเป็นภูเขาไฟ หินบะซอลต์แบบลาวาโดม ดับสนิทแล้วมากว่าเจ็ดแสนปี มีรูปร่างกลมรี วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีช่องทางการไหลออกของลาวาหลายจุดตามไหล่เขาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีปล่องปะทุอยู่ชัดเจน ตั้งโดดเด่นกลางพื้นที่ราบ ปากปล่องภูเขาไฟเกิดการทรุดถล่มเป็นแนวซ้อนกันหลายชั้น           ปัจจุบันบนเขาพระอังคารเป็นที่ตั้งของวัดเขาพระอังคาร มีการก่อสร้างพระอุโบสถใหม่ และอาคารสมัยใหม่ต่างๆโดยรอบ พบใบเสมาทั้งสิ้น ๑๕ ชิ้น โดยนำใบเสมาที่พบจากเขาพระอังคารมาปักรอบพระอุโบสถ สันนิษฐานว่าย้ายมาจากที่อื่นที่อยู่ใกล้บริเวณวัดแล้วนำมาปักไว้รอบโบสถ์ บางส่วนนำมาไว้ภายในอาคารพ่อปู่วิริยะเมฆ           ใบเสมาทั้งหมดสลักขึ้นจากหินบะซอลต์เนื้อละเอียด มีลักษณะเป็นแผ่นหินแบนๆ สมัยวัฒนธรรมทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖) ลักษณะเด่นของใบเสมาที่เขาอังคารสลักเป็นภาพบุคคลคนเดียวยืนถือดอกบัวด้วยมือขวา ประทับอยู่ใต้ฉัตร ขนาบด้วยเครื่องสูง ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ บางใบสลักบุคคลเป็นภาพยักษ์ บางชิ้นสลักเป็นบุคคลสี่กรถือสิ่งของอยู่ในมือ สันนิษฐานว่าเป็นคัมภีร์ และลูกประคำ ทั้งหมดทรงผ้าแบบเดียวกัน ประทับยืนอยู่บนฐานดอกบัว มีอิทธิพลศิลปะเขมรแบบไพรกเมงผสมอยู่ บางใบมีการสลักลายเป็นภาพธรรมจักร สถูปหม้อน้ำที่ด้านหลังด้วย           ถึงแม้ว่าใบเสมาปัจจุบันถูกเคลื่อนย้ายออกจากตำแหน่งเดิม จากการสำรวจบริเวณรอบๆไม่ปรากฏร่องรอยสิ่งก่อสร้างหรือโบราณสถานอยู่เลย ปกติแล้วการปักใบเสมาเป็นเพื่อแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ในทางพุทธศาสนา ในกรณีใบเสมาวัดเขาพระอังคารในอดีตอาจปักล้อมรอบพื้นที่ว่างเปล่า โดยใบเสมาปักเพื่อเป็นหลักเขตเครื่องหมายพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรม           แหล่งใบเสมาที่อยู่บนภูเขาเช่นที่เขาพระอังคาร เป็นแหล่งเดียวในจังหวัดบุรีรัมย์ที่พบในพื้นที่ภูเขาสูง ไม่พบแหล่งชุมชนที่บนเขาอังคารเลยจึงไม่สามารถบอกพื้นที่การใช้งานที่สัมพันธ์กับชุมชนได้ แต่จากลักษณะภาพสลักที่ปรากฏเป็นรูปบุคคลลักษณะเดียวกันทั้งหมด น่าจะเป็นพระโพธิสัตว์ในฝ่ายมหายาน ซึ่งไม่พบลักษณะเช่นนี้ในแหล่งโบราณคดีในสมัยทวารวดีในที่อื่นๆที่แม้จะเป็นภาพสลักบุคคลก็จะเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติหรือชาดกในฝ่ายเถรวาทเป็นหลัก การพบในพื้นที่ภูเขาสูงน่าจะเป็นลักษณะของแนวคิดภูเขาศักดิ์สิทธิ์แบบเดียวกับที่ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพุทธแบบเถรวาทก็อาจเป็นได้-----------------------------------------------ข้อมูลโดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา-----------------------------------------------


พระยาธรรมปรีชา.   ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ฉบับที่ 2 (ไตรภูมิฉบับหลวง) เล่ม 2.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2520.         หนังสือไตรภูมิโลกวินิจฉยกถาฉบับที่ 2 นี้ เป็นเรื่องที่มีสารประโยชน์ มีคุณค่าทางอักษรศาสตร์และวรรณคดี เนื่องจากไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา หรือไตรภูมิฉบับหลวงเป็นหนังสือที่มีความยาวมาก กรมศิลปากรจึงแยกพิมพ์ เป็น 3 เล่มด้วยกัน และได้พิมพ์ประวัติพระยาธรรมปรีชา (แก้ว) ผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ไว้ด้วย


เสภาเรื่องอาบูหะซัน แต่งโดยกระแสรับสั่ง เมื่อในรัชกาลที่ ๕พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโท ชาบ นิลกุล ณ ฌาปนสถาน กองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ ๒๘ มกราคมพุทธศักราชการ ๒๕๑๐





          เป็นที่ทราบกันดีว่าภาพถ่ายทับหลังปราสาทเขาโล้น ได้รับการตีพิมพ์เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ ในหนังสือ “ศิลปสมัยลพบุรี” โดยศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ซึ่งภาพถ่ายนี้เป็นหลักฐานสำคัญในการทวงคืนทับหลังชิ้นนี้กลับสู่ประเทศไทย นอกจากนี้หน่วยศิลปากรที่ ๕ กรมศิลปากร ได้เคยบันทึกภาพทับหลังปราสาทเขาโล้นไว้เมื่อราวพุทธศักราช ๒๕๐๓ ด้วยเช่นกัน          ภาพถ่ายทั้งสองครั้งนั้นทำให้ทราบว่าทับหลังที่ซุ้มประตูด้านตะวันออกของปราสาทเขาโล้น ประกอบด้วยเทวดานั่งชันเข่าบนเกียรติมุข (หน้ากาล) ใต้ลิ้นของเกียรติมุขมีท่อนพวงมาลัยแยกออกทั้งสองด้าน ปลายท่อนพวงมาลัยขมวดเป็นวงโค้งสลับกัน จัดเป็นทับหลังศิลปะเขมรในประเทศไทยแบบบาปวนตอนต้น ซึ่งปัจจุบันรูปเทวดาได้ถูกกะเทาะหายไป           นอกจากทับหลังแล้ว ส่วนประกอบซุ้มประตูทำจากหินทราย ได้แก่ แถวกลีบบัวเหนือทับหลัง ซึ่งมี ๒ ชิ้นนั้น สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ได้พบชิ้นที่เคยประดับด้านบนขวาของทับหลังจากการขุดแต่งปราสาทเขาโล้น เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ ดังที่ได้นำเรียนไปแล้วในบทความตอนที่ ๒ เสาประดับกรอบประตู แปดเหลี่ยม สลักลวดลายที่กำหนดอายุได้ในศิลปะเขมรในประเทศไทยแบบเกลียง ปัจจุบันยังไม่พบว่าอยู่ที่ใด          กรอบประตู สลักลายลวดบัวขนานกันไป ในพุทธศักราช ๒๔๔๗ เอเตียน เอโมนิเยร์ (Étienne Aymonier) ได้ระบุว่ามีจารึกภาษาสันสกฤตและเขมรบนกรอบประตูด้านเหนือและใต้ ซึ่งต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๙๗ ฌอช เซแด็ส (George Cœdès) ได้อ่าน-แปลและได้กำหนดทะเบียนเป็น K.232 เนื้อความในกรอบประตูด้านใต้ ระบุว่า ศรีมันนฤปทินทร ขุนนางของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ที่ได้มาปกครองดินแดนบริเวณนี้ ได้สร้างเทวสถาน ไว้บนภูเขา “มฤตสังชญกะ” เพื่อประดิษฐานรูปพระศัมภุ (พระศิวะ) พระเทวีและพระศิวลึงค์ (อีศลิงคะ) เมื่อมหาศักราช ๙๒๙ (พุทธศักราช ๑๕๕๐) ซึ่งจากการขุดค้นของกรมศิลปากรก็พบว่าปราสาทเขาโล้น เป็นปราสาท ๓ หลัง ดังที่ได้นำเรียนไปแล้วในบทความตอนที่ ๑ ดังนั้นปราสาทเขาโล้นจึงเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกายหรือนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่          ส่วนกรอบประตูด้านเหนือระบุว่าในมหาศักราช ๙๓๘ (พุทธศักราช ๑๕๕๙) พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้ มรตาญโขลญศรีวีรวรมัน มาประดิษฐาน “เสาจารึก” ที่ “ภูเขาดิน” หมายถึงภูเขา “มฤตสังชญกะ” แห่งนี้ ปัจจุบันกรอบประตูทั้งด้านเหนือและใต้นี้ เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้สำรวจและให้ทะเบียนกรอบประตูด้านเหนือเป็น จารึกวังสวนผักกาด (กท.๕๓) และกรอบประตูด้านใต้เป็นจารึกวังสวนผักกาด ๒ (กท.๕๔)          อย่างไรก็ตามกรอบประตูทั้งสองชิ้นนี้แตกหัก จึงได้พบชิ้นส่วนกรอบประตูจากการขุดค้นด้วย ดังนั้นจึงไม่สามารถนำกรอบประตูทั้ง ๒ ชิ้นนี้มาติดตั้งในตำแหน่งเดิมได้ ในการบูรณะจึงได้เสริมกรอบประตูและเสาประดับกรอบประตูหินทราย ร่วมกับกรอบประตูชิ้นบนที่พบบริเวณปราสาท เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับติดตั้ง ทับหลังในอนาคต ดังที่ได้นำเรียนไปแล้วในบทความตอนที่ ๓ภาพที่ ๑ ทับหลังปราสาทเขาโล้น ในขณะที่จัดแสดงในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มา: Asian Art Museum Online Collection ภาพที่ ๒ ภาพถ่ายทับหลังปราสาทเขาโล้น ที่มา: หนังสือ ศิลปะสมัยลพบุรีภาพที่ ๓ ภาพถ่ายทับหลังปราสาทเขาโล้น ภาพที่ ๔ ภาพถ่ายทับหลังปราสาทเขาโล้น ภาพที่ ๕ แถวกลีบบัวเหนือทับหลัง พบจากการขุดค้นภาพที่ ๖ และ ๗ ปราสาทเขาโล้น หลังการอนุรักษ์


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-ฉกษัตริย์) สพ.บ.                                  417/11ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ลองชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี      


          วันศุกร์ที่ ๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๓๐น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เข้าตรวจเยี่ยมชมการจัดแสดงและการปรับปรุงภูมิทัศน์ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ จังหวัดนครนายก ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อรวบรวมประวัติความเป็นมาของเขื่อนขุนด่านปราการชลและเรื่องราวเกี่ยวกับประชาชนที่อยู่บริเวณรอบเขื่อนขุนด่านปราการชลและจังหวัดนครนายก โดยการจัดแสดงแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ได้แก่ ปฐมบทการสร้างเขื่อนขุนด่านปราการชล, อดีตชลประทานถึงเขื่อนขุนด่านปราการชล, พระบารมีปกเกล้าชาวนครนายก และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ


          วัคซีน (Vaccine) คือ สารชนิดหนึ่งที่ฉีดเข้าไปร่างกาย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ส่วนใหญ่ทำมาจากเชื้อโรค แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทำจากเชื้อโรคที่ตาย และทำจากเชื้อโรคที่อ่อนแอ เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันกับโรคนั้น ๆ วัคซีนริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2337 ท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคไข้ทรพิษ นายแพทย์ชาวอังกฤษ เอดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner) สังเกตเห็นว่าหญิงรีดนมวัวที่เคยติดโรคฝีดาษวัวแล้วจะไม่เป็นไข้ทรพิษ จึงได้เริ่มการค้นคว้าทดลองโดยนำหนองจากแผลฝีดาษวัวของหญิงรีดนมวัวดังกล่าว ไปทดลองกับสัตว์หลายชนิดจนมีผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ต่อมาในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2339 เริ่มทดลองในคนเป็นครั้งแรกกับเจมส์ ฟิปส์ (James Phipps) เด็กชายอายุ 8 ปี โดยการกรีดผิวหนังที่แขนแล้วนําหนองฝีดาษวัวใส่ลงไป จากนั้นอีกประมาณ 2 เดือน นายแพทย์เจนเนอร์นําเอาหนองฝีจากผู้ป่วยไข้ทรพิษไปทดลองสะกิดที่ผิวหนังของเด็กชายรายเดิม ผลปรากฏว่าเด็กชายผู้นั้นไม่ติดโรคไข้ทรพิษ หลังทําการทดสอบวิธีการดังกล่าวอีกหลายครั้ง จนมั่นใจว่าวิธีการดังกล่าวสามารถป้องกันไข้ทรพิษได้ จึงได้นํารายงานผลการทดลองเสนอต่อราชสมาคมแห่งลอนดอน (Royal Society of London) แต่ถูกส่งคืนอย่างไม่ได้รับความสนใจ นายแพทย์เจนเนอร์จึงตัดสินใจตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาดังกล่าวด้วยทุนส่วนตัว ซึ่งยังคงถูกคัดค้านจากวงการแพทย์ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องหลอกลวง แม้ผลงานของนายแพทย์เจนเนอร์จะถูกปฏิเสธจากวงการแพทย์ แต่กลับได้รับความนิยมจากประชาชน และการยอมรับขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ          ในปี พ.ศ. 2343 รัฐสภาอังกฤษรับรองผลงานของนายแพทย์เจนเนอร์ เรียกหนองฝีวัวนั้นว่า “Vaccine-วัคซีน” ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า Vacca แปลว่าวัว และเรียกวิธีการป้องกันโรคดังกล่าวว่า Vaccination แม้ว่าวัคซีนจะเริ่มจากการใช้ป้องกันโรคไข้ทรพิษที่นำมาจากฝีดาษวัว แต่ปัจจุบันวัคซีนกลายเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรักษาโรคระบาดหลาย ๆ โรค รวมทั้งโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19          สำหรับประเทศไทย ไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาษ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่มีมาตั้งแต่โบราณ ทางภาคใต้เรียก “ไข้น้ำ” ส่วนภาคเหนือเรียก “ตุ่มสุก” หรือ “เป็นตุ่ม” ตามลักษณะอาการที่จะมีตุ่มเม็ดเล็ก ๆ ขึ้นดาษตามตัว โรคนี้มีบันทึกในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หน่อพุทธางกูร และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ล้วนประชวรและเสด็จสวรรคตด้วยไข้ทรพิษ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีบันทึกเรื่องการระบาดของไข้ทรพิษบ่อยครั้ง แม้กระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ โรคนี้ก็ยังแพร่ระบาดเป็นประจำและไม่มีหนทางรักษา       วัคซีนในไทยเริ่มต้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2378 โดยหมอบลัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) เป็นผู้นําเข้ามาเผยแพร่ ในระยะแรกต้องนำเข้าพันธุ์หนองฝีวัวจากสหรัฐฯ ภายหลังได้ใช้การปลูกฝีด้วยวิธีการ นําเอาหนองฝีจากผู้ป่วยไข้ทรพิษมาทําการปลูกฝี ซึ่งเป็นวิธีการที่ชาวจีนค้นพบ แต่วิธีดังกล่าวยังมีอันตราย จึงกลับมาใช้การนําพันธุ์หนองฝีวัวจากสหรัฐฯเช่นเดิม โดยคิดเงินค่าปลูกฝีคนละ 1 บาท (มีเงื่อนไขให้กลับมาติดตามตรวจดูผล หากฝีขึ้นดีจะคืนเงินให้ 50 สตางค์) เมื่อรัชกาลที่ 3 ทรงทราบถึงความสำเร็จของการปลูกฝีป้องกันโรค จึงโปรดให้แพทย์ประจำราชสำนัก หรือหมอหลวงทุกคนมาฝึกการปลูกฝี และออกไปปฏิบัติการทั้งในและนอกวัง เริ่มตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2380          ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์ได้เขียน “ตำราปลูกฝีโค” ถวายรัชกาลที่ 3 และตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือจดหมายเหตุ บางกอกรีคอร์เดอร์ (หนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสยาม) ต่อมาในปี พ.ศ. 2387 “ตำราปลูกฝีโค ให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” โดยหมอบรัดเลย์ถูกตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มครั้งแรก จำนวน 500 เล่ม และพิมพ์ซ้ำครั้งที่ 2 อีก 1,000 เล่ม ในปีเดียวกัน จากความสำเร็จของการปลูกฝีไข้ทรพิษทำให้หมอบรัดเลย์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่ม “วิชาเวชศาสตร์ป้องกัน” ในประเทศไทย          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) การปลูกฝีเพื่อป้องกันไข้ทรพิษกลายเป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาล มีการรายงานความก้าวหน้าของเรื่องนี้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเป็นประจำ จากปัญหาพันธุ์หนองฝีวัวนำเข้าจากสหรัฐฯ ต้องใช้เวลาเดินทางนานถึง 9 เดือน ทำให้หนองฝีเสื่อมคุณภาพ รัชกาลที่ 5 จึงมีพระราชดำริให้คิดทำหนองฝีขึ้นใช้เอง กระทรวงธรรมการจึงส่งนายแพทย์ของไทยไปศึกษาดูงานที่ประเทศฟิลิปปินส์ ได้แก่ พระบำบัดสรรพโรค หรือนายแพทย์แฮนซ์ อดัมเซ็น (Hans Adamsen) และหลวงวิฆเนศน์ประสิทธิวิทย์ (อัทย์ หสิตะเวช) เมื่อทั้งสองท่านกลับมาเมืองไทยมีการทำพันธุ์หนองฝีครั้งแรกที่สำนักงานบริเวณสี่กั๊กพระยาศรี (สี่แยกพระยาศรี) ต่อมากระทรวงธรรมการเสนอให้รัฐบาลจัดตั้ง “กอเวอนเมนต์ซีร่ำแลโบแร็ตโตรี (Government Serum Laboratory)” สำหรับผลิตพันธุ์หนองฝีขึ้น ใช้ปลูกป้องกันไข้ทรพิษภายในประเทศ และได้ย้ายสถานผลิตพันธุ์หนองฝีไปตั้งที่ตำบลห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม ก่อนโอนกิจการทั้งหมดมาไว้ที่สภากาชาดไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จนถึงปัจจุบัน----------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวเกศศิณี ผิวอ่อน บรรณารักษ์ กลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ----------------------------------------------------------บรรณานุกรม จรรยา ยุทธพลนาวี. อ่านเรื่อง อ่านโรค ตอนที่ 2 ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมการจัดการโรคระบาดใน สังคม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564,จาก: https://www.sac.or.th/main/th/article/detail/127. 2563. บีช แบรดลีย์, แดน. ตำราปลูกฝีโค ให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอบีซีเอฟเอ็ม เพรส, 2387. “ประกาศกระทรวงมหาดไทย พแนกศุขาภิบาล” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 40 (16 กันยายน 2466) 1858. “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48 ง (29 กุมภาพันธ์ 2563) 1. รณดล นุ่มนนท์. วัคซีนเข็มแรก ช่วยมนุษย์ พ้นวิกฤตการณ์โรคระบาด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564,จาก: https://www.prachachat.net/columns/news-671766. 2564. วัคซีนเข็มแรกของโลก วัคซีนเข็มแรกของไทย เกิดขึ้นเมื่อใด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564,จาก: https://www.silpa-mag.com/history/article_60861. 2564. ศรัณย์ ทองปาน. สยามยามเผชิญโรคระบาด. สืบค้นจาก [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564,จาก: https://ngthai.com/history/31993/siampandemic/. 2563. หมอบรัดเลย์ และความสำเร็จของการปลูกฝี ไข้ทรพิษ ครั้งแรกในสยาม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564,จาก: https://www.sarakadeelite.com/faces/dr-dan-beach-bradley/. อภิสิทธิ์ เรือนมูล. คน วัว และวัคซีน: เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ บิดาแห่งวิทยาภูมิคุ้มกัน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564,จาก: https://waymagazine.org/humans-vacca-vaccines/. 2564.


ปฐมสมฺโพธิ (ปถมสมฺโพธิ)  ชบ.บ.89/1-9  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.231/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  28 หน้า ; 4.5 x 59.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 113 (180-193) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ขีรธารกถา(แทนน้ำนมแม่)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.362/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 140  (420-433) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : เจตนาเภท--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



Messenger