ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
โบราณสถานหอพระนารายณ์
ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช ตรงข้ามกับหอพระอิศวร เป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย บูชาพระนารายณ์เป็นใหญ่เหนือเทพองค์อื่น
หอพระนารายณ์สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ต่อมาได้มีการบูรณะหลายครั้ง ครั้งสำคัญบูรณะโดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช (พ.ศ. 2462 - 2475) ปัจจุบันหอพระนารายณ์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาทรงจั่ว โครงหลังคาไม้มุงกระเบื้องดินเผาไม่เคลือบ ด้านหน้าอาคารหันหน้าไปทางตะวันตก จากการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อพ.ศ. 2558 พบว่าหอพระนารายณ์หลังปัจจุบัน สร้างทับอาคารหลังเก่าที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งอาคารหลังปัจจุบันมีขนาดเล็กกว่าอาคารหลังเก่า
ภายในหอพระนารายณ์ เดิมเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์สี่กร ทำด้วยหินทราย อายุพุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑1 แสดงถึงอิทธิพลอารยธรรมอินเดียในพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันนำมาเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ส่วนเทวรูปพระนารายณ์ องค์ปัจจุบันที่ประดิษฐานอยู่ภายในหอพระนารายณ์นั้น กรมศิลปากรจำลองแบบตามภาพถ่ายเก่า ลักษณะเป็นเทวรูปในศิลปะอยุธยา
หอพระนารายณ์ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 หน้า 1530 วันที่ 27 กันยายน 2479 และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง หน้า ๓๖ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖ พื้นที่โบราณสถาน ๒ งาน ๓๖.๒๕ ตารางวา
Ho Phra Narai (Vishnu Shrine)
Ho Phra Narai or Vishnu Shrine is located on Ratchadamnoen Road, Nai Mueang Sub-district, Mueang Nakhon Si Thammarat District, Nakhon Si Thammarat Province, opposite Ho Phra Isuan (Shiva Shrine). It is Hinduism sanctuary, in Vaishnavism.
Ho Phra Narai was built in Ayutthaya period. Afterwards, it was restored several times, the important restoration took place during Phraya Ratsadanupradit (Sin Devastin na Ayudhaya) was the governor of Nakhon Si Thammarat Province (1919 - 1932). Ho Phra Narai is a rectangular building, made of bricks and lime, has a plain gable. The roof structure made of wood and covered with unglazed terracotta roof tiles. The building faces west. According to archaeological excavation in 2015, the evidence showed that the current building was built on top of the old building which had built since Ayutthaya period and it also showed that the current building is smaller than the old building. Inside the shrine, the Four-Armed Vishnu, made of sandstone, dating between the 4th - 5th century, showing the influence of Indian civilisation in Nakhon Si Thammarat, was enshrined. Currently, it is preserved and displayed at Nakhon Si Thammarat National Museum. The Vishnu Sculpture in Ho Phra Narai is a replica which was built based on old photographs by The Fine Arts Department. It has characteristics of Ayutthaya art.
The Fine Arts Department announced the registration of Ho Phra Narai as a national monument in the Royal Gazette, Volume 53, page 1530, dated 27th September 1936 and announced a national monument area in the Royal Gazette, Volume 140 Special Part 116 ,page 36, dated 19th May 2023.
***บรรณานุกรม***
อนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ นายนิ่ม ดรุณถนอมณ วัดนิมมานราษฎร์บำรุง (หนองปรือ) วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2524 แก้จน โตไทพรามณ์ประโยชน์ของต้นเสลดพังพอนประโยชน์ของต้นหนุมานประสานกายหรือสังกรณี ยาแผนโบราณบางขนาน
กรุงเทพฯ
หจก.การพิมพ์พระนคร >2524
วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๙ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนพรหมพิรามวิทยา อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก จำนวน ๒๓๗ คน เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง โดยมีนางพนาวัลย์ ไชยโย เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน นายชัยวัฒน์ ทองศักดิ์ เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงานและนายสิรวีย์ เอี่ยมสุดใจ นักวิชาการวัฒนธรรม ปฏิบัติหน้าที่วิทยากรนำชม
ภิรมย์รัก : Phirom Ruk (A Love Story)
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 30
เพลงพระราชนิพนธ์ชุด “Kinari” ทรงพระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช 2502 ประกอบการแสดงระบำบัลเล่ต์ชุด “มโนราห์” ทรงแยกและเรียบเรียงเสียงประสานด้วยพระองค์เองทั้งชุด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วงดนตรีสุนทราภรณ์บรรเลงประกอบการแสดงบัลเล่ต์ชุด “มโนราห์” ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงควบคุมการฝึกซ้อมด้วยพระองค์เอง เพลงพระราชนิพนธ์ชุดนี้ประกอบด้วย A Love Story เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 30 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริทรงนิพนธ์คำร้องภาษาอังกฤษ “A Love Story” และพลเรือตรีปรีชา ดิษยนันทน์ ประพันธ์คำร้องภาษาไทย “ภิรมย์รัก”
Nature Waltz เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 31
The Hunter เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 32
Kinari Waltz เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 33
เพลงพระราชนิพนธ์ชุด “Kinari” นี้ ยังได้มีการอัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ “Blue Day” เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 8 มาบรรเลงร่วมด้วย
Royal Composition Number 30
The royal musical composition “ Kinari “ suite, was composed in 1959, for the “Manohra” ballet performance. His Majesty arranged the entire music himself , and acquired the Suntaraporn Band to perform for the ballet “Manohra” at Ambara Dance Hall. His Majesty directed the reshearsals himself.this “Kinari” Suite comprises A Love Story the thirtieth royal musical composition which he tasked His Royal Highness Prince Chakrbhand Pensiri to compose the English lyrics, with Rear Admiral Preecha Disyanan in charge of thethai Lyrics
Nature Waltz Royal composition number 31
The Hunter Royal composition number 32
Kinari Waltz Royal composition number 33
Also in this “ Kinari” Suite, “ Blue Day” the royal composition number 8 was included.
ขอเชิญร่วมกิจกรรมบรรยายพิเศษ โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๓ "ศิลปะทวาราวดีเมืองอู่ทอง แรงบันดาลใจจากอินเดีย" โดยวิทยากรจากภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี ในวันเสาร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เวลา ๙.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ติดต่อและสำรองที่นั่ง โทร.๐ ๓๕๕๕ ๑๐๒๑ หรือ email: Uthongmuseum@hotmail.com
เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเข้าเยี่ยมสำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่
วันศุกร์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๒.๓๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ - ๓ โรงเรียนบ้านตอกตรา ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๓๔ คน คุณครูจำนวน ๓ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางศรีสุดดา ศรีสด พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
อัฐบริขาร และเครื่องใช้ในพระศาสนาจัดแสดงศิลปวัตถุสำคัญหลายประเภท ได้แก่ อัฐบริขาร ตาลปัตร พัดยศ พัดรอง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และเครื่องประกอบสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ
***บรรณานุกรม***
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตำนานพระพุทธเจดีย์ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระนิติธรรมประกรณ์ (นิติธรรม เนตราคม) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ที่ 6มีนาคม พุทธศักราช 2510
พระนคร
ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร
2510
เลขทะเบียน : นพ.บ.1/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่น ชื่อชุด : มัดที่ 1 (1-10) ผูก 2หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
***บรรณานุกรม***หนังสือหายากวิเลี่ยมสัน, จีเตอร์ แอล. คู่มือ การสืบสวนความผิดทางอาญา แปลโดย อินเตอร์แนชันแนล แทรนสเลชั่น เซอร์วิส. พระนคร : ร.พ. บริษัท คณะช่าง จำกัด, ๒๕๐๓.