ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ




          หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม” เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของแผ่นเสียง ให้ความรู้เกี่ยวกับแผ่นเสียงประเภทต่างๆ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การบันทึกเสียงของไทย เนื้อหานิทรรศการประกอบด้วย ๔ ส่วน ดังนี้           ส่วนที่ ๑ แรกมีแผ่นเสียงในสยาม กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของการกำเนิดแผ่นเสียง และการบันทึกเสียงยุคแรกในสยาม แผ่นเสียงครั่ง ตราแผ่นเสียงที่ผลิตขึ้นโดยคนไทยในยุคแรก “หม่อมส้มจีน” นักร้องสตรีไทยคนแรกที่บันทึกเสียงลงแผ่นเสียง และแผ่นเสียงปาเต๊ะเพลงไทย          ส่วนที่ ๒ จากแผ่นเสียงครั่งสู่แผ่นเสียงไวนิล กล่าวถึง พัฒนาการการบันทึกเสียงจากแผ่นเสียงครั่ง สู่แผ่นเสียงไวนิล และแผ่นเสียงไวนิลประเภทต่างๆ            ส่วนที่ ๓ แผ่นเสียงสำคัญในสยาม กล่าวถึง แผ่นเสียงเพลงสำคัญของชาติ แผ่นเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๙ แผ่นเสียงเพลงไทยของกรมศิลปากร แผ่นเสียงเพื่อการศึกษา และรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน           ส่วนที่ ๔ การกลับมาของแผ่นเสียง คุณค่าทางใจและความสุนทรีย์ที่จับต้องได้ กล่าวถึงการกลับมาได้รับความนิยมของแผ่นเสียงอีกครั้งในยุคปัจจุบัน           ภายในนิทรรศการจัดแสดงกระบอกเสียงและแผ่นเสียงหายาก เช่น กระบอกเสียงของเอดิสันแผ่นเสียงครั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ แผ่นเสียงครั่งร่องกลับทางของปาเต๊ะ ซึ่งเป็นแผ่นเสียงชนิดพิเศษและหายาก แผ่นเสียงไวนิลแบบต่างๆ ที่จัดทำขึ้นพิเศษ แผ่นเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ที่บันทึกครั้งแรก แผ่นเสียงเพลงชาติในยุคแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง และแผ่นเสียงเพลงไทยของกรมศิลปากร ฯลฯ นอกจากนี้ยังจัดแสดงปกแผ่นเสียงไวนิลสวยงามของศิลปินที่มีชื่อเสียง และเครื่องเล่นแผ่นเสียงในยุคต่างๆ ทั้งนี้ผู้เข้าชมนิทรรศการสามารถเพลิดเพลินกับเสียงเพลงจากแผ่นเสียงเก่า ถ่ายภาพกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงโบราณ และร่วมกิจกรรม Sleeveface จากปกแผ่นเสียง            ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการ “แผ่นเสียงในสยาม” ณ ห้องจัดแสดง ชั้น ๑ อาคารห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ เปิดให้ชมวันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.            นอกจากนิทรรศการแผ่นเสียงในสยาม หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านดนตรี เป็นศูนย์ข้อมูลวิชาการดนตรีสำหรับศึกษาค้นคว้า วิจัย รวบรวมและอนุรักษ์ต้นฉบับเพลงไทย และเพลงพระราชนิพนธ์ทุกรูปแบบ ทั้งสื่อโสตทัศนวัสดุ หนังสือ เอกสาร และโน้ตเพลง จัดแสดงเปียโนสองหน้าโบราณหลังเดียวของไทย และผลงานของครูเพลงที่สำคัญของไทย เช่น ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ และพระเจนดุริยางค์ เป็นต้น



       จัดทำโดยกรมศิลปากร         เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษา สร้างสรรค์ ส่งเสริม สืบทอด และพัฒนามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาประชาราษฎร บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุข


ชื่อเรื่อง                               เวสาทิอฏฐมงคล(คัมภีร์เวสาทิอัฏฐมวรรค) สพ.บ.                                 อย.บ.14/8ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวด                                           พระวินัย                                            คำสอน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           44/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              46 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (วันยุทธหัตถี) และวันกองทัพไทย 18 มกราคม” วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (วันยุทธหัตถี) และวันกองทัพไทย ตรงกับวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา จนได้รับชัยชนะ พระองค์เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ จึงถือว่าวันนี้เป็นวัน “กองทัพไทย” อีกด้วย สงครามยุทธหัตถีในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2135 ในครั้งนั้นพระเจ้านันทบุเรงได้ให้พระมหาอุปราชายกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทราบข่าวจึงยกทัพหลวงไปตั้งรับที่หนองสาหร่าย ซึ่งระหว่างที่การรบกำลังดำเนินอยู่นั้น ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรถ ก็ได้ไล่ล่าศัตรูไปจนออกนอกเขตแดน จนทำให้ทั้งสองพระองค์ตกไปอยู่ในวงล้อมของศัตรูโดยไม่รู้ตัว แต่ถึงแม้จะอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ พระองค์ก็มีพระสติ ไม่หวั่นไหว และทรงแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ว่าทางที่จะรอดได้มีเพียงทางเดียวเท่านั้น คือเชิญพระมหาอุปราชาเสด็จมาทำยุทธหัตถี ในท้ายที่สุดพระองค์ก็สามารถกระทำยุทธหัตถีได้รับชัยชนะอย่างสมพระเกียรติ และนับตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกเลย ทำให้ในสมัยนั้นไทยได้ขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวางกว่าสมัยใดๆ ซึ่งการทำยุทธหัตถีในครั้งนั้นถือว่าเป็นการทำยุทธหัตถีที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย และยังเป็นการรบบนบกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกด้วย เมื่อเสร็จสงครามยุทธหัตถีแล้ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โปรดให้สร้างสถูปเป็นอนุสรณ์ไว้ที่ทุ่งหนองสาหร่าย ตำบลตระพังตรุ ตรงกับที่ทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา เรียกกันว่า “เจดีย์ยุทธหัตถี” ในการนี้กองทัพไทยจึงถือเอาวันที่พระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เป็น "วันกองทัพไทย" เรียกกันอีกอย่างว่า "วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" หรือ "วันยุทธหัตถี" เป็นวันรัฐพิธี แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ ทั้งนี้ แต่เดิมมีการระบุว่า วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชานั้น ตรงกับวันที่ 25 มกราคม ต่อมามีการคำนวณวันใหม่ จึงกำหนดให้วันที่ 18 มกราคม ของทุกปี เป็น "วันยุทธหัตถี" และเป็นวันรัฐพิธีแทนวันที่ 25 มกราคม โดยให้มีการวางพานพุ่มสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการเช่นกัน การที่มีการเปลี่ยนแปลงวันทั้งสองนั้น เนื่องจากเป็นการนับวันทางสุริยคติ ซึ่งคนปัจจุบันจะสามารถจำได้ง่ายมากกว่า และมีความเหมาะสมกว่า อีกทั้ง นายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ก็ได้คำนวณแล้ว พบว่าการนับวันทางจันทรคติของวันกระทำยุทธหัตถีเดิมที่ตรงกับวันจันทร์ เดือน 2 แรม 2 ค่ำ จุลศักราช 954 ที่กำหนดเป็นวันที่ 25 มกราคม นั้น คลาดเคลื่อน จึงได้มีการเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง คือ เป็นวันที่ 18 มกราคม ดังกล่าว ดังนั้น วันที่ 18 มกราคม จึงถือเป็น "วันยุทธหัตถี" หรือ "วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" รัฐบาลได้ตระหนักถึงพระวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีต่อประเทศชาติ เพื่อเทิดทูนพระเกียรติยศให้ปรากฎ จึงได้ประกาศให้ถือวันที่ 25 มกราคมของทุกปีเป็นวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และวันกองทัพไทย ได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโดยครอบองค์สถูปมูลดินนั้นไว้ ที่สุพรรณบุรี เมื่อการก่อสร้างสำเร็จแล้ว คณะรัฐมนตรีโดยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานเป็นงานรัฐพิธี ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2502 ต่อมาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้วันที่ 25 เมษายนของทุกปี เป็น "วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” และเป็นวันรัฐพิธี แทนวันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 อันเป็นการนับทางจันทรคติ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ และได้กำหนดใหม่ ให้วันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็น "วันยุทธหัตถี” และเป็นวันรัฐพิธีแทนวันที่ 25 มกราคมของทุกปี อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 141/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 176/2เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพณิชยสารวิเทศ (ผาด มนธาตุผลิน) ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2514ชื่อผู้แต่ง : พระพณิชยสารวิเทศ ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ไทยการพิมพ์ จำนวนหน้า : 140 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณพระพณิชยสารวิเทศ ในโอกาสนี้เจ้าภาพขอกราบทูล ขอบพระทัย พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร ทรงประทานพระนิพนธ์ เรื่องเที่ยวอินเดีย หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิสกุล เรื่องพิธีของทุกคน และขอขอบคุณกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับหนังสือเรื่องคู่มือปฏิบัติพิธีต่างๆ ซึ่งจัดพิมพ์ครั้งแรกโดยสภาวัฒนธรรม


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           12/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              44 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.8 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา




เลขทะเบียน : นพ.บ.373/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 22 หน้า ; 4.5 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 141  (1-6) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อธิษฐานธรรม --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger