ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.506/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 170 (233-242) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง สํยุตฺตนิกายกถา (สํยุตฺตนิกาย)ลบ.บ. 35/8หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 60 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง พระไตรปิฎก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องรัก ไม้ประกับธรรมดา
แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา สกุลช่างฝาง ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒
วัสดุ (ชนิด) สำริด
ขนาด ฐานกว้าง ๔๖ เซนติเมตร สูง ๖๗.๕ เซนติเมตร
ประวัติความเป็นมา พระครูพิพัฒน์ สุตะกิจ วัดสันทรายมูล อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มอบให้
ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐานหน้ากระดานซ้อนด้านบนด้วยฐานบัวคว่ำ บัวหงาย มีเกสรบัวยาว ปลายเกสรบัวทำเป็นต่อมกลม ระหว่างบัวคว่ำกับบัวหงายทำคอดเข้าไปมากและไม่มีท้องไม้คั่น ส่วนบัวคว่ำทำส่วนปลายกลีบบัวงอนขึ้นคล้ายกับฐานบัวงอนในศิลปะล้านช้าง พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัยโดยวางพระหัตถ์ขวาที่กึ่งกลางพระชานุ ครองจีวรเรียบ มีขอบจีวรคาดที่ใต้พระชานุซ้าย ส่วนขอบสบงปรากฏที่ข้อพระบาท พาดสังฆาฏิแผ่นใหญ่ ชายสังฆาฏิยาวลงมาจนถึงพระนาภี พระวรกายเพรียวบาง พระศอเป็นปล้อง ส่วนพระพักตร์ทรงผลมะตูม พระหนุเป็นต่อมกลมนูน
สัดส่วนพระพักตร์เมื่อเทียบกับองค์ประกอบของพระพักตร์ เช่น พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ สัดส่วนพระพักตร์จะเล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด มีไรพระศก ขมวดพระเกศาขนาดเล็กเรียวแหลม อุษณีษะนูนสูงรับกับพระรัศมีทรงเปลว หรือบางครั้งพบว่ามีการทำพระรัศมีเป็นรูปหยดน้ำ ลักษณะของพระพุทธรูปสกุลช่างฝาง อาจจะให้อิทธิพลแก่ศิลปะล้านช้าง
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ผู้เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เพราะทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาล่วงหน้าก่อน 2 ปี ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ได้อย่างแม่นยำ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมากที่การคำนวณการเกิดสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์ แล้วว่าถูกต้องที่สุดยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้ ผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระองค์เปรียบเสมือนเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ได้มีการจัดงาน “หว้ากอรำลึก” เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เพื่อรำลึกถึงพระองค์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นความสำคัญ จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 กำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปีเป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และได้จัดงาน วันวิทยาศาตร์แห่งชาติเป็นครั้งแรกในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2525
ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญ
ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม
การก่อตั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2524 คณะสำรวจจากสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ ด้วยความร่วมมือกับกรมศิลปากร กรมแผนที่ทหาร และคณะกรรมการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้สำรวจบริเวณในการสร้างอนุสรณ์สถาน ทีบ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์
สำหรับอนุสรณ์สถาน ที่บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นั้น ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหา ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียว กับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึง "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ"
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากรดำเนินโครงการส่งเสริม Soft Power ด้านการท่องเที่ยว ในมิติทางวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวโบราณสถาน ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดกิจกรรม “ศิลปากรสัญจร” ครั้งที่ 1 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้รับการตอบรับที่ดี จึงจัดกิจกรรมศิลปากรสัญจร ต่อเนื่อง ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ” เชิญชวนผู้สนใจร่วมทัวร์ไปกับกรมศิลปากรในราคาย่อมเยา โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำเข้าสมทบกองทุนโบราณคดีเพื่อบูรณะโบราณสถานและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ
ศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ” กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2567 เยือนแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๒ แห่ง ได้แก่ เมืองโบราณพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เริ่มต้นด้วยการสักการะพระพุทธสิหิงค์ และชมห้องจัดแสดงนิทรรศการศิลปะทวารวดีและศิลปะอยุธยา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จากนั้นเดินทางไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชมนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ชมวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และแต่งชุดไทยชมวัดไชยวัฒนารามยามเย็น พร้อมชมการแสดงโขนสุดวิจิตรครั้งประวัติศาสตร์ โขนประกอบแสงสี เรื่องรามเกียรติ์ ชุด สัจจะพาลี โดยศิลปินจากสำนักการสังคีต รุ่งเช้าร่วมกิจกรรมตักบาตร ณ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร และออกเดินทางไปจังหวัดเพชรบูรณ์ ชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ มรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย โดยมีวิทยากรมากประสบการณ์ รวมทั้งนักโบราณคดีที่ได้ทำงานในแต่ละพื้นที่เป็นมัคคุเทศก์ร่วมให้ความรู้และความเป็นมาของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ในราคา 5,800 บาท (รวมค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเข้าชม ชุดตักบาตรพระสงฆ์ และค่าบริการชุดไทย) รับจำนวนจำกัด 80 คนเท่านั้น
ผู้สนใจจองเข้าร่วมกิจกรรมศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ” และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุภาภรณ์ ปัญญารัมย์ โทร 0 2164 2501 - 2 ต่อ 6008 และ 6010 หรือ โทร. 09 2634 8583
พระพุทธสิหิงค์
ห้องจัดแสดงนิทรรศการศิลปะทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ห้องจัดแสดงนิทรรศการศิลปะอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
นิทรรศการเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
วัดมหาธาตุ
วัดราชบูรณะ
วัดไชยวัฒนารามยามเย็น
การแสดงโขนประกอบแสงสี เรื่องรามเกียรติ์ ชุด สัจจะพาลี
วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร
โบราณสถานเขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงโครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๗ “เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต” วันอาทิตย์ที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบกับรายการแสดงเนื่องในวันปิดโครงการ ฯ ดังต่อไปนี้
๑. การบรรเลงดนตรีไทย
๒. การแสดงตำนานเทวะนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง “อัปสราวตาร”
๓. ระบำศรีเทพ
๔. รำฉุยฉายสองนางเชลย
๕. การแสดงสี่ภาค
นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต / กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ / อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต
บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑
สายลมเย็นเดือนพฤศจิกายน หลังออกพรรษาแอดมินมีโอกาสเดินทางไปวัดหลายพื้นที่และเริ่มสังเกตเห็นการประดับตกแต่งโคมและเครื่องแขวนต่างๆ ทำให้นึกถึงประเพณี “เทศน์มหาชาติ” ซึ่งนิยมจัดในเดือนสิบสอง ตรงกับประเพณี “ตั้งธัมม์หลวง”ของภาคเหนือ นับเป็นพิธีใหญ่คู่กับประเพณีทานสลากภัตต์ และประเพณี “บุญผะเหวด” ตามฮีตสิบสองทางภาคอีสาน
คำว่า “มหาชาติ” หมายถึง พระเวสสันดรชาดก มีความสำคัญด้วยบารมีของพระโพธิสัตว์ครบบริบูรณ์ ๑๐ ประการ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชพิธีเทศน์มหาชาติถือเป็นการบำเพ็ญกุศลครั้งใหญ่ภายในพระบรมมหาราชวัง มีการประดับตกแต่งพรรณไม้ล้อมรอบธรรมมาสน์ และจัดเครื่องบูชาถวายกัณฑ์เทศน์อย่างเอิกเกริก
สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศนา โปรดฯ ให้นิมนต์พระพิมลธรรม พระธรรมอุดม พระพุทธโฆษาจารย์ มาถวายพระธรรมเทศนาคาถาพัน โดยพระองค์ได้ถวายไตรจีวรและบริขาร พร้อมด้วยเครื่องกัณฑ์เทศน์บรรทุกเรือพระที่นั่งบรรลังก์ประดับโคมแขวนและปักธงมังกรจอดเทียบไว้หน้าพระตำหนักแพ ครั้งจบกัณฑ์ก็มีเรือคู่ชักและเรือพายข้าราชการมาส่งพระภิกษุสงฆ์ถึงพระอาราม
ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า มีเครื่องบูชาถวายกัณฑ์มหาชาติครั้งนี้ ถึง ๑๓ กระจาด ตั้งหน้ากำแพงพระมหาปราสาทมาจนถึงหน้าโรงทองและหอนาฬิกา สำหรับประกวดประชันกัน โดยคุณแว่น (คุณเสือ) พระสนมเอกได้ใส่ทาสเด็กศีรษะจุกแต่งตัวหมดจดถวายพระสงฆ์ไปเป็นสิทธิ์ขาดด้วย
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน กล่าวถึง พระราชพิธีเดือนอ้าย : พระราชกุศลเทศนามหาชาติ มีการตกแต่งเครื่องบูชาเทศนาภายในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ความว่า
“...หลังพระที่นั่งเศวตฉัตรผูกกิ่งไม้ มีดอกไม้ร้อยห้อยย้อยเป็นพวงพู่ผูกตามกิ่งไม้ทั่วไป ...ตั้งหมากพนมพานทองมหากฐินสองพาน หมากพนมใหญ่พานแว่นฟ้าสองพาน แล้วพานนี้เปลี่ยนเป็นโคมเวียน มีต้นไม้เงินทองตั้งรายสองแถว กระถางต้นไม้ดัดลายคราม โคมพโอมแก้วรายตลอดทั้งสองข้าง หน้าแถวมีกรงนกคิรีบูน ซึ่งติดกับหม้อแก้วเลี้ยงปลาทองตั้งปิดช่องกลาง ปลายแถวตั้งขันเทียนคาถาพัน ตามตะเกียงกิ่งที่เสาแขวนฉากเทศน์ทั้ง ๑๓ กัณฑ์...”
แสดงให้เห็นเครื่องบูชากัณฑ์เรียงรายจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ "โคมเวียน" เป็นโคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนา เมื่อจุดไฟแล้วที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่างๆ
การเทศน์มหาชาติในช่วงต้นรัตนโกสินทร์นั้น จัดบนพระที่นั่งเศวตฉัตร ภายในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยแก่งเดียว เว้นแต่คราวมีพระบรมศพอยู่บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จึงได้ย้ายไปเทศนาบนพระแท่นมุก ภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแทน
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยจัด ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม แต่การเทศนาฟังไม่ได้ยิน จึงได้ย้ายเข้าไปมีที่พระที่นั่งทรงธรรม โดยมีเฉพาะเจ้านาย เจ้าพนักงานกรมพระตำรวจ และมหาดเล็กเท่านั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงได้ย้ายกลับมาเทศน์ที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยไปตามเดิม เนื่องจากอยู่ใกล้กับที่ประทับ
ทั้งนี้ยังปรากฏธรรมเนียมให้พระราชโอรสฝึกหัดกัณฑ์เทศน์ถวายด้วย ครั้งพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ ๕) เป็นสามเณรและได้ถวายเทศน์นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้จัดเครื่องบูชากัณฑ์สำหรับเฉพาะพระองค์ อันเป็นกระจาดใหญ่รูปเรือสำเภาบริเวณหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าไว้ว่า “...พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ คราวผนวชเป็นสามเณรได้ถวายกัณฑ์เทศน์แทบทุกองค์ โปรดให้พระราชครูพิราม (ชู) อยู่ในกรมราชบัณฑิตเป็นผู้ฝึกหัด”
จากพระราชพิธีพระราชกุศลเทศนามหาชาติภายในพระบรมมหาราชวัง นับเป็นพระราชพิธีบำเพ็ญราชกุศล ซึ่งทำให้เห็นความเลื่อมใสศรัทธาและสถานะองค์ศาสนูปถัมภก ตามเจตนาน้อมในพระบรมพุทธาภิเษกสมบัติ อันได้นำพาสรรพสัตว์เข้าสู่นิพพานอย่างสมบูรณ์
ภาพประกอบ : โคมเวียน สมัยรัชกาลที่ ๒ (พุทธศตวรรษที่ ๒๔) ภายในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ประกอบด้วย ตัวโคมและที่ครอบ ทำรูปร่างคล้ายมณฑปทรงแปดเหลี่ยม มีสามชั้น แต่ละชั้นทำมุขโถงยื่นออกมา ๔ ทิศ มีพนักระเบียง ผนังลงรักปิดทองประดับกระจกสี และเจาะเป็นช่องหน้าต่างลายอย่างเทศ เพื่อให้มองเห็นจิตรกรรมเวสสันดรชาดก มีหลังคาทรงกระโจมยอดดอกบัวตูม เมื่อจุดไฟแล้วครอบนั้นหมุนได้ สำหรับใช้ประกอบสถานที่ในพิธีเทศน์มหาชาติ
อ้างอิง
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ" พระราชพิธีสิบสองเดือน". กรุงเทพฯ: บรรณาการ, ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์.
ธนิต อยู่โพธิ์. ตำนานเทศน์มหาชาติ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๔.
จารุณี อินเฉิดฉาย และคณะ. คุณธรรม จริยธรรม ตามรอยพระโพธิสัตว์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ๒๕๕๑
เทศม์หาชาติ อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางมรรคาคำณวน ( ละมูล ปิ่นแสง ). กรุงเทพฯ : วรวุฒิการพิมพ์. ๒๕๑๖.
ประสงค์ รายณสุข และสมิทธิพล เนตรนิมิตร .ประเพณีการเทศน์มหาชาติ ใน วารสารมจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์. ๒,๒(กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๕๒)
วันอังคารที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ และร่วมชมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวรายงาน ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และประชาชนเข้าร่วมงาน
รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐา ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีคุณูปการอย่างอเนกอนันต์ และทรงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทยเป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ปลุกจิตสำนึกให้หวงแหนรักษาและภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ
พุทธศักราช ๒๕๖๗ กรมศิลปากรได้จัดงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย ระหว่างวันที่ ๒ – ๘ เมษายน ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย
- การเสวนาทางวิชาการ “สุดยอดการค้นพบใหม่” ในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร ระหว่างวันที่ ๓ – ๘ เมษายน ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ โดยจัดการเสวนาวันละ ๓ หัวข้อ รวม ๑๘ เรื่อง อาทิ ๑๐ สุดยอดโบราณวัตถุหายากที่สูญหายไปจากความทรงจำ, ผ่าโลกใต้พิภพเกาะกรุงรัตนโกสินทร์, ทศวรรษแห่งการค้นพบเรือโบราณพนมสุรินทร์ : เรือโบราณที่เก่าที่สุดในประเทศไทย, ข้อมูลใหม่จากวรรณกรรมอำพราง, การค้นพบหลักฐานใหม่สมัยทวารวดีในรอบทศวรรษ, ข้อมูลใหม่ด้านโบราณคดีของเมืองโบราณยะรัง เมืองโบราณสำคัญที่ปลายด้ามขวาน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการเสวนาล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร หรือรับชมผ่านทาง facebook live: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
- การแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ระหว่างวันที่ ๒ – ๗ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. ณ เวทีกลางแจ้ง โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร มีการแสดงที่น่าสนใจ เช่น การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ การแสดงละครนอก เรื่องแก้วหน้าม้า การแสดงละครตำนานพื้นบ้าน เรื่อง สงกรานต์ ละครเรื่อง อานุภาพพ่อขุน
รามคำแหง
- การแสดงคอนเสิร์ต “เพชรในเพลง” ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ – ๑๙.๓๐ น. ณ เวทีกลางแจ้ง พบกับศิลปินที่ได้รับรางวัลเพชรในเพลง อาทิ รวงทอง ทองลั่นธม หนู มิเตอร์ เปาวลี พรพิมล ธนพร แวกประยูร นัน อนันต์ อาศัยไพรพนา บรรเลงโดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง: เที่ยวตามทางรถไฟ
ผู้แต่ง: สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๙๗
สถานที่พิมพ์: พระนคร
สำนักพิมพ์: โรงพิมพ์ไทยเขษม
จำนวนหน้า: ๑๔๘
เนื้อหา: “เที่ยวตามทางรถไฟ” แต่งโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นหนังสือที่ถูกจัดทำในงานพระราชทานเพลิงศพ นาย สำรวจ พันธุ์พิริยะ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อเป็นวิทยาทาน ของ นาย สำรวจ พันธุ์พิริยะ ผู้ล่วงลับไป หนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับตำนานของเมืองต่างๆ เช่น บางปะอิน, พระนครศรีอยุธยา, พระพุทธบาท, เมืองลพบุรี, เมืองนครสวรรค์, เมืองพิจิตร, เมืองพิษณุโลก, เมืองอุตรดิตถ์, เมืองสระบุรี และเมืองนครราชสีมา
เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑/๖๗
เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๗_๐๐๐๓
หมายเหตุ: หนังสืออิเล็กทรอนิค(E-book)ของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
จัดทำโดย: นาย ธนกฤต แสงวิจิตร นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กรมศิลปากร โดยกลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ขอเชิญท่านผู้สนใจและน้องๆ เยาวชน ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมกิจกรรม "WALK RALLY ร่วมสนุกตามหาเอกสารล้ำค่าจารึกสยาม" กิจกรรมประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ "เอกสารล้ำค่า จารึกสยาม (Priceless Document of Siam)" ในวันอาทิตย์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ และพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สามารถสมัครร่วมกิจกรรมโดยแสกนคิวอาร์โค้ด หรือกดลิ้งนี้ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdNNbY2OPVZ7HIiWdRBz8jsxy-2SXAN2Q-2v-HU5gHn3tSbWg/viewform รีบสมัครด่วน!!! รับจำนวนจำกัด
คณะกองทุนหมู่บ้านพัฒนานิคม จ.ลพบุรี (เวลา 14.00 น.) จำนวน 28 คนวันเสาร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๐๐ น. คณะกองทุนหมู่บ้านพัฒนานิคม จ.ลพบุรี จำนวน ๒๘ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้