ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
แนวทางการใช้เทคโนโลยี่ในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยคุณชัยรัตน์ บรรเทาทุกข์ สถาบันไทย เยอรมัน โดยเป็นการบรรยายในหัวข้อ ที่มาของแนวคิด ผลกระทบที่เกิดขึ้น การประเมินสถานะปัจจุบัน แนวทางในการพัฒนาปรับปรุง องค์กร และการออกแบบการพัฒนาองค์กร
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์โท ขุนเจริญประศาสน์ (สาย วงศ์สายัณห์) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร ๒๑ ธันวาคม ๒๕๐๗
กิจการอุตสาหกรรมหล่อปืนในสวีเดนที่มีชื่อมากตั้งอยู่ที่เมือง Finspang มณฑล Ostergotland ลงทุนโดยนักค้าแร่ชาวฮอลันดาชื่อนายหลุยส์ เดอ เกียร์ ที่มองเห็นผลกำไรจากการค้าปืนใหญ่กับบริษัท V.O.C. ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ โรงหล่อปืนแห่งเมืองนี้ดำเนินงานโดยชาวสวีเดนชื่อนายวัลลูน และนายวิลเลียม เดอ เบซ ปืนใหญ่ที่หล่อขึ้นที่ Finspang ถูกนำเข้าประเทศฮอลันดาโดยนายหน้าค้าอาวุธสองคนที่เมือง Amsterdam ชื่อนายอีลาส ทริป ซึ่งเป็นพี่เขยของนายหลุยส์ เดอ เกียร์ และนายควินจัน ไบรอัน โดยขายให้กับหอการค้าของบริษัท V.O.C. (Vereenigde Oostindische Compagnie) เมือง Amsterdam ทั้งนี้ปืนเหล็กที่ส่งมาจำหน่ายที่บริษัท V.O.C. มักพบจารึกรูปตัว F ที่เพลาปืนด้านซ้ายและขวา และเมื่อบริษัท V.O.C. เมือง Amsterdam ได้รับปืนแล้วจะมีการทดสอบการยิง เมื่อปืนกระบอกใดผ่านการยิงทดสอบจะมีการจารึกสัญลักษณ์รูปประภาคารหรือที่เรียกว่า Amsterdam light house เพื่อเป็นการรับรองในการผ่านการทดสอบการยิงของปืนแต่ละกระบอก (proof firing) ส่วนน้ำหนักของปืน มักพบจารึกอยู่บนแหวนเสริมความแข็งแรงของปืนท้ายกระบอกในรูปของตัวเลขอารบิคและตัวอักษร A เช่น 2306A หมายถึงปืนกระบอกนี้หนัก 2610 Amsterdam Pound (1 Amsterdam Pound เท่ากับ 0.49409 กิโลกรัม) ปืนกระบอกนี้จึงหนักราว 1,139.371 กิโลกรัม ปืนใหญ่พบที่เมืองพัทลุงที่เขาชัยบุรี สันนิษฐานว่าทางราชการน่าจะเป็นผู้จัดหามาประจำการที่เมืองแห่งนี้ตั้งแต่สมัยอยุธยาและเรียกชื่อปืนเหล่านี้ว่า ปืนบะเรียม ปืนมะเรียม ปืนเปรียม ปืนเบรียม หรือ ปืนบ้าเหลี่ยม ซึ่งมีความหมายอย่างกว้างสำหรับเรียกปืนใหญ่ที่หล่อด้วยเหล็กหรือสำริด ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศตามแถบยุโรป เมื่อเมืองพัทลุงที่เขาชัยบุรีร้างไปในช่วงหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ปืนเหล่านี้ก็ถูกทิ้งไว้จนกระทั่งพ.ศ.๒๔๐๓ พระยาพัทลุง (ทับ ณ พัทลุง) มีบัญชาให้รื้ออิฐกำแพงเมืองชัยบุรี และย้ายปืนประจำเมืองมาไว้ที่เมืองพัทลุง ครั้นถึงพ.ศ.๒๔๗๗ นายถัด พรหมมานพ ครูใหญ่โรงเรียนพัทลุงในขณะนั้น ให้นักเรียนลูกเสือลากปืนใหญ่ทั้งสองกระบอกนี้มาไว้ที่โรงเรียนพัทลุง และคงตั้งอยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้มาจนถึงปัจจุบันปืนใหญ่กระบอกที่ ๑ ขนาด ยาว ๒๕๘ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางปากกระบอกปืน ๒๓ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางปากกระบอกปืน(ด้านใน) ๑๑.๕ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง(แหวนเสริมความแข็งแรงวงที่๑) ๒๕ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง(แหวนเสริมความแข็งแรงวงที่๒) ๓๑ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง(แหวนเสริมความแข็งแรงวงที่๓) ๓๕ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง(แหวนเสริมความแข็งแรงวงที่๔) ๔๐ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง(แหวนเสริมความแข็งแรงวงที่๕ : ท้ายปืน) ๔๓ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางเพลาปืน ๙ เซนติเมตร ความยาวเพลาปืน ๙ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางรูชนวน ๑.๕ เซนติเมตร ตราประทับ Amsterdam light house น้ำหนักปืน 2322 Amsterdam Pound ที่เก็บรักษา หน้าเสาธงโรงเรียนพัทลุง (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุงปืนใหญ่กระบอกที่ ๒ ขนาด ยาว ๒๕๘ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางปากกระบอกปืน ๒๓ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางปากกระบอกปืน(ด้านใน) ๑๑.๕ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง(แหวนเสริมความแข็งแรงวงที่๑) ๒๕ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง(แหวนเสริมความแข็งแรงวงที่๒) ๓๑ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง(แหวนเสริมความแข็งแรงวงที่๓) ๓๕ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง(แหวนเสริมความแข็งแรงวงที่๔) ๔๐ เซนติเมตรเส้นผ่านศูนย์กลาง(แหวนเสริมความแข็งแรงวงที่๕ : ท้ายปืน) ๔๓ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางเพลาปืน ๙ เซนติเมตร ความยาวเพลาปืน ๙ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางรูชนวน ๑.๕ เซนติเมตร ตราประทับ Amsterdam light house น้ำหนักปืน 2306 Amsterdam Pound ที่เก็บรักษา หน้าเสาธงโรงเรียนพัทลุง (ฝั่งตะวันออก) อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง------------------------------------------------------------------------------------- เรียบเรียงโดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ l กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา -------------------------------------------------------------------------------------ขอบคุณข้อมูลจาก ๑.ศิริรัจน์ วังศพ่าห์, ปืนใหญ่โบราณในประวัติศาสตร์ไทย, กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, ๒๕๕๐
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด เรื่อง ข้าวของเครื่องใช้ชาวจีนที่อพยพเข้ามาในจังหวัดร้อยเอ็ด (ฮวยน้า ฉีน้า เสี่ยหนา)
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-ฉกษัตริย์)
สพ.บ. 417/10ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 5.2 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ลองชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.230/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4 x 54 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 112 (170-179) ผูก 8 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(ธรรมบท) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.362/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5 x 55.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 140 (420-433) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : เจตนาเภท--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
- เทพาคือ ชื่อเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองจะนะ ในเอกสารต่างๆบันทึกชื่อเมืองแห่งนี้ไว้หลายรูปแบบเช่น เมืองเทพา เมืองเทภา เป็นต้น ส่วนในภาษาต่างประเทศได้แก่ Tepa Thepha เป็นต้น และในภาษามลายูท้องถิ่นออกเสียงชื่อเมืองนี้ว่า ตีบอ แต่สำหรับความหมายของคำว่าเทพานั้น รองศาสตราจารย์ประพนธ์ เรืองณรงค์ เห็นว่าเป็นคำมลายูคือ Tipar หมายถึง ไร่ข้าว ทั้งนี้อาณาเขตของเมืองเทพาในอดีตนั้นครอบคลุมพื้นที่ซึ่งเป็นอำเภอเทพาและอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน
- เทพายุคก่อนประวัติศาสตร์
พื้นที่ด้านตะวันตกและด้านใต้ของเมืองเทพา ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย พบร่องรอยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้แก่
เพิงผาทวดตาทวดยาย ในเขาถ้ำตลอด ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย พบโครงกระดูกมนุษย์ผู้ใหญ่ ๑ โครง สภาพไม่สมบูรณ์ มีอุทิศที่ฝังร่วมกับศพได้แก่ ลูกปัดเปลือกหอยและลูกปัดแก้ว เปลือกหอยแครงเจาะรู ๑ ชิ้น ชิ้นส่วนเครื่องมือเหล็กและชิ้นส่วนโลหะสำริด(ต่างหู?) จากการเก็บตัวอย่างถ่านจากชั้นดินต่างๆ เพื่อกำหนดอายุด้วยวิธีคาร์บอน-๑๔ พบว่า ปรากฏช่วงการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมอย่างหนาแน่นเมื่อราว ๑๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ถ้ำเพิงในเขาคลองโกน ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย พบโครงกระดูกมนุษย์เพศชาย อายุเมื่อเสียชีวิตประมาณ ๓๐ ปี จำนวน ๑ โครง เครื่องมือหิน เศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบสีเทาดำ ส้ม นวล และน้ำตาล ตกแต่งด้วยการขัดมัน กดประทับ และรวมควัน ลูกปัดแก้ว กระดูกสัตว์ และเปลือกหอยน้ำจืด จากการเก็บตัวอย่างถ่านจากชั้นดินต่างๆไปกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ ปรากฏว่าการกำหนดอายุด้วยวิธีคาร์บอน๑๔ มีค่าอายุราว ๙,๖๐๐ ปีมาแล้ว
- เทพาสมัยต้นยุคประวัติศาสตร์
ในช่วงเวลาหลังจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ นั้น ร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีของเมืองเทพาในช่วงต้นยุคประวัติศาสตร์ได้ขาดหายไป
- เทพาสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐–๒๔)
ปรากฏเรื่องราวของเมืองเทพา ในตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งระบุว่าพระพนมวังและนางเสดียงทองได้แต่งตั้งเจระวังสาเป็นราชาระวังเจลาบู ให้ครองเมืองจะนะเทพา แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าตั้งเมืองอยู่ ณ สถานที่แห่งใด จนกระทั่งสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานปรากฏในพงศาวดารเมืองพัทลุงว่าเมืองเทพา มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง
- เทพาสมัยธนบุรี (ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔)
ปรากฏชื่อเมืองเทพาในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม) ในเหตุการณ์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองนครศรีธรรมราชแตกในพ.ศ.๒๓๑๒ ว่า “...ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีแม่ทัพเรือ เจ้าพระยาพิชัยราชาแม่ทัพบก ยกทัพติดตามเจ้าเมืองนครไปเถิงเมืองเทพา จับจีนจับแขกมาไถ่ถามได้เนื้อความว่าเจ้าเมืองนครหนีไปเมืองตานี...” และปรากฏเรื่องราวเหตุการณ์เดียวกันนี้ในพงษาวดารเมืองสงขลา ฉบับเจ้าพระยาวิเชียรคิรี บุญสังข์ด้วย
- เทพาสมัยรัตนโกสินทร์
เทพาในฐานะเมืองขึ้นของสงขลา (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๓๙) ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ เมืองเทพามีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองสงขลาภายใต้สังกัดของกรมพระกลาโหม โดยไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มของเมืองมลายูประเทศราช เจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเหมือนกับเมืองจะนะ
เทพาภายใต้มณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ.๒๔๓๙-๒๔๗๕) ในพ.ศ.๒๔๓๙ มีการจัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช เมืองเทพาจึงเปลี่ยนฐานะจากเมืองขึ้นของเมืองสงขลามาเป็นอำเภอในสังกัดเมืองสงขลา โดยรวมที่จะแหนซึ่งเคยขึ้นกับเมืองสงขลามาสมทบเรียกว่า “อำเภอเมืองเทภา” โดยแต่งตั้งหลวงต่างใจเป็นนายอำเภอ ส่วนพระดำรงเทวฤทธิ์(เรือง) ผู้ว่าราชการเมืองท่านเดิมให้เลื่อนขึ้นเป็นเหมือนจางวางคือที่ปรึกษา
- เทพาที่บ้านพระสามองค์
สำหรับที่ตั้งเมืองเทพาในช่วงต้นกรุงนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงปรากฏหลักฐานว่าบ้านเจ้าเมืองเทพาในพ.ศ.๒๔๓๒ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเทพาตรงกันกับเกาะใหญ่กลางน้ำ (บริเวณบ้านพระสามองค์)
- บ้านเจ้าเมืองเทพา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรเมืองเทพาที่บ้านพระสามองค์ในพ.ศ.๒๔๓๒ ทรงบันทึกเรื่องราวของบ้านเจ้าเมืองเทพาไว้ตอนหนึ่งว่า “...ดูนกเข้าไซแล้วจึงได้ข้ามฟากไปที่พลับพลาหน้าหมู่บ้านที่เป็นเมืองเทพานั้น มีเรือนเจ้าเมืองและราษฎรประมาณสัก ๓๐ หลัง ปลายแหลมวัดที่เกาะสีชังอยู่ข้างแน่นหนากว่ามาก...”
บ้านเจ้าเมืองเทพาบ้านพระสามองค์ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการรื้อถอนไปเมื่อใด แต่ในท้องถิ่นยังคงเหลือหลักฐานคือต้นประดู่ใหญ่สองต้น ซึ่งกล่าวกันว่าเดิมมีศาลาตั้งอยู่หนังหนึ่ง ผู้ใดจะเข้าพบเจ้าเมืองเทพาจะต้องพักคอยในบริเวณนี้ก่อน โดยต้นประดู่ทั้งสองนี้อยู่ห่างจากวัดพระสามองค์ไปทางทิศใต้ประมาณ ๙๐๐ เมตร
- วัดเทพาไพโรจน์
เล่ากันว่าในอดีตนั้นมีพระภิกษุชื่อนวล ธุดงค์มาถึงสถานที่แห่งนี้เมื่อพระนวลฉัน “จังหัน” คือภัตตาหารเช้าซึ่งผู้คนนำมาถวายจำนวนมากแล้ว ปรากฏว่ามีข้าวเหลืออยู่ ท่านจึงเอาข้าวที่เหลือนั้นปั้นเป็นพระพุทธรูปแล้วห่อด้วยดินเหนียวขึ้นได้ชื่อว่า ”พระจังหัน” ต่อมาเมื่อสำเร็จเป็นพระพุทธรูปแล้วก็เก็บดอกไม้มาบูชา และได้นำดอกไม้บูชาที่แห้งเหี่ยวนั้นนำมาปั้นเป็นพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งได้ชื่อว่า "พระเกสร” และในช่วงนั้นธูปเทียนหายากจึงเอาแก่นจันทน์ซึ่งเป็นไม้หอมมาจุดเป็นธูปบูชา และได้เก็บเอาเศษไม้หรือขี้เถ้าจากไม้แก่นจันทร์มาปั้นเป็นพระพุทธรูปอีกองค์ได้ชื่อว่า "พระแก่นจันทน์” รวมเป็นสามองค์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทรงบันทึกเรื่องราวของวัดเทพาไพโรจน์ในพ.ศ.๒๔๓๒ไว้ตอนหนึ่งว่า “...มีวัดอยู่วัดหนึ่งเป็นของเก่า แต่พระเทพาเรืองคนนี้มาปฏิสังขรณ์ขอที่วิสุงคามสิมา ได้ให้ใบอนุญาตและเติมท้ายชื่อเดิมซึ่งชื่อว่าวัดเทพา ให้มีเรืองอีกคำหนึ่งชื่อวัดเทพาไพโรจน์ ได้ออกเงินช่วยในการวัดสองชั่ง...”
- เทพาที่บ้านพระพุทธ
พ.ศ.๒๔๔๓ ได้ย้ายเมืองเทพามาตั้งที่บ้านพระพุทธ โดยยังปรากฏหลักฐานคือตีนเสาก่อด้วยปูนของที่ว่าการอำเภอเก่า เรียกชื่อในท้องถิ่นว่า “เสาหลักอำเภอเทพา” ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนบ้านพระพุทธ กล่าวกันว่าเมื่อมีการย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านท่าพรุแล้ว อาคารที่ว่าการได้ปรับเปลี่ยนเป็นอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านพระพุทธ (ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว)
- เทพาที่บ้านท่าพรุ
พ.ศ.๒๔๗๕ ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านท่าพรุใกล้สถานีรถไฟท่าม่วง และต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟท่าม่วงเป็นสถานีรถไฟเทพาตามชื่ออำเภอ
- ผู้ว่าราชการเมืองเทพา
สำหรับรายชื่อผู้ว่าราชการเมืองเทพาเท่าที่ปรากฏพบว่าในพ.ศ.๒๔๐๑ (สมัยรัชกาลที่ ๔) นายกล่อมเป็นผู้ว่าราชการเมืองเทพา และในพ.ศ.๒๔๒๘ (สมัยรัชกาลที่ ๕) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ “...ให้นายเรืองมหาดเล็กเวรศักดิ เปนพระดำรงเทวฤทธิ ผู้ว่าราชการเมืองเทพา ขึ้นเมืองสงขลา ถือศักดินา ๑๖๐๐ ตั้งแต่ ณ วันอังคาร เดือนสิบสอง ขึ้นสิบเอจค่ำ ปีรกาสัปตศก ศักราช ๑๒๔๗... และนับเป็นผู้ว่าราชการเมืองเทพาในระบบเจ้าเมืองคนสุดท้ายด้วย
--------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูลโดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา