ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.50/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.6 x 53.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 31 (326-330) ผูก 2หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
กาน้ำชาลายน้ำทอง วัสดุ กระเบื้อง ศิลปะจีน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ที่มา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระราชทานแก่วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร จังหวัดสงขลา ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส กาน้ำชาเคลือบขนาดใหญ่ หูหิ้วทำจากทองเหลือง กาน้ำทำจากกระเบื้อง เขียนลายน้ำทอง มีลายดอกกุหลาบหรือแฟมิลล์โรสสีชมพูและสีน้ำเงินทั้งสองด้านด้านละ ๔ ดอก ตรงกลางของกาน้ำทั้งสองข้างเป็นลายช่องกระจก ภายในเป็นรูปช้างเผือกทูนสิ่งของ ซึ่งมีผู้กล่าวว่า หมายถึงพระมหาพิชัยมงกุฎ เข้าใจว่าเป็นกาน้ำที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระราชทานให้แก่พระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งของวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร จังหวัดสงขลา จัดเป็นเครื่องประกอบสมณศักดิ์ประเภทหนึ่ง การเขียนลวดลายโดยใช้เทคนิคลายน้ำทอง คือ เขียนลวดลายบนภาชนะด้วยวิธีลงยา แต่ลงพื้นบนภาชนะด้วยสีทองที่ทำจากทองคำก่อนเขียนลายตกแต่ง ปกติแล้วไทยมักร่างแบบลายที่ต้องการและส่งไปเขียนลายที่เมืองจีน ทั้งนี้ ภาชนะลายน้ำทองเป็นที่นิยมมากในราชสำนักสมัยรัตนโกสินทร์ โดยในภาคใต้มักพบตามบ้านคหบดี บ้านขุนนาง และวัดวาอารม --------------------------------------------เรียบเรียงและถ่ายภาพ: นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา อ้างอิง: สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549. ที่มาของข้อมูล : https://www.facebook.com/songkhlanationalmuseum/posts/3048264401904141
ชื่อผู้แต่ง จุฬาลงกรณ์, ปร.
ชื่อเรื่อง พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ ๕ พระราชทานแด่พระเจ้าลูกยาเธอ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ มปป.
สำนักพิมพ์ มปป.
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๒
จำนวนหน้า ๔๔ หน้า
คำค้น พระบรมราโชวาท
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางวนิธย์ ประชุมธนสาร (สมิตินันทน์)
หนังสือเรื่อง พระบรมราโชวาท ในรัชกาลที่ ๕ พระราชทานแด่พระเจ้าลูกยาเธอ นี้ มีทั้งสิ้น ๓ ฉบับ ซึ่งเขียนถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งออกไปเรียนหนังสือในประเทศยุโรป ให้ประพฤติตามโอวาท
1.ตำรายาเกร็ด เช่น ยาฝีในท้อง, ยามดตะกิด, สันนิบาต 7 ประการ, ยานัดตุ์, ยาแก้สอึก, ยาดองแก้เลือด, ยากัดต้อ ฯลฯ 2. เวทย์มนต์คาถา เข่นคาถาให้คนเมตตา, คาถากันภัยทั้งปวง ฯลฯ
ผู้แต่ง : เจียงอิ่งเหลียง, ศาสตราจารย์
ปีที่พิมพ์ : 2531
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง ลำดับสกุลเก่า ภาคที่ 4 สกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรีและสายสัมพันธ์ของ
สกุล จาตุรงคกุล
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 5
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์การรถไฟฯ
ปีที่พิมพ์ 2522 จำนวนหน้า 221 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ นางอบทิพย์ แดงสว่าง
ลำดับสกุลเก่าบางสกุลภาค 4 เล่มนี้จะพิมพ์ ครั้งแรกเมื่อหอสมุดแห่งชาติเป็นราชบัณฑิตยสภาต่อมากรมศิลปากร ได้มอบหมายให้นายปรีชา ศรีชลาลัย เจ้าหน้าที่กองวรรณคดี รวบรวมเชื้อสายของพระราชวงศ์กรุงธนบุรีเพิ่มเติมและตีพิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อสิงหาคม 2480 ใช้ชื่อการพิมพ์ครั้งนี้ว่า ฉบับร่าง ต่อมามีการพิมพ์ ครั้งที่ 3 และ 4 การพิมพ์ครั้งนี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 5 และนางอบทิพย์ แดงสว่าง ผู้วายชนม์เป็นผู้ค้นคว้าและรวบรวม เชื้อสายสกุลจาตุรงคกุล ซึ่งเป็นสายที่สืบมาจาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับกรมบริจาภัคดีศรีสุดารักษ์ นำมารวมพิมพ์กับลำดับสกุลเก่าบางสกุล ภาคที่ 4 นี้โดยใช้ชื่อว่าสายสัมพันธ์จาตุรงคกุล นอกจากนี้ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สวัสดิ์ แดงว่าง ผู้เป็นสามีผู้วายชนม์ ได้กรุณามอบลิขสิทธิ์เรื่องนี้ให้กรมศิลปากรด้วย
สืบเนื่องจากการเกิดภาวะการแพร่ระบาดของไวรัส COVID - 19 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา จึงขอนำเสนอข้อมูลโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ 1 เดียวในคาบสมุทรสทิงพระ อันถือเป็นเทพผู้พิทักษ์ในคติพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ผู้มีอำนาจปราบภูติผีร้ายไม่ให้ทำอันตรายมนุษย์ ด้วยหวังให้ช่วยขจัดเภทภัยต่าง ๆ นั่นคือ “พระเหวัชระ” .................................................................................... พระเหวัชระ วัสดุ สำริด ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 18 พบที่ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส .................................................................................... พระเหวัชระองค์นี้เป็นพระเหวัชระ 2 กร (มือ) อยู่ในอิริยาบทประทับยืน มี 4 พระบาท (เท้า) พระหัตถ์ (มือ) ขวาถือกระดิ่ง พระหัตถ์ (มือ) ซ้ายถือวัชระ (สายฟ้า) พระเศียร (ศีรษะ) ทรงกิรีฏมกุฎ พระศอคล้องอักษมาลา หรือลูกประคำ และทรงพระภูษา (ผ้านุ่ง) สั้นเหนือพระชานุ (เข่า) ลักษณะคล้ายเทวรูปในศิลปะขอมสมัยเมืองพระนคร คำว่า “เหวัชระ” (Hevajra) เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง เทพผู้พิทักษ์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ยิดัม” เป็นเทพที่มีความสำคัญองค์หนึ่งในพุทธศาสนา นิกายมหายาน สกุลวัชรยาน เชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นมาจากพระธยานิพุทธอักโษภยะ มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนา มีอำนาจในการปราบภูตผีร้ายต่าง ๆ ไม่ให้ทำอันตรายมนุษย์ ปรากฏความเชื่อและการนับถือขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 สมัยราชวงศ์ปาละ ในคัมภีร์เหวัชระตันตระ (Hevajra Tantra) ระบุถึงลักษณะทางประติมานวิทยาของพระเหวัชระว่า มีพระวรกายสีน้ำเงิน มี 8 พระเศียร แต่ละพระเศียรมี 3 พระเนตร มี 16 พระกร โดยพระกรทั้ง 16 พระกรถือถ้วยกะโหลก ซึ่งถ้วยกะโหลกด้านขวาบรรจุสัตว์โลก ส่วนถ้วยกะโหลกด้านซ้ายบรรจุเทพเจ้าแห่งแผ่นดิน ซึ่งถ้วยกะโหลกทั้ง 16 ใบ เป็นสัญลักษณ์ของความว่างเปล่าทั้ง 16 หรือศูนยตา มีพระบาท 4 พระบาท และพระเหวัชระมักแสดงออกในท่ายับยุม หรือยับยัม (กอดรัด) พร้อมศักติเสมอ ประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระที่พบมีลักษณะเฉพาะ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบกปาละธร (Kapaladhara) ถือถ้วยกะโหลก และรูปแบบศาสตราธร (Shastradhara) ถืออาวุธ ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบที่พบมักมีพระกรตั้งแต่ 2, 4, 6, และ 16 พระกร และยังมีรูปแบบอื่น ๆ ที่นิยมอีก เช่น เหวัชระมณฑล ที่ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์เหวัชระตันตระระบุว่า พระเหวัชระมี 8 พระเศียร ทุกพระเศียรมี 3 พระเนตร มี 4 พระบาท 16 พระกร ยืนเหยียบอยู่บนมารทั้ง 4 องค์ มีนางโยคินีล้อมรอบมณฑลเป็นบริวารทั้ง 8 ตน นางโยคินีเหล่านี้มีหน้าที่ทำลายล้างอวิชชาหรือสิ่งชั่วร้าย และรักษาทิศทั้งแปดของจักรวาล ประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระที่พบในประเทศอินเดียมีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศเนปาล และประเทศทิเบต โดยส่วนมากที่พบมักเป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดไม่ใหญ่มาก และเป็นเป็นรูปแบบกปาละธร คือ มี 8 พระเศียร 16 พระกร 4 พระบาท อยู่ในท่ากอดรัดกับศักติ ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วไป ในประเทศไทยประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระที่พบส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมลอยตัวทำจากสำริดฝีมือช่างขอม และฝีมือช่างท้องถิ่น แต่ก็มีพบเป็นพระพิมพ์แสดงภาพเหวัชระมณฑล และแม่พิมพ์สำริดด้วย ส่วนในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พบประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระเพียงองค์เดียวที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระองค์นี้มีลักษณะเป็นงานฝีมือช่างท้องถิ่น และมีลักษณะของศิลปะขอมสมัยเมืองพระนครอยู่ด้วย ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่าประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระองค์นี้น่าจะมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 และการที่ประติมากรรมรูปเคารพพระเหวัชระองค์นี้มีลักษณะอิทธิพลของศิลปะขอมยังแสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลของขอมในดินแดนแถบคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-19 ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เรียบเรียง/ กราฟฟิก : นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ และนางสาวจันทร์สุดา ทองขุนแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรม ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา อ้างอิง : 1. กรมศิลปากร. เทวสตรี: คติพุทธ พราหมณ์ และความเชื่อในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2558. 2. ชัญธิกา มนาปี. “การศึกษารูปแบบประติมากรรมเหวัชระที่ปรากฏในศิลปะเขมร.” ดำรงวิชาการ 15, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559): 67 - 87. 3. ชัยวุฒิ พิยะกูล. “พระพุทธศาสนาบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ.” ใน เก้าสิบปีทองชาตกาล พระราชศีลสังวร (ผ่อง จิรธมฺโม), 205-236. ประสิทธิ์ ฤทธาภิรมย์, บรรณาธิการ. สงขลา: วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (พระอารามหลวง), 2562. 4. ธีรนาฎ มีนุ่น. “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาส.” ใน เก้าสิบปีทองชาตกาล พระราชศีลสังวร (ผ่อง จิรธมฺโม), 103-130. ประสิทธิ์ ฤทธาภิรมย์, บรรณาธิการ. สงขลา: วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร (พระอารามหลวง), 2562. 5. ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2543. 6. พิริยะ ไกรฤกษ์. ศิลปทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, 2523. 7. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. ปฐมบทพระพุทธศาสนาในภาคใต้ ประเทศไทย: หลักธรรมและหลักฐานโบราณคดี. นครศรีธรรมราช: ไทม์ พริ้นติ้ง จำกัด, 2557. 8. สันติ เล็กสุขุม. ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ): การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548. 9. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2539. 10. องอาจ ศรียะพันธ์. “รูปเคารพในพุทธศาสนามหายานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พบที่เมืองสทิงพระ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533. อ้างอิงรูปภาพ: เหวัชระ ที่มา : tumblr.com/magictransistor. Hevajra and Consort. Ngor Monastery, Tibet. 1843. . Accesed April 28, 2020. Available from https://magictransistor.tumblr.com/post/157789262861/hevajra-and-consort-ngor-monastery-tibet-1843
วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา(ประธานตรวจการจ้าง) พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานบูรณะโคปุระด้านทิศตะวันตกปราสาทพิมาย (งวดที่๒)ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
วัดบ้านทราย ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๒ ต.บ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดลพบุรี ห่างจากอำเภอเมือง ๓๒ กม. และห่างจากอำเภอบ้านหมี่ ๓.๕กม. ประวัติความเป็นมา วัดบ้านทราย ชาวบ้านทรายสืบเชื้อสายมาจากชาว "ไทยพวน" ซึ่งเป็นชาวไทยที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่ "เมืองพวน" ในประเทศลาวในอดีต ต่อมาได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ แล้วโดยการนำของครูบานาวาหรือ "ภิกษุหล้า" ซึ่งออกธุดงค์มาจากเมืองเชียงขวาง เมืองเวียงจันทร์ เพื่อสืบหาญาติพี่น้องที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อนแล้ว เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๙ การออกธุดงค์ของท่านจึงมีโอกาสพบกับพี่สาวของท่านชื่อ "ถอ" บริเวณวัดท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ต่อจากนั้นก็สร้างบ่อน้ำสร้างบ้านทราย สร้างวัด และพระอุโบสถขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ ซึ่งปรากฏอยู่กระทั่งทุกวันนี้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ ชาวบ้านทรายได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ (ณ ตำบลบ้านทรายในปัจจุบัน) โดยท่านครูบาราวาได้ออกธุดงค์มาพบแหล่งน้ำใหญ่ฤดูแล้งเดือน ๔ เดือน ๕ น้ำในวังนี้ก็ไม่แห้งจึงเรียกวังใหญ่นี้ว่า "วังเดือนห้า" และสร้างวัดบ้านทรายทางด้านทิศตะวันตกของวังเดือนห้าโดยมีครูบานาวาเป็นผู้นำสร้าง และเป็นสมภารวัดองค์แรก รวมทั้งวิหารหลังนี้ที่ยังเหลือไว้ในพระพุทธศาสนาจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้นชาวบ้านทรายจึงถือว่าท่านเป็นต้นตระกูลของชาวบ้านทราย ที่ได้เคารพสักการะอย่างสูง ปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว จากกรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ (ที่มาของข้อมูล : รายการประกอบแบบโครงการบูรณะโบสถ์วัดบ้านทราย โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี)
วันพุธที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการอบรมพิพิธภัณฑสถานวิทยาแก่บุคคลภายนอก “เครือข่ายสัมพันธ์ : ๑๖ ปี พิพิธภัณฑ์วิทยา” ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยได้รับเกียรติจาก นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานเปิดการประชุม และนางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กล่าวรายงาน การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลากร ผู้ปฏิบัติงานในแวดวงพิพิธภัณฑ์ไทย และเป็นผู้ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมโครงการอบรมพิพิธภัณฑสถานวิทยาแก่บุคคลภายนอกในช่วง ๑๖ ปีที่ผ่านมา จำนวน ๓๐ ท่าน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและออกแบบหลักสูตรการอบรบในปีต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ นางสมลักษณ์ เจริญพจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ (SPAFA) และนางปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ให้เกียรติร่วมบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้กับที่ประชุม
ชื่อผู้แต่ง : เจือ สตะเวทินชื่อเรื่อง : ได้ทีขี่แพะไล่ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๑สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาปีที่พิมพ์ : ๒๔๙๗ หนังสือเรื่องได้ทีขี่แพะไล่ เป็นหนังสือที่ชนะการประกวดในการประกวดแบบเรียน ครั้งที่๖ พ.ศ.๒๔๙๕ ซึ่งใช้เป็นหนังสืออ่านประกอบภาษาไทย ตอนปลาย สำหรับชั้นประถมปีที่๑
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช
สำนักพิมพ์ : หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
ปีที่พิมพ์ : 2554
หมายเหตุ : พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ พระนครกุลเชษฐ์มเหศรภักดี
เรื่องราวเกี่ยวกับตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช บทสวดไหว้พระธาตุซึ่งเป็นอักษรขอม-ไทย ภาษาบาลี-ไทย จากคัมภีร์ใบลาน ปริวรรตถ่ายถอดมาเป็นภาษาไทยปัจจุบัน