ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์
เรื่อง “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 17 มกราคม”
วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตรงกับวันที่ 17 มกราคม ของทุกปี โดยวันนี้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อเดือนธันวาคม 2531 สำนักสภาจังหวัดสุโขทัย ได้มีหนังสือเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ขอให้มีการกำหนดให้วันที่ 17 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช” ที่เลือกวันนี้ เพราะป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงตำแหน่งพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในปี 2526
ต่อมา คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดเอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พิจารณาเรื่องการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ใหม่ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็ได้เสนอว่า วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ควรเป็นวันที่ 17 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อปี 2376 และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2532 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบด้วย จึงกำหนดให้วันที่ 17 มกราคม ของทุกปีเป็น "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช”
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ในขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้เสด็จไปกองทัพกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้เป็นบิดา สู้รบกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (เมืองสอด จังหวัดตาก) ที่ยกทัพมาตีเมืองตากในความปกครองจนได้รับชัยชนะ ทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชทานนามให้ว่า “รามคำแหง” ที่มีความหมายว่า รามผู้กล้าหาญเข้มแข็งในการรบ ก่อนที่พระองค์จะได้ขึ้นเสวยราชย์ ราวปี 1822 ต่อจากพ่อขุนบาลเมือง พระเชษฐาธิราช
ทรงปกครองบ้านเมืองแบบ”พ่อปกครองลูก” ทรงแขวนกระดิ่งไว้หน้าประตูพระราชวัง ใครมีเรื่องร้องทุกข์ก็มาสั่นกระดิ่ง และทรงโปรดให้เข้าเฝ้าเพื่อทูลร้องทุกข์ได้รวดเร็ว โปรดให้สร้างพระแท่นขึ้นด้วยหิน เรียกว่า พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ ที่กลางดงตาล ทุกวันโกนวันพระทรงนิมนต์พระมาเทศน์ที่พระแท่นโปรดประชาชน ส่วนวันธรรมดาพระองค์ทรงใช้เป็นที่ปฏิบัติภารกิจเสมอมา
มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางการเกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล ทรงเจริฐสัมพันธ์ไมตรีกับมหาอำนาจอย่าง”จีน” แล้วยังโปรดให้นำช่างปั้นถ้วยชามจากนมาสอนคนไทย ผลิตเป็น อุตสาหกรรมส่งออกไปยังประเทศจีน มลายู และอินเดีย ถ้วยชามที่ผลิตขึ้นนี้เรียกว่า "ชามสังคโลก”
ข้อความในศิลาจารึกแสดงให้เห็นว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการยุติธรรมและนิติบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้ คือ ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร และหากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็ไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกา พระองค์ก็ทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง
ด้านศาสนา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากลังกา ผ่านเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย แทนลัทธิมหายาน ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคง ในอาณาจักรสุโขทัย และเผยแพร่ไปยังหัวเมืองต่างๆ ในราชอาณาจักรสุโขทัย จนกระทั่งได้เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้
พระองค์ยังโปรดให้สร้างทำนบกักน้ำที่เรียกว่า ”สรีดภงส์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในตัวเมืองสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง โดยอาศัยแนวคันดินที่เรียกว่า "เขื่อนนพพระร่วง” ทำให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคในยามที่บ้านเมืองขาดแคลนน้ำ
ในปี พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้คิดประดิษอักษรไทยขึ้นใช้แทนตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เรียกว่า "ลายสือไทย” และให้ช่างสลักอักษรไว้ในศิลาจารึก ณ กรุงสุโขทัย ซึ่งศิลาจารึกได้ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ และตัวหนังสือไทยทุกตัวในศิลาจารึกได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีอักษรไทยใช้มาจนถึงทุกวันนี้
จะเห็นได้ว่าไทยได้เริ่มเป็นปึกแผ่น นับตั้งแต่รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้นมา ทรงเสวยราชย์นาน 40 ปี พระชนมายุ 60 พรรษา เสด็จสวรรคตประมาณปี พ.ศ. 1842
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549.
บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช เมื่อแรกสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในความดูแลของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้พื้นที่ของพระวิหารพระพุทธชินสีห์และพระวิหารพระศรีศาสดา เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุประเภทต่าง ๆ ต่อมากรมศิลปากรได้ประกาศจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช เมื่อพุทธศักราช 2504 และได้ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช เมื่อพุทธศักราช 2557 จากนั้นสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย จึงได้ดำเนินโครงการจัดแสดงนิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช โดยเริ่มดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงมาเป็นลำดับตั้งแต่ปี 2561 กระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปีนี้
การจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในอาคารได้รวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่มีประวัติเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธชินราช และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งโบราณวัตถุเหล่านี้เป็นสิ่งของที่มีผู้ถวายแด่พระพุทธชินราชเป็นพุทธบูชา ทั้งพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และประชาชนทั่วไป แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธชินราช เช่น สังวาลประดับองค์พระพุทธชินราช และสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่ถวายโดยพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ภาพ : สังวาลพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก (ของเดิม)ภาพ : สายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์ภาพ : พานพุ่มดอกไม้เงินดอกไม้ทอง รัชกาลที่ 6 ภาพ : ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ร.9นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีในเขตจังหวัดพิษณุโลกและโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธชินราชจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งอื่น ๆ แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 9 ส่วน ได้แก่
1. ส่วนจัดแสดงราช-ราษฎร์ศรัทธาบูชาพระพุทธชินราช จัดแสดงเรื่องราวพระราชศรัทธาของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนความศรัทธาของประชาชนผ่านหลักฐานที่เป็นสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งนำมาถวายพระพุทธชินราช เช่น ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เครื่องแก้วเจียระไน เครื่องตามประทีป เป็นต้น
2. ส่วนจัดแสดงย้อนอดีตกาลโบราณคดีและประวัติศาสตร์พิษณุโลก นำเสนอพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของพิษณุโลก ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ตลอดจนความสำคัญของเมืองพิษณุโลกในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ รวมถึงบทบาท สถานะของเมืองพิษณุโลกที่มีความสัมพันธ์กับสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
3. ส่วนจัดแสดงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร เมืองพิษณุโลก และพระพุทธชินราช จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร เมืองพิษณุโลก การเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธชินราชของพระมหากษัตริย์ ตำนานประวัติและพุทธศิลป์ของพระพุทธชินราช
4. ส่วนจัดแสดงพุทธบูชาราชรัตนาภรณ์ จัดแสดงสังวาลประดับองค์พระพุทธชินราช และสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธชินราช เพื่อแสดงถึงความสำคัญและความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธชินราชของพระมหากษัตริย์ไทย
5. ส่วนจัดแสดงกลองมโหระทึก จัดแสดงโบราณวัตถุประเภทกลองมโหระทึกที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร พิษณุโลกได้เก็บรักษาไว้
6. ส่วนจัดแสดงพุทธศิลปงาสลัก จัดแสดงโบราณวัตถุประเภทงาช้างและงาช้างแกะสลัก ที่ประชาชนถวายพระพุทธชินราชเป็นพุทธบูชา
7. ส่วนจัดแสดงพุทธพิมพปฏิมา จัดแสดงโบราณวัตถุประเภทพระพุทธรูปบุเงินบุทอง พระพุทธรูปแก้ว ที่ประชาชนถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธชินราช
8. ส่วนจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทเครื่องไม้ จัดแสดงโบราณวัตถุประเภทเครื่องไม้ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร พิษณุโลกได้เก็บรักษาไว้ เช่น ยานมาศ ตู้พระธรรม ดาวประดับเพดานพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
9. ส่วนจัดแสดงโบราณวัตถุที่ประชาชนถวายพระพุทธชินราชเป็นพุทธบูชา เช่น เครื่องแก้วเจียระไน เครื่องถ้วยลายคราม เครื่องเบญจรงค์ เครื่องทองเหลือง เป็นต้น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช เปิดให้บริการโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม ทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 08.30 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ชื่อเรื่อง: ตำนานพระพุทธบาทสี่รอย
ผู้แต่ง: พระธนา ฐิตสีโล
ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๕๔๐
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์: วัดราชาธิวาส
จำนวนหน้า: ๓๒ หน้า
เนื้อหา: เป็นการบอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องราว ประวัติศาสตร์ ตำนานของวัดพระพุทธบาทสี่รอยที่ ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ บอกเล่าผ่านคณะญาติโยมที่ร่วมเดินทางไป ๕ คนพร้อมกับพระอีก ๒ รูป โดยเนื้อหาภายในจะแบ่งเป็น ๒ เรื่องใหญ่ได้แก่ ๑.ตำนานความเป็นมาของพระพุทธบาทสี่รอย และ ๒.ประวัติความเป็นมาของพระพุทธบาทสี่รอยในสมัยที่ท่านพรชัย ปิยะวัณโณ เข้ามาบุกเบิกพัฒนา
เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๒๙๔.๓๑๓๕ ต๓๕๙
เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๗_๐๐๐๒
หมายเหตุ: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
จัดทำโดย: นางสาวสุพิชชา ปั้นชาวนา นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง ตำราไสยศาสตร์ (เสียเคราะห์) สพ.บ. 440/1หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง ไสยศาสตร์ เวทย์มนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 146 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 38.5 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
คณะปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ จ.นครนายก (เวลา 13.00 น.) จำนวน 150 คนวันเสาร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. คณะปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ โครงการสืบสาน พระราชปณิธาน "Big For Earth : เทิดไท้องค์ราชัน" จำนวน ๑๕๐ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้
สุสาน เจ. วี. ลาร์เซน
ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ใกล้กับศาลาบ่อเก๋ง (ท่าเรือโบราณ) ลักษณะเป็นเสาหินแกรนิตสี่เหลี่ยม สูง ๕๗ เซนติเมตร ฐานเป็นพื้นปูนสี่เหลี่ยมขนาด ๓๘๐x ๓๘๕ เซนติเมตร มีข้อความจารึกอยู่บริเวณด้านหน้า ใจความว่า สุสานนี้เป็นที่ฝังศพของ J.V.LARSEN ซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๒ จากป้ายหลุมฝังศพของ J.V.LARSEN นี้เอง เป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณแห่งนี้มีชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย นอกจากนี้ยังมีจารึก คำว่า SINGORA ซึ่งย้ำว่าเมืองสงขลาเดิมนั้นเป็นที่รู้จักกันในนามว่า SINGORA
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานสุสานเจ.วี.ลาร์เซน ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๖ ตอนพิเศษ ๗ ง วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๒
J.V. Larsen’s Grave
J.V. Larsen’s Grave is located in Hua Khao Subdistrict, Singhanakhon District, Songkhla Province, near Bo Keng Pavilion. The grave is marked by a rectangular granite gravestone measuring 57 cm by 46.5 cm and a square masonry base measuring 380 x 385 cm. The inscription on the gravestone states that this grave belongs to J.V. Larsen who passed away on December 31, 1909. This is evidence confirming that traders and merchants from Western countries visited this area during the early Rattanakosin period. In addition, the inscription of ‘SING ORA’ on the column emphasizes that the old town Songkhla was once known as SINGORA.
The Fine Arts Department announced the registration of J.V. Larsen’s Grave as
a national monument in Government Gazette Volume 116, Special Part 7, dated January 22, 1999.
***บรรณานุกรม***
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จประพาสรอบแหลมมลายู เล่ม 1 พระราชนิพนธ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระนคร
โรงพิมพ์คุรุสภา
2507
วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๙ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนชุมชนพบพระ อ.พบพระ จ.ตาก จำนวน ๑๔๐ คน เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง โดยมีนายสุเทพ อังกาบ เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงานและนางพรพิมล พ่วงแผน เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน ปฏิบัติหน้าที่วิทยากรนำชม