ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 36,774 รายการ


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 35 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 62 (ต่อ)เรื่องทูตฝรั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 320 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 35 ภาคที่ 62 (ต่อ) กล่าวถึงเรื่องการเจริญไมตรีกับฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ 3 (ต่อ) ว่าด้วยเรื่อง เหตุที่ทูตอเมริกันเข้ามาในกรุงรัตนโกสินทร์ คำขอของทูตที่จะกราบทูล ร่างสัญญาพิกัดสินค้า เป็นต้น จากนั้นกล่าวถึงเรื่องการเจริญไมตรีกับฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ว่าด้วยเรื่อง อังกฤษแต่งตั้งทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี เมื่อ พ.ศ. 2398 โดยเนื้อหาส่วนใหญ่อธิบายถึง การเตรียมการต้อนรับทูตดังกล่าว


ชื่อผู้แต่ง          ถาวร สุวรรณ และ อายันโฆษ ชื่อเรื่อง            อนุสรณ์วันฌาปนกิจ นายสุชาติ (เทียนไล้)นางแบรี่กรรณสูตร ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์   พระนคร สำนักพิมพ์      ห้างห้นส่วนจำกัดการพิมพ์พระนคร ปีที่พิมพ์          2506 จำนวนหน้า     73 หน้า รายละเอียด                  หนังสือที่ระลึกงานศพนายสาติ ( เทียนไล้) นางแมรี่ กรรณสูต เนื้อหาประกอบด้วย 2 เรื่อง ดังต่อไปนี้ มาเรียนโหราศาสตร์กันเถอะโดยถาวรสุวรรณ  และข้อสังเกตทางโหราศาสตร์โดย อายัณโฆษ


          วันศุกร์ที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการจ้างงาน พร้อมด้วยนางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ผู้บริหารในส่วนราชการกรมศิลปากร คณะกรรมการ ร่วมประชุมในโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ (ขุนด่านปราการชล) งวดงานที่ ๑ / ระยะที่ ๓ ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยได้ตรวจงานบริเวณอาคาร และพื้นที่ก่อสร้าง พร้อมด้วยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่


          กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจชมการอภิปรายและการเล่นสักวาประกอบการแสดงนาฏศิลป์ บรรเลงและขับร้องดนตรีไทย เรื่อง “พระอภัยมณี ตอน สึกชี” เพื่อสดุดีเกียรติคุณ สุนทรภู่ รัตนกวีเอกของไทย ในวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ ผู้สนใจลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://forms.gle/7tSL2ZdDaYNMFim69 (รับจำนวนจำกัด) และสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live : National Library of Thailand ของหอสมุดแห่งชาติ          สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กำหนดจัดโครงการบรรยาย - อภิปราย เนื่องในวันสุนทรภู่ (๒๖ มิถุนายน) ประจำปี ๒๕๖๕ ฟังการอภิปรายและการเล่นสักวาประกอบการแสดงนาฏศิลป์ บรรเลงและ ขับร้องดนตรีไทย เรื่อง “พระอภัยมณี ตอน สึกชี” โดยศิลปินจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กวีจากสโมสรสยามวรรณศิลป์และสถาบันกวีนิพนธ์ไทย เพื่อส่งเสริมและสืบสานมรดกทางวรรณศิลป์ของสุนทรภู่ รัตนกวีเอกของไทย ผู้ริเริ่มแบบฉบับกลอนที่มีสัมผัสใน และได้สร้างสรรค์ผลงานวรรณคดีอันเป็นมรดกล้ำค่าของชาติไว้มากมาย กวีในยุคต่อมาได้ยึดถือเป็นแบบฉบับและยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งกลอนสุภาพ” ผลงานจากวรรณกรรมของท่านเป็นอมตะทั้งในด้านฉันทลักษณ์ จินตนาการจากเนื้อเรื่องและการสอดแทรกคติเตือนใจ ซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ประกาศยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกในฐานะ “ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการอ่านวรรณคดีไทยเพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมให้คนไทยเกิดความภาคภูมิใจ ตระหนักในคุณค่าภาษาไทยและวรรณกรรมไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเล่นสักวา และการขับร้องดนตรีไทยสู่สาธารณชน          ผู้สนใจเข้าร่วมชมการอภิปรายและการเล่นสักวาประกอบการแสดงนาฏศิลป์ บรรเลงและขับร้องดนตรีไทย เรื่อง “พระอภัยมณี ตอน สึกชี” สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://forms.gle/7tSL2ZdDaYNMFim69 (จำนวนจำกัด) หรือรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live : National Library of Thailand ของหอสมุดแห่งชาติ


๑ สหัสวรรษ แห่ง “พระนิยม” พระบาทกัมรเดงกำตวนอัญศรีสุริยวรรมเทวะ ณ เมืองละโว้ ---------------------------- หากนับย้อนหลังกลับไปเมื่อหนึ่งพันปีมาแล้ว ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ อาณาจักรเขมร ได้ขยายอำนาจแผ่อิทธิพลทางการเมืองเข้ามายังดินแดนในลุ่มน้ำลพบุรี- ป่าสัก โดยเฉพาะเมือง“ลวปุระ” (Lavapür) หรือเมืองละโว้ ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางความเจริญทางศาสนา วัฒนธรรม และการติดต่อค้าขายที่สำคัญแห่งหนึ่งของรัฐทวารวดี หากแต่ว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนั้นบ้านเมืองแห่งนี้ตกอยู่ในสภาพที่เป็นเมืองร้าง อันเนื่องมาจากการเกิด “กลียุค” จารึกโอเสม็ด (Osmach Inscription) ซึ่งจารึกขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๑๕๕๗ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัมพูชา กรุงพนมเปญ มีข้อความอักษรขอมโบราณ (พุทธศตวรรษที่ ๑๖) ภาษาเขมรโบราณ และภาษาสันสกฤต กล่าวบรรยายถึงสภาพโดยทั่วไปของเมืองลวปุระสรุปความได้ว่า บ้านเมืองถูกทำลายจนพินาศ สูญเสียความงดงามไปทั้งหมด กลายเป็นป่าคลาคล่ำไปด้วยสัตว์ร้ายทั้งหลายมีเสือ เป็นต้น และมีสภาพที่น่าสะพรึงกลัวดุจดังสุสานหรือป่าช้า .. มูลเหตุสำคัญประการหนึ่งแห่งกลียุคที่ทำให้เมืองลวปุระถูกทำลายจนพินาศย่อยยับ อาจสืบเนื่องมาจากประมาณ ๘๐ กว่าปีก่อนหน้าการจารึกข้อความในจารึกโอเสม็ด ได้เกิดเหตุการณ์สงครามการสู้รบครั้งใหญ่ระหว่างพระเจ้าอัตราสตกะราช หรือพระเจ้าตราพกะแห่งเมืองหริปุญไชย กับพระเจ้าอุฉิฎฐกะจักรวรรดิหรือ อุจฉิตตจักรพรรดิ แห่งกรุงละโว้ และพระเจ้าชีวกหรือพระเจ้าสุชิตราช กษัตริย์แห่งสิริธัมมนคร (นครศรีธรรมราช) ซึ่งเหตุการณ์สงครามในครั้งนั้นยืดเยื้อต่อเนื่องอยู่ในช่วง พ.ศ. ๑๔๖๘-๑๔๗๑ ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวถูกระบุถึงอยู่ในพงศาวดารโยนก และตำนานฝ่ายเหนือหลายฉบับ เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์, จามเทวีวงศ์, เป็นต้น .. เมื่อพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๕๔๕-๑๕๙๒) ทรงขึ้นครองราชย์บัลลังก์เมืองพระนครศรียโสธรปุระ ใน พ.ศ. ๑๕๔๙ ภายหลังจากทรงมีชัยชนะเหนือพระเจ้าชัยวีรวรมัน ได้มีพระราชบัญชาแต่งตั้งให้“ศรีลักษมีปติวรมัน” แม่ทัพของพระองค์ให้มาเป็นเจ้าเหนือพวกรามัญ ผู้ครอบครองดินแดนทางทิศตะวันตกของเมืองพระนคร ซึ่งคงจะหมายถึงชาวมอญหรือกลุ่มชนที่ใช้ภาษามอญในวัฒนธรรมทวารวดี ที่สร้างบ้านแปลงเมืองอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทย ศรีลักษมีปติวรมันทำให้คนเหล่านั้นตกอยู่ภายใต้อำนาจ และทำการเก็บภาษี นำผลประโยชน์จำนวนมากมายส่งกลับไปยังเมืองพระนคร จนได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็นขุนคลัง รวมทั้งเขายังได้ทำการฟื้นฟูดินแดนทางทิศตะวันตกทั้งหมดซึ่งถูกทำลายและทิ้งร้างจนกลายเป็นป่ารกชัฏมาเป็นเวลานานในช่วงกลียุคให้กลับมาสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรืองดังเก่า .. การดำเนินงานทางโบราณคดีของกรมศิลปากรพบหลักฐานทางโบราณคดี และโบราณสถานหลายแห่ง ที่แสดงให้เห็นถึงการแผ่ขยายอิทธิพลทางการเมือง และวัฒนธรรมเขมร ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ –๑๗ เข้ามายังเมืองละโว้ เช่น ร่องรอยของชุมชนโบราณบริเวณแหล่งโบราณคดีโคกคลีน้อยซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางโบราณที่ใช้เดินทางติดต่อระหว่างเมืองหรือชุมชนโบราณในเขตที่ราบภาคกลางกับที่ราบสูงโคราชผ่านทิวเขาพังเหย ในเขตตำบลหนองรี อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี พบหลักฐานการอยู่อาศัย การผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบขึ้นใช้เองในชุมชน รวมทั้งมีการติดต่อกับชุมชนโบราณร่วมสมัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างปราสาทก่อด้วยหินทรายและอิฐขนาดเล็กขึ้นเป็นศาสนสถานประจำชุมชน ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “โบราณสถานปรางค์นางผมหอม” จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วงต้นครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ส่วนในเมืองลพบุรีปรากฏโบราณสถาน ๒ แห่ง ได้แก่ ศาลสูง และวัดซาก อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ลักษณะเป็นฐานปราสาทก่อสร้างด้วยศิลาแลง ผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม ตรงกึ่งกลางของทุกด้านมีบันไดขึ้น-ลง ส่วนเรือนธาตุในปัจจุบันชำรุดหักพังลงมาทั้งหมด โบราณสถานทั้งสองแห่งนี้มีรูปแบบการก่อสร้างคล้ายสถาปัตยกรรมเขมรที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ .. นอกจากนี้ยังมีการค้นพบศิลาจารึกที่ยืนยันถึงพระราชอำนาจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ แห่ง อาณาจักรเขมรที่มีต่อเมืองละโว้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จำนวน ๓ หลัก คือ จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ ๑) จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ ๒) และจารึกศาลเจ้าเมืองลพบุรี (หลักที่ ๒๑) ซึ่งข้อความที่ปรากฏแสดงให้เห็นสภาพทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรมของผู้คนในยุคสมัยนั้น .. โดยเฉพาะใน จารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ ๑) ที่มีศักราชระบุไว้ว่า จารึกขึ้นเมื่อมหาศักราช ๙๔๗ (พ.ศ. ๑๕๖๘) ประวัติการค้นพบศิลาจารึกหลักนี้ จากการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกไว้ สามารถสรุปได้ว่า ในช่วงประมาณปี พ.ศ.๒๔๓๗-๒๔๔๒ พระครูสังฆภารวาหะ (เนียม ภุมสโร) เจ้าอาวาสวัดเสาธงทอง เป็นผู้ค้นพบจารึกที่ศาลสูง จังหวัดลพบุรี จึงนำไปถวายพระมงคลทิพมุนี (มา อินฺทสโร) ผู้ว่าการรักษาพระพุทธบาท ท่านจึงนำไปถวายต่อให้หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ (ชัชวาล ชลิโต) หม่อมเจ้าพระราชาคณะฝ่ายสมถะซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร หลังจากนั้นหม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ (ชัชวาล ชลิโต) ได้นำหลักศิลาดังกล่าวไปทูลถวายสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ศิลาจารึกหลักนี้จึงถูกเก็บไว้บนฐานพระเจดีย์วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร จนกระทั่งในราวปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ จึงมีการย้ายเข้าไปเก็บรักษาไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร (ตึกถาวรวัตถุ) ในปัจจุบันจารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ ๑) จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร .. ลักษณะของจารึกศาลสูงภาษาเขมร (หลักที่ ๑) เป็นหลักศิลาสี่เหลี่ยม กว้าง ๓๐ เซนติเมตร สูง ๑๓๐ เซนติเมตร หนา ๑๗ เซนติเมตร มีจารึกจำนวน ๑ ด้าน อักษรขอมโบราณ ภาษาเขมรโบราณ จำนวน ๒๙ บรรทัด ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedès) นักวิชาการชาวฝรั่งเศส เป็นผู้อ่าน แปล มีข้อความโดยสรุปความว่า .. เมื่อมหาศักราช ๙๔๔ (พ.ศ. ๑๕๖๕) วันอาทิตย์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ พระบาทกัมรเดงกำตวนอัญศรีสุริยวรรมเทวะ มีพระบัณฑูรตรัสประกาศ “พระนิยม” นี้ ให้บุคคลทั้งหลายถือเป็น “สมาจาร” คือ กฎที่ต้องประพฤติตามต่อไปในสถานที่อยู่ของดาบส (พราหมณ์) ทั้งหลาย หรือของผู้ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุมหายานก็ดี บวชเป็นถือสถวิระก็ดี ให้ท่านทั้งหลายที่ได้บวชโดยจริงใจถวาย “ดบะ” แด่พระบาท กัมรเดงกำตวนอัญศรีสุริยวรรมเทวะ ถ้าผู้ใดเข้ามาทำทุราจารใน “ดโบวนาวาส” ต่างๆ และมารบกวนดาบสซึ่งถือโยคธรรมไม่ให้เขาสวดมนต์ถวายดบะแด่พระบาทกัมรเดงกำตวนอัญศรีสุริยวรรมเทวะ โปรดเกล้าฯ ให้จับผู้นั้นนำมาขึ้นศาลสภา เพื่อจะได้ฟังคดีที่ควรจะถูกตัดสินอย่างเคร่งที่สุด ส่วนข้อความในตอนท้ายของจารึก สรุปความได้ว่า มหาศักราช ๙๔๗ (พ.ศ. ๕๖๘) มี “พระนิยม” อย่าให้ควาย หมู แพะ ไก่ เป็ด ลิง เข้าที่สถานที่อยู่ของดาบส หรือพระภิกษุเหล่านั้น .. ดังนั้นพุทธศักราช ๒๕๖๕ นี้ จึงเป็นวาระครบรอบหนึ่งพันปีแห่งการประกาศ “พระนิยม” ดังกล่าว ถึงจะผ่านกาลเวลามายาวนานนับพันปี แต่ข้อห้ามข้อกำหนดพฤติกรรมบางประการใน “พระนิยม” ก็ยังคงทันสมัยสามารถนำมาใช้ได้แม้ในห้วงเวลาปัจจุบัน ผู้เรียบเรียง : นายเดชา สุดสวาท นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี หนังสืออ้างอิง : ชินกาลมาลีปกรณ์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร เปรียญ , แปล . กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในการบูรณะโบราณสถาน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย . พิมพ์ครั้งแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๐๑ พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) . พงศาวดารโยนก พิมพ์ครั้งที่เจ็ด . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คลังวิทยา ,๒๕๑๖ เรื่อง จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย ฉบับพิมพ์ครั้งแรก เจ้าดารารัศมี พระราชชายา พิมพ์ในงาน ปลงศพ เจ้าทิพเนตร อินทวโรรสสุริยวงศ์ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๖๓ . พระนคร :โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร , ๒๔๖๓ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร . จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ อักษรขอมโบราณพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ พิมพ์เผยแพร่ครั้งที่ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช ๒๕๖๔ . กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) , ๒๕๖๔ อเนก สีหามาตย์ . ปรางค์นางผมหอม รายงานการขุดค้นทางด้านโบราณคดี ปรางค์นางผมหอม โดย โครงการบูรณะโบราณสถาน ลพบุรี ๔/๒๕๓๐ , ๒๕๓๐ W.O.Wolters . “ A WESTERN TEACHER AND THE HISTORY OF EARLY AYUDHYA” วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับพิเศษ ๓ ว่าด้วยประวัติศาสตร์ไทยตามทัศนคติสมัยปัจจุบัน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๙. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย , ๒๕๐๙




เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการส่งเสริมเรื่อง "ผ้าไทย" เป็นที่ประจักษ์มาอย่างยาวนาน จากสิ่งทอท้องถิ่นที่สูญหายไป ให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วราชอาณาจักรไทย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี จึงมีมติเห็นชอบให้วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็น #วันผ้าไทยแห่งชาติ .เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงขอพระองค์จงทรงพระเจริญด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการเจ้าหน้าที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี


          “กู่พระโกนา” โบราณสถานสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ภายในวัดกู่พระโกนา ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นปราสาทในวัฒนธรรมขอมโบราณประกอบด้วยปราสาท ๓ องค์ เรียงกันในแนวเหนือ – ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เฉพาะปราสาทประธานองค์กลางที่ปรากฏร่องรอยของมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า มีบรรณาลัยหรือที่เก็บคัมภีร์สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน ๑ หลัง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วสร้างด้วยศิลาแลง มีโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก            กู่พระโกนามีภาพสลักประดับตามส่วนต่าง ๆ ของปราสาทงดงามน่าชม เช่น ลายบัวแปดกลีบที่อกเลาประตูหลอก ลายก้านขด / ลายก้านต่อดอกที่เสาซุ้มประตูปราสาท เป็นต้น ถึงแม้โบราณสถานแห่งนี้จะพังทลายตามกาลเวลาและมีการซ่อมแซมในสมัยหลัง แต่ยังมีภาพสลักเล่าเรื่องที่งดงามปรากฏอยู่ ได้แก่ “ภาพสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์” หรือวิษณุอนัตศายินปัทมนาภะ ซึ่งเป็นเรื่องราวการบรรทมของพระวิษณุเหนือพญาอนันตนาคราชเพื่อสร้างโลก ณ เกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำนมอันเป็นที่ประทับของพระองค์ โดยตามความเชื่อของฮินดูกล่าวว่า เมื่อโลกถึงกลียุคพระศิวะจะทำลายล้างโลก จากนั้นพระวิษณุ (พระนารายณ์) จะสร้างโลกใหม่โดยกระทำโยคะนิทราจนบังเกิดเป็นดอกบัวทองผุดจากพระนาภี (สะดือ) ภายในดอกบัวมีพระพรหมประทับอยู่และจะทำหน้าที่สร้างโลกต่อไป            ภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่กู่พระโกนาพบบนทับหลังด้านทิศตะวันออกของปราสาทองค์เหนือ ซึ่งปัจจุบันปราสาทดังกล่าวมีการสร้างอาคารครอบไว้ ทับหลังของปราสาทองค์นี้มีความพิเศษพบได้น้อยมากในดินแดนไทย กล่าวคือ เป็นทับหลังซ้อนกัน ๒ ชิ้น สลักแยกกัน ชิ้นที่ ๑ อยู่ด้านล่างมีขนาดใหญ่ สลักภาพบุคคลที่กึ่งกลางทับหลังซึ่งลบเลือนไปแล้วแต่ยังปรากฏท่อนพวงมาลัย / พวงอุบะ และลายพรรณพฤกษา ชิ้นที่ ๒ อยู่ด้านบนมีขนาดเล็กกว่าสลักภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ โดยลักษณะทับหลังที่มี ๒ ชิ้น ซ้อนกันแบบนี้นิยมในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ แต่พบว่าทับหลังปราสาทบางองค์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ก็ยังคงปรากฏอยู่ ดังเช่นปราสาทองค์เหนือที่กู่พระโกณาแห่งนี้           ทับหลังชิ้นที่ ๒ ปราสาทองค์เหนือดังกล่าว สลักภาพพระวิษณุ (พระนารายณ์) ๒ กร พระกรซ้ายถือดอกบัว พระกรขวาหนุนพระเศียรขณะบรรทมตะแคงขวาเหนือพญาอนันตนาคราช ๕ เศียร (ช่างสลักให้เห็นเพียง ๓ เศียร อีก ๒ เศียรถูกบังไว้) ที่พระนาภี (สะดือ) มีก้านดอกบัวผุดออกมาและมีพระพรหมประทับอยู่บนนั้น แต่น่าเสียดายที่ภาพสลักส่วนนี้ชำรุด บริเวณปลายพระบาทของพระวิษณุมีพระลักษมีชายาของพระองค์ประทับอยู่ นอกจากนี้ที่ด้านปลายทั้ง ๒ ข้าง สลักรูปหงส์ข้างละ ๒ ตัวอีกด้วย จากลักษณะของนาคเศียรโล้นและรูปแบบการแต่งกายของพระวิษณุ รวมถึงรูปแบบของทับหลังชิ้นที่ ๑ กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ศิลปะแบบบาปวน ร่วมสมัยกับปราสาทสระกำแพงใหญ่ จ.ศรีสะเกษ ปราสาทสด๊กก็อกธม จ.สระแก้ว ปราสาทบ้านพลวง จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์           พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ณ ปราสาทกู่พระโกนานี้ นับเป็นทับหลังและภาพสลักที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย อีกทั้งพบเพียงแห่งเดียวในจังหวัดร้อยเอ็ด มีความสมบูรณ์งดงามด้วยรูปแบบศิลปะ และยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่อครั้งแรกสร้าง มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างยิ่ง ทั้งนี้กรมศิลปากรเล็งเห็นถึงความสำคัญ ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานกู่พระโกนาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ เนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่ ๒ งาน ๑๖ ตารางวา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติสืบไป ------------------------------------------------------- ผู้เรียบเรียง: นายกฤษณพงศ์ พูนสวัสดิ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ------------------------------------------------------- เอกสารอ้างอิง:  กษมา เกาไศยานนท์. “รูปเคารพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในประเทศไทย.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๘. สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่โบราณสถานวัดกู่พระโกนา. อุบลราชธานี: สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี, ๒๕๔๕. (เอกสารอัดสำเนา) อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๕. ------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล: สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี https://www.facebook.com/835594323191791/posts/pfbid0eWSusfL7zKKPXf4dBPAgcXKjDR3zk6nwNSnNm38Gz1zKvY9KdSCqXAFQJiYEdVFjl/?d=n -------------------------------------------------------   *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร



ชื่อผู้แต่ง           ล้อม เพ็งแก้ว ชื่อเรื่อง           พระรถนิราศ สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ? ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        เรือนแก้วการพิมพ์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๗ จำนวนหน้า      ๑๑๖ หน้า รายละเอียด                    หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นในวาระ อาจารย์เปลื้อง ณ นคร อายุครบ ๗๕ ปี เป็นหนังสือคำกลอนที่อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว ได้ค้นพบต้นฉบับ เมื่ออ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นคำกลอนชั้นดี การใช้คำบางคำ  และเชิงสัมผัสคล้ายคลึงกันกับของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ก็ไม่มั่นใจนัก จึงอยากนำมาเผยแพร่ เพื่อให้นักวรรณคดีช่วยกันสืบค้นหาว่าเป็นของท่านเจ้าพระยาพระคลัง ที่ยังลอดหูลอดตาอยู่หรือไม่  ถ้าใช่ ก็เท่ากับเราพบสมบัติวรรณกรรมอีกชิ้น ที่จะทำให้วรรณคดีสมบูรณ์ขึ้น


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 146/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/4ฉเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : นิทานอิหร่านราชธรรม (ประชุมปกรณัม) ชื่อผู้แต่ง : กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ปีที่พิมพ์ : 2506 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา จำนวนหน้า : 352 หน้า สาระสังเขป : นนทุกปกรณัมเป็นหนังสือที่มีผู้นำเนื้อเรื่องมาจากอินเดียซึ่งที่มาคือปัญจตันตระที่เป็นหนังสือเป็นชาดก นนทุกปกรณัมมีในภาษาไทยนานแล้ว


  ชื่อผู้แต่ง           คงเดช  ประพัฒน์ทอง. ชื่อเรื่อง            ขุนคลังวิทยา ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์ข่าวทหารอากาศ ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๙ จำนวนหน้า       ๘๗ หน้า : ภาพประกอบ. หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายคงเดช  ประพัฒน์ทอง ณ ฌาปนสถานวัดภคิณีนาถวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. หนังสือ “ขุนคลังวิทยา”  เป็นหนังสือที่รวมบทความของนายคงเดช ประพัฒน์ทอง เขียนไว้เป็นเรื่องสั้นบ้าง ยาวบ้าง  ซึ่งพี่ๆ น้องๆ เรียกพี่ขุน หรือขุน ส่วนคลังวิทยาเป็นนามเปรียบความรู้และความสามารถ ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่านายคงเดช  ประพัฒน์ทอง รอบรู้หลายแขนง