ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
อ่างสรงพระพักตร์ ดินเผาเคลือบ สูง 13.4 เซนติเมตร ปากกว้าง 44 เซนติเมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 5) ฝีมือช่างต่างประเทศ ที่มา เดิมอยู่ที่พระตำหนักเขาน้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลามอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2534 อ่างสรงพระพักตร์ พื้นสีขาว ลายดอกไม้หลายสี ทั้งด้านในและด้านนอก เป็นอ่างสรงพระพักตร์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ทรงเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ. 2453 – 2458 และเป็นอุปราชปักษ์ใต้ มีอำนาจบังคับบัญชามณฑลสุราษฎร์ธานี มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ. 2458 – 2468 ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่อยู่ภาคใต้ ทรงเลือกเมืองสงขลาเป็นที่ว่าการมณฑล และต่อมาได้สร้างพระตำหนักเขาน้อย ที่บริเวณเขาน้อย อำเภอเมืองสงขลา และได้ย้ายมาประทับ เมื่อปี พ.ศ. 2454 ทั้งนี้ สามารถชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงแบบเต็ม ๆ ได้ที่ :http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/songkhla ................................................................................... เรียบเรียง/กราฟฟิก : ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา อ้างอิง : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549. ที่มาของข้อมูล : https://www.facebook.com/songkhlanationalmuseum/posts/3080057088724872
ชื่อผู้แต่ง ตรี อมาตยกุลชื่อเรื่อง จังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งที่พิมพ์ ๕ พ.ศ. ๒๕๑๗สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ กิจสยามการพิมพ์ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๗ จำนวนหน้า ๘๐ หน้าคำค้น นครศรีธรรมราชหมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจวน มัลลิกะมาส
หนังสือเรื่อง จังหวัดนครศรีธรรมราช นี้ กล่าวถึงประวัติเมืองนครศรีธรรมราช โบราณวัตถุสถาน ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนนิสัยใจคอของชาวเมืองนครศรีธรรมราช
1. เวทย์มนต์คาถา อักษรขอม – ภาษาไทย ภาษาบาลี – ไทย เช่น คาถาเสกขี้ผึ้งสีปาก, คาถาภาวนาแคล้วคลาดปืน, ยันต์เทพพระรำลึก, คาถาเสกให้เดินไม่ทัน, คาถาคัดเลือก ฯลฯ
ผู้แต่ง : วัดสันติวนาราม
ปีที่พิมพ์ : 2547
สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่
สำนักพิมพ์ : ทิพย์เนตรการพิมพ์
ชื่อเรื่อง : เรื่องพระร่วง
ผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา
ปีที่พิมพ์ : 2495
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : พานิชกิจ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ขอนำเสนอโบราณวัตถุชิ้นสำคัญอันมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ภายหลังการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นคือ “พระพิมพ์ดินเผา แสดงภาพพุทธประวัติ ตอนมหาปาฏิหาริย์” พระพิมพ์แสดงภาพพุทธประวัติ ตอนมหาปาฏิหาริย์ วัสดุ ดินเผา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-13 ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส ................................................................................... พระพิมพ์ดินเผารูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าเป็นภาพพระพุทธเจ้าอยู่ในอิริยาบทประทับนั่งขัดสมาธิราบ ล้อมรอบด้วยมนุษยนาค และเหล่าทวยเทพเทวดา พระหัตถ์แสดงปางสมาธิ มีฉัพพรรณรังสีล้อมรอบพระเศียร ประทับนั่งบนดอกบัว ซึ่งมีก้านบัวงอกออกมาจากเบื้องล่าง ตรงก้านบัวมีรูปบุคคล 3 คน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นมนุษยนาค ถัดขึ้นมาในระดับเดียวกับพระพุทธเจ้า ปรากฏรูปบุคคลยืนในท่าตริภังค์ (ท่ายืนโดยเอียง 3 ส่วนคือ สะโพก ไหล่ และศีรษะ) สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระอินทร์ พระพรหม และเหล่าเทพเทวดา ด้านบนสุดของภาพ มีกลุ่มบุคคลแสดงท่าทางคล้ายกำลังเหาะอยู่บนท้องฟ้า ซึ่งน่าจะเป็นเหล่าทวยเทพเทวดาที่เสด็จลงมาเฝ้าพระพุทธเจ้า และที่มุมบนด้านข้างของภาพมีวงกลมขนาดเล็ก 2 วง ภายในเป็นรูปบุคคลเห็นเพียงครึ่งตัว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระอาทิตย์และพระจันทร์ ส่วนด้านหลังของพระพิมพ์ เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี มีข้อความเป็นคาถา “เย ธมฺมาฯ” ลักษณะเป็นรอยขูดขีดด้วยวัสดุปลายแหลม ซึ่งน่าจะเป็นการจารึกด้วยมือโดยตรงก่อนนำไปเผา โดยคาถา “เย ธมฺมาฯ” ถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นคาถาที่พบได้ทั่วไปในดินแดนที่นับถือพระพุทธศาสนาในเอเชีย รวมทั้งในประเทศไทย คาถาดังกล่าวมักจารึกบนวัสดุต่าง ๆ หลายประเภท ทั้งแผ่นลานทอง ลานเงิน แผ่นอิฐ แผ่นศิลา จารึกบนพระพิมพ์ พระพุทธรูป และรูปเคารพพระโพธิสัตว์ มักจะจารึกด้วยตัวอักษรตามยุคสมัย และอักษรที่ใช้อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น อักษรพราหมีสมัยราชวงศ์คุปตะ อักษรปัลลวะ เป็นต้น ส่วนภาษาที่จารึกจะเป็นภาษาบาลี หรือสันสกฤต จากลักษณะองค์ประกอบโดยรวมของพระพิมพ์ดินเผาองค์นี้ทำให้สันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นพระพิมพ์ดินเผาแสดงภาพพุทธประวัติ ตอนมหาปาฏิหาริย์ ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงมหาปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี โดยทรงประทับนั่งบนดอกบัวซึ่งถูกเนรมิตขึ้นโดยราชาแห่งนาค 2 ตนนามว่า นันทะ และอุปนันทะ มีพระพระอินทร์ พระพรหม และเหล่าทวยเทพเทวดาทั้งหลายเสด็จลงมาเข้าเฝ้า พระพิมพ์ดินเผาองค์นี้เป็นพระพิมพ์ศิลปะทวารวดี น่าจะมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 ไม่ปรากฏแหล่งที่มาแน่ชัด แต่น่าจะถูกนำมาจากที่อื่น เนื่องจากเป็นวัตถุที่มีขนาดเล็กสามารถเคลื่อนย้ายนำไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่าย ทั้งนี้ยังพบพระพิมพ์ดินเผาจากแม่พิมพ์เดียวกันนี้ในพื้นที่ที่เป็นเมืองโบราณในสมัยทวารวดีอีกหลายแห่งด้วยกัน เช่น ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กรุพระบรมธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น ซึ่งการพบพระพิมพ์ดินเผาจากแม่พิมพ์เดียวกันเช่นนี้ แสดงให้เห็นถึงการติดต่อเชื่อมโยงกันระหว่างชุมชนโบราณในสมัยทวารวดีได้เป็นอย่างดี พระพิมพ์ถือได้ว่าเป็นโบราณวัตถุสำคัญอย่างหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา โดยการริเริ่มสร้างพระพิมพ์นั้นเกิดขึ้นในประเทศอินเดีย สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-11 สมัยราชวงศ์คุปตะ ซึ่งถือเป็นยุคทองของศิลปะอินเดีย คติในการสร้างพระพิมพ์ แต่เดิมคงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่ระลึก แสดงถึงการที่พุทธศาสนิกชนได้ไปบูชาสังเวชนียสถานทางพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (สวนลุมพินี) สถานที่ตรัสรู้ (ตำบลพุทธคยา) สถานที่แสดงปฐมเทศนา (ตำบลสารนาถ) และสถานที่ปรินิพพาน (เมืองกุสินารา) ต่อมาได้พัฒนาจนกลายเป็นการสร้างเพื่อการทำบุญ และอุทิศบุญกุศลแด่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว (คติแบบมหายาน) และน่าจะถูกสร้างขึ้นเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาด้วย (คติแบบเถรวาท) เพราะในทางพระพุทธศาสนาเชื่อกันว่า พระพุทธศาสนาจะเสื่อมลงเมื่อครบอายุ 5,000 ปี จึงได้คิดสร้างพระพิมพ์และนำไปฝังไว้ในถ้ำหรือสถูปต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยหวังว่าในอนาคตหากมีผู้บังเอิญขุดพบพระพิมพ์ที่มีรูปของพระพุทธเจ้าหรือหลักธรรมของพระองค์ พระพิมพ์นั้นอาจเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้พบเห็นเกิดความเลื่อมใสและเชื่อถือในศาสนาพุทธอีกครั้ง ความนิยมในการสร้างพระพิมพ์ในประเทศอินเดีย ได้ส่งอิทธิพลต่อดินแดนที่รับนับถือพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จากหลักฐานการขุดค้นพบพระพิมพ์ตามแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ในหลาย ๆ ประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงถือได้ว่าพระพิมพ์เป็นโบราณวัตถุสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถพบได้โดยทั่วไปในดินแดนที่รับนับถือพระพุทธศาสนา เพราะว่าเป็นสิ่งแทนสัญลักษณ์สำคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาในรูปของวัตถุขนาดย่อม สามารถเคลื่อนย้ายนำไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่าย อีกทั้งขั้นตอนในการสร้างก็ไม่ยุ่งยากเหมือนอย่างประติมากรรมรูปแบบอื่น ๆ .................................................................................... เรียบเรียง/กราฟฟิก : นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ และนางสาวจันทร์สุดา ทองขุนแก้ว นักวิชาการวัฒนธรรม/ ฝ่ายวิชาการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา.................................................................................... อ้างอิง : 1. ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546. 2. นิติพันธุ์ ศิริทรัพย์. “พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีที่นครปฐม.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2524. 3. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. มรดก 1,000 ปี เก่าที่สุดในสยาม. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, 2556. 4. วิริยา อุทธิเสน. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำชีตอนกลาง กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546. 5. สันติ เล็กสุขุม. ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ): การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548.
การประชุมผู้บริหารกรมศิลปากร ครั้งที่ ๗/๒๕๕๗ (สัญจร)ณ โรงแรมร้อยเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีและติดตามการปฏิบัติงานขุดศึกษาพื้นที่ที่พบโบราณวัตถุประเภททองคำ ท้องที่หมู่ที่ ๘ บ้านทุ่งอ้อตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงวันที่ ๒ถ - ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
กลศ (Kalaśa) หรือ กุมภะ (Kumbha) คือ หม้อ/เหยือก/โถ/แจกัน บรรจุน้ำ รูปทรงน้ำเต้า คอสูง ปากแคบ คล้ายขวด ไม่มีพวย ไทยเรามักเรียกว่า “คนโท” นิยมใช้เป็นองค์ประกอบสถาปัตยกรรมส่วนยอดวิหารในอินเดีย ในสมัยพระเวทเรียกว่า “หม้อเต็มด้วยน้ำ” ได้แก่ ปูรณ-กลศ (Pūrṇa-kalaśa) ปูรณ-กุมภะ (Pūrṇa-kumbha) หรือ ปูรณฆฏะ (Pūrṇa-ghaṭa) เชื่อว่าบรรจุน้ำอมฤต/น้ำศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ภูมิปัญญา ความบริสุทธิ์ แหล่งกำเนิดของชีวิต และความเป็นอมตะ บางครั้งกลศก็เต็มด้วยเหรียญเงิน ข้าว อัญมณี และทองคำ หรือส่วนผสมของสิ่งกล่าวแทนน้ำ กลศใช้เป็นหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม เช่นใช้ในพิธีหลั่งน้ำโสม (สุรา) เพื่อบวงสรวงเทพเจ้าตั้งแต่สมัยพระเวท ใช้หลั่งน้ำลงดิน หรือหลุมเสาเอกก่อนการก่อสร้าง เพื่อความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ ยังใช้เป็นหม้อน้ำติดตัวคนเดินทางโดยเฉพาะพวกนักพรต นักบวชชาวอินเดียทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ทางประติมานวิทยาเป็นสัญลักษณ์แสดงลักษณะของเทพเจ้าหลายพระองค์ เช่น พระพรหมา (Brahma) เทพผู้สร้าง ทรงหม้อน้ำในพระหัตถ์ข้างหนึ่ง น้ำซึ่งบรรจุอยู่ภายในกล่าวว่าเป็นน้ำเมื่อแรกกำเนิดจักรวาล พระพรหมทรงโลกขึ้นโดยหย่อนเมล็ดพืชลงในน้ำนั้น พระลักษมี (Lakṣamī) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และพระศิวะ (Śiva) ในฐานะเทพคุรุ ในศาสนาพุทธ พระโพธิสัตว์ถือกลศเป็นสัญลักษณ์แสดงลักษณะของนักบวช เช่น พระปัทมปาณี (Padmapanī) พระไมเตรยะ (Maitreya) พระนางภฤกุฏี (Bhṛkuṭi) กลศในพุทธศาสนาจัดเป็นหม้อน้ำอมฤต หรือหม้ออาหารทิพย์ หรือยาอายุวัฒนะภาพ 1. เหรียญเงินทวารวดี รูปกลศ หรือ ปูรณกลศ พบที่จังหวัดนครปฐม พุทธศตวรรษที่ 12 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภาพ 2. สัญลักษณ์มงคลรูปกลศะ บนแผ่นหินสลัก ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-16 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภาพ 3. กลศ ศิลปะอินเดียแบบคันธารราฐ พุทธศตวรรษที่ 7 – 8 ปกติมักถือในหัตถ์ของพระโพธิสัตว์ไมเตรยะ British Museum ภาพ 4. พระศิวะสี่กร แสดงปางประทานพร ถือตรีสูร สรรปะ (งู) และ กลศะ ศิลปะอินเดีย พุทธศตวรรษที่ 16 Asian Art Museum of San Francisco--------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอ้างอิง 1. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี 2. Gods, Goddesses & Religious Symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism 3. Iconography of the Hindus, Buddhists and Jains 4. https://en.wikipedia.org/ wiki/Kalasha
วันนี้ (วันพุธที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๓) เวลา ๐๘.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และ พิธีทำบุญตักบาตร พร้อมทั้งลงนามถวายพระพร ในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ โดยมี นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฏิบัติหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม) นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมพิธี ณ บริเวณด้านหน้าอาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ ชั้น ๑ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพฯ ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ บริเวณ ห้องโถง ชั้น ๑ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพฯ
โบราณวัตถุจัดแสดง นิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๓ เรื่อง ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ ระหว่างวันที่ ๑๙ สิงหาคม - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ---------------------------------------๑. พระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ปั้นหุ่นต้นแบบรูปนี้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๖ และเก็บรักษาไว้ที่ ตำหนักปลายเนิน ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๔๙ กรมศิลปากรได้ขออนุญาตหล่อพระรูปจากหุ่นต้นแบบนั้น และนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ในอดีตคนไทยไม่นิยมสร้างรูปเหมือนบุคคลที่ยังมีชีวิตเพราะจะทำให้อายุสั้น แต่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นพระราชวงศ์องค์แรกที่ยอมรับแนวคิดแบบตะวันตก และยินดีให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ปั้นหุ่นพระองค์เป็นต้นแบบ นับเป็นจุดเปลี่ยนแนวคิดในการสร้างงานประติมากรรมรูปเหมือนบุคคลจริงของสังคมไทย ทำให้เกิดการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมรูป พระรูปอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา ๒. โต๊ะทรงพระอักษร โต๊ะสำหรับทรงพระอักษรของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พร้อมเครื่องเขียนและของใช้ส่วนพระองค์ และที่สำคัญบนโต๊ะยังมีร่างจดหมายฉบับสุดท้ายที่ทรงถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และปฏิทินที่ระบุหน้าสุดท้ายที่ทรงใช้คือวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๖ ก่อนจะสิ้นพระชนม์ ๓. ลับแลอิเหนา ลับแล คือเครื่องกั้นใช้สำหรับบังสายตา กั้นห้อง แบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ลับแลบานนี้มีความ พิเศษสองประการคือ การตกแต่งด้วยการเขียนลายกำมะลอ ซึ่งนอกจากจะปิดทองคำเปลวแล้ว ยังมีการผสมสีฝุ่นกับน้ำรัก ระบายให้มีสีสันบนพื้นผิวด้วย สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงสันนิษฐานว่าวิธีการเขียนลายแบบนี้ได้มาจากช่างจีนที่อยู่ในประเทศไทย และช่างไทยได้นำมาดัดแปลงเขียนลงบนตู้พระธรรม หีบพระธรรมต่าง ๆ ความพิเศษอีกประการหนึ่งคือ เรื่องราวที่นำมาเขียนเป็นเรื่องอิเหนา มิใช่เรื่องรามเกียรติ์ ชาดกหรือพุทธประวัติตามที่ได้เห็นในงานจิตรกรรมทั่วไป๔. สมุดภาพตำรารำ รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ จัดทำ“ตำราภาพรำ” โดยรวบรวมท่าฟ้อนรำที่สืบมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ๓๖ ท่า ให้จิตรกรเขียนภาพลงบน สมุดไทยขาว นับเป็นตำราท่ารำเก่าแก่ที่ใช้เป็นต้นแบบของการแสดงนาฏศิลป์ของไทย ในสมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรียบเรียงข้อมูลหนังสือ “ตำราฟ้อนรำ” ขึ้นใหม่ให้มีความสมบูรณ์ โดยใช้สมุดภาพตำรารำ รัชกาลที่ ๑ เป็นต้นแบบ ๕. โครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี มีอายุราว ๓,๕๐๐ – ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีนี้ นอกจากจะเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรีมีมนุษย์อยู่อาศัยมาเมื่อหลายพันปีก่อนแล้ว ยังเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกให้เห็นภาวะพยาธิวิทยาหรือโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ โดยสังเกตจากสภาพฟันผุ สึกกร่อน ที่อาจเกิดจากการกินของเปรี้ยวหรือการฝนขัดฟัน และกะโหลกศีรษะที่หนาผิดปกติซึ่งแสดงถึงภาวะโรคโลหิตจาง เป็นต้น ๖. ศิลาจารึกวัดพระงาม การค้นพบศิลาจารึกเสมือนการได้ย้อนกลับไปในโลกอดีตในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างชัดเจน การ ขุดพบศิลาจารึกจากเนินสถูปวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม เมื่อพุทธศักราช ๒๕๖๒ ก็เช่นเดียวกัน จารึกหลักนี้ จารด้วยอักษรตัวอักษรแบบปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างงดงาม เนื้อความกล่าวถึงการสรรเสริญ พระราชา เมืองทวารวดี และการอุทิศสิ่งของถวายเทพเจ้า ในการศึกษาโบราณคดีและประวัติศาสตร์อาจกล่าวได้ว่าจารึกหลักนี้เป็นอีกหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนแนวคิดเรื่องการมีอยู่ของ “ทวารวดี” เมืองในยุคสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย เมื่อกว่า ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ๗. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นสัญลักษณ์ของปัญญาและโพธิญาณตามคติพุทธศาสนามหายาน พระองค์จะโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นสังสารวัฏก่อนแล้วจึงจะเสด็จสู่นิพพานเป็นองค์สุดท้าย สมเด็จฯ กรม พระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงพบรูปพระโพธิสัตว์องค์นี้ขณะเสด็จตรวจราชการทางภาคใต้บริเวณวัดพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน แม้ว่าประติมากรรมชิ้นนี้จะชำรุดแต่ได้ชื่อว่างดงามที่สุดชิ้นหนึ่งในสยามประเทศ ๘. ตุ่มสุโขทัย เป็นชื่อที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงใช้เรียกตุ่มขนาดใหญ่ ไม่มีน้ำเคลือบ ซึ่งขุด พบจากเตาบ้านเกาะน้อย จังหวัดสุโขทัย ปัจจุบันพบว่าตุ่มขนาดใหญ่แบบเดียวกับกันนี้มีแหล่งผลิตอยู่ที่เตา แม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี ด้วย แตกต่างกันตรงที่ตุ่มแบบหลังจะเคลือบสีน้ำตาล สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชา นุภาพ ทรงระบุไว้ในจดหมายเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๔๗๘ ว่าในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร มี “ตุ่มสุโขทัย” อยู่หลายใบ ๙. ตู้พระธรรมลายรดน้ำบานกระจก รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กระแสวัฒนธรรมตะวันตก แพร่หลายอย่างรวดเร็ว ตู้กระจกแบบใหม่และการเข้ามาของสมุดฝรั่งมีมากขึ้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ จึงทรงรวมรวมตู้พระธรรมโบราณจากวัดต่าง ๆ มาเก็บไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครและทรงดัดแปลง ฝาหลังตู้ซึ่งไม่มีลวดลายประดับเป็นบานกระจก สำหรับใส่หนังสือเพื่อไม่ให้ลายทองด้านหน้า ลบเลือนจากการเปิดปิดตู้ ๑๐. ต้นฉบับภาพร่างพัดบรมราชาภิเษก ๒๔๖๘ ภาพเขียนสีน้ำบนกระดาษเป็นต้นแบบสำหรับปักพัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พุทธศักราช ๒๔๖๘ ฝีพระหัตถ์การออกแบบของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ดังจะเห็นได้จากตราประจำพระองค์ “น ในดวงใจ”ที่ทรงซ่อนไว้ในชิ้นงาน คำว่า “เดชน์” ในพระบรมนามาภิไธย “ประชาธิปกศักดิเดชน์” แปลว่า “ลูกศร” รูปพระแสงศร ๓ องค์ หมายถึง ราชศาสตราวุธของพระราม ได้แก่ พระแสงพรหมมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาด และพระแสงอัคนีวาต
ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.
ปีที่พิมพ์ : 2464
หมายเหตุ : พระโสภณอักษรกิจ พิมพ์สนองพระคุณท่านเจ้าพระยารามราฆพฯ ในงานฉลองสุพรรณบัฎ
นำเสนอเนื้อหาของพระราชนิพนธ์ กลอนเพลงยาวนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง
กรมศิลปากรกำหนดถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๖๓ ณ วัดพระงาม จังหวัดนครปฐม กรมศิลปากร กำหนดถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๖๓ ณ วัดพระงาม ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ในวันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. และขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยโดยเสด็จพระราชกุศลได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรรับผ้า พระกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๖๓ นำไปถวาย ณ วัดพระงาม ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยในวันศุกร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. กรมศิลปากร ได้จัดการแสดงโขน เรื่อง“รามราชจักรี” สมโภชองค์พระกฐิน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย และกำหนดถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ในวันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. พร้อมทั้งบริจาคปัจจัยนำเข้าสมทบถวายบำรุงพระอารามหลวง วัดพระงาม วัดพระงาม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพ.ศ.๒๕๐๕ และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดใหญ่ที่คาดว่าสร้างในสมัยทวารวดี กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยความรู้ ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีโบราณสถานวัดพระงาม ก่อให้เกิดกระบวนการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ตลอดจนการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานแห่งนี้อย่างจริงจัง กิจกรรมหลักคือการขุดศึกษาทางโบราณคดี เพื่อศึกษาศาสนสถานในวัฒนธรรมทวารวดีของเมืองโบราณนครปฐม ทั้งในด้านรูปแบบสถาปัตยกรรมและคติความเชื่อ กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของ โดยเสด็จพระราชกุศล ในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๖๓ ได้ที่ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร ในกรณีส่งธนาณัติ หรือ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ โปรดสั่งจ่ายในนามผู้อำนวยการกลุ่มคลังและพัสดุ กรมศิลปากร ปณ.หน้าพระลาน กทม. ๑๐๒๐๐ หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารออมสิน สาขาหน้า พระลาน บัญชีเลขที่ ๐ ๕ ๐ ๕ ๗ ๐ ๓ ๔ ๕ ๕ ๙ ๐ ชื่อบัญชี การกุศลกรมศิลปากร ประเภทเงินฝากออมทรัพย์ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๓ ทั้งนี้ กรมศิลปากรจะได้รวบรวมนำเข้าสมทบถวายบำรุงพระอารามหลวงวัดพระงามต่อไป สอบถามเพิ่มเติมโทร. ๐ ๒๒๒๑ ๗๘๑๒