ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,219 รายการ

ลวดลายปูนปั้นที่ถูกขุดพบในเวียงกุมกามมักเป็นการพบชิ้นส่วนขนาดเล็ก ลายส่วนใหญ่เป็นลายประดับของเจดีย์ทรงปราสาท มีส่วนน้อยที่ประดับตามอาคารประเภทอื่น ลายปูนปั้นที่ยังคงหลงเหลือประดับตามโบราณสถานต่างๆ ในเวียงกุมกามเหลือเพียงไม่กี่แห่ง ได้แก่ วัดกู่คำ (เจดีย์เหลี่ยม) วัดกู่ขาว วัดปู่เปี้ย วัดหัวหนอง วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดพญามังราย วัดกู่ป้าด้อม ที่ฐานชุกชีวัดหนานช้าง ลวดลายปูนปั้นสามารถจำแนกได้ ดังนี้        ลายกระหนก                 เป็นรูปแบบในโครงสามเหลี่ยม ลายกระหนกในล้านนาเริ่มปรากฎหลักฐานโดยเกี่ยวข้องกับศิลปะแบบมอญ เช่นกระหนกที่เจดีย์วัดกู่กุด กระหนกที่เจดีย์วัดป่าสักเชียงแสน กระหนกในเวียงกุมกามน่าจะเป็นกระหนกที่เกิดจากสายพัฒนาการของศิลปะล้านนา รูปแบบที่เก่า ได้แก่ กระหนกประกอบลายดอกไม้ในกรอบช่องกระจกที่ฐานวิหารวัดพระเจ้าองค์ดำ หรือกระหนกปลายกรอบซุ้มจระนำวัดต้นข่อย กระหนกทั้งสองเกิดจากการปั้นปูนเป็นวงโค้งติดกับพื้น จากนั้นใช้นิ้วกดและรีดเนื้อปูนให้ยกขึ้น ต่อหัวขมวดอย่างคร่าวๆ โดยกำหนดอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑                ลายกระหนกที่ปลายกรอบซุ้มจระนำวัดปู่เปี้ย หรือกระหนกที่วัดหัวหนอง มีวิธีที่ถูกพัฒนาต่อเนื่องลงมา คือมีการยกเนื้อปูนสูงขึ้นมาก มีการสะบัดพริ้วที่ปลายมาก คล้ายได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน กระหนกลักษณะนี้สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เพราะอาคารหลายแห่งที่สร้างราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ มีการประดับด้วยกระหนกลักษณะนี้ เช่น การประดับซุ้มโขงที่วัดเจ็ดยอด กระหนกเจดีย์วัดปันสาท เป็นต้น        ลายกาบและลายประจำยามอก                 ลายกาบคือลายในทรงสามเหลี่ยมที่ประดับตามมุมเสา กาบที่ประดับด้านบนของเหลี่ยมเสาปลายแหลมของกาบชี้ลง เรียกว่า กาบบน หรือบัวคอเสื้อ กาบที่ประดับโคนเสาปลายแหลมของกาบที่ชี้ลงด้านล่าง เรียกว่า กาบล่าง และหากตรงกลางเสามีลายรัดที่เกิดจากกาบบนและกาบล่างมาผสมกันเรียกว่าประจำยามอก                 ประจำยามที่พบจากการขุดแต่งเจดีย์วัดกู่อ้ายหลาน น่าจะมีรูปแบบที่เก่าสุดในเวียงกุมกาม จากลักษณะของประจำยามตรงกึ่งกลางของประจำยามเป็นรูปวงกลม ทั้งสี่ด้านเป็นรูปกลีบบัว กลีบบัวมีความนูนหนา และขีดรอบวงโค้งในกลีบ รอบกลีบเป็นหัวขมวดอย่างคร่าวๆ มีความคล้ายคึงกับกลีบบัวที่ประจำยามวัดป่าสักเชียงแสน ประจำยามที่วัดกู่อ้ายหลานน่าจะอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๑                 ประจำยามอกที่ท้องไม้ฐานปัทม์เจดีย์วัดกู่ขาว กรอบของประจำยามเป็นวงโค้งหลายวงต่อเนื่องกัน ภายในมีหลายวงกลมขนาดใหญ่เป็นประธานล้อมรอบด้วยลายเม็ดกลมและตัวเหงา พื้นที่ว่างภายในกรอบประดับด้วยลายกระหนกและลายหงส์แบบจีน                  ลายกาบที่เจดีย์ทรงปราสาทใกล้ฐานเจดีย์ประธานวัดหนานช้าง เป็นลายกาบที่มีกรอบโค้งหยัก แต่หลักฐานที่เหลืออยู่ไม่มีรูปทรงที่สมบูรณ์ แต่คาดว่าน่าจะเป็นทรงกลีบบัวโค้งหยัก เช่นลายกลีบบัวที่ประดับโขงวัดชมพู เชียงใหม่ กำหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓        ลายประเภทกรอบคดโค้ง                 ในเวียงกุมกามพบหลักฐานเหลือเพียงสี่แห่ง คือ ที่ฐานวิหารวัดพระเจ้าองค์ดำ หัวเสาซุ้มจระนำเจดีย์วัดพญามังราย ซุ้มโขงวัดหัวหนอง ฐานชุกชีบนวิหารวัดหนานช้าง ลายกรอบคดโค้งที่วัดพญามังรายและวัดพระเจ้าองค์ดำ มีลักษณะใกล้เคียงกันมากกับลายดอกไม้ที่ประดับเจดีย์วิหารในวัดเจ็ดยอด ซึ่งกำหนดอายุไว้ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑        ลายกลีบบัว                 ที่เจดีย์วัดกู่อ้ายหลาน ได้พบลายกลีบบัวประดับปากระฆัง ลักษณะเป็นกลีบบัวเกลี้ยง ประกอบด้วยเส้นโค้งสองวงมาบรรจบกัน ภายในกลีบวงโค้ง ที่เกิดจากการขูดเอาเนื้อปูนออกโดยรอบมีหัวขมวดขึ้น ซึ่งแตกต่างไปจากกลีบบัวที่วัดป่าสัก                กลีบบัวที่ฐานชุกชีวิหารวัดกู่ป้าด้อม มีทั้งกลีบบัวคว่ำ บัวหงาย และกลีบแทรก ซึ่งมีลักษณะเดียวกับกลีบบัวที่ประดับเจดีย์วัดป่าสัก แต่กลีบบัวที่ฐานชุกชีวิหารวัดกู่ป้าด้อมเป็นกลีบบัวเกลี้ยงไม่มีรายละเอียดประกอบ                กลีบบัวที่ฐานชุกชีวัดกู่ขาว ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว ลักษณะเป็นกลีบบัวโค้งเรียบที่เกิดจากการปั้นเส้นปูนมาวางเป็นวงโค้งบรรจบกันเป็นปลายแหลมภายในประดับลายกระหนก  ที่มาข้อมูล  : จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา, ประวัติศาสตร์แะศิลปกรรมเวียงกุมกาม : ตะวัน วีระกุล, วัดเวียงกุมกาม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร  ที่มารูปภาพ : เวียงกุมกาม รายงานการขุดค้นขุดแต่งศึกษาและการบูรณะโบรารณสถาน หน่วยศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ กองโบราณคดี พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๒


ชื่อเรื่อง                           เทศนาวิภังค์-มหาปัฏฐานสพ.บ.                                  195/7ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 55.1 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี    


เจดีย์ช้างล้อม หลักฐานการสร้างประติมากรรมรูปช้างประดับที่ฐานเจดีย์นั้น พบครั้งแรกที่สถูปรุวันเวลิ ในประเทศศรีลังกา ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๔ ตรงกับสมัยอนุราธปุระ สร้างโดยพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย เมื่อครั้งที่พระองค์ชนะการกระทำยุทธหัตถีดับพระเจ้าเอฬาร กษัตริย์ทมิฬ ซึ่งเชื่อว่าเจดีย์/สถูปองค์นี้เป็นต้นแบบในการสร้งเจดีย์ช้างล้อมในดินแดนประเทศไทย คติการสร้างเจดีย์ช้างล้อมนี้ มี ๒ แนวทาง คือ ๑. สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการชนะการทำสงคราม โดยเฉพาะการกระทำยุทธหัตถี ซึ่งเป็นคติจากสถูปรุวันเวลิของพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย ๒. เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนการเป็นศูนย์กลางจักรวาล โดยมีพระเจดีย์แทนพระจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่บนเขาพระสุเมรุ มีช้างอยู่ประจำตามทิศเบื้องล่างลงไป สำหรับเมืองศรีสัชนาลัย มีการสำรวจพบเจดีย์ที่ประดับฐานด้วยประติมากรรมรูปช้างอย่างน้อย ๕ แห่ง ได้แก่ เจดีย์ประธานวัดช้างล้อม เจดีย์ประธานวัดนางพญา เจดีย์ประธานวัดสวนสัก(องค์ใน) เจดีย์ประธานวัดศรีมหาโพธิ์(องค์นอก) และเจดีย์รายหมายเลข ๑๘ วัดเจดีย์เจ็ดแถวค่ะ ผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจดีย์ช้างล้อมได้ในหนังสือ "เจดีย์ช้างล้อมกับประวัติศาสตร์บ้านเมืองและพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในประเทศไทย" ของสุรพล ดำริห์กุล เครดิตภาพ : คุณบัณฑิต ทองอร่าม


เลขทะเบียน : นพ.บ.81/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  42 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8หมื่น) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม 


ชื่อเรื่อง                                โอวาทปาติโมกข์คาถา (โอวาทปาติโมกฺขคาถา)สพ.บ.                                  152/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระสูตร บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.139/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 83 (330-333) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๖๗ เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.27/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



องค์ความรู้ทางวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เรื่อง "แหล่งเตาบ่อสวก ตอนที่ ๒ เอกลักษณ์เครื่องปั้นดินเผาเมืองน่าน" (ตอนจบ)  เตาบ่อสวก มีลักษณะเป็นเตาเผาห้องเดี่ยว ผนังเตาก่อด้วยดิน ชนิดระบายความร้อนผ่านเฉียงขึ้น ผลิตเครื่องถ้วยประเภทชาม ไห ครก กระปุก กุณฑี น้ำต้น พาน ผางประทีป ตะเกียง ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน มีทั้งลักษณะเนื้อดินธรรมดาไม่เคลือบ (earthen wares) และเนื้อแกร่ง (stone wares) ภาชนะแบบเคลือบมักมีสีขาวนวล สีเขียวนวล สีเขียวแกมน้ำตาล สีดำ บางชิ้นเขียนลายใต้เคลือบ  “ไหลายน่าน” เป็นภาชนะที่มีลักษณะลวดลายโดดเด่นซึ่งเอกลักษณ์เครื่องปั้นดินเผาเมืองน่าน มีลักษณะเป็นไหทรงสูง ไหล่กว้าง ปากบานผายออกคล้ายปากแตร ขอบปากชั้นเดียว ก้นแคบเรียบ ตัวไหเคลือบสีเขียวนวล และสีน้ำนม สีเขียวแกมน้ำตาล มีการตกแต่งลวดลายตรงไหล่และตรงรอยต่อของไหล่กับคอไห ลักษณะลวดลายของแหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวก มีความโดดเด่นเฉพาะตัวซึ่งยังไม่พบในแหล่งเตาอื่นๆ คือ ลายคล้ายนกฮูกหรือนกเค้าแมวในกรอบกลีบบัวปลายตัดคล้ายอินทรธนู หรือตุงกระด้างปั้นแปะประดับโดยรอบไหล่ไหคล้ายกรองศอ และมีแถบลายปั้นแปะเป็นเม็ดกลมเล็กๆ ลวดลายปั้นแปะคล้ายลายก้านขดเล็กๆ และลายปั้นแปะเป็นดอกไม้เล็กๆ อยู่ที่ส่วนล่างของคอไห (เหนือแถบลายอินทรธนู) และเฉพาะลวดลายในกรอบกลีบบัว มักเคลือบสีเขียวเข้ม สีเขียวแกมน้ำตาลซึ่งเป็นสีที่เข้มกว่าสีเคลือบพื้นของไห เครื่องปั้นดินเผาที่พบจากแหล่งเตาบ่อสวก ส่วนใหญ่เป็นเครื่องถ้วยเนื้อแกร่ง (Stoneware) แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆตามรูปทรง ได้แก่ ๑. ชามและจาน มีทั้งชนิดเคลือบสีเดียว เคลือบสองสี และเขียนลายใต้เคลือบ ๒. ครก ๓. ไห มีสองแบบ คือ ไหแบบธรรมดาที่มีขอบปากชั้นเดียว และไหแบบพิเศษมีขอบปากสองชั้น ๔. พระพิมพ์ดินเผา (พระบ่อสวก) ๕. เครื่องปั้นดินเผารูปแบบอื่นๆ ได้แก่ พาน คนโทน้ำหรือน้ำต้นมีพวย ขวด ตะเกียง ตุ้มถ่วงน้ำ (ถ่วงแห) สากดินเผา กระเบื้องดินเผา ตุ๊กตารูปคน และตุ๊กตารูปสัตว์ จากการสำรวจแหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวก เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เดือนกรกฎาคมและเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ พบเศษเครื่องถ้วยจีนและเครื่องถ้วยล้านนาหลายชิ้นกระจายอยู่ทั่วไปบนผิวดิน ได้แก่  (๑) เศษเครื่องถ้วยลายครามจีน มีตัวอักษรจีน สมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๒๐๙๕ - ๒๑๖๙) (๒) เศษเครื่องถ้วยลายครามจีน มีรอยจารอักษรไทยล้านนา (๓) เครื่องถ้วยเวียงกาหลง  วิทยาการการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะพิเศษของแหล่งเตาบ่อสวก คือ การใช้กล่องดินหรือจ๊อ (saggars) ครอบภาชนะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายขณะเผา นับเป็นวิทยาการก้าวหน้าในสมัยนั้น ซึ่งไม่ปรากฏในแหล่งเตาเผาอื่นๆอย่างสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กิจกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาสมัยโบราณของเมืองน่านจัดอยู่ในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพราะได้พบเครื่องถ้วยเมืองน่านในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา และบริเวณเทือกเขาถนนธงชัยในเขตจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดตาก ซึ่งน่าจะสะท้อนถึงเส้นทางการค้าของเครื่องถ้วยเมืองน่านไปสู่ดินแดนห่างไกลทางอ่าวมะตะบัน และมหาสมุทรอินเดีย หลักฐานที่ได้จากการขุดค้น เช่น จารึกบนกล่องดิน ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง และเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเวียงกาหลง ทำให้สันนิษฐานว่าช่วงเวลาการผลิตเครื่องดินเผาเมืองน่านน่าจะมีการผลิตแพร่หลายในช่วงประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ และอาจจะลดปริมาณการผลิตลงในช่วงที่เกิดสงครามระหว่างล้านนากับพม่า เอกสารอ้างอิง     - สายันต์ ไพรชาญจิตร์. โบราณคดีชุมชนที่เมืองน่าน. กรุงเทพฯ : โครงการโบราณคดีชุมชน, ๒๕๔๓. - สำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน. คู่มือประกอบกิจกรรมสร้างเครือข่ายเพื่อบริหารจัดการเตาเผาโบราณตำบลบ่อสวก, ๒๕๕๕. ภาพประกอบ/ภายลายเส้น - สายันต์ ไพรชาญจิตร์. โบราณคดีชุมชนที่เมืองน่าน. กรุงเทพฯ : โครงการโบราณคดีชุมชน, ๒๕๔๓. - องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. รายงานการขุดค้นแหล่งเตาดงปู่ฮ่อ บ้านบ่อสวก ต.สวก อ.เมือง จ.น่าน, ๒๕๔๖. ปัจจุบันโบราณวัตถุจากแหล่งเตาบ่อสวก ได้มีการจัดแสดงให้เข้าชม ณ ห้องนิทรรศการชั่วคราวสมัยประวัติศาสตร์ ชั้นล่างของอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน สามารถมาเยี่ยมชมได้นะคะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เปิดให้บริการทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม : ชาวไทย ๒๐ บาท , ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท, นักเรียน นักศึกษา ผู้สูงอายุ พระภิกษุ และนักบวชทางศาสนา เข้าชมฟรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐๕๔ - ๗๗๒ ๗๗๗





หลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองชัยนาท แห่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี .. ภายในโถงจัดแสดงชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ได้ปรากฏการประดิษฐาน พระพุทธรูปโลหะสำริดปางมารวิชัย มีรูปแบบทางศิลปะแบบสุโขทัย อิทธิพลล้านนา ซึ่งพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยรูปแบบนี้จะเรียกว่า พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย หมวดวัดตระกวน โดยพระพุทธรูปโลหะสำริดปางมารวิชัยองค์นี้ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ .. "หลวงพ่อเพชร" เป็นนามของพระพุทธรูปองค์นี้ที่ชาวชัยนาทขนานนามกันมาแต่เก่าก่อน การขนานนามว่าพลวงพ่อเพชรอาจเนื่องด้วยพระพุทธรูปองค์นี้ ประทับอยู่ในท่านั่งแบบขัดสมาธิ (ขัดสะหมาด) ซึ่งเป็นการนั่งแบบขัดสมาธิที่เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร โดยมีรูปแบบการนั่ง คือ นั่งแบบคู้เข่าทั้งสองข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า โดยเอาฝ่าเท้าทั้งสองข้างขึ้นข้างบน จึงนำชื่อท่านั่งขัดสมาธิดังกล่าวมาเรียกเป็นนามของพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อเพชร” .. หลวงพ่อเพชร มีขนาดหน้าตักกว้าง ๗๒ เซนติเมตร และมีความสูงนับจากฐานขึ้นไปจนถึงพระรัศมี ๘๕ เซนติเมตร .. เดิมทีหลวงพ่อเพชร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร อำเภอเมืองฯ จังหวัดชัยนาท ก่อนที่พระชัยนาทมุนี (นวม สุทัตโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท และเป็นอดีตเจ้าอาวาส วัดพระบรมธาตุวรวิหาร จะมอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี กรมศิลปากร เก็บรักษาและดูและมาจวบจนปัจจุบัน .. พุทธลักษณะของหลวงพ่อเพชร ประกอบด้วย พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง สายพระเนตรทอดลงต่ำ พระปรางอิ่ม พระโอษฐ์เป็นรูปกระจับ พระหนุเป็นปม พระกรรณยาว เม็ดพระศกรูปก้นหอยเวียนขวา อุษณีษะนูนสูง พระรัศมีเป็นต่อมกลมคล้ายดอกบัวตูม ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระอุระกว้าง บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา พาดผ้าสังฆาฏิบนพระอังสาซ้าย ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ปลายของชายสังฆาฏิตกลงมาเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์เรียว .. พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรนั้น เดิมถูกพอกปูนไว้ ต่อมาปูนกะเทาะออก จึงทราบว่าเป็นพระพุทธรูปสำริด ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนิน วัดพระบรมธาตุวรวิหารได้ตรัสขอพระพุทธรูปองค์นี้ ต่อพระอินทโมลีศรีบรมธาตุบริหาร สุวิจารณ์สังฆปาโมกข์ (ช้าง) เจ้าอาวาสในตอนนั้น นำไปประดิษฐานไว้ที่กรุงเทพมหานคร ภายหลังเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระอินทโมลีศรีบรมธาตุบริหาร สุวิจารณ์สังฆปาโมกข์ หรือหลวงพ่อช้าง จึงทูลขอนำกลับมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระบรมธาตุวรวิหารดังเดิม .. หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปโบราณที่หาได้ยาก อีกทั้งยังมีคุณค่าโดดเด่นทางด้านศิลปะและเชิงช่าง ที่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญในการหล่อพระพุทธรูปโลหะ ที่ประกอบด้วยสุนทรียะเฉพาะตัว กล่าวได้ว่าหลวงพ่อเพชรนั้น เป็นโบราณวัตถุที่มีคุณค่า ในทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะอย่างยิ่ง และยังเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวชัยนาทมาจวบจนปัจจุบันกาล ..... ขอขอบคุณ คุณทศพร ทองคำ มา ณ โอกาสนี้ ที่เอื้อเฟื้อภาพถ่าย


          หลังจากตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ส่งพระราชสาสน์ไปเมืองจีนเพื่อถวายพระเจ้าเฉียนหลงจักรพรรดิจีนเพื่อให้รับรองฐานะกษัตริย์พระองค์ใหม่ โดยส่งพระราชสาสน์ไปกับเรือสินค้าของพ่อค้าจีน ชื่อ หยังจิ้นจง เนื้อความในพระราชสาสน์อธิบายการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ พร้อมทั้งขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตซื้อเหล็กและปืนใหญ่มาทำสงครามกับพม่า แต่ในปีเดียวกันหัวหน้าชุมนุมต่างๆ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระก็ได้ส่งพระราชสาสน์ไปถวายพระเจ้าเฉียนหลงเพื่อให้ทรงรับรองฐานะการเป็นกษัตริย์ของสยามด้วยเช่นกัน ครั้งนั้น พระเจ้าเฉียนหลงจึงได้ตอบปฏิเสธการรับรองฐานะของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมทั้งปฏิเสธการขอซื้อเหล็กและปืนใหญ่ด้วย(๘)           การเจริญไมตรีทางการทูตกับจีนในอีก ๓ ครั้งต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๓๑๘ พ.ศ.๒๓๒๐ และพ.ศ.๒๓๒๑ ทำให้กรุงธนบุรีได้รับการตอบรับด้วยไมตรีจากจักรพรรดิจีนมากยิ่งขึ้น ในที่สุดสมเด็จพระจักรพรรดิจีนก็ทรงพระราชทานสิทธิให้กรุงธนบุรีสามารถทำการค้ากับจีนได้เต็มที่เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา โดยไม่ต้องจำกัดอยู่แค่เมืองกวางตุ้งเช่นในระยะแรกๆ(๙) สินค้าที่กรุงธนบุรีซื้อจากจีนนั้น ได้แก่ กำมะถัน กระทะเหล็ก แผ่นทองแดง เหล็ก เป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออกมากที่สุดของกรุงธนบุรีจะเป็นพวกของป่า ได้แก่ ไม้ฝาง ไม้แดง ไม้ดำ รวมทั้งการค้าพริกไทยซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เกิดจากความชำนาญด้านการเพาะปลูกของชาวจีนอพยพซึ่งส่วนใหญ่เป็นจีนแต้จิ๋ว และมีแหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ตามเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมทั้งที่เมืองสงขลาซึ่งมีชาวจีนฮกเกี้ยนอยู่เป็นจำนวนมาก สำหรับไม้ฝางนั้นนอกจากจะใช้ส่งออกแล้ว ยังเป็นสินค้าที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นด้วย(๑๐) จะเห็นได้ว่าเวลาที่ประเทศจีนได้เปิดสัมพันธไมตรีการค้าอย่างเต็มที่กับกรุงธนบุรีเป็นยามที่บ้านเมืองเริ่มมีความมั่นคง แม้ในระยะแรกจีนจะปฏิเสธความสัมพันธ์กับกรุงธนบุรีมาโดยตลอด เพราะมองว่าพระองค์เป็นคนธรรมดาสามัญ แต่ท้ายที่สุดจีนก็ยอมรับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมากขึ้น สังเกตได้จากหลักฐานบันทึกที่มีการออกพระนามพระองค์ว่า “เจิ้งเจา” ในช่วงปลายรัชสมัย นอกจากนั้นเมื่อมีการส่งคณะทูตเพื่อถวายพระราชสาสน์อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๔ ราชสำนักจีนได้ออกพระนามพระองค์ว่า “เจิ้งเจา พระเจ้าแผ่นดินสยาม” อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการยอมรับของจีน แต่กว่าที่จะได้มีการส่งราชทูตมาเจริญทางพระราชไมตรีอย่างเป็นทางการนั้นก็เป็นปีสุดท้ายในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพอดี(๑๑) และจากการที่มีการเปลี่ยนรัชกาลเสียก่อน ดังนั้นผลพลอยได้จึงตกอยู่ที่กรุงรัตนโกสินทร์แทนในเวลาต่อมา(๑๒)          สำหรับกลุ่มชาวจีนที่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของธนบุรีในขณะนั้น ก็คือชาวจีนที่หลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมาก บ้างก็ทำการค้าขายจนได้เข้ารับราชการในตำแหน่งสำคัญและมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นอย่างยิ่ง อาทิ ชาวจีนกวางตุ้งชื่อ หยังจิ้นจง รับราชการจนได้บรรดาศักดิ์เป็นโกษาธิบดี ซึ่งทำหน้าที่ดูแลซื้อขายสินค้า ชาวจีนแต้จิ๋วชื่อ จีนมั่วเส็ง ต่อมาโปรดฯให้เป็นหลวงอภัยพานิช หรือจีนเรือง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระพิชัยวารี จีนฮกเกี้ยนมีขุนนางคนสำคัญคือ เฮาเหยี่ยง หรือ วูหยาง เป็นพ่อค้าจีนฮกเกี้ยนที่เดินทางมายังสงขลาและปลูกยาสูบขายจนร่ำรวย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้เป็นเจ้าภาษีรังนกของสงขลา ต่อเมื่อมีความดีความชอบทำอากรรังนกถวายเงินปีละ ๕๐ ชั่ง จึงแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอินทรคีรีสมบัติ(๑๓) เป็นต้น จนอาจกล่าวได้ว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กรุงธนบุรีก้าวสู่ระบบการค้าจีนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้นั้นก็เพราะมีกลุ่มชาวจีนอพยพเป็นกำลังสำคัญ ด้วยการเป็นทั้งผู้ผลิตสินค้า ผู้จัดหา เป็นทั้งขุนนางและลูกจ้างที่สร้างความเชื่อมโยงจนเกิดเป็นเครือข่ายการค้าในแต่ละเมืองขึ้น           นอกจากจะเปิดการค้ากับจีนแล้ว กรุงธนบุรีก็ยังได้ติดต่อการค้ากับชาวญวนและแขก เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเรียนรู้ภาษาทั้งสามจนทรงสามารถพูดได้อย่างชำนาญมาตั้งแต่เมื่อครั้งทรงเริ่มรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา นอกจากนั้นก็ยังมีการทำการค้ากับญี่ปุ่นและชาติอื่นๆด้วย แต่เป็นการค้าที่ไม่ได้สร้างรายได้ให้กรุงธนบุรีมากเท่าการค้ากับจีน และการได้ทำการค้าที่ผ่านพ่อค้าจีนนั้นก็ยังส่งผลดีที่ทำให้การค้าเริ่มขยายตัวออกสู่วงกว้างมากขึ้นด้วย(๑๔)           สำหรับความสัมพันธ์ที่มีกับชาติตะวันตกนั้น มีหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในเอกสารสำคัญของฝ่ายไทยและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของกรุงธนบุรี นั่นก็คือ เรื่องจดหมายเหตุของพวกบาทหลวงฝรั่งเศส(๑๕) พวกเขาได้บันทึกเรื่องราวครั้งกรุงธนบุรีไว้ เริ่มตั้งแต่ช่วงแรกที่เดินทางเข้ามาในช่วงต้นรัชสมัย อย่างเช่นที่มองซิเออร์คอร์บันทึกไว้ว่า “เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก พระยาตากพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ ได้ทรงต้อนรับข้าพเจ้าอย่างดี และโปรดให้ข้าพเจ้าเลือกหาที่ดินตามใจชอบ ข้าพเจ้าได้เลือกที่ไว้แห่ง ๑ เหนือหมู่บ้านพวกเข้ารีต..”(๑๖) แต่ในส่วนประเด็นสำคัญคงเป็นเรื่องชะตากรรมของชาวยุโรป ที่ทำให้ได้รับรู้เรื่องราวของพวกคริสตังโปรตุเกสที่ต้องหนีตายจากการถูกควบคุมตัวของทหารพม่า ตลอดจนการบันทึกในช่วงหลังการเสียกรุงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการค้าขายทั้งกับชาวอังกฤษ โปรตุเกส และฮอลันดา หลักฐานเรื่องสินค้าสำคัญตามที่ปรากฏในบันทึก นอกจากจะเป็นการค้าข้าวซึ่งเป็นสินค้าบริโภคที่จำเป็นยิ่งสำหรับการเสริมสร้างกำลังแก่กองทัพแล้ว ในภาวะที่บ้านเมืองยังอยู่ในช่วงมีศึกสงครามติดพันเช่นนั้น สินค้าอาวุธยุทโธปกรณ์ก็จะมีความสำคัญและจำเป็นไม่แพ้กัน ดังที่ปรากฏเรื่องของการติดต่อซื้อดินปืนและปืนนานาชนิด ที่เรือสินค้าต่างชาติตามหัวเมืองชายทะเลได้บรรทุกเข้ามาจำหน่าย การที่บาทหลวงฝรั่งเศสได้บันทึกถึงเรื่องการอาศัยเรือแขกมัวร์ไปยังบางกอก (พ.ศ.๒๓๑๓) แสดงให้เห็นว่ามีการนำเรือสินค้าเข้ามาค้าขายที่เมืองบางกอกแล้วตั้งแต่ตอน ต้นรัชสมัย นอกจากนั้น ยังมีข้อความที่บันทึกไว้ในเวลาต่อมาว่า “ในปี พ.ศ.๒๓๒๒ แขกมัวร์จากเมืองสุราตในประเทศอินเดีย ได้นำสินค้าเข้ามาขายในกรุงธนบุรี และฝ่ายไทยก็ได้ส่งสำเภาหลวงไปค้าขายถึงอินเดีย”(๑๗)           การค้าที่สำคัญอีกด้านหนึ่งนั้นก็คือการค้ากับฮาเตียน(๑๘) สินค้าที่นำเข้าจำนวนมากคือข้าว นอกจากนั้นก็ยังปรากฏหลักฐานการค้ากับบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) ว่า “ในปีพ.ศ.๒๓๑๒ ออกญาพิพัทธโกศาได้ส่งจดหมายไปถึงข้าหลวงใหญ่ของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาในเมืองปัตตาเวีย เพื่อชักชวนให้กลับมาตั้งสถานีการค้าในกรุงธนบุรี และติดต่อขอซื้ออาวุธปืนจำนวน ๑,๐๐๐ กระบอก บริษัทอินเดีย ตะวันออกของฮอลันดาได้ตกลงขายปืนให้ ๕๐๐ กระบอก โดยแลกกับไม้ฝาง หากมีไม้ฝางไม่พอก็สามารถจ่ายเป็นขี้ผึ้งได้”(๑๙) ถึงแม้บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาจะไม่ได้กลับมาตั้งสถานีการค้าในธนบุรี แต่ก็ยังมีการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอีกหลายครั้ง เช่นในพ.ศ.๒๓๑๗ ธนบุรีได้ซื้อปืนอีก ๓,๐๐๐ กระบอก และการซื้อขายแต่ละครั้งก็ยังดำเนินการผ่านชาวจีนที่เดินเรืออยู่ระหว่างสยามและปัตตาเวีย โดยส่วนมากเป็นการซื้ออาวุธ รองลงมาคือข้าวและม้า(๒๐)          จากการได้ติดต่อการค้าระหว่างกรุงธนบุรีกับชาติตะวันตกในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้เราได้รู้จักพ่อค้าชาวอังกฤษ ชื่อ ฟรานซิส ไลต์ (Francis Light) ตลอดจนได้รับรู้เรื่องราวที่เขาที่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรุงธนบุรีอีกด้วย เขาเป็นผู้ที่ทำให้กรุงธนบุรีได้ทำการซื้ออาวุธปืนกับชาติตะวันตกอีกครั้ง และมีคุณงามความดีจนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ พระยาราชกปิตัน แก่เขาในภายหลัง(๒๑) ฟรานซิส ไลต์ เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๒๘๘ ที่เมืองดัลลิงฮู (Dallinghoo) ซัฟฟอล์ก (Suffolk) ประเทศอังกฤษ หลังสำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการกับราชนาวีอังกฤษเป็นเวลา ๕ ปี ตั้งแต่พ.ศ.๒๓๐๒ ถึงพ.ศ.๒๓๐๖ ตำแหน่งสุดท้ายในการรับราชการคือนายเรือโท จากนั้นจึงได้ลาออกจากราชการมาเป็นนายเรือพาณิชย์สังกัดบริษัทบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (British East India Company) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เบงกอลซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย และเดินเรือทำการค้าอยู่ระหว่างท่าเรือตามชายฝั่งอินเดียกับคาบสมุทรมลายู นายจอห์น ครอเฟิร์ด (John Crawfurd) ให้ข้อมูลไว้ว่า ฟรานซิส ไลต์ ได้สมรสกับสาวลูกครึ่งไทย-โปรตุเกสชาวเมืองถลาง ชื่อ มาร์ตินา โรเซล และตั้งรกรากอยู่ที่เมืองถลางมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๑๕ และต่อมาได้ย้ายศูนย์กลางการค้าไปอยู่ที่ปีนังหรือเกาะหมาก สินค้าสำคัญที่ค้าขายอยู่ในเวลานั้นก็คือ ข้าว ซึ่งมีลักษณะการค้าขายที่ใช้ดีบุกในการชำระอัตราค่าซื้อขายแทนการใช้เงิน แต่สิ่งที่ทำให้การค้าของฟรานซิส ไลต์กับสยามประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งและกลายเป็นบุคคลสำคัญของภูมิภาคนี้ ก็คือการค้าอาวุธปืนนานาชนิด โดยเฉพาะปืนใหญ่ประเภทต่างๆ รวมทั้งการค้าดินปืนให้กับเมืองถลางและเมืองชายทะเลอื่น ๆทางภาคใต้ของสยาม เพราะขณะนั้นสยามยังขาดแคลนทั้งอาวุธและยุทธปัจจัยใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันประเทศในระหว่างการศึกกับพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงโปรดให้ฟรานซิส ไลต์เป็นธุระในการติดต่อขอซื้ออาวุธ ซึ่งปรากฏหลักฐานในบันทึกว่า กรมการเมืองถลางซื้อปืนคาบศิลา ๙๖๒ กระบอก ปืนชาติเจะระมัด ๙๐๐ กระบอก โดยมีกปิตันมังกูเป็นผู้นำส่งมายังกรุงธนบุรี และเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับดีบุก(๒๒) ซึ่งเรื่องการค้าขายกับชาติตะวันตกในช่วงดังกล่าวนี้ก็ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ปีวอกอัฐศก (พ.ศ.๒๓๑๙) เป็นข้อความเพียงสั้น ๆว่า “เจ้ากรุงปัญยีจัดซื้อปืนถวายเข้ามา ๑๔๐๐ และสิ่งของเครื่องบรรณาการต่างๆ”(๒๓) เพื่อมอบเป็นบรรณาการแก่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นอกจากนี้ก็มีเอกสารต่างประเทศฉบับอื่นๆ บันทึกเหตุการณ์เดียวกันนี้ไว้ และบางฉบับ(๒๔)ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า กรุงธนบุรีได้สั่งซื้อปืนจากอังกฤษ โดยมีจดหมาย โต้ตอบระหว่างกัน และในการจัดซื้อครั้งหนึ่ง ฟรานซิส ไลต์ได้เขียนจดหมายไปถึงนายยอร์ช สแตรตตัน(๒๕) ฉบับลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๐ ข้อความตอนหนึ่งว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามได้สดับว่าพม่ากำลังให้ความสนใจฝรั่งเศสมาก ลำพังพม่าพวกเดียวแล้วพระองค์ไม่กลัว แต่ทรงวิตกว่าพม่าจะเข้ารวมกับพวกฝรั่งเศสซึ่งมีอยู่มากในหงสาวดีและอังวะ จึงทรงเห็นภัยที่จะมีมาถึงประเทศ(๒๖)           ในเวลาต่อมาพระยาราชกปิตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการเกาะปรินซ์ ออฟ เวลส์ (Governor of Prince of Wales) หรือเจ้าเมืองปีนังคนแรก แต่เขาก็ยังคงมีบทบาทพ่อค้าอาวุธกับราชอาณาจักรไทยอยู่อย่างต่อเนื่องนับจากสมัยกรุงธนบุรีเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏอยู่ในเอกสารเมืองถลาง หรือจดหมายของพระยาถลางและคุณหญิงจันที่มีไปถึงฟรานซิส ไลต์ เจ้าเมืองปีนัง เอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญนี้เป็นจดหมายอักษรไทยจำนวนกว่า ๖๐ ฉบับซึ่งได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการติดต่อการค้าระหว่างพระยาราชกปิตันกับเมืองถลางในระหว่าง พ.ศ.๒๓๒๘ ถึง ๒๓๓๓ เนื้อความส่วนใหญ่บอกเล่าถึงสถานการณ์ในช่วงวิกฤตของเมืองถลาง เมืองตะกั่วป่า และเมืองตะกั่วทุ่งภายหลังการศึกสงครามกับพม่า สภาพบ้านเมืองที่ได้รับความเสียหาย ยุ้งฉางข้าวที่ถูกพม่าเผาทำลายเพื่อมิให้หลงเหลือเป็นเสบียงอาหาร จนทำให้ประชาชนต้องอดอยากขาดแคลนและการต้องใช้ดีบุกในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าต่างๆ เป็นต้น           แม้ยามนั้นบ้านเมืองจะตกอยู่ในภาวะศึกสงคราม แต่ต้องยอมรับว่าการขับเคลื่อนของกลุ่มชาวจีนที่อพยพเข้ามาคือกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้กรุงธนบุรีมีการค้าที่เจริญรุ่งเรือง ทั้งยังทำให้การติดต่อค้าขายสามารถเชื่อมโยงไปสู่อาณาจักรอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อีกด้วย การค้าในสมัยกรุงธนบุรีทั้งการค้าภายในและภายนอกนั้นมีแต่ชาวจีนที่เป็นคนดำเนินการ แม้แต่ชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาในช่วงนั้นก็ยังได้บันทึกว่า การค้าสำคัญของที่นี่อยู่ในมือชาวจีนทั้งหมด และพระมหากษัตริย์เองก็พอใจจะให้เป็นเช่นนั้น(๒๗)------------------------------------------------------------- เรียบเรียงโดย นางสาวเสาวลักษณ์ กีชานนท์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ----------------------------------------------------------------- เชิงอรรถ ๘ จิราธร ชาติศิริ เศรษฐกิจธนบุรีในศตวรรษแห่งจีน.หน้า.๒๔๒. อ้างจาก สืบแสง พรหมบุญ เรื่อง ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับไทยในค.ศ.๑๒๘๒-๑๘๕๓. ๙ จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า๒๔๓. ๑๐ อ้างแล้ว. หน้า๒๔๗. ๑๑ กรมศิลปากร. ทศภาค : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.(๒๕๕๙). หน้า ๒๔๑. ๑๒ สุดารา สุจฉายา. พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากหนังสือ ทศภาค : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.๒๕๕๙. น.๔๕. ๑๓ จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า๒๕๒. ๑๔ จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า ๒๔๘. ๑๕ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙ จดหมายเหตุบาทหลวงฝรั่งเศสในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ๑๖ ศิลปากร, กรม.ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙. หน้า ๘๘. ๑๗ http://wikipedia.org. ความสัมพันธ์กับต่างชาติในสมัยกรุงธนบุรี. (เข้าถึงเมื่อ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐). ๑๘ หมายถึงเมืองพุทไธมาศ หรือบันทายมาศ ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเวียดนามติดกับกัมพูชา ๑๙ จิราธร ชาติศิริ. เศรษฐกิจกรุงธนบุรีในศตวรรษแห่งจีน. กรุงเทพฯ : หจก.สามลดา. หน้า ๒๔๙ อ้างอิงจาก ธีรวัติ ณ ป้อมเพชร จดหมายจากพิพัทธโกศา ถึงบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา หน้า๓๓-๔๐. ๒๐ จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า ๒๔๙. ๒๑ จากเอกสารและจดหมายหลายฉบับที่ข้าราชการและชาวเมืองถลางเขียนถึงฟรานซิส ไลต์ ลงวันที่เดือนปี ในพ.ศ.๒๓๒๒ ได้เรียกเขาตามบรรดาศักดิ์อย่างชัดเจนว่า พระยาราชกปิตัน ซึ่งยังอยู่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อย่างไรก็ดี บางหลักฐาน เช่น หนังสือชุมนุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ได้อ้างว่า กัปตันฟรานซิส ไลต์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชกปิตันในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ๒๒ จิราธร ชาติศิริ. เศรษฐกิจกรุงธนบุรีในศตวรรษแห่งจีน.อ้างแล้ว. หน้า ๒๔๙. ๒๓ กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี. (กรุงเทพฯ : มปป. มปท.) น. ๙๒ ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาและเอกสารต่างประเทศหลายฉบับกล่าวตรงกันว่า หมายถึงกปิตันเหล็ก เจ้าเมืองเกาะหมาก ๒๔ หนังสือ Taksin the Great by History World Published: Lulu.com on May 15, 2013 ๒๕ George Stratton ชาวอังกฤษซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งไวซ์รอยหรือผู้สำเร็จราชการแห่งมัทราส (Viceroy of Madras) ๒๖ อาณัติ อนันตภาค. สองมหาราชกู้แผ่นดิน. น.๑๔. ๒๗ จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า๒๕๔ อ้างอิงจาก Sarasin Viraphol. Tribute and Profit: Sino-Siamese trade 1652-1853. Cambridge: Harward U.Press,1977.p.172. -------------------------------------------------------------


ชื่อเรื่อง                         มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา                                    (เตมิยะ-ภูริทัต)      สพ.บ.                           411/ฆ/2หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    ทศชาติประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    58 หน้า : กว้าง 4.8 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมล้านนา-ธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี