ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,398 รายการ

          ด้วยว่าใน พ.ศ.2483 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้ปรารภว่า การที่ จะให้ประเทศชาติรุ่งเรืองแข็งแรงนั้นจำเป็นต้องสร้างความเจริญเป็นปึกแผ่นให้แก่ชนบทโดยทั่วๆไป และการที่ชนบทจะเจริญเป็นปึกแผ่นได้ก็ต้องอาศัยการที่ชาวชนบทมีนิสัยรักถิ่นฐาน ไม่ใฝ่ฝันที่จะย้ายภูมิลำเนาเดิมเข้ามาอยู่ในพระนคร เพื่อให้ได้ผลดังที่ว่านี้มีสิ่งซึ่งจะต้องทำหลายอย่าง เกี่ยวกับการบำรุงและชักจูงคนให้ชอบชีวิตชนบท ภูมิใจในความเป็นชาวชนบท และรักชนบทที่เป็นถิ่นฐานของตน...           ซึ่งเรื่องแรกที่นายกรัฐมนตรีเห็นว่าควรทำได้คือคิดให้มีเครื่องหมายประจำจังหวัดเหมือนอย่างที่มีอยู่แล้วในนานาประเทศที่เจริญ โดยมีเหตุผลว่า... เครื่องหมายประจำจังหวัดนี้เมื่อมีขึ้นแล้วก็อาจใช้เป็นประโยชน์ได้หลายทาง เช่น ติดตั้งในสถานที่สำคัญ ทำเป็นธงประจำจังหวัด เป็นเครื่องอาภรณ์สำหรับชาวจังหวัด และเป็นเครื่องหมายสินค้าอุตสาหกรรมของจังหวัด ดังนี้เป็นต้น...           ในเวลาต่อมารัฐบาลจึงมอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการประสานคณะกรมการแต่ละจังหวัดต่อไป กรมศิลปากรได้มีข้อแนะนำประกอบในการพิจารณาเครื่องหมายประจำแต่ละจังหวัดว่า 1. เป็นเครื่องหมายประจำตระกูลของเจ้านครซึ่งใช้มาแต่โบราณกาล และพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาลส่วนกลางได้อนุมัติให้ใช้ต่อไป 2. เป็นรูปปราสาทหรือโบราณสถานที่สำคัญยิ่งในจังหวัดนั้น 3. เป็นรูปเกี่ยวกับเทพนิยายพื้นเมืองของจังหวัดนั้นซึ่งแม้จะรู้กันว่าไม่ใช่เรื่องจริงแต่ก็อยู่ในความนิยมของคนในจังหวัดนั้น 4. รูปธรรมชาติที่เด่นที่สุดในจังหวัดนั้น           ซึ่งกรมศิลปากร จะพยายามพิจารณาทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นการประกอบ แต่ที่สำคัญคือ ... "เมื่อทำขึ้นมาแล้วชาวจังหวัดโดยทั่วไปหรือส่วนมากจะพอใจใช้ "           ในส่วนของจังหวัดจันทบุรี ได้เสนอ 2 อย่างคือ อย่างที่ 1 เครื่องหมายรูปกระต่ายในวงจันทร์ตามแบบธงประจำกองลูกเสือมณฑลจันทบุรี ซึ่งได้ความว่าเป็นเครื่องหมายนามของมณฑล เช่นเดียวกับมณฑลอื่นๆที่พระราชทานธงไปในคราวเดียวกันและบัดนี้น่าจะถือว่าเป็นเครื่องหมายของจังหวัดจันทบุรีต่อไปดั่งได้เคยทำเป็นโล่ห์ประจำเรือรบหลวงจันทบุรีแล้ว อย่างที่ 2 เครื่องหมายรูปเรือสุพรรณหงส์หมายความถึงเรือที่พระเจ้าตากสินให้ช่างต่อที่จังหวัดจันทบุรีพร้อมด้วยบรรดาเรือรบต่างๆซึ่งสะสมต่อในคราวนั้นแล้วใช้เป็นราชพาหนะเดินทางเข้ามากู้อิสรภาพที่จังหวัดพระนครธนบุรี            กรมศิลปากรเห็นชอบตามอย่างที่ 1 และได้เสนอเพิ่มว่า            "รูปกระต่ายไม่ควรจะเด่นเกินไปอย่างตราของเทศบาล ควรเขียนให้รูปพระจันทร์เด่น กระต่ายให้เล็กและให้แลเห็นเพียงลางๆเท่านั้นจะดี" จวบจนบัดนี้เป็นเวลา 81 ปี จังหวัดจันทบุรี ก็ยังคงใช้ตราสัญลักษณ์กระต่ายในดวงจันทร์ แต่ก็มีหลายคนที่ไม่ทราบถึงที่มาของเครื่องหมาย ก็อาจตีความไปว่าเมืองจันทบุรี คือเมืองกระต่ายที่หมายจันทร์ จึงทำสัญลักษณ์เป็นตัวกระต่ายลักษณะต่างๆ เพียงอย่างเดียว ---------------------------------------------------------ผู้เขียน นางสุมลฑริกาญจน์ มายะรังสี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี---------------------------------------------------------อ้างอิง เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์.ศธ 0701.42.2/2 เรื่อง เสนอเครื่องหมายประจำจังหวัด.พ.ศ.2483.


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางประทิณ ช้างขวัญยืน ณ เมรุวัดพระพิเรนทร์ วรจักร วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๘ 


          จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ทะเล หาดทราย จะขอแนะนำหาดทรายที่สวยงามที่น่าสนใจให้ทราบกันหลายแห่ง ได้แก่ หาดคุ้งวิมาน แหลมเสด็จ หาดจ้าวหลาว อ่าวคุ้งกระเบน หาดแหลมสิงห์ อ่าวกระทิง อ่าวยาง จะขอเริ่มที่หาดคุ้งวิมานก่อน           หาดคุ้งวิมาน เป็นหาดที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี อยู่ในท้องที่ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม ถ้ามาจากระยองจะแยกเข้าทางขวามือของเส้นทางถนนสุขุมวิท ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 301-302 ก่อนถึงตัวเมืองจันทบุรี ประมาณ 28 กิโลเมตร เข้าไป 27 กิโลเมตรก็จะถึงชายหาดคุ้งวิมาน           ก่อนถึงชายหาดคุ้งวิมานประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือขึ้นไปบนภูเขาเตี้ยๆ มีจุดชมวิวทิวทัศน์ มีมุมสวยๆ บนเขาและทางลาดที่มองออกไปทะเล มีถนนเลียบทะเลที่สวยที่สุดในภาคตะวันออก สมกับชื่อที่เป็นวิมานของคุ้งแห่งนี้           หาดคุ้งวิมานเป็นหาดทรายสีทอง มีโขดหินผุดโผล่เป็นแห่งๆแต่งแต้มชายหาดให้สวยงามยิ่งขึ้นยามที่คลื่นถาโถมซัดเข้าหาโขดหินตามกำลังแรงของลม ทำให้น้ำแตกกระเซ็นเป็ฟองนฝอยขาวพร่างตาตัดกับสีฟ้าสดใสของน้ำทะเล ไกลออกไปเห็นเรือประมงอยู่ลิบๆ ฝูงนกนางนวลและนกทะเลบางชนิดบินฉวัดเฉวียนอย่างร่าเริงน่ามอง จึงอยากเชิญชวนให้มาท่องเที่ยวกันที่หาดคุ้งวิมาน---------------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี---------------------------------------------------------------อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533. มัทธิว เจ. (2542, เมษายน). “เที่ยวทะเลจันท์.” Trips Magazine. ปีที่ 3 ฉบับที่ 30 : หน้า 44-65.


โครงการสร้างภาคีเครือข่ายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (รวมใจประชารัฐ ร่วมรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อ“โนนสูง”บ้านเรา) ประจาปีงบประมาณ ๒๕๖๔๓ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ณ แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อาเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา




เลขทะเบียน: กจ.บ.8/1-7:1ก-7กชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมตฺถสงฺคิณี พระสมนฺตมหาปฏฺฐาน เผด็จ ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 102 หน้า


ผู้แต่ง                           -หมวดหมู่                         หนังสืองานศพ-อนุสรณ์เลขหมู่                           915.931สถานที่พิมพ์                    พระนครสำนักพิมพ์                      ส.การพิมพ์ปีที่พิมพ์                         2502ภาษา                            ไทยหัวเรื่อง                           -ประเภทวัสดุ/มีเดีย             หนังสือหายากลักษณะวัสดุ                    68 หน้า : ไม่มีภาพประกอบบทคัดย่อ                        -


ชื่อเรื่อง                                นิสัยจตุกกนิบาต (นิสัยจตุกกนิบาต) สพ.บ.                                  358/8ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 



         กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “กรุงศรีอยุธยา ธานีแห่งสายน้ำ” วิทยากรโดย นายภัทรพงษ์ เก่าเงิน ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นายวีระศักดิ์ แสนสะอาด นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และนางสาวชญาดา สุวรัชชุพันธุ์ นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.          ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร


โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปกฺขิยธมฺม)  ชบ.บ.49/1-4  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)  ชบ.บ.95ก/1-8  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.250/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 70 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ)ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา(เจ้าเตมิยกุมาร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


กู่เจ้านายฝ่ายเหนือสายเชียงใหม่กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ เป็นอนุสรณ์สถานหรืออนุสาวรีย์ที่บรรจุพระอัฐิของอดีตเจ้าหลวงและอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือ โดยกู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอกเป็นสถานที่บรรจุพระอัฐิและอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือสายเชียงใหม่ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอก เกิดจากพระดำริของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา เมื่อคราวเสด็จกลับเชียงใหม่ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๗ - ๑๒๘ (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๑) ว่าจะรวบรวมพระอัฐิเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และอัฐิพระญาติวงศ์ในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งขณะนั้นประดิษฐานกระจัดกระจายในข่วงเมรุ* มาประดิษฐานไว้ที่เดียวกัน ณ บริเวณลานวัดสวนดอก ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง เมื่อก่อสร้างกู่เรียบร้อยแล้วจึงอัญเชิญพระอัฐิและอัฐิของพระญาติผู้ใหญ่มาประดิษฐานไว้เป็นปฐม ดังจารึกการย้ายพระอัฐิซึ่งประดิษฐานด้านหน้ากู่บรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ดังนี้๑. พระเจ้ากาวิละ๒. เจ้าหลวงธรรมลังกา (ช้างเผือก)๓. เจ้าหลวงคำฟั่น (เศรษฐี)๔. เจ้าหลวงพุทธวงษ์๕. พระเจ้ามโหตระประเทศ ๖. พระเจ้ากาวิโลรส๗. พระเจ้าอินทวิชยานนท์๘. แม่เจ้าอุสาอัยกี๙. แม่เจ้าทิพเกสรพระชนนี๑๐. แม่เจ้ารินคำชนนีเจ้าอินทวโรรส๑๑. แม่เจ้าพิณทองนับจากนั้น เมื่อมีการปลงศพเจ้าหลวงและพระญาติแล้วก็ได้มีการนำพระอัฐิและอัฐิไปบรรจุไว้ในกู่ที่สร้างขึ้น ณ สุสานวัดสวนดอกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๗ หนานปวงคำ ตุ้ยเขียว ได้สำรวจและบันทึกว่ามีจำนวนกู่ จำนวน ๑๐๕ กู่ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๒๗ ศาสตราจารย์ ดร. อุดม รุ่งเรืองศรี ได้สำรวจและจัดทำบัญชีอีกครั้ง และบันทึกว่ามีจำนวนกู่ทั้งหมด ๑๑๓ กู่ทายาทเจ้านายฝ่ายเหนือได้ร่วมกันจัดงานบุญถวายราชกุศลแด่ดวงพระวิญญาณของเจ้าหลวงเชียงใหม่และเจ้านายฝ่ายเหนืออย่างต่อเนื่อง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ นครเชียงใหม่อายุครบ ๗๐๐ ปี หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และคณะเจ้านายฝ่ายเหนือได้ร่วมกันจัดพิธีสักการะดำหัวกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่อย่างยิ่งใหญ่ และเชิญชวนประชาชนร่วมพิธีด้วย ปัจจุบันมีการกำหนดจัดพิธีสักการะกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ ในวันที่ ๑๗ เมษายน ของทุกปี ณ บริเวณกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ วัดสวนดอก   ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ ภาพ : ๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. หมายเหตุ : ข่วงเมรุ เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีศพเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต ตั้งอยู่บริเวณท้องทุ่งริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตกระหว่างคุ้มท่าเจดีย์กิ่วทางตอนเหนือลงมาถึงท่าแพตอนใต้ ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตลาดวโรรสอ้างอิง : ๑. พิเชษฐ์ ตันตินามชัย.  ๒๕๖๒. “ดำหัวกู่เจ้านายเชียงใหม่.” ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บรรณาธิการ).  เชียงใหม่ นครแห่งอมต.  เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, ๑๑๙-๑๓๒.๒. วรชาติ มีชูบท. ๒๕๕๔. พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ศรีแห่งนครเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: เลิฟแอนด์ลิพเพรส.๓. ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. ๒๕๕๕. เวียงสวนดอก. เชียงใหม่: ชุติมาพริ้นติ้ง.