ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

องค์ความรู้ เรื่อง เอกสารจดหมายเหตุ จากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ตอน การแห่นาค           การบวช เป็นประเพณีไทยสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวช จะต้องบวชให้ได้ สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อเป็นการศึกษา พระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสืบทอดอายุ พระพุทธศาสนา สร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ให้ตนเองและบิดามารดารวมทั้งหมู่ญาติ อีกทั้งการได้มีโอกาสบวชยังเป็นการฝึกฝนอบรมตนเอง และพัฒนาชีวิตประพฤติปฏิบัติทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ เป็นสู่ความดีงามอีกด้วย แห่นาคทำไม… ทำไมต้องแห่นาค ?           การแห่นาค เป็นการเตรียมกาย วาจา ใจ ของผู้บวช โดยเดินประทักษิณเวียนขวารอบพัทธสีมา การเวียนประทักษิณในทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การหมุนไปทางขวา 3 รอบ รอบ โบสถ์ หรือพระเจดีย์ หรือศาลา ที่ทำพิธีขอบรรพชา เพื่อแสดงความเคารพในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นการสำรวมจิต ก่อนเข้าไปพบพระพุทธเจ้า พระอุปัชฌาย์ และคณะสงฆ์ เพื่อขอเข้ารับการบวช ยกตนจากผู้ที่เคารพในพระรัตนตรัย เป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขอนำเสนอ เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ ประเภทภาพถ่าย ที่เกี่ยวกับประเพณีการแห่นาค ในสมัยต่างๆ ที่มีให้บริการในหน่วยงาน เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาค้นคว้าได้ ในโอกาสต่อไป---------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์


เลขทะเบียน : นพ.บ.122/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  34 หน้า ; 5 x 57.3 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 69 (225-231) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : สติปฎฺฐานกถา (สติปัฎฐานกถา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



กฏหมายลักษณะต่างๆ ชบ.ส. ๒๙ เจ้าอาวาสวัดพลับ  ต.พนัสนิคม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๑ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.21/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เสถียรโกเศศ.  ขวัญและประเพณีการทำขวัญ.  พิมพ์ครั้งที่ ๑.  พระนคร : สำนักพิมพ์ก้าวหน้า,       ๒๕๐๖.  ๑๔๔ หน้า.      สืบมาแต่โบรามีความเชื่อว่าร่างกายของคนเรามีอะไรสิงอยู่ ซึ่งจะเรียกว่า “ขวัญ” ดังนั้นจะมีพิธีสืบขวัญให้เห็นกันบ่อย ๆ และไม่เพียงแต่จะมีเพียงในมนุษย์เท่านั้นสิ่งมีชีวิตอย่างม้า วัว ควาย และสิ่งไม่มีชีวิตอย่างเกวียน ข้าวเปลือก ข้าว ก็ย่อมมีเหมือนกัน ส่วนต้นไม้ก็เชื่อว่ามีผีสางเทวดาและนางไม้สิงสถิตอยู่ ส่วนบ้านเมืองก็มีเทวดาอารักษ์ให้บ้านเมืองสงบร่มเย็นเพื่อเป็นขวัญแก่อาณาประชาราษฎร์ ในภาษาไทยมีคำว่าขวัญอยู่หลายคำ เช่น ขวัญหนีดีฝ่อ ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน ซึ่งมีความหมายว่าตกใจ ถ้าเป็นเด็ก ๆ  และอีกหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับที่ผู้เขียนได้เขียนไว้นับว่าน่าอ่านเป็นอย่างยิ่ง


          การติดตามทับหลังปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และทับหลังปราสาทเขาโล้น จังหวัด สระแก้ว ซึ่งถูกโจรกรรมและนำออกไปจากประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายโดยขบวนการลักลอบค้าโบราณวัตถุมานานกว่า ๕๐ ปี เริ่มต้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๙ จากความร่วมมือของภาคเอกชนและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในนาม “คณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย” ตลอดจนสำนักงานสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Homeland Security Investigations) หรือ HSI สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งได้ทับหลังกลับคืนสู่ประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา           กรมศิลปากร ได้นำทับหลังทั้ง ๒ รายการ มาจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “ทับหลังปราสาท หนองหงส์ และปราสาทเขาโล้น กลับคืนสู่ประเทศไทย” นำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของทับหลังทั้ง ๒ รายการ หลักฐานต่าง ๆ ที่ได้สืบค้น รวมถึงขั้นตอนการดำเนินงานในการติดตาม เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงขั้นตอนและวิธีการกว่าจะได้มาซึ่งโบราณวัตถุที่ต้องใช้ระยะเวลา ความพยายาม และความร่วมมือจากหลายฝ่าย อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกรักและหวงแหนมรดกวัฒนธรรมของไทยและร่วมกันปกป้องดูแลรักษาให้สืบทอดไปยังคนรุ่นหลังต่อไป           ขอเชิญชวนผู้สนใจไปชมนิทรรศการพิเศษ “ทับหลังปราสาทหนองหงส์ และปราสาทเขาโล้น กลับคืนสู่ประเทศไทย”จัดแสดง ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ และอังคาร) เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ , ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๗๐           นับเป็นเวลามากกว่า ๕๐ ปี ที่ทับหลังปราสาทหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และทับหลังปราสาท เขาโล้นจังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ได้ถูกโจรกรรมและนำออกไปจากประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายโดยขบวนการลักลอบค้าโบราณวัตถุเพื่อส่งต่อให้กับนักสะสมและพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งกรณีของทับหลังทั้งสองรายการนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่มรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยถูกลักลอบนำออกไป ที่ผ่านมาทับหลังจากปราสาทกู่สวนแตง และปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ก็เคยถูกโจรกรรมไป และได้ติดตามนำกลับคืนมาแล้ว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ และ พ.ศ. ๒๕๓๑ ตามลำดับ           ทับหลังคือส่วนประกอบของศาสนสถานจำพวกปราสาทหินในวัฒนธรรมเขมรโบราณ โดยมี ลักษณะเป็นแผ่นหินรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดตั้งอยู่เหนือกรอบประตูของอาคารหรือปราสาทหิน วัสดุหลักที่ใช้ทำทับหลังคือหินทราย โดยจะมีการจำหลักลวดลายเป็นภาพเล่าเรื่อง ภาพเทพต่างๆ หรือลวดลายประดับลงบนทับหลัง ลวดลายเหล่านี้มีรูปแบบและวิวัฒนาการในการสร้างที่ชัดเจน จึงสามารถใช้เป็นสิ่งที่ช่วยกำหนดอายุในการสร้างโบราณสถานนั้น ๆ ได้ และทับหลังก็มีรูปแบบเฉพาะที่แตกต่างกันไปเนื่องจากเป็นของที่แกะสลักขึ้นมาทีละชิ้น มีเอกลักษณ์และสวยงาม เป็นที่ต้องการของเหล่าบรรดาผู้สะสมโบราณวัตถุ ในอดีตจึงมักถูกโจรกรรมจากแหล่งโบราณสถานที่อยู่ห่างไกลและลักลอบนำออกไปขายยังต่างประเทศ


วันอังคารที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ประชุมคณะกรรมการและตรวจการจ้างงาน ( ประจำงวดที่ ๑ ) ในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์พระระเบียง และพระวิหารคด วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร โดยมีนายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม พร้อมด้วยคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมและตรวจงานจ้าง







           สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หัวเมืองที่ตั้งอยู่ในบริเวณแหลมมลายูนั้น ถูกแบ่งออกเป็น ๒ เขต คือ หัวเมืองบริเวณชายทะเลอ่าวสยาม (หัวเมืองปักษ์ใต้) ได้แก่ มณฑลชุมพร มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลปัตตานี และหัวเมืองบริเวณชายทะเลอ่าวเบงกอล (หัวเมืองทะเลตะวันตก) ได้แก่ มณฑลภูเก็ต นอกจากนี้ยังมีหัวเมืองมลายูประเทศราช ซึ่งได้แก่ เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน เมืองตรังกานู โดยหัวเมืองต่างๆ เหล่านี้เดินทางไปได้ยากมาก ยังมิได้ปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดได้เสด็จประพาส จนกระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๑ (ร.ศ. ๗๗)           ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประพาสเมืองแหลมมลายูครั้งแรกเมื่อคราวเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา พ.ศ. ๒๔๑๓ (ร.ศ. ๘๙) หลังจากนั้นก็ทรงเว้นว่างไปถึง ๑๗ ปี จนมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๑ (ร.ศ. ๑๐๗) จึงได้เสด็จประพาสหัวเมืองแหลมมลายูอีกครั้งทั้งในดินแดนไทยและอังกฤษ ซึ่งเป็นการเสด็จตามมณฑลปักษ์ใต้ในพระราชอาณาเขตเป็นหลัก           ในปีพ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองปัตตานี โดยเสด็จพระราชดำเนินไปตามถนนสายอาเนาะรู ไปยังศาลเจ้าซูกง (ศาลเจ้าเล่วจูเกียหรือศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวในปัจจุบัน) ตามหลักฐานที่ระบุในจดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ตอนหนึ่งว่า “เวลาสี่โมงเช้าเรือทอดสมอที่หน้าเมืองปัตตานี เจ้าเมืองกรมการเมืองตานีมาคอยรับเสด็จถึงเรือโดยเร็ว เสด็จไปประทับที่เรือเวสาตรี ทรงครึ่งยศทหาร เราก็แต่งครึ่งยศตามเสด็จไป ผู้ที่มาเยือนนั้น พระยาตานีตาย พระศรีบุรีรัฐพินิต ๑ พระพิพิธภักดี ๑ เมืองยิหริ่งพระยายิหริ่ง ๑ พระโยธานุประดิษฐ ๑ เมืองสายพระยาสาย ๑ พระวิเศษวังชา ๑ ประทางตราภัทราภรณ์ ผู้ช่วยทั้งสี่คนคนละดวง แล้วเสด็จกลับมาเรืออุบล วันนี้เป็นวันคล้ายวันประสูติสมเด็จแม่ ที่เรือเวสาตรีได้ยิงสลุต ๒๑ นัด สองโมงเศษเสด็จขึ้นเมืองตานี เมื่อถึงท่าเขาลงมาคอยรับเสด็จทั้งผู้ชายผู้หญิง ทรงพระดำเนินไปตามตลาดจนถึงพลับพลาซึ่งปลูกไว้รับเสด็จ ทำดี ดูเข้าใจไทยมาก การรับรองแข็งแรง ของถวายก็มาก ข้างในพวกผู้หญิงก็มาถวายของมาก มีฝนตกเล็กน้อย แล้วเสด็จมาทรงเรือพระที่นั่งมาประทับที่วัดของจีนจูหลาย กัปตันจีนสร้าง มีพระสงฆ์อยู่ ๑๔ รูป โบสถ์ทำอย่างจีน พระเข้าบ้านแขกไม่ได้ รับสั่งให้นิมนต์มาถวายเงิน สมเด็จแม่ก็ถวายด้วย แล้วประทานเงินกัปตันจีนไว้ห้าชั่ง ให้ทำศาลาการเปรียญ เป็นที่สำหรับเด็กเรียนหนังสือ ให้เป็นที่สำหรับเจ้าเมืองกรมการประชุมถือน้ำด้วย”          ต่อมาเมื่อคราวเสด็จเมืองหนองจิก วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ขณะที่ประทับอยู่ในเรือพระที่นั่งหน้าเมืองหนองจิกนั้น ทรงทราบว่าศาลาการเปรียญที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นที่วัดบางน้ำจืด เมื่อคราวเสด็จตรังกานูเกือบเสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๓ ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ดังนี้ “พระยาตานีมาคอยอยู่ ๔ วันแล้วพึ่งกลับไปพระยาหนองจิกให้ไปบอก ก็ขึ้นมาพร้อมกับพระศรีบุรีรัฐ พระพิพิธภักดี หลวงจีนคณานุรักษ์ ทราบว่าศาลาการเปรียญที่วัดตานี ซึ่งฉันสร้างไว้นั้น เกือบเสร็จแล้ว จึงคิดว่าเป็นโอกาสดีพอที่จะฉลองได้ จึงปล่อยให้พวกเมืองตานีกลับไปจัดการรับที่เมืองตานี”          วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ วัดบางน้ำจืด โดยเรือพระที่นั่งบูรทิศในการพระราชพิธีฉลองศาลาการเปรียญ ทรงมีพระราชหัตถเลขา ในการพระราชพิธีดังกล่าวถึงเหตุการณ์ในการฉลองศาลาการเปรียญและได้พระราชทานนามวัดว่า "วัดตานีนรสโมสร" และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ นับเป็นอารามหลวงแห่งแรกของจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙--------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา https://www.facebook.com/751655098538170/posts/1332154277154913/ --------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง : ห้องสมุดดิจิทัลวชิรณาญ (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://vajirayana.org/.../%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0... ห้องสมุดดิจิทัลวชิรณาญ (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://vijirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8... มาฆีตานิง : ท่องไปในวงแหวนพหุวัฒนธรรมเมืองปัตตานี. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ออนไลน์). แหล่งที่http://xn--pattaniheritagecity-z70dtn.psu.ac.th/.../%E0.../ South deep outlook.com (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://southdeepoutlook.com/.../detail_south_editorial/77/ จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย. สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://rama5.flexiplan.co.th/th/timeline/detail/4859


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-ฉกษัตริย์) สพ.บ.                                  417/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 4.6 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ลองชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี      


ชื่อเรื่อง                                ปญฺญาปารมี (ปัญญาปารมี) สพ.บ.                                  416/1คประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           34 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.174/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  18 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับ, มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 98 (49-66) ผูก 11 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(เวสสันดรชาดก) ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา(ทสวร,หิมพานต์,วนปเวสน์ ฉกกษัตริย์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger