ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,438 รายการ

วันจันทร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ให้การต้อนรับคณะมูลนิธิราชสกุลอาภากร ในพลเรือเอก พระบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่เข้าแสดงความยินดีกับอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมร่วมประชุมหารือ โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการกรมศิลปากร ร่วมในการประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม ๑ กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                                นิสัยจตุกกนิบาต (นิสัยจตุกกนิบาต) สพ.บ.                                  358/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 



ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)  ชบ.บ.95ก/1-7  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.249/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 82 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 115 (203-216) ผูก 6 (2565)หัวเรื่อง : วินัยกิจ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สัปคับและกูบช้าง ภาพที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ ช้าง เป็นพาหนะสำหรับเดินทางในพื้นที่ภาคเหนือ จะพบภาพการนำคณะมิชชันนารีไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในถิ่นห่างไกลทางภาคเหนือและในเมืองเชียงตุงของรัฐฉาน เมืองสิบสองปันนา ภาพคนงานใส่สัปคับ และภาพที่มีการใส่กูบเพื่อกันแดดกันฝนในการเดินทาง นอกจากภาพการเดินทางโดยใช้ช้างแล้วยังพบภาพพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ซึ่งมีพิธีรับเสด็จเข้าเมืองกับพิธีทูลพระขวัญตามธรรมเนียมหัวเมืองฝ่ายเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการนำช้างจากเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือเข้าร่วมขบวน โดยมีการใส่สัปคับและกูบที่สวยงามไว้ที่หลังของช้าง คำว่า สัปคับ (น.) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ มีความหมายว่า ที่สำหรับนั่งผูกติดบนหลังช้าง ในภาษาถิ่นเหนือหรืออีสาน เรียกว่า แหย่ง ซึ่งมักใช้ประกอบกับหลังคาด้านบน คือกูบ ส่วนในหนังสือ สารพจนานุกรมล้านนา พบคำว่า กูบ มีความหมาย ว่า หลังครอบ ส่วนที่ครอบสิ่งอื่นไว้ และอธิบายคำว่า กูบช้าง หมายถึง หลังคาครอบแหย่ง (ที่นั่ง) ช้าง คือประทุนครอบกันฝนและร้อน หนาว คำว่ากูบใช้ได้กับสัตว์อีกชนิดคือม้า และใช้ได้กับรถกูบ หรือ รถที่มีหลังคาครอบ คือ ประทุน หรือผตีน ปัจจุบันพบว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ลำพูน ได้เก็บรักษาสัปคับพร้อมกูบของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้ายไว้ แต่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จัดแสดงเฉพาะสัปคับไม้ลงรักปิดทอง ตัวเป็นลวดลายแบบจีน ด้านหน้ามีรูปค้างคาวและรูปขุนนางจีน ๔ คน ขอบสลักเป็นรูปนกเกาะกิ่งไม้ ขาและมุมทั้งสี่สลักเป็นรูปหัวมังกร โดยพระมหาธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ให้ยืมมาจัดแสดง จากภาพเห็นได้ว่าสัปคับและกูบของคณะมิชชันนารีทำขึ้นแบบง่ายใช้สำหรับการนั่งหลบฝนและแดดในระหว่างการเดินทาง ส่วนสัปคับและกูบของผู้มีฐานะจะทำขึ้นอย่างสวยงาม มีลวดลายวิจิตรบรรจง สำหรับการใช้ในขบวนพิธีผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ :๑.หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่  ๒.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ลำพูน. อ้างอิง : ๑. มณี พยอมยงค์. ๒๕๔๖. สารพจนานุกรมล้านนา. จ.เชียงใหม่: ดาวคอมพิวกราฟิก. ๒. บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๕๔. เชียงใหม่ในความทรงจำ. เชียงใหม่: Sansilp Printing.๓. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสถาบันพระปกเกล้า.๒๕๕๘.จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช ๒๔๖๙.กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.๔. ราชบัณฑิตยสถาน.๒๕๕๔. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น.๕. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ลำพูน.ม.ป.ป.“สัปคับ”(Online). https://www.finearts.go.th/hariphunchaimuseum/view/23555-สัปคับ,๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔.๖. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่.ม.ป.ป. “วัตถุที่จัดแสดง” (Online). http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chiangmai/index.php/th/event/วัตถุที่จัดแสดง.html,๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔.




ชื่อผู้แต่ง          กรมศิลปากร ชื่อเรื่อง           ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๙ จดหมายเหตุ หอศาสตราคม จดหมายเหตุ เรื่อง สุรยุปราคา ปีมะโรง พ.ศ. ๒๕๑๑ และพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์      ธนบุรี สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์ช่างพิมพ์เพชรรัตน์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๕            จำนวนหน้า      ๕๘ หน้า หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงบริบูรณ์ วีหิพรรณ (ม้าน  นัจจะนันทน์)   หนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๙ นี้ เดิมหอพระสมุดฯ ได้รวบรวมจดหมายเหตุหอสาตราคมเรื่อง ๑ จดหมายเหตุเรื่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยอุปราคาที่ตำบลหว้ากอ แขวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชนิพนธ์ทรงชี้แจงถึงลักษณะสุริยอุปราคาคราวนั้นแจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งกว่าที่ปรากฎในจดหมายเหตุฉบับอื่นทุกฉบับ และแป็นหนังสือสำคัญโดยที่เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเมื่อเสด็จกลับจากทอดพระเนตสุริยอุปราคาคราวนั้น  



ชื่อเรื่อง : เมืองทองหรือสุวรรณภูมิ ชื่อผู้แต่ง : ขุนศิริวัฒนอาณาทร (ผล ศิริวัฒนกุล)ปีที่พิมพ์ : 2514. สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : วัดเทพศิรินทราวาส จำนวนหน้า : 306 หน้า สาระสังเขป : เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพขุนศิริวัฒนอาณาทร (ผล ศิริวัฒนกุล) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส ในวันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม 2514 และในหนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง เมืองทองหรือสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นผลงานของขุนศิริวัฒนอาณาทร (ผล ศิริวัฒนกุล) ผู้วายชนม์ได้แต่งและพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2479 ไว้ด้วย


#ลึงคบรรพต แห่งภูโค้ง ศาสนบรรพตที่สาปสูญ ที่อยู่บน ภูโค้ง บ้านนาเสียว ตำบลบ้านนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เป็นยอดสูงสุดของเทือกเขาภูแลนคา ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติ ตาดโตน และเป็นพื้นที่สถานีโทรคมนาคมทหารอากาศ เมื่อวันที่ 27 - 29 มกราคม 2564 สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา พร้อมด้วยคณะสำรวจจากอุทยานแห่งชาติ ตาดโตน ร่วมดำเนินการสำรวจ โดยหลักฐานทางโบราณคดี จากการสำรวจพื้นที่บนภูโค้งไม่ปรากฏร่องรอยหลักฐานสิ่งก่อสร้าง พบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทโบราณวัตถุที่ทำจากหินทราย จำแนกตามลักษณะรูปแบบและหน้าที่การใช้งานได้ดังนี้ 1 #ฐานรูปเคารพ จำนวน 3 ฐาน รายละเอียดดังนี้ 1.1 #ฐานรูปเคารพชิ้นที่1 พบเฉพาะส่วนแท่นหินรองรับฐานประติมากรรม เรียกว่า “ปีฐะ” หรือ “ปิณฑิกา” ลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพแท่นหินรองรับฐานประติมากรรมชำรุด ส่วนขอบแตกหักหายไป 1.2 #ฐานรูปเคารพชิ้นที่2 มีส่วนประกอบจำนวน 4 ส่วน รายละเอียดดังนี้ 1.2.1 ส่วนแท่นหินรองรับฐานประติมากรรม (ปีฐะ หรือปิณฑิตา) รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพแท่นหินรองรับฐานประติมากรรมค่อนข้างสมบูรณ์ 1.2.2 ส่วนฐานประติมากรรม รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพส่วนฐานประติมากรรมส่วนบนชำรุด 1.2.3 ส่วนฐานโยนี รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพส่วนฐานประติมากรรมค่อนข้างสมบูรณ์ บริเวณขอบด้านหนึ่งเจาะช่องกว้าง สำหรับเป็นท่อน้ำไหล เรียก “ท่อโสมสูตร” 1.2.4 ส่วนศิวลึงค์ รูปทรงกระบอก สภาพด้านชำรุดหายไปบางส่วน สภาพปัจจุบันศิวลึงค์ แบ่งออก 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส เรียกว่า “พรหมภาค” ส่วนกลางรูปทรงแปดเหลี่ยม เรียกว่า “วิษณุภาค”เส้นแบ่งด้านค่อนข้างลบเลือน ส่วนบนรูปทรงกระบอก เรียกว่า “รุทรภาค” ส่วนปลายชำรุดหายไปบางส่วน 1.3 #ฐานรูปเคารพชิ้นที่3 มีส่วนประกอบจำนวน ๒ ส่วน รายละเอียดดังนี้ 1.3.1 ส่วนแท่นหินรองรับฐานประติมากรรม (ปีฐะ หรือปิณฑิตา) รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพแท่นหินรองรับฐานประติมากรรมค่อนข้างสมบูรณ์ 1.3.2 ส่วนฐานประติมากรรม รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพส่วนฐานประติมากรรมส่วนบนชำรุด 1.4 #ส่วนฐานประติมากรรม รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส จำนวน 1 ฐาน สภาพส่วนฐานประติมากรรมชำรุดแตกออกเป็นสองส่วน #ผลการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดี รูปแบบของฐานประติมากรรมที่พบจากภูโค้ง เป็นรูปแบบที่พบในช่วงสมัยศิลปะเขมรแบบพระนคร กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 โดยฐานประติมากรรมอันประกอบด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงายคาดประดับท้องไม้ด้วยลูกฟัก กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 15-16 ฐานประติมากรรมอันประกอบด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงายท้องไม้เรียบๆ กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 17 สามารถเปรียบเทียบกับฐานรูปเคารพ ที่พบจากกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 16 -17 #รูปแบบของศิวลึงค์ อันประกอบด้วยสามส่วนคือส่วนพรหมภาค ส่วนวิษณุภาค ส่วนรุทรภาค (สี่เหลี่ยม-แปดเหลี่ยม-ทรงกระบอก) กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 16-17 จากหลักฐานทางโบราณคดีสามารถกำหนดอายุโบราณวัตถุจากภูโค้งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 สามารถเปรียบเทียบรูปแบบได้กับศิวลึงค์ที่พบจากปราสาทตาเมือนธม อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ กำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 #ศิวลึงค์ในคติศาสนาฮินดลัทธิไศวนิกายนั้น ถือว่าเป็นตัวแทนของพระศิวะ ที่สําคัญที่สุด นอกเหนือจากการปรากฏกายของพระศิวะในรูปมนุษย์ สําหรับบริเวณภูโค้งแห่งนี้ แม้จะไม่ปรากฏร่องรอยของศาสนสถานหรือสิ่งก่อสร้างใดๆ แต่จากหลักฐานศิวลึงค์ ฐานรูปเคารพ และชิ้นส่วนฐานประติมากรรม สันนิษฐานได้ว่า ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 บริเวณภูโค้งแห่งนี้ เดิมคงเป็นที่ตั้งของศาสนสถานของศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย แต่อาจถูกทําลายไปในคราวที่สร้างสถานีโทรคมนาคมภูโค้งก็เป็นได้ ข้อสันนิษฐานสำหรับสิ่งก่อสร้างหรือศาสนสถาน สันนิษฐานว่าน่าจะมีปราสาทบนยอดของภูโค้งสำหรับประดิษฐานศิวลึงค์ซึ่งน่าจะสร้างด้วยหินทรายเป็นวัสดุ เนื่องจากโครงสร้างทางธรณีของภูโล้นเป็นหินทรายสอดคล้องกับช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ที่ใช้หินทรายเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง สำหรับสระน้ำที่ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของฐานรูปเคารพและศิวลึงค์ สันนิษฐานว่าเป็นสระน้ำประจำศาสนสถานที่มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมวางตัวในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู #สําหรับชุมชนผู้สร้างศาสนสถานแห่งนี้ คงนับถือศาสนาฮินดู ไศวนิกาย และคงตั้งชุมชนอยู่บริเวณโดยรอบเทือกเขาภูโค้ง จากการสํารวจทางโบราณคดีได้พบชุมชนวัฒนธรรมเขมรโบราณอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 หลายแห่งที่สําคัญคือ ชุมชนโบราณบ้านเมืองน้อยใต้ อําเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ห่างภูโค้งไปทางทิศใต้เป็นระยะทาง 20.21 กิโลเมตร ซึ่งพบหลักฐานโบราณวัตถุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 เช่น ฐานรูปเคารพ และชิ้นส่วนบัวยอด สําหรับคติการสร้างศิวลึงค์บนภูโค้งเปรียบเสมือนการจําลองเขาไกรลาส (ลึงคบรรพต) ขึ้นบนพื้นมนุษย์โลก ด้วยการนําเอาศิวลึงค์ไปประดิษฐานไว้บนภูโค้งเป็นยอดเขาไกรลาศอันเป็นที่ประทับของพระศิวะผู้เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ศิวลึงค์) เช่นปราสาทหินเขาพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ข้อมูลโดย นายวีระชาติ พงค์ชนะ นักโบราณคดีชำนาญการ




ชื่อผู้แต่ง          รัตนปัญญาเถระ ชื่อเรื่อง            ชินกาลมาลีปกรณ์ ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ 5 สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ปีที่พิมพ์          2518 จำนวนหน้า     184 หน้า รายละเอียด                  หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายพงษ์สวัสดิ์ สุริโยทัย ต้นฉบับเดิมเป็นคัมภีร์ใบลาน เนื้อหาเป็นประวัติพุทธศาสนา พระธรรมวินัย และเรื่องราวของบุคคล สถานที่ที่เกี่ยวข้องตลอดจนเหตุการณ์ ในสมัยนั้นด้วย


ชื่อเรื่อง                     สพ.ส.11 พระรถเมรีประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  วรรณคดีลักษณะวัสดุ              38; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    วรรณคดี                   ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดลาวทอง ต.สนามชัย  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค.2538 


          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการอ่านสำหรับผู้สูงอายุ ประจำปี 2565 การบรรยายเรื่อง สร้างสุขอย่างไร ในวัยเกษียณ โดย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ วันที่ 1 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ท่านผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังได้ที่ https://bit.ly/3ptXOmB (รับจำนวนจำกัด) หรือสามารถติดตามรับชมผ่านทาง Facebook Live : National Library of Thailand