ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-ฉกษัตริย์) สพ.บ.                                  417/5ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           36 หน้า กว้าง 4.6 ซ.ม. ยาว 56.7 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ลองชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี      


ชื่อเรื่อง                                ปญฺญาปารมี (ปัญญาปารมี) สพ.บ.                                  416/1ขประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.174/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  28 หน้า ; 4 x 52.5 ซ.ม. : ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับ, มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 98 (49-66) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(เวสสันดรชาดก) ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา(ทสวร,หิมพานต์,วนปเวสน์ ฉกกษัตริย์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.47/1-3ฆ  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ปฐมสมฺโพธิ (ปถมสมฺโพธิ)  ชบ.บ.89/1-5  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.229/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 112 (170-179) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สทฺทสฺงคห(สัททาสังคหะ) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.360/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ทองทึบ-รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 139  (411-419) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : อภิธฺมมตฺถสงฺคห (อภิธัมมัตถสังคหะ)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


      เหรียญตราพระอาทิตย์-ศรีวัตสะ       พบบริเวณบ้านเนินพลับพลา เมืองโบราณอู่ทอง ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี        จัดแสดงห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง       เหรียญเงินกลมแบน มีรอยตัดแบ่งตรงกึ่งกลางเหรียญ เป็นร่องทะลุจากขอบเข้ามาด้านในเหรียญประมาณ ๒ ใน ๓ ส่วน เหรียญนี้กำหนดอายุสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว เหรียญตกแต่งสัญลักษณ์มงคลทั้ง ๒ ด้าน มีรายละเอียด ดังนี้ ด้านที่ ๑ เป็นรูปพระอาทิตย์ฉายแสง โดยมีพระอาทิตย์ครึ่งดวงอยู่ตรงกึ่งกลาง มีแฉกเป็นเส้นหนาส่วนปลายเรียวแหลมกระจายออกโดยรอบจำนวน ๑๒ แฉก ระหว่างแฉกมีจุดกลม มีเส้นวงกลมล้อมรอบ ขอบด้านนอกตกแต่งด้วยลายจุดกลมโดยรอบ       ด้านที่ ๒ เป็นรูปศรีวัตสะ ภัทรบิฐหรือฑมรุ และสวัสดิกะ โดยมีศรีวัตสะอยู่ตรงกึ่งกลาง ลักษณะเป็นโครงลายเส้น เส้นฐานล่างเป็นเส้นโค้ง เส้นด้านข้างทั้งสองด้านเชื่อมกับเส้นฐานล่าง ส่วนปลายด้านบนตวัดโค้งงอเข้าหากัน ด้านในมีลวดลายลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน และมีลายจุดกลม ด้านข้างศรีวัตสะมีภาพภัทรบิฐ (บัลลังก์) หรือฑมรุ (กลองสองหน้า) มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ๒ รูปประกอบกันคล้ายนาฬิกาทราย ด้านบนมีจุดกลม ๓ จุด อีกด้านของศรีวัตสะมีภาพสวัสดิกะ มีลักษณะเป็นรูปกากบาทประกอบกับลายจุดกลม ๔ จุด ลวดลายเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์มงคลที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์และความอุดมสมบูรณ์        สันนิษฐานว่าเหรียญเงินรูปแบบนี้ ใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรม เนื่องจากมีรอยตัดอย่างจงใจ และพบร่วมกับเหรียญเงินขนาดเล็ก แท่งผลึกควอตซ์ และเศษทองคำเปลวจำนวนหนึ่ง เหรียญเงินมีสัญลักษณ์มงคลที่มีรอยตัดนี้ ยังพบที่แหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีแห่งอื่นด้วย เช่น เหรียญตราพระอาทิตย์-ศรีวัตสะ มีรอยตัด พบที่บ้านพรหมทิน อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี และเหรียญตราสังข์-ศรีวัตสะ มีรอยตัด พบที่บ้านอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบเหรียญเงินที่ถูกบิดงอหรือม้วนอย่างจงใจ ซึ่งสันนิษฐานว่าใช้ในการประกอบพิธีกรรมเช่นกัน เช่น เหรียญตรารูปพระอาทิตย์-ศรีวัตสะ และเหรียญตราสังข์-ศรีวัตสะม้วนงอ พบร่วมกับเหรียญเงินมีจารึก “ศฺรีทฺวารวตี ศฺวรปุณย” เหรียญเงินมีสัญลักษณ์มงคลและแท่งเงินตัด บรรจุภายในภาชนะดินเผา พบที่โบราณสถานคอกช้างดิน เมืองโบราณอู่ทอง เป็นต้น   เอกสารอ้างอิง รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. มรดก ๑,๐๐๐ ปี เก่าที่สุดในสยาม. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๖. วิภาดา อ่อนวิมล. “เหรียญตราในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๖”. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๑.  สายันต์ ไพรชาญจิตร์และสุภมาศ ดวงสกุล. “หลักฐานและความรู้ใหม่ทางโบราณคดีจากคอกช้างดินเมืองอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” ใน เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการสัมมนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดีเมืองสุพรรณบุรี “จากทวารวดีถึงสุพรรณภูมิ : หลักฐานและข้อมูลใหม่ทางโบราณคดี”. สุพรรณบุรี : ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๒ สุพรรณบุรี, ๒๕๔๒.


#วัดจุฬามณี๗ #การศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับพระปรางค์วัดจุฬามณี๒อองรี ปาร์มองติเยร์ (๒๔๘๐) เสนอว่า พระปรางค์วัดจุฬามณี น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยให้ความเห็นว่ารูปแบบศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย แบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นศิลปะเขมรโดยแท้จริง กับกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร กลุ่มแรกใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบเขมรใช้วัสดุหินทรายกับอิฐโดยไม่ใช้ปูน ซึ่งกำหนดอายุโดยการเปรียบเทียบกับจารึกในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗ สิ่งก่อสร้างกลุ่มนี้ เช่น ปราสาทพิมาย ปราสาทพนมวัน ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร ใช้เทคนิคก่อสร้างและวัสดุในท้องถิ่น นิยมใช้ศิลาแลง อิฐ โดยใช้ปูนก่อ และปูนฉาบ  ซึ่งแตกต่างจากเทคนิคการก่อสร้างของเขมร ในกลุ่มที่สองนี้ สามารถแบ่งย่อยได้อีกสองกลุ่ม กลุ่มย่อยแรก มีรากฐานมาจากศิลปะเขมร คือ ยังคงรูปแบบและเทคนิคการก่อสร้างแบบเขมรไว้ ตัวอย่างในกลุ่มนี้ ได้แก่ ศาลพระเสื้อเมือง วัดพระพายหลวง ศาลพระกาฬ วัดนครโกษา เทวสถานปรางค์แขก ปรางค์สามยอด วัดกำแพงแลง ส่วนใหญ่กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๘ ส่วนอีกกลุ่มเรียกว่า กลุ่มที่เลียนแบบศิลปะเขมร ซึ่งมีรูปแบบคล้ายศิลปะเขมร แต่รูปแบบบางส่วนก็ไม่เคยปรากฎในศิลปะเขมรมาก่อน กลุ่มนี้มีลักษณะโดดเด่น ด้วยการประดับตกแต่งลวดลายปูนปั้น ได้แก่ วัดมหาธาตุ อยุธยา วัดราชบูรณะ วัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี พระปรางค์ วัดจุฬามณี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๑ ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ที่ได้รับการพัฒนารูปแบบและแรงบันดาลใจมาจากปราสาทของเขมรสงวน รอดบุญ (๒๕๒๒) เสนอว่า ลวดลายปูนปั้นประดับพระปรางค์วัดจุฬามณี เป็นลวดลายศิลปะแบบอยุธยาตอนต้นผสมสานกับศิลปะแบบสุโขทัย สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เช่นเดียวกับ น. ณ ปากน้ำ (๒๕๓๒, ๒๕๓๔ อ้างถึงใน สันติ เล็กสุขุม, ๒๕๓๙)วิทย์ พิณคันเงิน ได้เขียนบทความเกี่ยวกับการศึกษาศิลปกรรมที่วัดจุฬามณี (อ้างถึงใน วรรณิภา ณ สงขลา, ๒๕๒๙) โดยให้ความเห็นว่า ลายปูนปั้นที่ปรางค์วัดจุฬามณี เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย เช่น ลายประดับหน้ากระดานของฐานรองรับเรือนธาตุ รวมถึงรูปหงส์ที่ประดับส่วนบัวหงายที่อยู่ถัดขึ้นมาจากหน้ากระดาน ซึ่งทำรูปหงส์เดินเรียงกัน คล้ายกับลายปูนปั้นรูปพระสงฆ์เดินเรียงกันรอบฐานองค์พระธาตุ วัดมหาธาตุสุโขทัย  จึงเชื่อว่าลายปูนปั้นที่วัดจุฬามณีน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากแบบอย่างงานศิลปะสุโขทัยฝ่ายอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรมติดที่ กองโบราณคดี กรมศิลปากร (๒๕๓๓) โดย ภัทรุตม์ สายะเสวี และคณะ เสนอว่า พระปรางค์วัดจุฬามณีน่าจะเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ในช่วงอาณาจักรขอมโบราณปกครองภาคกลาง ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทได้เสด็จมาสร้างเมืองพิษณุโลกขึ้นใหม่บริเวณที่ตั้งปัจจุบันเมื่อประมาณพุทธศักราช ๑๙๐๐ ช่วงนี้คงจะมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดจุฬามณี เนื่องจากในการขุดแต่งวัดจุฬามณี เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๗ ถึง ๒๔๙๘ ได้มีการค้นพบนาคสามเศียรสำริด ศิลปะสุโขทัย จึงเชื่อว่าพระปรางค์น่าจะมีอยู่แต่เดิมแล้วได้รับการบูรณะในสมัยสุโขทัย เอกสารอ้างอิง:น. ณ ปากน้ำ. (๒๕๓๒). ลายปูนปั้น มัณฑนศิลป์อันเลอเลิศแห่งสยาม. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.______. (๒๕๓๔). วิวัฒนาการลายไทย. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.ภัทรุตม์ สายะเสวี. (๒๕๓๓). โครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังเร่งด่วน วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพ ฯ : ฝ่ายอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและประติมากรรมติดที่ กองโบราณคดี. (เอกสารอัดสำเนา)วรรณิภา ณ สงขลา. (๒๕๒๙). รายงานศึกษาศิลปกรรม จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และอุตรดิตถ์. กรุงเทพ ฯ : กองโบราณคดี. (เอกสารอัดสำเนา)สงวน รอดบุญ. (๒๕๒๓). “พระปรางค์วัดจุฬามณี” รายงานผลการสัมมนาประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก ครั้งที่ ๑ ณ วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม พิษณุโลก ๒๕-๒๗ มกราคม ๒๕๒๒ : โรงพิมพ์ศาสนา.สันติ เล็กสุขุม. (๒๕๓๙). ปรางค์และลายปูนปั้นประดับ วัดจุฬามณี พิษณุโลก. นครปฐม: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร. Parmentier, H. (1937). L'Art Pseudo-Khmer au Siam et la Prang. The Journal of the Greater India Society, Vol IV No l, 1937.#พี่โข๋ทัยมีเรื๋องเล๋า #วัดจุฬามณี  #วัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี #ภาพสันนิษฐาน







          วันเสาร์ที่ ๒ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากรร่วมพิธีบวงสรวงบูรณะโบราณสถานภายในวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระธรรมวชิรญาณ ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานฝ่ายพระสงฆ์ และท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ กรรมการที่ปรึกษาโครงการบูรณปฏิสังขารวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานในพิธีบวงสรวงในครั้งนี้ โดยนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร จุดธูปเทียนและถวายเครื่องสักการะพระพุทธไสยาสน์ และตอกสกัดจุดที่จะดำเนินการบูรณะ โดยมีคณะกรรมการร่วมงาน ได้แก่ นายเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ อธิบดีกรมการศาสนา นายสด แดงเอียด อดีตอธิบดีกรมการศาสนา และคณะกรรมการโครงการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหาร ทุกฝ่ายพร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ ณ มณฑลพิธีลานหน้าพระเจดีย์ ด้านล่าง วัดบวรนิเวศวิหาร


ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน ได้อธิบายเรื่องวันเข้าพรรษาไว้ ดังนี้ เข้าพรรษา เริ่มในวันแรม 1 ค่ำเดือนแปดในปีปรกติ และเริ่มวันแรม 1 ค่ำเดือนแปดหลัง ในปีที่มีเดือนแปดสองหน ซึ่งเรียกว่า อธิกมาส วันแรม 1 ค่ำ เรียกว่า วันเข้าพรรษา พรรษาสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเรียกว่า ออกพรรษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติให้พระภิกษุอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งตลอดช่วงฤดูฝน ห้ามเดินทางไปค้างแรมที่อื่น นอกจากในกรณีจำเป็นเป็นพิเศษ เรียกว่า อยู่จำพรรษา ประเพณีเทศกาลพรรษาในประเทศไทย เทศกาลเข้าพรรษา ถือเป็นเทศกาลทางศาสนาพุทธที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย มีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน ซึ่งพุทธศาสนิกชนไทยนับแต่พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภกและประชาชนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีการทำบุญในวันเข้าพรรษามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังหลักฐานในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หรือ ศิลาจารึกหลักที่ 1 (ด้านที่ 2) ความว่า "... คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มันโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทังชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทังหลายทังผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน..." ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ประเพณีในเทศกาลเข้าพรรษายังถูกกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน อาทิ การทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในเทศกาลเข้าพรรษา การพระราชกุศลทรงหล่อเทียนพรรษา การพระราชกุศลฉลองเทียนพรรษา การเสด็จพระราชดำเนินถวายพุ่ม ซึ่งได้ถือปฏิบัติต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้จะขอยกตัวอย่างประเพณีที่เกี่ยวเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุโดยสังเขป ดังนี้ การพระราชกุศลทรงหล่อเทียนพรรษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บอกบุญ นำสีผึ้งมาช่วยหล่อ โดยสำนักพระราชวังจะแจ้งให้พระบรมวงศานุวศ์ องคมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งขี้ผึ้งมาร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษาได้ ดังปรากฏเอกสารจดหมายเหตุที่สำนักพระราชวังมีหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงวัฒนธรรม เรื่องการพระราชกุศลหล่อเทียนวรรษา 2500 เจ้าพนักงานพระราชพิธีจะอัญเชิญเทียนพรรษาที่หล่อและตกแต่งลวดลายแล้วถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจิมและทรงพระสุหร่าย แล้วอัญเชิญเทียนพรรษาสำหรับทรงพระราชอุทิศพระราชทานไปจุดบูชาพระรัตนตรัยและพระพุทธเจดียสถานตามพระอารามหลวงสำคัญในกรุงเทพมหานคร และในจังหวัดต่าง ๆ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา การพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษา ในช่วงก่อนพุทธศักราช 2501 เรียกเพียง การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษา แต่หลังจากที่ทางคณะสงฆ์มีการกำหนดให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ในปีพุทธศักราช 2501 สำนักพระราชวังจึงได้กำหนดเพิ่มการบำเพ็ญพระราชกุศลในวันอาสฬหบูชาเพิ่มเติมขึ้นมาด้วยอีกวันหนึ่ง เรียกว่า พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา พระมหากษัตริย์จะเสด็จไปในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษา บางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทนพระองค์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงจุดเทียนพรรษา จุดเทียนเครื่องนมัสการและทรงถวายพุ่มเทียนเครื่องบูชาแก่พระพุทธปฏิมาและพระราชาคณะ รวมทั้งการพระราชทานภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ซึ่งรับอาราธนามารับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวัง จำนวน 150 รูป ในวันเข้าพรรษาทุกปี เป็นการแสดงถึงพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาของพระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนทั่วไปนั้น ในเทศกาลเข้าพรรษาถือเป็นโอกาสที่จะได้ทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา ที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ ร่วมกันหล่อเทียนพรรษา จัดขบวนแห่เทียนพรรษา ถวายเทียนเข้าพรรษาหรือหลอดไฟ จุดบูชาตามอาราม และเพื่อให้พระภิกษุ สามเณรนำไปจุดอ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในระหว่างจำพรรษา เป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง และถวายผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) พร้อมด้วยจตุปัจจัยถวายแด่พระภิกษุ สามเณร และรักษาอุโบสถศีล อธิษฐานตั้งใจทำความดี หรืองดเว้นอบายมุขต่าง ๆ ตามกำลังศรัทธาและความสามารถของตน อาทิ งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ ตลอดพรรษากาล ผู้เรียบเรียง นางสาวธิดา อ้นหอม นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ -------------------- อ้างอิง จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, 2552. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. พระราชพิธีและรัฐพิธีในรัชกาลปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สำนักงาน, 2550. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ ศธ.0701.22/5 เรื่องเข้าพรรษา พ.ศ. 2475-2484-2501 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพส่วนบุคคล เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ภ.สบ.19.2.1/43 เรื่อง แห่เทียนพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพเหตุการณ์ร่วมสมัย ฉ/ร/675 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงเจิมเทียนพรรษาที่จะทรงพระราชอุทิศพระราชทานไปจุดบูชาพระรัตนตรัย ยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน (2521) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพเหตุการณ์ร่วมสมัย ฉ/ร/916 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตร เนื่องในโอกาสเทศกาลเข้าพรรษา (2522) วันเข้าพรรษา ราชบัณฑิตยสถาน เข้าถึงได้จาก https://web.archive.org/.../th/knowledge/detail.php... จารึกพ่อขุนรามคำแหง ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/47 #จดหมายเหตุ



Messenger