ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ขอเชิญชมการแสดงพลุ ตะไต ไฟพะเนียง ในงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 8 - 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 22.00 น. (*พิเศษ เวลา 24.00 น. เฉพาะวันที่ 15 พ.ย.67) ณ บริเวณตระพังตระกวน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย
วัดภูผาเบิก
วัดภูผาเบิก ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาเป็นหนึ่งในสี่วัดที่สำคัญของเมืองสงขลาเก่าฝั่งแหลมสนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ไม่ทราบปีที่สร้างชัดเจน แต่จากรูปแบบของสถาปัตยกรรมสันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า “วัดตก” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐ ในแจ้งความกระทรวงธรรมการแผนกกรมมณฑล รศ. ๑๒๕ ( พ.ศ. ๒๔๔๐) บันทึกไว้ว่า พระครูนวน วัดภูผาเบิกเป็นเจ้าคณะแขวงในอำเภอเมือง และเป็นหนึ่งในห้าวัดที่มีการเล่าเรียนภาษามคธ โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด คือ อุโบสถและกุฏิ ซึ่งแสดงฝีมือช่างพื้นถิ่นภาคใต้
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดภูผาเบิก โดยเป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานเมืองสงขลาเก่า ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๑๙ วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕
Wat Phu Pha Boek
Located at the foothill in Hua Khao Subdistrict of Singhanakhon district, Wat Phu Pha Boek is one of the four important temples of the old town Songkhla in the early Rattanakosin period. The exact year in which the temple was built is unknown, but it can be assumed from the architectural style that it was probably built in the early Rattanakosin period. Local people call it “Wat Tok.” It was registered as a temple in 1857. Wat Phu Pha Boek was once one of the five temples that taught the Magadhi language. Significant old structures in the temple compound include the ordination hall and the cubicle which show local craftsmanship.
The Fine Arts Department announced the registration of Wat Phu Pha Boek as part of the old town Songkhla in Government Gazette, Volume 109, Part 119, dated September 17, 1992.
***บรรณานุกรม***
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
เรื่องฉากลายรดน้ำในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร แต่ง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสนั่น บุณยศิริพันธุ์ บ.ช.ภปร.ชั้น 4 ณ สุสานหลวงวัดเทพ ศิรินทราวาส วันที่ 27 มกราคม 2512
พระนคร
โรงพิมพ์พระจันทร์
2512
วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2560 นางสาวดวงกมล ยุทธเสรี ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย และร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจากสหภาพเมียนมาด้านการบริหารจัดการแหล่งมรดกเมืองโบราณ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่จากองค์กรยูเนสโก (เมียนมา และ ไทย) จำนวน 11 คน เข้าศึกษาดูงานการการบริหารจัดการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคําแหง
ประกวดราคาจ้างงานโครงการพัฒนาศักยภาพอาคารจัดแสดง พช.รามคำแหง
แผ่นดินของเรา : Phaen Din Khong Rao(Alexandra)
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 34
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 34 ทรงพระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช 2502 ในโอกาสที่เจ้าหญิงอเล็กซานดร้าแห่งเคนท์ สหราชอาณาจักร เสด็จเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ประพันธ์คำร้องภาษาอังกฤษ ตามทำนองที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ 16 ห้องเพลง นำออกบรรเลงครั้งแรก ณ ศาลาผกาภิรมย์ สวนจิตรลดา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2502 ต่อมาในพุทธศักราช 2516 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชดำริว่าท่วงทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ Alexandra ไพเราะและน่าจะใส่คำร้องภาษาไทยได้ จึงได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระบรมราชานุญาตให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ประพันธ์คำร้องภาษาไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นว่า เพลง พระราชนิพนธ์ Alexandra นี้มีเพียง 16 ห้องเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพิ่มเติมโดยมีท่อนกลาง และท่อนท้าย จนครบ 32 ห้องเพลง
Royal Composition Number 34
The thirty-fourth royal musical composition was written in 1959 on the occasion of the royal private visit to thailand of Her Royal Highness Princess Alexandra of Kent, the United Kingdom. His Majesty asked Mom Rajawong Seni Pramoj to write the English lyrics to the short 16-bar tune that he composed. It was perfomed for the first time at Phaka Phirom Hall, Chitralada Villa as a welcome tune for Princess Alexandra on Sunday, 1 October 1959. Later in 1973, Her Majesty the Queen felt that the composition Alexandra was of gentle and sweet genre, suitable for Thai lyrics. She thus asked for the royal permission for Thanpuying Maniratana Bunnag to write Thai lyrics, His Majesty considered that his composition Alexandra was short, with only 16 bars, so he added the middle and end sections to make it a 32-bar tune.
พิธีบวงสรวง กิจกรรมศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ การขุดศึกษาทางโบราณคดี วิหารหลวง โบราณสถานหมายเลข ๒๓ ค และขุดศึกษาลำดับขั้นทางวัฒนธรรม ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
การจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในอาคารจัดแสดงทั้ง ๓ หลัง แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน เน้นการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา และศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ดังนี้
อาคารที่ 1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แรกเริ่มการค้าและเมืองท่าโบราณ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนจัดแสดง ส่วนที่ ๑ เป็นส่วนจัดแสดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่จะแสดงให้เห็นภาพรวมภูมิศาสตร์ของภาคใต้ฝั่งอันดามัน และแหล่งโบราณคดีที่พบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ รวมถึงตัวอย่างโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์เช่น เครื่องมือหิน ภาชนะดินเผา ส่วนที่ ๒ เป็นส่วนจัดแสดงยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์ จัดแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในฐานะเมืองท่ายุคโบราณของพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน การแลกเปลี่ยนสินค้ากับต่างประเทศ และจัดแสดงโบราณวัตถุจากต่างประเทศที่พบตามแหล่งโบราณคดี
อาคารที่ ๒ ปรากฎภาษาเขียน ศาสนา แรกเริ่มถลาง-ภูเก็ต แบ่งออกเป็น 2 ส่วนจัดแสดง ส่วนที่ ๑ เป็นส่วนจัดแสดงเรื่องภาษาและศาสนา จัดแสดงให้เห็นถึงการนำภาษาจากต่างชาติเข้ามาใช้ โดยปรากฎเป็นจารึกบนโบราณวัตถุ ทั้งเหรียญ และศิลาจารึก ในส่วนศาสนา จะจัดแสดงโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธ ซึ่งพบในฝั่งทะเลอันดามันเป็นหลัก ส่วนที่ ๒ เป็นส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองถลางและภูเก็ต เพื่อให้รู้เรื่องราวความเป็นมา และพัฒนาการของทั้งสองเมืองในหน้าประวัติศาสตร์ไทย
อาคารที่ ๓ ชาวจีนกับการพัฒนาเมืองภูเก็ต จัดแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาเมืองภูเก็ตในฐานะเมืองที่ทำธุรกิจเหมืองแร่ดีบุก มีการจัดแสดงให้ความรู้ในด้านการทำเหมืองแร่ดีบุก และมีการจำลองวิถีชีวิตชาวจีน โดยใช้โบราณวัตถุมาจัดแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวจีนในช่วง ๑๐๐ ปีก่อน
เวลาทำการ
เปิดวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๖.๐๐ น.ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ค่าธรรมเนียมเข้าชมชาวไทย ๒๐ บาทยกเว้นพระภิกษุ สามเณร และนักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ๘๓๑๑๐โทรศัพท์ ๐๗๖-๓๗๙๘๙๕-๗ โทรสาร. ๐๗๖-๓๗๙๘๙๗
Museum hours
Open Wednesday – Sunday 9:00 am. To 4:00 pm.Closed on Monday – Tuesday and National holidays
Admission Fee: 100
Thalang National MuseumSrisoonthorn, Thalang district, Phuket 83110Tel. 076- 379895-7 Fax. 076-379897
"คำพ่อสอน" เป็นหนังสือที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออัญเชิญพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่ได้พระราขทานไว้ในโอกาสต่างๆให้ประมวลไว้ในที่เดียวกัน เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยเรื่องดังกล่าว และได้พระราชทานแนวทางปฏิบัติผ่านพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสให้สังคมไทยดำเนินรอยตามตลอดมา
พระพิมพ์ดินเผา จำนวน ๘ องค์ ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๑๑ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองโบราณอู่ทองไปทางทิศตะวันตก ใกล้เชิงเขาทำเทียม ในพื้นที่ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบพร้อมกับธรรมจักร แท่นและเสาตั้ง พระพุทธรูปสำริด และประติมากรรมดินเผารูปพระเจ้าสุทโธทนะ รูปแบบศิลปกรรมของพระพิมพ์ทั้ง ๘ องค์ บางองค์มีสภาพสมบูรณ์สามารถศึกษารูปแบบศิลปกรรมได้ บางองค์ชำรุดเหลือเฉพาะส่วนฐาน สันนิษฐานว่า พระพิมพ์ทุกองค์น่าจะมีรูปแบบเดียวกัน คือเศียรไม่มีอุษณีษะเหมือนพระพุทธรูป ดังนั้นจึงได้รับการตีความว่าเป็นรูปพระสาวก มีพักตร์กลม ขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา นาสิกแบน โอษฐ์แบะ ครองจีวรห่มเฉียง หัตถ์ทั้งสองประสานกันในท่าสมาธิ นั่งขัดสมาธิเพชร บนฐานหน้ากระดานเรียบ แผ่นหลังอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมปลายมน พระพิมพ์รูปแบบนี้ยังพบที่เจดีย์พุหางนาคหมายเลข ๑ ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขารางกะปิด ในพื้นที่ตำบลอู่ทอง ด้วย ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับพระพิมพ์ในกลุ่มนี้คือ ด้านหลังพระพิมพ์จำนวน ๗ องค์ มีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒ (ราว ๑,๔๐๐ ถึง ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) แต่ละองค์มีจารึกแตกต่างกัน ซึ่งเป็นพระนามของพระสาวก ได้แก่ สาริปุตโต, เมตฺเตยฺยโก, มหาก…, โกลิวีโส, กงฺขาเร..., ...รนฺโต, และ ...ธ... ซึ่งตรงกับนามพระสาวกในกลุ่ม “พระอสีติมหาสาวก” หมายถึงพระสาวกสำคัญ คือ พระอสีติมหาสาวก จำนวน ๘๐ รูป ของพระพุทธเจ้าในคัมภีร์ภาษาบาลีของพุทธศาสนานิกายเถรวาท ดังนี้ สาริปุตฺโต คือ พระสารีบุตร มหาก … หมายถึง มหากสฺสโป หรือ มหากจฺจายโน คือ พระมหากัสสปะ หรือ พระมหากัจจายนะ โกลิวีโส หมายถึง โสโณ โกฬิวิโส คือ พระโสณโกฬิวิสะ กงฺขาเร... หมายถึง กงฺขาเรวโต คือ พระกังขาเรวตะ ...รนฺโต หมายถึง ปุณโณ สุนาปรนฺโต คือ พระปุณณะสุนาปรันตะ ...ธ... ไม่สามารถระบุได้ ส่วนพระพิมพ์มีจารึกว่า เมตฺเตยฺยโก อาจการแปลความได้ ๒ แบบ คือ ๑. หมายถึง พระศรีอาริยเมตไตรย พระอนาคตพุทธ ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป แต่มีข้อสังเกตว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาดังกล่าว (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒) ไม่นิยมสร้างพระศรีอาริยเมตไตรยในรูปลักษณ์ของพระสงฆ์ แต่พระพิมพ์องค์นี้อาจเป็นความนิยมเฉพาะท้องถิ่นก็เป็นได้ ๒. หมายถึง พระติสสเมตเตยยะ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาวกกลุ่ม “พระอสีติมหาสาวก” เช่นเดียวกับจารึกด้านหลังพระพิมพ์องค์อื่น ๆ แต่มีข้อสังเกตว่า นามที่ปรากฏในคัมภีร์คือ ติสฺสเมตฺเตยฺโย ซึ่งมีความแตกต่างจากจารึก เมตฺเตยฺยโก อยู่เล็กน้อย ปัจจุบันพระพิมพ์กลุ่มนี้จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เอกสารอ้างอิง ธนกฤต ลออสุวรรณ. การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖. ปีเตอร์ สกิลลิ่งและศานติ ภักดีคำ. จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะพบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเรื่องความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี. สุพรรณบุรี : สำนักงานศิลปากรที่ ๒, ๒๕๔๖. ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทองที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง