ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ


           พระมาลัย คือ พระอรหันตสาวกในพระพุทธศาสนา ปรากฏในคัมภีร์พระมาลัยสูตร กล่าวถึง พระอรหันต์ชาวลังการูปหนึ่งนามว่า “พระมาลัยเทวเถระ” อาศัยอยู่บ้านกัมโพช แคว้นโลหะชนบท ทวีปลังกา เป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ สามารถไปยังนรกและสวรรค์ เพื่อนำความที่พบเห็นมาเทศนาแก่มนุษย์ ทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ           ความเชื่อเรื่องพระมาลัยสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศพม่าราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๘ และได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางล้านนาและสุโขทัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ ต่อมาได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งเห็นได้จากการแต่งวรรณกรรมพระมาลัย เช่น คัมภีร์มาลัยต้น มาลัยปลาย ในภาคเหนือ คัมภีร์มาลัยหมื่น มาลัยแสน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระมาลัยคำหลวง พระมาลัยกลอนสวด นิทานพระมาลัย ในภาคกลาง และ พระมาลัยคำกาพย์ในภาคใต้           จากคติความเชื่อเรื่องพระมาลัยจึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์งานประติมากรรมและจิตรกรรมต่าง ๆ ซึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ได้จัดแสดงโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระมาลัย ได้แก่ สมุดไทย เรื่อง พระมาลัย เขียนด้วยตัวอักษรขอม ภาษาบาลี ด้วยหมึกสีดำลงบนสมุดไทยขาว ศิลปะรัตนโกสินทร์ กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ได้รับมอบจากวัดราชพฤกษ์ศรัทธาราม และประติมากรรมรูปพระมาลัย ซึ่งเป็นรูปพระภิกษุ ครองจีวรลายดอกพิกุลห่มเฉียง นั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัว มือซ้ายอยู่ในลักษณะถือวัตถุ สันนิษฐานว่าถือตาลปัตรหรือพัด ศิลปะรัตนโกสินทร์ กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ พระครูวิมลวชิรคุณ เจ้าอาวาสวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นผู้มอบให้ โดยลักษณะงานประติมากรรมเช่นนี้น่าจะมีความหมายถึงพระมาลัยเทศนาโปรดสัตว์ หรือพระมาลัยปางโปรดสัตว์ เนื่องจากตาลปัตรเป็นเครื่องหมายของการแสดงธรรม --------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร --------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง เด่นดาว ศิลปานนท์. พระมาลัยในศิลปกรรมไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๖.


เลขทะเบียน : นพ.บ.121/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  32 หน้า ; 5 x 57.3 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 69 (225-231) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺกรณาภิธมฺ (พระอภิธมฺสงฺคิณี-พระยกมกปกรณ)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๒๗ เจ้าอาวาสวัดต้นสน ต.บางปลาสร้อย เขต ๑ อ.เมือง จ.ฃลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๐ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.21/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี ขอนำเสนอสาระความรู้ ในหัวข้อ จดหมายเหตุเล่าเรื่อง ตอนที่ ๓ การค้นหาแร่เต๊กไต๊ท์ จากเอกสารจดหมายเหตุจังหวัดนครพนม แผนกมหาดไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๘ กรมโลหกิจ (ปัจจุบันคือ กรมทรัพยากรธรณี) ได้มีหนังสือถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เรื่อง ขอทราบแหล่งเต๊กไต๊ท์ ตามเนื้อความระบุว่า “เนื่องจากปรากฏในรายงานธรณีวิทยาของต่างประเทศว่าวัตถุชะนิดหนึ่งชื่อเต๊กไต๊ท์ (Tectite) ได้พบแพร่หลายในประเทศออสเตรเลีย, หมู่เกาะฟิลิปปินส์, อินโดจีน และในภาคอีสานของประเทศไทยบางท้องที่ วัตถุนี้มีประโยชน์ในงานธรณีวิทยา และกรมโลหกิจใคร่จะได้ทราบว่ามีปรากฏที่ใดบ้าง จึงได้แนบภาพถ่ายของเต๊กไต๊ท์ที่พบในอินโดจีนมากับหนังสือนี้สองภาพ เพื่อขอความร่วมมือจากท่านช่วยสืบค้นว่ามีผู้พบ หรือมีแหล่งปรากฏที่ใดบ้าง และหากจะได้ตัวอย่างด้วยก็เป็นการดีมาก วัตถุเหล่านี้มักพบปรากฏอยู่ตามผิวดิน ปนกับกรวดทรายในร่องห้วย ตามลาดเนิน ลักษณะคล้ายหินหรือแก้วหรือเหล็กเป็นสนิม ผิวมักจะขรุขระดังผิวลูกมะกรูดหรือเป็นร่อง เป็นแอ่ง เป็นรูเล็ก ๆ มีขนาดต่างกันตั้งแต่ขนาดผลพุดซาไปจนถึงขนาดผลส้มโอขนาดใหญ่ วัตถุเหล่านี้เป็นวัตถุเดียวกับที่ชาวบ้านเรียกว่า คดพระจันทร์ ขวานพระจันทร์ หรือขวานฟ้า” แต่ทั้งนี้จากการตรวจสอบเอกสารจดหมายเหตุที่ได้รับมอบไม่พบเอกสารแนบภาพถ่าย ผู้เรียบเรียงจึงขอยกตัวอย่างแร่เต๊กไต๊ท์ ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรธรณี ดังนี้ Tektite เป็นหินอุลกมณี หรือหินดาวตกประกอบด้วยแร่ซิลิกา ลักษณะเป็นเนื้อแก้วที่ผิวมีหลุมเล็ก ๆ หรือเป็นร่องยาว มีหลายขนาดและรูปแบบ เช่น ทรงกลมคล้ายผลส้ม กลมและแบนแบบจาน รูปหยดน้ำ รูปดัมเบล และรูปกระสวย ในประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าว ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมมีหนังสือแจ้งไปยังส่วนราชการในอำเภอต่าง ๆ ให้สำรวจและรายงานข้อมูล พบว่า จากการสำรวจของนายไพฑูรย์ เก่งสกุล นายอำเภอนาแก ในบริเวณพื้นที่ตำบลกกตูม อำเภอนาแก มีการพบหินที่สงสัยว่าจะมีแร่ธาตุบางชนิดรวม ๑๔ ชิ้น กรมโลหกิจ จึงส่ง นายเกษตร พิทักษ์ไพรวัน นายช่างธรณีวิทยา และนายวิลเลี่ยม เอ. แคสซิตี้ ให้มาดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมและเก็บตัวอย่างหิน ๑๔ ชิ้น กลับมายังกรมโลหกิจ เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ผลจากการวิเคราะห์ตัวอย่างหิน แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ๑. ตัวอย่างหินที่ได้จากภูกะติ๊บ บ.โคกกลาง อ.เมือง จ.สกลนคร เป็นแร่ทองแดง จำนวน ๗ ชิ้น ๒. ตัวอย่างจาก ตำบลกกตูม อำเภอนาแก จ.นครพนม เป็นแร่และวัตถุต่าง ๆ คือ ๒.๑ แร่เหล็ก ชนิดไลโมไน้ท์ จำนวน ๑ ชิ้น ๒.๒ แร่เหล็ก ชนิดไพไร้ท์ จำนวน ๑ ชิ้น ๒.๓ กรวดมีคราบแร่ทองแดง จำนวน ๓ ชิ้น ๒.๔ ซากกระดูกกลายเป็นหิน จำนวน ๒ ชิ้น ภายหลังจากที่มีการวิเคราะห์ผลทางวิทยาศาสตร์ กรมโลหกิจ ได้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการจัดการหากราษฎรพบหินที่มีลักษณะดังกล่าวไว้ว่า “ตัวอย่างแร่ทองแดงจากภูกระติ๊บ แสดงลักษณะของแร่ซึ่งเคยพบเป็นก้อนในหินทรายในที่อื่น ๆ และมักจะไม่เป็นแหล่งใหญ่ แต่ก็ควรสนใจติดตามให้ทราบแน่นอนว่ามีมากสักเพียงใด ส่วนแร่เหล็กและทองแดงจากตำบลกกตูม ไม่แสดงลักษณะสำคัญควรแก่การสนใจ แต่ทรากกระดูกกลายเป็นหิน ๒ ชิ้น ควรจะได้สืบทราบแหล่งที่มาแน่นอน และถ้ายังมีส่วนใดเหลืออยู่เอาออกจากหินได้ยาก ก็ควรจะได้รับความคุ้มครองจากผู้ปกครองท้องที่มิให้ถูกทำลายไปโดยชาวบ้าน เพื่อจักได้ทำการศึกษาในโอกาสอันควรข้างหน้า เพราะวัตถุเหล่านี้มีค่าในทางการศึกษาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาตร์” เอกสารอ้างอิง - กรมทรัพยากรธรณี. (ม.ป.ท.). ประวัติความเป็นมาของกรมทรัพยากรธรณี. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ จาก http://www.dmr.go.th/ewtadmin/ewt/dmr_web/n_more_news.php... - กรมทรัพยากรธรณี. (ม.ป.ท.). tektite เกิดได้อย่างไร ส่วนประกอบทางเคมีเป็นอย่างไร ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ จาก http://www.dmr.go.th/fq_more.php?page=8&f_id=19&f_sub_id=21 - หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี. นพ ๑.๒/๓๒ ให้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดนครพนม (๑๘ ม.ค. - ๑๗ ก.ย. ๒๔๙๘) ภาพประกอบ - อุทยานแห่งชาติไม้กลายเป็นหิน จ.ตาก. (ม.ป.ท.). เมื่อไม้กลายเป็นหิน. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๔ จาก http://www.dmr.go.th/.../article/article_20171002133400.pdf - https://www.mindat.org/min-10859.html เรียบเรียงโดย นางสาวพัชราภรณ์ สุวรรณะ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ


กรมศิลปากร.  หอสมุดแห่งชาติสาขา วัดดอนรัก สงขลา และวัดดอนรัก จังหวัดสงขลา.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525.         กรมศิลปากรได้รวบรวมและเรียบเรียงประวัติหอสมุดแห่งชาติสาขาวัดดอนรัก และประวัติวัดดอนรักขึ้น เนื่องในโอกาสพิธีเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติสาขาวัดดอนรัก เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2525


แรกนาขวัญในหัวเมืองภาคใต้   ประวัติศาสตร์แห่งการแรกนาขวัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่องการแรกนา ไว้ในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือนตอนพระราชพิธีเดือนหก ความตอนหนึ่งว่า "...การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมมีมาแต่โบราณ เช่นในเมืองจีน สี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ลงทรงไถนาเองเป็นคราวแรก พระมเหสีเลี้ยงตัวไหม ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่มีปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอเป็นนิตย์ไม่มีเวลาเว้นว่าง ด้วยการซึ่งผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินลงมือทําเองเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทํานา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความตั้งมั่นและความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทั้งปวง แต่การซึ่งมีพิธีเจือปนต่างๆ ไม่เป็นแต่ลงมือไถนาเป็นตัวอย่าง เหมือนอย่างชาวนาทั้งปวงลงมือไถนาของตัวตามปรกติ ก็ด้วยความหวาดหวั่นต่ออันตราย คือน้ำฝนน้ำท่ามากไปน้อยไป ด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นเหตุอันตราย ไม่ให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิ และมีความปรารถนาที่จะให้ได้ประโยชน์เต็มภาคภูมิเป็นกําลัง จึงได้ต้องแส่หาทางที่จะแก้ไข และทางที่จะอุดหนุน และที่จะเสี่ยงทายให้รู้ล่วงหน้าจะได้เป็นที่มั่นอกมั่นใจ ก็การที่จะแก้ไขเยียวยาน้ำฝนน้ำท่าซึ่งเป็นของเป็นไปโดยฤดูปรกติเป็นเอง โดยอุบายลงแรงลงทุนอย่างไรไม่ได้ จึงต้องอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้งบ้าง ทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคล ตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนาบ้าง บูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์บ้าง ให้เป็นการช่วยแรงและเป็นที่มั่นใจตามความปรารถนาของมนุษย์ซึ่งคิดไม่มีที่สุด..."  แรกนาขวัญในหัวเมืองภาคใต้ นอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีหัวเมืองซึ่งประกอบพิธีแรกนาด้วยเช่นกัน เมืองเหล่านี้ล้วนเป็นเมืองเก่าแก่ และมีธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องมาแต่โบราณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่องการแรกนาในหัวเมืองไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน(พระราชพิธีเดือนหก)ตอนหนึ่งว่า “...หัวเมืองซึ่งมีการแรกนา มีของหลวงพระราชทานเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๔ คือกรุงเก่าเมือง ๑  เพชรบุรีเมือง ๑ แต่เมืองซึ่งเขาทําแรกนามาแต่เดิม ไม่มีของหลวงพระราชทาน คือเมืองนครศรีธรรมราช เมืองไชยา ๒ เมืองนี้เป็นเมืองมีพราหมณ์ๆ เป็นธุระในการพิธี แต่ผู้ว่าราชการเมืองไม่ได้ลงแรกนาเอง มอบให้หลวงนาขุนนาเป็นผู้แรกนาแทนตัว เมืองสุพรรณบุรีอีกเมืองหนึ่งก็ว่ามีแรกนา ไม่ได้เกี่ยวข้องในการหลวงเหมือนกัน แต่ในปีนี้ได้จัดให้มีการแรกนาขึ้นเป็นการหลวงอีกเมืองหนึ่ง...” แรกนาขวัญในจิตรกรรมฝาผนัง  สำหรับงานจิตรกรรมฝาผนัง ภาพของพิธีแรกนาขวัญจะปรากฏอยู่ในส่วนของภาพพุทธประวัติ ตอน “วัปปมงคล” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดา ประกอบพิธีแรกนาขวัญ ส่วนเจ้าชาย สิทธัตถะราชกุมารนั้นโปรดให้ลาดพระแท่นบรรทมที่ใต้ต้นหว้าใหญ่ แต่พระราชกุมารกลับนั่งทำสมาธิจนได้ ปฐมฌาน และเกิดเหตุมหัศจรรย์เงาต้นหว้าซึ่งพระราชกุมารประทับอยู่นั้นไม่เคลื่อนที่แม้เวลาจะล่วงเลยไป เพียงใดก็ตาม จนเป็นเหตุให้พระเจ้าสุทโธทนะถวายอภิวันทนา(ไหว้) พระราชกุมาร เป็นครั้งที่ ๒  ดังปรากฏความในพรปฐมสมโพธิกถา กปิลวัตถุคมนปริวัตต์ ปริเฉทที่ ๑๗ ความว่า            “...ในสมัยนั้นสมเด็จกรุงสุทโธทนมหาราชพระพุทธบิดา ได้ทรงทัศนาพระปาฏิหารเปนมหัศจรรย์  จึงถวายอภิวันทนาการแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้ทรงพระภาค กาลในวันพระองค์ประสูติ์นั้นนำพระองค์มา เพื่อจะให้วันทนาพระกาลเทวิลดาบส ก็กระทำพระปาฏิหารขึ้นยืนเหยียบพระบาทอยู่ณเบื้องบนชฎาแห่ง พระมหาชฎิล ครั้งนั้นข้าพระองค์ก็ถวายอภิวันทนา พระบาทยุคลเปนปฐมวันทนา แลกาลเมื่อวันกระทำวัปปมงคลแรกนาขวัญก็นำพระองค์ไปบันทมในร่มไม้หว้า ได้ทัศนาฉายาไม้นั้นมิได้ชายไปตามตวัน ข้าพระองค์ก็ถวายบังคมเปนทุติยวันทนาวารคำรบ ๒ แลกาลบัดนี้ได้เห็นประปาฏิหารอันมิได้เคยทัศนากาลมาแต่ก่อน ข้าพระองค์ก็ถวายอัญชลีกรพระบวรบาทเปนตติยวันทนาวารคำรบ ๓ ในครั้งนี้...” แรกนาขวัญในจิตรกรรมฝาผนังภาคใต้ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง พุทธประวัติตอนวัปปมงคล ในพื้นที่ภาคใต้พบไม่มากนัก โดยวัดที่พบการเขียนภาพจิตรกรรมตอนนี้ได้แก่ วัดวัง ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เขียนภาพโดยหลวงเทพบัณฑิต(สุ่น) กรมการเมืองพัทลุง โดยเขียนภาพขึ้นราวปลายรัชกาลที่ ๓ – ต้นรัชกาลที่ ๔ วัดท้าวโคตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และวัดพัฒนาราม ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นภาพที่เขียนขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ แรกนาขวัญในผ้าพระบฏในภาคใต้  ผ้าพระบฏ พบที่วัดหัวเตย ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นผ้าพระบฏที่เขียนภาพพุทธประวัติ เป็นช่องที่เรียงต่อกันไปนั้น พบว่ามี ๑ ช่อง ซึ่งมีการเขียนภาพเกี่ยวกับพิธีแรกนาขวัญ โดยภาพในช่องดังกล่าวเป็นการเล่าเรื่องพระเจ้าสุทโธทนะถวายอภิวันทนา(ไหว้) เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร สองครั้ง ครั้งแรกเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร กระทำปาฎิหาริย์เสด็จประทับเหนือเศียรอสิตดาบส  และครั้งที่ ๒ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารประทับใต้ต้นหว้า ขณะที่พระเจ้าสุทโธทนะประกอบพิธี แรกนาขวัญ ผ้าพระบฏผืนนี้มีข้อความกำกับระบุว่าเขียนขึ้นในพ.ศ.๒๓๔๕ (ช่วงปลายรัชกาลที่ ๑) คนไถนาวิถีชีวิตท้องถิ่นชาวใต้  นอกจากภาพจิตรกรรมเรื่องแรกนาขวัญอันเนื่องมาจากพุทธประวัติแล้ว ยังภาพกฎภาพ “คนไถนา” ซึ่งสะท้อนภาพวิถีชิวิตของชาวใต้ ดังเช่นภาพคนไถนาที่เพดานอุโบสถวัดฉัททันต์สนาน ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และภาพคนไถนาบนเพดานศาลา ภายในวัดชลธาราสิงเห ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งภาพจิตรกรรมทั้งสองภาพนี้สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นราวกลางสมัยรัชกาลที่ ๘ ถึงช่วงต้นรัชกาลที่ ๙  


แนวทางการใช้เทคโนโลยี่ในหน่วยงานภาครัฐ โดยคุณวรินทร์ รอดโพธิ์ทอง ผู้อำนวยการศูนย์การผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ สถาบันไทย เยอรมัน


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายถม สังข์กังวาล ณ เมรุวัดหัวลำโพง พระนคร วันที่ ๑๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ 





           บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการขุดพบลูกเต๋าโบราณทำจากดินเผา กระดูกสัตว์ และงาช้าง มีรูปทรง ๒ ลักษณะ ได้แก่ ลูกเต๋าทรงลูกบาศก์ (สี่เหลี่ยมจัตุรัส) ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับลูกเต๋าในปัจจุบัน คือ เป็นลูกเต๋าที่มี ๖ ด้าน แต่ละด้านมีรอยขูดขีดลึกลงไปเป็นจุดกลม ๑ ถึง ๖ จุด และรูปทรงอีกแบบหนึ่งมีลักษณะเป็นแท่งยาวทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี ๔ ด้าน แต่ละด้านสลักเป็นจุดวงกลมล้อมรอบด้วยเส้นวงกลมหลายเส้น ด้านละ ๑, ๒, ๓ และ ๔ จุด ตามลำดับ           ลูกเต๋าโบราณทั้งสองแบบ ได้พบแพร่หลายในหลายพื้นที่ ทั้งในดินแดนตะวันออกกลาง (อาณาจักรเปอร์เชีย) ยุโรป รวมทั้งดินแดนชมพูทวีป (อินเดียตอนเหนือและพื้นที่ด้านตะวันตก)           จากการค้นพบลูกเต๋าตามแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ทำให้สันนิษฐานว่า ลูกเต๋าเป็นอุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการละเล่น กีฬา หรือการพนัน ในอินเดียได้พบลูกเต๋าทรงลูกบาศก์ ตั้งแต่อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุหรือในวัฒนธรรมยุคทองแดง อายุ ๔,๕๐๐ – ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว (๓,๐๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล) ในบางแห่งขุดพบลูกเต๋าร่วมกับแผ่นดินเผาที่มีการตีเส้นตาราง สันนิษฐานว่าใช้เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการละเล่นหรือกีฬาของคนสมัยโบราณ และอาจเป็นต้นเค้าของกีฬาหมากรุกในปัจจุบัน ในอินเดียได้พบลูกเต๋าแพร่หลายมากในชั้นวัฒนธรรมสมัยราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะ (สมัยเหล็กตอนปลาย) ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓-๗ (ประมาณ ๑,๙๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว) ต่อเนื่องมาถึงสมัยคุปตะ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ (ประมาณ ๑,๖๐๐ - ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว)           ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ยังพบลูกเต๋าที่แหล่งโบราณคดีเนินมะกอก อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี และที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค ในพื้นที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี กำหนดอายุช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๐ หรือเมื่อ ๑,๖๐๐ – ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว)           การค้นพบลูกเต๋าที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จึงเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ถึงการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชาวอินเดียในช่วงก่อนสมัยทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ แสดงถึงความสำคัญในฐานะเมืองท่าค้าขายช่วงเวลานั้น--------------------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง--------------------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. เนินมะกอก : รายงานเบื้องต้นเฉพาะเรื่องชั้นดินและหลักฐานโบราณคดีบางประเภท. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๒. กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย, ๒๕๔๒. Alex Fox. Ancient Roman Board Game found in Norwegian Burial Mound: researchers unearthed a four-sided dice and 18 circular tokens. [Online.] Available from https://www.smithsonianmag.com/smart-news/ancient-roman-board-game-unearthed-norway-180975082/ Shahid Naeem. An Ancient Indus Die. [Online.] Available from https://www.harappa.com/blog/ancient-indus-die [June 15th, 2015] Shahr-e-Sukhteh: the Burnt City. [Online.] Available from http://turquoisedomes.com/2020/01/24/shahr-e-sukhteh/ [January 24, 2020.]


Messenger