ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

เมื่อวันที่ ๓  พฤษภาคม เวลา ๑๔.๐๐ น.ณ ห้องดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมให้การต้อนรับนายมาริมาสา และนางมิกิ โตกุกาวา ประธานและกรรมการมูลนิธิโตกุกาวาแห่งประเทศญี่ปุ่น เข้าเยี่ยมคาราวะและหารือหลังจากสนับสนุนงบประมาณให้กรมศิลปากรนำไปบูรณะวัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


บัญชีค่าเข้าชมโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   ท้ายกฎกระทรวง กำหนดค่าเข้าชมและค่าบริการอื่นสำหรับโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ ลำดับ จังหวัด รายชื่อ อัตราค่าเข้าชม (บาท) สัญชาติไทย สัญชาติอื่น บัตรปลีก บัตรรวม บัตรปลีก บัตรรวม 1 กรุงเทพมหานคร 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขตพระนคร 2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราช-พิธี เขตบางกอกน้อย 3.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เขตพระนคร 4.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น เขตดุสิต 30 20 30 5 60 200 100 200 5 350 2 กาญจนบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี 2.อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค 10 20 - - 50 100 - - 3 กำแพงเพชร 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร อำเภอเมืองกำแพงเพชร 2.อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร เขตอรัญญิก อำเภอเมืองกำแพงเพชร 3.อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร เขตในกำแพงเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร 20 20 20 - 30 100 100 100 - 150 4 ขอนแก่น 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น อำเภอเมืองขอนแก่น 20 - 100 - 5 จันทบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี อำเภอเมืองจันทบุรี 20 - 100 - 6 ชัยนาท 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งขาติ ชัยนาทมุนี อำเภอเมืองชัยนาท 10 - 50 - 7 เชียงราย 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน อำเภอเชียงแสน 2.โบราณสถานวัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน 20 10 - - 100 50 - - 8 เชียงใหม่ 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ 20 - 100 - 9 ชุมพร 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร อำเภอเมืองชุมพร 20 - 100 - 10 นครปฐม 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม 20 - 100 - 11 นครราชสีมา 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงค์ อำเภอเมือง นครราชสีมา 2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย อำเภอพิมาย 3.โบราณสถานวัดพนมวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา 4.อุทยาประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย 5.โบราณสถานเมืองแขก อำเภอสูงเนิน 10 20 10 20 10   50 100 50 100 50   12 นครศรีธรรมราช 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช 30 - 150 - 13 น่าน 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน อำเภอเมืองน่าน 20 - 100 - 14 บุรีรัมย์ 1.อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอนางรอง 2.โบราณสถานปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย 20 20 30 100 100 150 15 ปราจีนบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี 30 - 150 - 16 พระนครศรีอยุธยา 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม อำเภอพระนครศรีอยุธยา 2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา 3.โบราณสถานวัดมเหยงค์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 4.โบราณสถานวัดมหาธาตุ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 5.โบราณสถานวัดราชบูรณะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 6.โบราณสถานวัดพระศรีสรรเพชญ์และพระราชวังโบราณ อำเภอพระนครศรีอยุธยา 7.โบราณสถานวัดพระราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา 8.โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา 20 30 10 10 10 10 10 10   40 100 150 50 50 50 50 50 50 220 17 พัทลุง 1.โบราณสถานวังเจ้าเมืองพัทลุง อำเภอเมืองพัทลุง 10 - 50 - 18 เพชรบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรีและอุทยาน ประวัติศาสตร์พระนครคีรี 20 - 150 - 19 เพชรบูรณ์ 1.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ 20 - 100 - 20 ภูเก็ต 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง อำเภอถลาง 20 - 100 - 21 ราชบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี อำเภอเมืองราชบุรี 20 - 100 - 22 ร้อยเอ็ด 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด 20 - 100 - 23 ลพบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จ พระนารายณ์ อำเภอเมืองลพบุรี 2.โบราณสถานบ้านวิชาเยนทร์ อำเภอเมืองลพบุรี 3.โบราณสถานปรางค์สามยอด อำเภอเมืองลพบุรี 4.โบราณสถานพระที่นั่งไกรสรสีหราช(พระที่นั่งเย็น) อำเภอเมืองลพบุรี 5.โบราณสถานวัดพระศรีมหาธาตุ อำเภอเมืองลพบุรี 30 10 10 10 10   30 50 50 50 50 50 - 150 24 ลำพูน 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญ-ไชย อำเภอเมืองลำพูน 20 - 100 - 25 สตูล 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล 10 - 50 - 26 สุพรรณบุรี 1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี 2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง อำเภออู่ทอง 20 30 - - 100 150 - -  





ชื่อวัตถุ ถ้วยน้ำจิ้ม ทะเบียน ๒๗/๓๕๖/๒๕๓๒ อายุสมัย รัตนโกสินทร์ วัสดุ(ชนิด) กระเบื้องเคลือบสีขอบ ประวัติที่มา ทำจากเมืองจีน มีตราที่ก้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ได้รับมอบจากนายประชาตัณฑวนิช บ้านเลขที่ ๙๘ ถ.กระบี่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง “ถ้วยน้ำจิ้ม” ถ้วยน้ำจิ้ม ขอบหยักคล้ายคลื่นเขียนด้วยสีทอง ด้านในถ้วยบริเวณขอบปากตกแต่งด้วยสีต่างๆ เช่น ชมพู เขียวน้ำเงิน และส้ม เป็นต้น เป็นลายมงคลต่างๆ อาทิลายวัฏสงสารหรือปมเชือกที่ไม่สิ้นสุด จีนเรียก “ฉาง”(panchang) เป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอายุยืนยาวและการประสานรวมกัน ลายปลาคู่ จีนเรียก “ยู”(yu) เป็นสัญลักษณ์แทนความอุดมสมบูรณ์ ลายหอยสังข์ จีนเรียก “ลั่ว”(luo) เป็นสัญลักษณ์แทนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และลายฉัตรหรือร่ม จีนเรียก “ไก”(gai) เป็นสัญลักษณ์แทนการปกปักรักษาเป็นต้นส่วนกลางของถ้วยตกแต่งด้วยสีชมพู เขียวน้ำเงิน และส้ม เป็นต้นทำเป็นลายนกฟีนิกส์(Phoenix) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีและสง่างาม และลายดอกโบตั๋น(Peony) ซึ่งชาวจีนเชื่อว่าโบตั๋นเป็นราชาแห่งหมู่มวลดอกไม้เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและเกียรติยศ ด้านนอกถ้วยบริเวณใต้ขอบปากตกแต่งด้วยสีชมพูเขียว และส้ม เป็นลายดอกไม้และใบไม้ ก้นถ้วยมีตราสี่เหลี่ยมภายในมีตัวอักษรจีนสีส้ม เครื่องถ้วยรูปแบบนี้เรียกกันว่า “เครื่องถ้วยนนยา” (Nyonya Wares)ซึ่งคำว่า นนยา (Nyonya) เป็นคำภาษาชวาที่ยืมมาจากคำว่า “dana”ซึ่งเป็นภาษาดัชต์ หมายถึง ผู้หญิงต่างประเทศแต่งงาน ต่อมาใช้เรียกกลุ่มลูกครึ่งจีนกับมลายูที่มีวัฒนธรรมผสมผสานและสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่เรียกว่า “เปอรานากัน” แปลว่า “เกิดที่นี่” ซึ่งส่วนใหญ่อยู่อาศัยในแถบประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ส่วนในภูเก็ตเรียกคนที่มีเชื้อสายจีนผสมกับพื้นเมืองว่า “บาบ๋า” “เครื่องถ้วยนนยา” คือ เครื่องถ้วยลงยาสีบนเคลือบ เครื่องถ้วยชนิดนี้มีราคาที่แพง เนื่องจากมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยากและมีการเผาหลายครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกต้องเผาด้วยอุณภูมิที่ต่ำ เรียกว่า “เผาดิบ” จากนั้นนำไปชุบน้ำเคลือบแล้วเผาอีกครั้งด้วยอุณภูมิที่สูงขึ้นแล้วจึงได้ภาชนะเคลือบสีขาวแล้วจึงนำไปลงยาสี “การลงยา” หมายถึง การนำน้ำเคลือบมาผสมกับน้ำมันการบูรซึ่งเป็นน้ำมันที่มีคุณสมบัติต่างๆ คือ ทำให้สีแห้งเร็ว สามารถละลายตัวสีให้มีความข้นพอที่จะทำให้ตัวสีติดกับผิวเคลือบ สีที่ติดบนผิวภาชนะจะสดใส มีความหนา และแข็งตัวง่ายเมื่อถูกอากาศ แล้วจึงเผาอีกครั้ง และหากมีการลงสีทองต้องมีการเผาครั้งสุดท้ายในอุณภูมิที่ต่ำกว่า ลายที่นิยมใช้ตกแต่งบนเครื่องถ้วยนนยา เช่น ลายดอกไม้ นก เป็นต้น เครื่องถ้วยนนยาแบบที่ตกแต่งด้วยการลงยาบนสีเคลือบ มีอายุสมัยเก่าที่สุดในช่วงราชวงศ์ชิง พ.ศ.๒๓๖๔ – ๒๔๙๓ แต่ถูกผลิตมากในช่วง พ.ศ.๒๔๐๕ – ๒๔๕๑ ซึ่งตรงกับยุครัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔) จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) ซึ่งในช่วงเวลารัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ เป็นช่วงที่มีชาวจีนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทำเหมืองแร่บนเกาะภูเก็ต “ถ้วยเขียนสี” หรือ “เครื่องถ้วยนนยา” ใบนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางรับมอบจากนายประชาตัณฑวณิช ชาวภูเก็ตซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีเชื่อชาติผสมระหว่างพื้นเมืองและจีนหรือที่เรียกว่า “บาบ๋า” เครื่องถ้วยชุดนี้ จึงเป็นหลักฐานการเข้ามาของชาวจีนในช่วงเวลารัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕ และสะท้อนถึงความนิยมเครื่องถ้วยจีนในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ลวดลายบนเครื่องถ้วยยังเป็นสัญลักษณ์มงคลที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของชาวจีนอีกด้วย เอกสารอ้างอิง - ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และนิสิต มโนตั้งวนพันธุ์. “เรียนรู้วัฒนธรรมเปอรานากัน (บ้าบ๋า ย่าหยา) จากเครื่องถ้วยนนยา,” วารสารนักบริหาร ๓๐, ๓ (กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๕๓):, ๖๒– ๖๗. -The Brithish Museum. Chinese symbols. Available at: URL:https://www.britishmuseum.org/pdf/Chinese_symbols_๑๑๐๙.pdf. Accessed May ๔, ๒๐๑๘.


               หนังสือเล่มนี้ เป็นบันทึกการเดินทางไปเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ ของผู้เขียน เป็นหนังสือที่ให้มุมมองใหม่ในการท่องเที่ยว การใช้ชีวิตอย่างผู้ที่ผ่านโลกมามาก มีแบบแผน และทำให้เห็นว่าการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อให้ได้พบเห็นสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้ในสิ่งที่ยังไม่มีโอกาสได้เห็นมาก่อนทำให้ชีวิตคนเรารู้สึกสดชื่น แปลกใหม่ สร้างความกระฉับกระเฉงและแข็งแรงให้แก่ชีวิต


ภายใต้แนวคิดให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก  เป็นเสมือนประตูเปิดสู่การเรียนรู้เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก ผู้เข้าชมจะมีความเข้าใจในความคล้ายคลึง ความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรม สร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทยบนพื้นฐานความเข้าใจ และการยอมรับซึ่งกันและกัน หน้าต่างชาติพันธุ์ เป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาพรวม เพื่อให้เห็นถึงความเหมือน และความต่างของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียและเอเชียอาคเนย์  และบนผืนแผ่นดินไทยที่มีอยู่หลากหลายกว่า ๖๐ กลุ่ม      โดยจำแนกเป็นหัวข้อย่อยเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ๑. “คนแรกเริ่มบนแผ่นดินไทย” เพื่อตอบโจทย์"คนไทยมาจากไหน" จากหลักฐานที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั่วประเทศ  ๒.  "คนดั้งเดิม" คือ ชาติพันธุ์ต่างๆ ในกลุ่มตระกูลภาษามอญ-เขมร ประกอบด้วย ๑๘ กลุ่มย่อย คือ ละเวือะ ดาระอางหรือปะหล่อง  มัลหรือปรัยหรือถิ่น ขมุ  บลาบรีหรือผีตองเหลือง คแมร-ลือ เยอ ปลัง กูย บรู โส้ ญัฮกูร ชอง ซัมเร มอญ เวียต เซมัง ซาไก ๓.  “ต้นตระกูล “ไท” คือ กลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของประเทศ มี ๒๒ กลุ่มย่อย ได้แก่ ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทยอง ไทใหญ่ ไทดำ ลาวครั่ง ลาวหล่ม ไทเลย ลาวตี้ ลาวแง้ว ลาวเวียง ลาวพวน ไทเบิ้ง ญ้อ โย้ย กะเลิง ผู้ไท ไทลาว ไทยกลาง และ ไทยใต้ ๔.  "ลูกทะเล"  คือกลุ่มชาติพันธุ์ อุรักละโว้ย มอแกน และ มลายู ๕.  "คนภูเขา" คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง มี ๑๑ กลุ่มย่อย  คือ จีน จีนฮ่อ คะฉิ่น อาข่า ลีซอ ลาหู่ กะเหรี่ยง อุก๋อง บิซู   ม้ง และ เมี่ยน ๑.๖.  “ต่างชาติต่างภาษา” กล่าวถึงกลุ่มชนจากตะวันตกที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับคนในแผ่นดิน ตั้งแต่ยุคแรกเข้ามาลงหลักปักฐานอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยมาช้านาน ได้แก่ ชาวอินเดีย ชาวเปอร์เซีย  ชาวโปรตุเกส และ ชาวญี่ปุ่น 


      "อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีเทพ 1" บรรยายภาษาไทย



***บรรณานุกรม***  หลวงนธเนติบัญชากิจ นิราศตังเกี๋ย ของ หลวงนรเนติบัญชากิจ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาคำนวณคัดณานต์ (ศรีปายะนันทน์) และงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงอุ่น คำนวณคัดณานต์ ณ เมรุวัดธาตุทอง วันที่ 10 ตุลาคม 2511 พระนคร  โรงพิมพ์สามมิตร 51  2511



***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก กระทรวงยุตติธรรม.  เรื่อง กิจการยุตติธรรมในอินโดจีนของฝรั่งเศส.  พระนคร : โรงพิมพ์พาณิชศุภผล, ๒๔๘๔.


ชื่อเรื่อง                     ประชุมพงศาวดาร เล่ม 40 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 65-66) พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชียเลขหมู่                      959.304 ป247 ล.40สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 องค์การค้าของคุรุสภา    ปีที่พิมพ์                    2512ลักษณะวัสดุ               322 หน้าหัวเรื่อง                     ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงธนบุรีภาษา                       ไทยบทคัดย่อ                        พระราชพงศาวดารฉบับนี้ มีบานแผนกบอกไว้ว่า “ศุภมัสดุ ศักราช 1157 ปีเถาะสับตศก สมเด็จพระบรมธรรมมิกมหาราชาธิราช พระเจ้าอยู่หัว ผ่านถวัลราช ณ กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา เถลิงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงชำระพระราชพงศาวดาร” ดังนี้ จุลศักราช 1157 ตรงกับ พ.ศ.2338 เป็นปีที่ 14 ในรัชกาลที่ 1  


รายงานการเดินทางไปปฏิบัติราชการ  ณ  ประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศนิวซีแลนด์ 1.      ชื่อโครงการ  โครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย  ณ  ประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศนิวซีแลนด์ 2.      วัตถุประสงค์   1.      ส่งเสริม  สนับสนุนการเสริมสร้างความสัมพันธ์  และวัฒนธรรมระหว่างประเทศตามนโยบายของรัฐบาล 2.      เพื่อใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อการของการกระชับความสัมพันธ์กันระหว่างประเทศโดยผ่านการแสดงนาฏศิลป์  ดนตรีชั้นสูง  ของกรมศิลปากร  และเป็นการเสริมสร้างพันธมิตรทางวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์ทางการเมือง  เศรษฐกิจ  ละสังคมในระยะยาว 3.      เพื่อแรกเปลี่ยนองค์ความรู้  และงานวิชาการเพื่อพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์  และดนตรีของไทย 4.      เพื่อส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม  เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีในมิติทางวัฒนธรรมระหว่างองค์กรทางด้านศิลปวัฒนธรรม  ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศทางตะวันตก  เพื่อจะได้ขยายความร่วมมือทางด้านอื่นๆ  ต่อไป 5.       เพื่อให้ประเทศไทยมีบทบาทในการใช้การแสดงบนเวที  ด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศ  ซึ่งเป็นเกียรติภูมิให้แก่ประเทศไทยและสร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนไทยรวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการเมืองและเศรษฐกิจของไทยมากขึ้น   3.      กำหนดเวลา  ระหว่างวันที่  30  มี.ค. 2559 – 15  เม.ย. 2559 4.      สถานที่  ประเทศออสเตรเลีย และ ประเทสนิวซีแลนด์ 5.      หน่วยงานผู้จัด  สำนักการสังคีต  กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม 6.      หน่วยงานสนับสนุน  กระทรวงการต่างประเทศ 7.      กิจกรรม วันที่ เวลา รายการแสดง สถานที่ พุธ 30 มีค. 14.00 19.20 ผู้เดินทาง ออกเดินทางโดยรถโค้ช ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 475 ไปยังนครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย (ใช้เวลา 9 ชม.) สำนักการสังคีต สนามบินสุวรรณภูมิ พฤหัส 31 มีค. 8.20   12.00 13.00   16.30 เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติ (เวลาท้องถิ่นออสเตรเลียเร็วกว่าไทย 4 ชม.) รับประทานอาหารกลางวัน (ทัวร์จัด) เดินทางไปยังกรุงแคนเบอร์ร่าโดยรถโค้ช (ใช้เวลาเดินทาง 3.5 ชม.) ถึงกรุงแคนเบอร์ร่า ดูสถานที่จัดการแสดง และเก็บอุปกรณ์การแสดง รับประทานอาหารเย็น  (ทัวร์จัด) เดินทางเข้าพักโรงแรม.Mantra on Northboume ที่อยู่ 84 Northboume Ave. Canberra 2612 โทร + 621 6243 2500 นครซิดนีย์           LLEWELLYN HALL Mantra on Northboume Canberra ศุกร์ 1 เม.ย.     8.25 8.40       9.00 17.00 18.00-19.00 19.00-19.20   19.20 - 20.00 (40 นาที) 20.00 -20.15      20.20 -21.00      (40 นาที)                 22.00 น. รับประทานอาหารเช้าที่พัก คณะพร้อมที่ Lobby ออกเดินทางไปยัง LLEWELLYN HALL ที่อยู่ Australian National University Building 100 William Herbert Place. Canberra  ACT 2601 ซ้อมการแสดง นักแสดงพร้อม งานเลี้ยงรับรอง เปิดงาน / การแสดงช่วงที่ 1 การอธิบายเกี่ยวกับโขน โขน ชุด รามาวตาร (ลักสีดา ถวายพล ยกรบ)   พัก 15 นาที การแสดง ช่วงที่ 2 ประกอบด้วย 1.เดี่ยวระนาด 2.การแสดง 4 ภาค       -ฟ้อนขันดอก ออกฟ้อนผาง      - ตารีกีปัสออกยอเก็ต         - ระบำต้นวรเชษฐ์                                 - ไทภูเขาออกเซิ้งกะโป๋                           3.ฟินาเล่ย์ (เหนือ  ใต้  กลาง  อีสาน ถือธง)  เก็บสัมภาระที่สถานทูต และแยกชุดไปเมือง จีลอง เดินทางกลับโรงแรมที่พัก                     LLEWELLYN HALL กรุงแคนเบอร์ร่า ออสเตรเลีย                   สถานทูต   Mantra on Northboume Canberra เสาร์ 2 เม.ย.   8.30 8.45   9.00 10.30-12.00 (1.30 นาที)             12.00-13.30   บ่าย         เย็น รับประทานอาหารเช้าที่พัก (นักแสดงแต่งหน้าไป สัมภาระพร้อมที่ Lobby /Check out ออกเดินทางไปยังสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์ร่า ถึงสถานเอกอัครราชทูต สาธิตการแสดงโขนและนาฏศิลป์  ประกอบด้วย 1. ระบำโบราณคดีศรีสยาม 2. แสดงอารมณ์ (พระ  นาง   ยักษ์  ลิง)                            3. การต่อสู้ด้วยพลอง - ไม้สั้น 4. โขน ชุด หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา                               และ WORKSHOP  (สอนโขนพื้นฐานแก่เยาวชนไทย)   เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์ร่า เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่คณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม ออกเดินทางไปยังนครซิดนีย์ โดยรถโค้ช (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3.5 ชั่วโมง) check in ที่ โรงแรม Central Station ที่อยู่ 75  Wentworth  Ave,Sydney NSW 2000 (เก็บอุปกรณ์การแสดง ณ Depot) อัธยาศัย                       ศาลาไทย สถานเอกอัครราชทูต กรุงแคนเบอร์ร่า ออสเตรเลีย               Central Station เมือง Sydney เสาร์ 2 เม.ย. เช้า 05.30 06.40   07.50     12.25     14.30       16.00 17.30 18.55 รับประทานอาหารเช้าที่พัก (ขอโรงแรมเตรียมให้) Check out  และ ฝากสัมภาระไว้ที่คณะ เดินทางไปยังนครเมลเบิร์น โดยสายการบิน Qantas  เที่ยวบินที่ QF 1527 เดินทางถึงท่าอากาศยานนครเมลเบิร์น/ เดินทางต่อไปยัง Steampacket Gardens เมืองจีลอง โดยรถยนต์ (ใช้เวลา 1 ชม.) การแสดงนาฏศิลป์ ดนตรี (25 - 30 นาที) 1. โขน ชุด ยกรบ 2. โขน ชุด หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา การแสดงนาฏศิลป์ ดนตรี (25 - 30 นาที) 1. โขน ชุด ยกรบ 2. โขน ชุด หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา   ออกเดินทางไปท่าอากาศยาน Avlon (20 นาที)เดินทางกลับนครซิดนีย์ โดยเที่ยวบิน JQ 608 เดินทางถึงท่าอากาศยานนครซิดนีย์ เดินทางไปโรงแรม Central Station สมทบ กับคณะฯ / Check in                 Steampacket Gardens เมืองจีลอง Steampacket Gardens เมืองจีลอง         Central Station เมือง Sydney อาทิตย์ 3 เม.ย.     8.15 8.30 10.00-12.00 (2 ชม.)       12.30   14.30 20.00   รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก เตรียมอุปกรณ์การแสดง คณะพร้อมที่ Lobby ออกเดินทางไปยังสโมสรทหารผ่านศึก สาธิตการแสดงโขนสำหรับชุมชนไทย (30 นาที)  1.โขน  ชุด หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา 2. โขน ชุด ยกรบ  และ  WORKSHOP  (สอนโขนพื้นฐานแก่เยาวชนไทย) รับประทานอาหารกลางวัน เก็บสัมภาระ ทัศนศึกษา/Paddy Market  (อัธยาศัย) เดินทางกลับโรงแรม   นครซิดนี่ย์ ออสเตรเลีย     ห้องโถง สโมสรทหารผ่านศึก (RSL Paddington)                                     Central Station เมือง Sydney จันทร์ 4 เม.ย.     รอยืนยัน รับประทานอาหารเช้าที่พัก กำหนดการที่นครซิดนีย์ (ตามอัธยาศัย) นัดทานข้าวเย็น  (หัวหน้าคณะเลี้ยง) นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย รอยืนยัน อังคาร  5 เม.ย.   05.00 น. 05.30 น. 9.25         14.40 น. (รอยืนยัน)           เย็น รับประทานอาหารเช้าที่พัก (ขอโรงแรมเตรียมให้) สัมภาระพร้อมที่ Lobby /Check out ออกเดินทางไปท่าอากาศยานนครซิดนีย์ คณะนาฏศิลป์ ดนตรี จนท.กต. และสื่อมวนชน ออกเดินทางไปยังกรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ โดยสายการบิน  Air New Zealand เที่ยวบินที่ NZ 846 (ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 15 นาที) เดินทางถึง ท่าอากาศยาน กรุงเวลลิงตัน (เวลาท้องถิ่นที่ นิวซีแลนด์ เร็วกว่าออสเตรเลีย 2 ชั่วโมง เร็วกว่าไทย 5 ชั่วโมง) เดินทางไปยังโรงแรม CityLife Willington - A HeriTage Hotel ที่อยู่ 14 Gilmer Terrace , Wellington, 6011, New Zealand  โทร +644-922 2800 สถานทูตลี้ยงอาหารเย็น (อาหารกล่อง)                 กรุงเวลลิงตัน     CityLife Willington - A HeriTage Hotel     รอยืนยัน พุธ  6 เม.ย.   รอยืนยัน 9.00 10.00-12.00     14.00-17.00 เย็น รับประทานอาหารเช้าที่พัก คณะพร้อมที่ Lobby ออกเดินทางไปโรงละคร ST.JAMES ผู้แทนนักแสดงและช่างเทคนิคร่วมประชุมกับผู้แทนโรงละคร หารือการเตรียมการซ้อมใหญ่ ผู้แสดงซ้อมการแสดง ของวันที่ 7 เมย. ซ้อมตามลำดับขั้นตอนของงานจริง ทัศนศึกษา เดินทางกลับโรงแรมที่พัก     โรงละคร ST.JAMES     CityLife Willington - A HeriTage Hotel   พฤหัส 7 เม.ย.   รอยืนยัน   9.00-12.00 13.00-14.30 18.00 19.00     19.20 -20.00  (40 นาที) 20.00 -20.15      20.15 - 21.00      (40 นาที)           รับประทานอาหารเช้าที่พัก คณะพร้อมที่ Lobby เดินทางไปโรงละคร ST.JAMES เตรียมการแสดง ซ้อมการแสดง ซ้อมใหญ่ตามลำดับขั้นตอนของงานจริง คณะนักแสดงพร้อม พิธีเปิดงาน ร่วมพิธีต้อนรับแบบเมารี (ตัวพระราม และ ลิง) แนะนำโขนด้วยการฉาย วีดีโอ       โขน ชุด รามาวตาร (ปราบนนทุก ลักสีดา) พัก 15 นาที โขน ชุด รามาวตาร (รบสดายุ ถวายพล ยกรบ ครองเมือง) จบการแสดง - พิธีกรกล่าวแนะนำทีม ครูน้อย (กรมศิลปากร) - พิธีกรกล่าวแนะนำทีม อ.แตง   เดินทางกลับโรงแรมที่พัก           โรงละคร ST.JAMES                       CityLife Willington - A HeriTage Hotel ศุกร์ 8 เม.ย.   รอยืนยัน รอยืนยัน   10.30-11.00         รอยืนยัน   รับประทานอาหารเช้าที่พัก คณะพร้อมที่ Lobby ออกเดินทางไปยังเมือง Paraparaumu โดยรถโค้ช (ใช้เวลา 45 นาที) สาธิตการแสดงโขน (20-30 นาที) 1. แสดงอารมณ์ (พระ  นาง   ยักษ์  ลิง )                            2. การต่อสู้ด้วยพลอง - ไม้สั้น (ไม่ต้องไหว้ครู) 3. โขน ชุด ยกรบ   เดินทางกลับกรุงเวลลิงตัน เข้าพักโรงแรม           Hall  โรงเรียน Kapiti College เมือง Paraparaaumu นิวซีแลนด์ CityLife Willington - A HeriTage Hotel   เสาร์ 9 เม.ย.   รอยืนยัน   รอยืนยัน 13.00- 13.45                     16.00 16.30-17.00 (30 นาที)   18.30-19.00 (30 นาที)   รับประทานอาหารเช้าที่พัก คณะพร้อมที่ Lobby ออกเดินทางไป Odlins Plaza ตัวพระราม และลิง ซ้อมพิธีต้อนรับแบบเมารี การแสดงนาฏศิลป์ในเทศกาลไทย (45 นาที) การแสดง 4 ภาค -          ฟ้อนขันดอก/ฟ้อนผาง  -          ตารีกีปัส/ยอเก็ต            -          การต่อสู้ด้วยพลอง - ไม้สั้น/ ระบำต้นวรเชษฐ์ -          ไทภูเขาออกเซิ้งกะโป๋            การร่วมพิธีต้อนรับแบบเมารี (พระราม และลิง)      1. โขน ชุด พระรามตามกวาง 2. โขน ชุด หนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา   โขน  ชุด ยกรบ   เดินทางกลับที่พัก           Odlins Plaza กรุงเวลลิงตัน นิวซีแลนด์                     CityLife Willington - A HeriTage Hotel อาทิตย์ 10 เม.ย.   รอยืนยัน   13.00- 13.45                  16.30-17.00 (30 นาที)   18.30-19.00 (30 นาที)   รับประทานอาหารเช้าที่พัก คณะพร้อมที่ Lobby ออกเดินทางไป Odlins Plaza การแสดงนาฏศิลป์ในเทศกาลไทย (45 นาที) การแสดง 4 ภาค -          ฟ้อนขันดอก/ฟ้อนที     -          มารากัส/ยอเก็ต            -          การต่อสู้ด้วยพลอง - ไม้สั้น/ ระบำต้นวรเชษฐ์ -          ไทภูเขา/กั๊บแก๊บ/ลำเพลิน          1. โขน ชุด พระรามตามกวาง 2. โขน ชุด หนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา   โขน  ชุด ยกรบ   เดินทางกลับที่พัก         Odlins Plaza กรุงเวลลิงตัน นิวซีแลนด์                     CityLife Willington - A HeriTage Hotel จันทร์ 11 เม.ย.     8.30           11.00-12.00              รอยืนยัน           เย็น รับประทานอาหารเช้าที่พัก (นักแสดง แต่งหน้า ทำผม ณ ที่พัก ) สัมภาระพร้อมที่ Lobby / Check out (แยกเสื้อผ้ากระเป๋าเล็กสำหรับค้างคืนที่โรโตรัว ส่วนเครื่องและอุปกรณ์การแสดงจะส่งแยก/เก็บที่วัดญาณประทีป นครโอ๊คแลนด์ หรือไว้ในรถ) ออกเดินทางไปยัง N. Z. School of Dance (ใช้เวลาประมาณ 30 นาที) การสาธิตการแสดงโขน (45นาที ) 1. ระบำโบราณคดีศรีสยาม 2. แสดงอารมณ์ (พระ  นาง   ยักษ์  ลิง )                            3.การต่อสู้ด้วยพลอง - ไม้สั้น 4. โขน  ชุด ยกรบ เก็บสัมภาระ ออกเดินทางจากกรุงเวลลิงตันโดยรถโค้ช (ใช้เวลา 6 ชม.) เดินทางถึงเมืองโรโตรัว check in ที่โรงแรม Tuscany Villas Rotorua ที่อยู่ 280 Fenton St, Rotorua3010, New Zealand โทร. +647-348 3500 ตามอัธยาศัย                   N. Z School of Dance เขตนิวทาวน์ กรุงเวลลิงตัน นิวซีแลนด์         Tuscany Villas Rotorua     อังคารที่ 12 เม.ย.   รอยืนยัน               เย็น รับประทานอาหารเช้าที่พัก สัมภาระพร้อมที่ Lobby / Check out ทัศนศึกษาเมืองโรโตรัว ออกเดินทางไปนครโอ๊คแลนด์ โดยรถโค้ช (ใช้เวลา 3 ชม.) เดินทางถึงนครโอ๊คแลนด์ check in ที่โรงแรม Rydges Auckland ที่อยู่ 59 Federal Street,Auckland 1010, New Zealand  โทร.+649-375 5900 กระทรวงเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารเย็น       เมืองโรโตรัว       โรงแรม Rydges Auckland   รอยืนยัน พุธที่13 เม.ย.     รอยืนยัน รับประทานอาหารเช้าที่พัก กำหนดการที่นครโอ๊คแลนด์ (ตามอัธยาศัย) นัดทานข้าวเย็น (หัวหน้าคณะเลี้ยง) นครโอ๊คแลนด์ นิวซีแลนด์ รอยืนยัน พฤหัส 14 เม.ย.   รอยืนยัน     รอยืนยัน 17.00 18.00     18.15-19.00                   19.00-20.00 รับประทานอาหารเช้าที่พัก คณะพร้อมที่ Lobby ออกเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี แห่ง Auckland เดินทางถึง/ดูสถานที่และซ้อมการแสดง คณะนักแสดงพร้อม พิธีเปิดงาน ออท. ณ กรุงเวลลิงตันกล่าวเปิดงาน พิธีกรแนะนำชุดการแสดง การแสดงโขนและนาฏศิลป์  (45 นาที) 1. ระบำโบราณคดีศรีสยาม 2. โขน ชุด ยกรบ 3. การแสดง 4 ภาค -          ฟ้อนขันดอก -          ตารีกีปัส -          การต่อสู้ด้วยพลอง - ไม้สั้น / ระบำต้นวรเชษฐ์ -          ไทภูเขา/ เซิ้งกะโป๋       งานเลี้ยงรับรอง   - เก็บสัมภาระ เดินทางกลับที่พัก                                   ลานเอนกประสงค์ภายในอาคารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี (Auckland University of Technology -AUT)         โรงแรม Rydges Auckland ศุกร์ที่15 เม.ย.   08.00 น. 09.00 น.   13.10 น.     20.25 น. รับประทานอาหารเช้าที่พัก สัมภาระพร้อมที่ Lobby / Check out ออกเดินทางปยังท่าอากาศยานนานาชาติ นครโอ๊คแลนด์ เดินทางกลับประเทศไทยโดยสายการบินไทยเที่ยวบินที่ TG 492 (ใช้เวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง 15 นาที) เดินทางถึงกรุงเทพฯ (เวลาประเทศไทย ช้ากว่านิวซีแลนด์ 5 ชม.) เดินทางจากสนามบินโดยรถโค้ช ถึงสำนักการสังคีต               สุวรรณภูมิ 8.      คณะผู้แทนไทย  ประกอบด้วย  ข้าราชการ  กรมศิลปากร จำนวน  36  คน 1.       นายลสิต  อิศรางกูร ณ อยุธยา                   นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ 2.       นางสาววันทนีย์  ม่วงบุญ                         ผู้ชำนาญการศิลปะการแสดง 3.       นายสมชาย  อยู่เกิด                               นาฏศิลปินชำนาญงาน 4.       นางสาวมณีรัตน์  มุ่งดี                             นาฏศิลปินชำนาญงาน 5.       นางสาวรจนา  ทับทิมศรี                          นาฏศิลปินชำนาญงาน 6.       นายพรเลิศ  พิพัฒน์รุ่งเรือง                             นาฏศิลปินชำนาญงาน 7.       นางสาวเอกนันท์  พันธุรักษ์                      นาฏศิลปินชำนาญงาน 8.       นางสาวจริยา   แดงรุณ                           นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 9.       นายจุลทรัพย์  ดวงพัตรา                          นาฏศิลปินชำนาญงาน 10.   ว่าที่ ร.ต.เอกสิทธิ์ เนตรานนท์                     นาฏศิลปินชำนาญงาน 11.   นายอนุชา สุมามาลย์                                                  นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 12.   นายปรัชญา  ชัยเทศ                                                  นาฏศิลปินชำนาญงาน 13.   นายสุวรรณ  กลิ่นอำพร                                             นาฏศิลปินชำนาญงาน 14.   นางสาวจุฑามาศ  สกุลณี                                          นาฏศิลปินชำนาญงาน 15.   นางสาวกษมา  ทองอร่าม                                          นาฏศิลปินชำนาญงาน 16.   นางสาวอาภัสรา  นกออก                                         นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 17.   นายศุภชัย  ศุภรกุล                                                    นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 18.   นายคณิต  เพิ่มสิน                                                       นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 19.   นายสิบทิศ คาระวะ                                                     นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 20.   นายสุเมธ  พิสัยพันธ์                                                   นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 21.   นายบัญชา สุริเจย์                                                       นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 22.   นางสาว ธาราทิพ   วังกาวี                                        นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 23.   นายอรรถพล   อ่อนสุวรรณ                                      นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 24.   ว่าที่ ร.ต. พงษ์พิพัฒน์  สุวรรณมาลา                       นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 25.   นายศรุต นนทประดิษฐ์                                              นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 26.   นายไชยวัฒน์  ธรรมวิชัย                                           นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 27.   นางสุพรทิพย์  ศุภรกุล                                               นาฏศิลปินชำนาญงาน 28.   นางสาวเพ็ญศิริ โกมลวัจนะ                                       นาฏศิลปินปฏิบัติงาน 29.   นายกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ                            คีตศิลปินอาวุโส 30.   นายนิเวศน์  ฤาวิชา                                                     ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน 31.   นายอนุชา บริพันธุ์                                                      ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน 32.   นางสาวเจริญศรี  แย้มสุวรรณ                                  ดุริยางคศิลปินอาวุโส 33.   นายสุรสิทธิ์  เขาสถิตย์                                               ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน 34.   นายสุราช  ใหญ่สูงเนิน                                              ดุริยางคศิลปินปฏิบัติงาน 35.   นายมารุต มากเจริญ                                                   ดุริยางคศิลปินปฏิบัติงาน 36.   นายวิรัตน์  คำแข็งขวา                                               ช่างไฟฟ้าชำนาญงาน   9.      สรุปสาระของกิจกรรม               ตามที่ได้มีการจัดทำโครงการจัดการแสดง  และแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมการแสดงนาฏศิลป์ไทย  และดนตรีไทย  เพื่อสร้างและตอบสนองภารกิจหลักขององค์กรในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของศิลปิน นักวิชาการที่ปฏิบัติงานด้านศิลปะการแสดงให้มีความรู้ประสบการณ์ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป จะเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมอันนำไปสู่ความเข้มแข็งให้แก่ประเทศชาติอีกวิทีหนึ่ง  อนึ่ง  ภารกิจนี้สามารถสร้างเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม  และกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วยมิติทูตวัฒนธรรมอันจะส่งผลให้เกียรติภูมิของชาติแพร่หลายในวงกว้างยิ่งขึ้น  โดยสำนักการสังคีต  กรมศิลปากร  เป็นผู้รับผิดชอบ  จากการดำเนินงานในครั้งนี้  ได้มีการแสดงโขนและการแสดงสี่ภาคเนื่องในการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  7  รอบ  12  สิงหาคม  ณ กรุงแคนเบอร์ร่า   ประเทศออสเตรเลีย และการแสดงโขน  และการแสดงสี่ภาค  เนื่องในโอกาสครบรอบ  60  ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างประเทศไทยกับประเทศนิวซีแลนด์  ณ  กรุงเวลลิงตัน  ประเทศนิวซีแลนด์ 10.  ข้อเสนอแนะจากกิจกรรม               สมควรให้การสนับสนุนการเดินทางไปปฏิบัติราชการเพื่อจัดการแสดง และแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมการแสดงนาฏศิลป์ไทย  และดนตรีไทย  เช่น 1.       เป็นการส่งเสริมให้บุคลากร  ได้รับความรู้และประสบการณ์ เพื่อพัฒนาศักยภาพและนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติงานในองค์กร 2.       เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี  เพื่อสร้างเครือข่ายทางพันธมิตรระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ  โดยใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการกระชับความสัมพันธ์และติดต่อทางด้านเศรษฐกิจ                                                                                    ( นายสมชาย  อยู่เกิด )                                                                    รักษาการในตำแหนง  นาฏศิลปินอาวุโส                                                                          ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ


     การพัฒนาประเทศไทย โดยรัฐบาลสมัย พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างพ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๓๑ จะมุ่งเน้นการแก้ปัญหาด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจของชาติเป็นหลักดังที่ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕–พ.ศ. ๒๕๒๙) แต่ทั้้งนี้การยึดหลักในการพัฒนาเชิงพื้นที่ หรือ “การพัฒนาแนวใหม่” โดยการกระจายรายได้สู่ประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของคนในชนบทให้มีฐานะความเป็นอยู่แบบพออยู่พอกิน และมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์นั้น รัฐบาลได้ดำเนินการทางด้านสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานให้ประชาชนเกิดความอยู่ดีกินดีและมีสุขภาพอนามัยที่ดีร่วมด้วย โดยส่งเสริมให้มีศูนย์บริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ อาทิ โรงพยาบาลศูนย์ประจำภูมิภาค โรงพยาบาลประจำอำเภอ และโรงพยาบาลชุมชน ดังปรากฏในคำกล่าวของ พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในพิธีเปิดอาคารโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๒๖ ตอนหนึ่งของคำกล่าว ระบุว่า           “...รัฐบาลได้ตระหนักถึงความลำบากของสุขภาพพลานามัยของประชาชน จึงได้ให้ความสนับสนุนทางด้านงบประมาณให้กับกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มขึ้นทุกปีตลอดมา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ นี้ ก็ได้จัดสรรงบประมาณให้กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปใช้ในโครงการสร้างโรงพยาบาลชุมชนขึ้นให้ครบทุกอำเภอทั่วประเทศ เพื่อว่าประชาชนในท้องถิ่นห่างไกลจากตัวเมือง จะได้มีโรงพยาบาลที่ใกล้ตนเป็นที่บำบัดรักษาโรคได้ทันเวลา เมื่อโครงการนี้สำเร็จคงจะยังความอบอุ่นใจให้กับประชาชน...”(หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์. นรม ๑.๑.๕.๑/๔๐๑ คำกล่าวของ ฯพณฯ พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในพิธีเปิดอาคารโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (๒๖ มี.ค. ๒๕๒๖))             รวมถึงสนับสนุนให้มีการจัดทำโครงการวิจัยเรื่องยาจากสมุนไพรในพื้นที่ โครงการดังกล่าวสามารถอ้างอิงได้จากรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๓/๒๕๒๗   เรื่อง การพิจารณโครงการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาจากสมุนไพร โดยเฉพาะสมุนไพรที่มีความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ                                                                      (หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์. นรม ๑.๒.๑/๓๘ ระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๓/๒๕๒๗ (๑๗ ม.ค. ๒๕๒๗))                    โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และการพลังงาน จัดทำเอกสารคู่มือการวิเคราะห์สมุนไพรฉบับพ.ศ. ๒๕๒๕ จำนวน ๒ ชนิด คือ ขิงและขมิ้น ซึ่งเป็นสมุนไพรที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่ประเทศไทย และสามารถนำมาสกัดเป็นตัวยาสำคัญเพื่อใช้รักษาโรค อาทิ การสกัดน้ำมันจากขิงแก่เพื่อทำทิงเจอร์ขิงชนิดเข้มข้น ใช้เป็นยาขับลมและมีสรรพคุณบรรเทาอาการจับไข้ หรือ  การใช้เหง้าขมิ้นบดสดในการฆ่าเชื้อโรคบริเวณผิวหนังทำให้แผลแห้งและตกสะเก็ดเร็วสำหรับผู้ป่่วยที่เป็นโรคฝีดาษที่ถือเป็นโรคระบาดรุนแรงครั้งหนึ่งของประเทศไทย (หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์. นรม ๑.๒.๑/๓๘ ระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๓/๒๕๒๗ (๑๗ ม.ค. ๒๕๒๗))             ผลจากการจัดทำโครงการดังกล่าวอาจถือเป็นการดำเนินการต่อยอดมาจากความตื่นตัวในการฟื้นฟูด้านการแพทย์แผนไทยในช่วงพ.ศ. ๒๕๒๒–๒๕๓๐ เพื่อลดต้นทุน   ในการนำเข้าส่วนผสมของยาจากต่างประเทศและถือเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตภายในประเทศจัดทำเป็นสินค้าส่งออกเพื่อสอดรับกับนโยบายด้านการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย     เรียบเรียงโดย นางสาวพัชราภรณ์  สุวรรณะ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ   เอกสารอ้างอิง            โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, นภนาท อนุพงศ์พัฒน์.  (๒๕๖๑).  ปกิณกคดี ๑๐๐ ปี การสาธารณสุขไทย.  นนทบุรี : สุขศาลา.            หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์. นรม.๑.๑.๕.๑/๔๐๑ คำกล่าวของ ฯพณฯ พลเอก เปรม   ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในพิธีเปิดอาคารโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (๒๖ มี.ค. ๒๕๒๖)           หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์. นรม.๑.๒.๑.๑/๓๘ ระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๓/๒๕๒๗ (๑๗ ม.ค. ๒๕๒๗)                         


Messenger