ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
หัวโขนหน้าหนุมาน
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว)
สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
หัวโขนหนุมานประดับด้วยมุกไฟแทนผิวกายสีขาว (เพราะเป็นลิงเผือก) ปากอ้า สวมเกี้ยวทอง ด้านข้างประดับกรรเจียกจร
ขั้นตอนการทำหัวโขนประดับมุกนั้นมีความซับซ้อนกว่าการทำหัวโขนแบบปกติ โดยเริ่มจากการปั้นหุ่นด้วยดินเหนียว จากนั้นจึงพอกหุ่นด้วยกระดาษข่อย ขั้นตอนถัดมาคือการผ่าหุ่นแล้วนำมาติดกับมุก ซึ่งตัดมาจากเปลือกหอยที่มีความแวววาว เช่น หอยมุกไฟ หอยโข่ง หอยอูด ช่างจะตัดเปลือกหอยให้มีรูปทรงเข้ากับความโค้ง ความลาด ของศีรษะและใบหน้าหนุมาน จากนั้นจึงนำแผ่นมุกติดลงบนพื้นผิวหัวโขน ซึ่งแต่ละชิ้นต้องติดให้พอดีกับเส้นที่ร่างไว้ เพื่อให้มุกแต่ละชิ้นสนิทกันแล้วจึงทำการขัดให้ขึ้นเงา หรืออาจขัดเอามุกส่วนเกินออก
ขั้นตอนที่เหลือจึงคล้ายกับการทำหัวโขนแบบปกติ คือการทำเครื่องประกอบศีรษะ (เครื่องประดับ) ด้วยรักกระแหนะ การลงสีฝุ่น และการประดับกระจก ด้วยกรรมวิธีการทำที่สลับซับซ้อน ประกอบกับวัสดุที่ใช้นั้นเป็นของหายากมีราคาแพง จึงมีหัวโขนประดับมุกไม่มากนัก ที่สำคัญคือ ประมาณกลาง พ.ศ. ๒๕๑๓ นายชิต แก้วดวงใหญ่ ได้ทำหัวโขนหนุมานประดับมุกขึ้นใหม่ จำนวน ๒ ชิ้น และปัจจุบันก็มีผู้อื่นสร้างเพิ่มขึ้นอีกนับเป็นการที่สืบทอดการทำหัวโขนประดับมุกอย่างโบราณ
หัวโขนหน้าหนุมานชิ้นนี้น่าจะเป็นของที่ใช้ประดับตกแต่งมิได้ใช้สวมในการแสดงโขนจริงๆ เนื่องจากมีน้ำหนักมาก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เนื่องจากเป็นยุคทองแห่งศิลปะการดนตรี นาฏศิลป์และวรรณคดี
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เคยจัดแสดงในมิวเซียมหลวงหรือหอคองคอเดีย (ปัจจุบันคือ ศาลาสหทัยสมาคม) ในพระบรมมหาราชวัง ดังปรากฏในเรื่อง ความเจริญของกรุงสยาม (ตีพิมพ์ในดรุโณวาท เมื่อวันอังคาร เดือนกันยายน แรม ๑๑ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๑๗) กล่าวถึงสิ่งของต่าง ๆ ที่จัดแสดงอยู่ในหอคองคอเดีย ความตอนหนึ่งกล่าวว่า “...ต่อไปโต๊ะตั้งศีศะโขนประดับมุกแลปิดทอง ดูผุดผ่องเปนของประหลาด...” กระทั่งเมื่อย้ายพิพิธภัณฑ์มายังพระราชวังบวรสถานมงคล และต่อมาได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ศีรษะโขนหน้าหนุมานประดับมุกชิ้นนี้ยังคงจัดแสดงมาตลอด ในบางโอกาสได้เคยถูกนำไปจัดนิทรรศการพิเศษในต่างประเทศอีกด้วย
อ้างอิง
กรมศิลปากร. นิทรรศการหัวโขน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๑๔
กรมศิลปากร. ประณีตศิลป์สยาม ณ หมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๕.
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). ดรุโณวาท เล่มที่ ๑ นำเบอร์ ๑๔๐ วันอังคารเดือน ๑๐ แรม ๑๑ ค่ำปีจอฉศก ๑๒๓๖แผ่นที่ ๑๔ [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๕ จาก: http://valuablebook2.tkpark.or.th/.../Daru.../flipbook1.html
หัวโขนหน้าหนุมาน
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว)
สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
หัวโขนหนุมานประดับด้วยมุกไฟแทนผิวกายสีขาว (เพราะเป็นลิงเผือก) ปากอ้า สวมเกี้ยวทอง ด้านข้างประดับกรรเจียกจร
ขั้นตอนการทำหัวโขนประดับมุกนั้นมีความซับซ้อนกว่าการทำหัวโขนแบบปกติ โดยเริ่มจากการปั้นหุ่นด้วยดินเหนียว จากนั้นจึงพอกหุ่นด้วยกระดาษข่อย ขั้นตอนถัดมาคือการผ่าหุ่นแล้วนำมาติดกับมุก ซึ่งตัดมาจากเปลือกหอยที่มีความแวววาว เช่น หอยมุกไฟ หอยโข่ง หอยอูด ช่างจะตัดเปลือกหอยให้มีรูปทรงเข้ากับความโค้ง ความลาด ของศีรษะและใบหน้าหนุมาน จากนั้นจึงนำแผ่นมุกติดลงบนพื้นผิวหัวโขน ซึ่งแต่ละชิ้นต้องติดให้พอดีกับเส้นที่ร่างไว้ เพื่อให้มุกแต่ละชิ้นสนิทกันแล้วจึงทำการขัดให้ขึ้นเงา หรืออาจขัดเอามุกส่วนเกินออก
ขั้นตอนที่เหลือจึงคล้ายกับการทำหัวโขนแบบปกติ คือการทำเครื่องประกอบศีรษะ (เครื่องประดับ) ด้วยรักกระแหนะ การลงสีฝุ่น และการประดับกระจก ด้วยกรรมวิธีการทำที่สลับซับซ้อน ประกอบกับวัสดุที่ใช้นั้นเป็นของหายากมีราคาแพง จึงมีหัวโขนประดับมุกไม่มากนัก ที่สำคัญคือ ประมาณกลาง พ.ศ. ๒๕๑๓ นายชิต แก้วดวงใหญ่ ได้ทำหัวโขนหนุมานประดับมุกขึ้นใหม่ จำนวน ๒ ชิ้น และปัจจุบันก็มีผู้อื่นสร้างเพิ่มขึ้นอีกนับเป็นการที่สืบทอดการทำหัวโขนประดับมุกอย่างโบราณ
หัวโขนหน้าหนุมานชิ้นนี้น่าจะเป็นของที่ใช้ประดับตกแต่งมิได้ใช้สวมในการแสดงโขนจริงๆ เนื่องจากมีน้ำหนักมาก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เนื่องจากเป็นยุคทองแห่งศิลปะการดนตรี นาฏศิลป์และวรรณคดี
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เคยจัดแสดงในมิวเซียมหลวงหรือหอคองคอเดีย (ปัจจุบันคือ ศาลาสหทัยสมาคม) ในพระบรมมหาราชวัง ดังปรากฏในเรื่อง ความเจริญของกรุงสยาม (ตีพิมพ์ในดรุโณวาท เมื่อวันอังคาร เดือนกันยายน แรม ๑๑ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๑๗) กล่าวถึงสิ่งของต่าง ๆ ที่จัดแสดงอยู่ในหอคองคอเดีย ความตอนหนึ่งกล่าวว่า “...ต่อไปโต๊ะตั้งศีศะโขนประดับมุกแลปิดทอง ดูผุดผ่องเปนของประหลาด...” กระทั่งเมื่อย้ายพิพิธภัณฑ์มายังพระราชวังบวรสถานมงคล และต่อมาได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ศีรษะโขนหน้าหนุมานประดับมุกชิ้นนี้ยังคงจัดแสดงมาตลอด ในบางโอกาสได้เคยถูกนำไปจัดนิทรรศการพิเศษในต่างประเทศอีกด้วย
อ้างอิง
กรมศิลปากร. นิทรรศการหัวโขน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๑๔
กรมศิลปากร. ประณีตศิลป์สยาม ณ หมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๕.
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). ดรุโณวาท เล่มที่ ๑ นำเบอร์ ๑๔๐ วันอังคารเดือน ๑๐ แรม ๑๑ ค่ำปีจอฉศก ๑๒๓๖แผ่นที่ ๑๔ [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๕ จาก: http://valuablebook2.tkpark.or.th/.../Daru.../flipbook1.html
วนกลับมาอีกครั้งกับวันที่ 11 เดือน 11 ...หนึ่งวันในรอบปีที่สามารถเรียงหมายเลขเดียวกันได้มากที่สุด ส่งผลให้วันดังกล่าวถูกกำหนดเป็นวันพิเศษต่าง ๆ ไม่ว่าจะ Singles Day หรือวันคนโสด (光棍节) ของชาวจีนสมัยใหม่ (ตั้งแต่ปี 2536) ด้วยถือเลข 1 เป็นเหมือนท่อนไม้ (光棍) เรียงกัน แต่ก็มีคู่รักชาวจีนไม่น้อยที่แต่งงานกันในวันนี้ มีนัยว่าเป็นการแก้เคล็ด หรือจะเป็น Pepero Day ของชาวเกาหลีใต้ (ตั้งแต่ปี 2537) และ Pocky Day ของชาวญี่ปุ่น (ตั้งแต่ปี 2542 ตรงกับรัชศกเฮเซปีที่ 11) โดยอิงกับยี่ห้อสินค้าขึ้นชื่อของแต่ละชาติที่มีลักษณะเป็นแท่ง (หากในไทยคงใช้เป็น Peeb Day จากขนมปี๊บขาไก่)
อย่างไรก็ดี ในโอกาสที่ประทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APAC 2022 โดยมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน วันนี้ เพจคลังกลางฯ จึงขอเสนอเกร็ดจาก “ชะลอม” สัญลักษณ์ประจำการประชุม ที่มีความสัมพันธ์กับหมายเลข 11 อย่างน่าสนใจ
“ชะลอม” ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ระบุว่าเป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง รูปทรงกระบอก สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ เช่นเดียวกับที่ระบุในพจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน ของอาจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ว่าเป็นภาชนะสำหรับใส่ของ ปากชะลอมปล่อยตอกไว้เพื่อมัดรวมเข้าด้วยกันสำหรับหิ้ว ซึ่งคนทั่วไปมักนำไปใส่ของฝาก จนช่วงหนึ่งกลายเป็นภาพจำของ “พจมาน” หญิงสาวถักเปีย ผู้ถือชะลอมเดินทางมายังบ้านทรายทอง
ชะลอม... จึงเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อเรื่องการมาถึงของแขกผู้มาเยือน สอดรับกับแนวคิดหลักการประชุมที่ว่าด้วยเรื่อง “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” อนึ่ง ผู้ออกแบบสัญลักษณ์อย่างชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง ได้ตีความว่าชะลอม หมายถึงการค้าที่เปิดกว้าง (Open) สื่อถึงการเดินทาง (Connect) และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Balance) โดยแสดงออกผ่าน “เส้นตอก 11 เส้น” แบ่งออกเป็น เส้นสีน้ำเงิน 4 เส้น (การเปิดกว้างของ 21 เขตเศรษฐกิจ) เส้นสีชมพู 4 เส้น (การสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง) และเส้นสีเขียว 3 เส้น (ความสมดุล)
นอกจากสัญลักษณ์รูปชะลอมที่ปรากฏอยู่ตามสื่อ อีกหนึ่งความพิเศษของการประชุมนี้คือ “น้องนวล” Presenter แมวไทยพันธ์ทางประจำกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ อย่างไรก็ดี แม้ไม่ได้ระบุเหตุแห่งการคัดเลือกน้องนวลแน่ชัด แต่แมวก็ถือเป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่แสดงมิตรภาพ ความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน ทั้งนี้ ในวัฒนธรรมไทยยังมีการแบ่งลักษณะแมวดี หรือแมวสำคัญ ดังปรากฏในหนังสือสมุดไทยขาวของนายแช เศรษฐบุตร เรื่อง ตำราแมวคำโคลง โดยปัจจุบันตำราเล่มนี้เก็บรักษาอยู่ที่อาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง นายช่างภาพปฏิบัติงาน / เทคนิคภาพโดย อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
สวัสดีค่ะ วันนี้อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม ได้นำสาระน่ารู้เรื่อง บัวยอดปราสาท ไปชมกันได้เลยค่ะ
บัวยอดปราสาท
บัวยอดปราสาทเป็นส่วนประดับยอดของปราสาทในศิลปะเขมร มีลักษณะกลมแป้นเป็นลอนโดยรอบ บัวยอดปราสาทมีหน้าที่รองรับชิ้นส่วนคล้ายหม้อน้ำด้านบนสุดซึ่งเรียกว่า “กลศ”(กะ-ละ-สะ)
สำหรับการสร้างบัวยอดเทวสถานได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมจากอินเดียโบราณเรียกว่า “อมลกะ” (อะ-มะ-ละ-กะ) ซึ่งมาจากคำว่า “อมลกิ” ในภาษาสันสกฤตที่แปลว่า “ลูกมะขามป้อม”
สำหรับบัวยอดปราสาทในสถาปัตยกรรมอินเดียสันนิษฐานว่าเริ่มปรากฏครั้งแรกบนยอดเสาอโศกมหาราชในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๓ เมื่อเข้าสู่สมัยคุปตะ(พุทธศตวรรษที่๙ - ๑๐ )บัวยอดปราสาทจึงพัฒนารูปแบบเพื่อประดับบนยอดศิขร (สิ-ขะ-ระ) หรือส่วนเรือนยอดอาคาร และรองรับหม้อน้ำกลศด้านบนอย่างแพร่หลาย โดยในคติความเชื่อของฮินดูอมลกะเป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดอันบริสุทธิ์และความเป็นอมตะ
สำหรับบัวยอดปราสาทของปราสาทสด๊กก๊อกธมพบทั้งหมดสองชิ้นได้แก่
- บัวยอดปราสาทชิ้นที่ ๑ ทำด้วยหินทราย ด้านบนรองรับกลศซึ่งมีการเจาะรูสี่เหลี่ยมขนาด ๒๐x๒๐ เซนติเมตร เพื่อติดตั้งตรีศูล/นพศูล ปัจจุบันอยู่บนยอดปราสาทประธาน
- บัวยอดปราสาทชิ้นที่ ๒ ทำจากหินทราย สลักตกแต่งเป็นรูปกลีบดอกบัวด้านบนรองรับกลศ สันนิษฐานว่าในอดีตประดับบนยอดของซุ้มประตูโคปุระด้านตะวันออก ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ภายในอาคารศูนย์บริการข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม
อ้างอิง
- อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (๒๕๖๒). ทิพนิยายจากปราสาทหิน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ : หน้า ๔๕.
- กรมศิลปากร.สำนักโบราณคดี. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร : หน้า ๕๕๑.
- วสุ โปษยะนันทน์, อนัสติโลซิสเพื่อการบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) หน้า ๔๑-๔๒,๔๕,๖๔,๘๓
- Amalaka. Accessed May 25. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Amalaka
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 42/3ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
แนะนำ E-book หนังสือหายาก
องสรภาณมธุรส (ป๋าวเอิง). กตัญญุตานุสรณ์ ชีวประวัติบรมคุรุแพทย์ชีวกะโกมารภัต. พระนคร: ม.ป.พ., 2502.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 140/4เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 175/4เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : พระจันทกินรี คำฉันท์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกตรี พระยาวงศาภรณ์ภูษิต (รื่น วัชโรทัย) ท.ม. ท.จ. ต.ช. ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2507 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 56 หน้า สาระสังเขป : เรื่องพระจันทกินรี คำฉันท์ เป็นวรรณคดีเก่า มีเนื้อเรื่องเป็นคติ ไม่ปรากฏผู้แต่ง ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือวชิรญาณ ในหอสมุดแห่งชาติยังมีต้นฉบับสมุดไทยเรื่องนี้อีก 2 เล่ม หอสมุดได้ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2451 เล่มหนึ่ง และนายล้อมมอบให้เมื่อ พ.ศ. 2460 อีกเล่มหนึ่ง แต่เรียกชื่อว่า จันทกินรี คำฉันท์ สำนวนต่างกับที่พิมพ์ในเล่มนี้ แต่เนื้อเรื่องเดียวกัน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ขอเชิญเที่ยวงานเทศกาลวิถีน้ำ วิถีไทย สนุกอย่างดีงาม ก้าวข้ามปีใหม่ไทย (Water Festival 2023) ภายใต้แนวคิด "ชื่นอุรา น่าสบาย" ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๖ เมษายน ๒๕๖๖ ณ ชุมชนบ้านเชียง Water Festival Thailand
*พิเศษ วันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ๒๕๖๖ มีบริการ "ไกด์ ออน เกวียน" พาท่านนั่งเกวียนจากพิพิธภัณฑ์ ชมวิถีชุมชน แวะชมหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน เรือนไทพวนอนุสรณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์บรรยายนำชม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๖ การจัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เงินตราในประเทศไทย : วิวัฒน์เงินตราไทย จากสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพและวันอนุรักษ์มรดกไทย และเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเงินตราที่ใช้ในประเทศไทย พัฒนาการของเงินตรา รูปแบบของเงินตราในสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ให้แก่นักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ และประชาชนทั่วไป
นิทรรศการพิเศษดังกล่าวจะบอกเล่าเรื่องราวของเงินตราในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่
๑. เงินตราในฐานะสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
๒. พัฒนาการเงินตราในประเทศไทย
๓. เบี้ย : ความหมายของเบี้ย เบี้ยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานการใช้เบี้ยเป็นเงินตราในประเทศไทย การยกเลิกใช้เบี้ย
๔. พดด้วง สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์
๕. มาตราเงินไทยโบราณ
๖. การปฏิรูประบบเงินตราในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
๗. เมื่อแรกปรากฏพระบรมรูปบนเหรียญกษาปณ์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับการเปิดรับความเจริญจากชาวตะวันตก
๘. เงินตราสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ถึง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘
๙. เงินตราสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙
๑๐. เงินตราสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐
นอกจากนี้ ภายในนิทรรศการยังมีการจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทเงินตราต่าง ๆ เช่น เบี้ย สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๓, เงินพดด้วง ชนิดราคา ๑ บาท ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม สมเด็จพระนารายณ์ และสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ช่วงสมัยอยุธยาตอนกลางถึงตอนปลาย ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่พบในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร
เบี้ย สมัยอยุธยา
เงินพดด้วง ราคา ๑ บาท สมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
เงินพดด้วง ราคา ๑ บาท สมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เงินพดด้วง ราคา ๑ บาท สมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ
เหรียญพระบรมรูป – ตราแผ่นดิน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ บนเหรียญไม่ระบุศักราช เริ่มผลิตครั้งแรก ร.ศ. ๙๕ หรือ พ.ศ. ๒๔๑๙ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการอัญเชิญพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ประทับบนหน้าเหรียญ
เหรียญพระบรมรูป – ตราไอราพต ผลิตขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๖ จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๘ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๖๑ เศรษฐกิจตกต่ำ ราคาโลหะเงินเพิ่มสูงขึ้น จึงมีการลดส่วนผสมในการผลิตเงิน
เหรียญตราอุณาโลม – พระแสงจักร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเหรียญที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผลิตตามลักษณะแบบสตางค์รูที่เคยจัดทำในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่มีรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง เช่น ศักราชที่ระบุบนเหรียญในสมัยนี้ใช้ปีพุทธศักราช (พ.ศ.) ส่วนในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้ปีรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)
เหรียญพระบรมรูป – ตราพระครุฑพ่าห์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งตราพระครุฑพ่าห์ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน
เหรียญพระบรมรูป – ตราแผ่นดิน ชนิดราคา ๑ บาท ผลิตใน พ.ศ. ๒๕๐๕ สมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นเหรียญบาทที่มีลักษณะโดดเด่น เนื่องจากมีขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒๗ มิลลิเมตร
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐ วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ด้านหน้าของเหรียญเป็นพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนด้านหลังมีรูปตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ มีรัศมีโดยรอบ
ธนบัตร แบบ ๓ รุ่น ๑ ชนิดราคา ๑ บาท เริ่มออกใช้ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๗ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธนบัตรแบบแรกที่เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์เป็นภาพประธาน และมีการพิมพ์ข้อความแจ้งโทษของการปลอมแปลงธนบัตรเป็นครั้งแรก
ธนบัตรแบบ ๙ ชนิดราคา ๕๐ สตางค์ ประกาศออกใช้ครั้งแรก วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๔๙๑ สมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นธนบัตรที่ไม่ปรากฏพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ ๙ อีกทั้งไม่มีลายมือชื่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และไม่มีลายน้ำ
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ๒๕๖๖ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เปิดให้บริการทุกวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. หยุดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย ๒๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท ยกเว้น นักเรียนนักศึกษา นักบวชทุกศาสนา และผู้สูงอายุ
---------------------------------------------
ข้อมูลวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖
โดยนางสาวพรรณลักษณ์ พันธ์วนิชดำรง ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ชื่อเรื่อง สํยุตฺตนิกายกถา (สํยุตฺตนิกาย)ลบ.บ. 35/3หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง พระไตรปิฎก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องรัก ไม้ประกับธรรมดา
แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒
วัสดุ (ชนิด) สำริด
ขนาด หน้าตักกว้าง ๓๕ เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน ๖๖.๕ เซนติเมตร
ประวัติความเป็นมา ได้จากวัดศรีโขง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มอบให้
ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย รูปแบบศิลปกรรมผสมผสานระหว่างศิลปะสุโขทัยกับศิลปะล้านนา เช่น พระวรกายเพรียวบาง ครองสังฆาฏิที่ทำเป็นแผ่นขนาดใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลว และชายจีวรที่คาดอยู่ใต้พระชานุ เป็นต้น รูปแบบศิลปกรรมพระพุทธรูปนี้คล้ายคลึงกับพระพุทธรูปพระเจ้าเก้าตื้อ พระเมืองแก้วโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๗ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๐๕๓ ส่วนฐานขององค์พระพุทธรูปเป็นฐานปัทม์ เกสรบัวมีต่อมกลม และส่วนปลายกลีบบัวงอนออก สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปนี้ถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ภายหลังมีการสลักตัวอักษรเพิ่มเติมที่ฐานด้านหน้า ความว่า “พระครูคำภิระ ให้นายจีนแม่ชื่นไว้เป็นที่รฤก เชียงใหม่”