ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์-โบราณคดี-วิถีชีวิตคนชุมพร" วิทยากร นายเอกราช ชนะการ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


วันนี้เรามาลองออกเสียงสำเนียงพวนบ้านเชียงกันนะคะ"คำเว้าเฮาชาวไทพวน"โดย นางสาวฐิรกานดา ชมราศรี สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี



ชื่อเรื่อง                    พญากง พญาพาน : จากนิทานพราหมณ์สู่ชื่อบ้านนามเมือง และเรื่องพระปฐมเจดีย์ผู้แต่ง                      อภิลักษณ์ เกษมผลกูลประเภทวัสดุ/มีเดีย      หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                978-616-279-667-8หมวดหมู่                  ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยา เลขหมู่                     398.2 พ179สถานที่พิมพ์              กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดาปีที่พิมพ์                   2558ลักษณะวัสดุ              410 หน้า : ภาพประกอบ ; 25 ซม.หัวเรื่อง                    นิทานพื้นบ้าน – ไทย                             นิทาน – ไทย                             วรรณคดีไทย                             เพลงพื้นบ้าน – ไทย                             พระปฐมเจดีย์ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก            พญากง พญาพาน เป็นเรื่องกล่าวขานจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนรุ่นหนึ่ง โดยการบอกเล่าสืบต่อกันมาอย่างแพร่หลายในแถบจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณนครไชยศรี เมืองคูบัว และเมืองอู่ทอง อันมีสถานที่เชื่อมโยงกับตำนานนี้อยู่จนปัจจุบัน     


           อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ร่วมกับ สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย กำหนดจัดโครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง “อัตลักษณ์ทับหลังปราสาทพิมาย และทับหลังพบใหม่ในจังหวัดนครราชสีมา” เนื่องในงานเทศกาลเที่ยวพิมาย นครราชสีมา ประจำปี 2566 และงานฉลอง 555 ปี เมืองนครราชสีมา ในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 น. ณ อุดรโคปุระ (โคปุระด้านทิศเหนือ) ปราสาทพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อนำเสนอและเผยแพร่องค์ความรู้ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปราสาทพิมายและข้อมูลใหม่จากการปฏิบัติงานโบราณสถานในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา             พบกับการเสวนา เรื่อง “อัตลักษณ์ทับหลังปราสาทพิมาย" ร่วมเสวนาโดย นายภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย  นางสาวอทิตยา ถิระโชติ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ และนางสาวนัยนา มั่นปาน ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย และการบรรยายพิเศษ เรื่อง "ทับหลังพบใหม่ในจังหวัดนครราชสีมา ณ ปราสาทบ้านบุใหญ่” วิทยากรโดย นายธันยธรณ์ วรรณโพธิ์พร นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา             ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ฟรี) รับจำนวนจำกัดเพียง 40 ท่าน ลงทะเบียนได้ ที่นี่  (*ไม่มีถ่ายทอด Live สด แต่จะมีการบันทึกเทปให้ชมภายหลัง*) สอบถามเพิ่มเติมหรือติดตามรายละเอียดได้ที่เฟสบุ๊ก เพจ : อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย Phimai Historical Park  / สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร / Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย  ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนที่เข้าร่วมฟังภายในงาน จำนวน 40 ท่าน จะได้รับเอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการด้วย


           วันพุธที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๙ น. นายเสริมศักดิ์  พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และกรมศิลปากร ร่วมสักการะพระพุทธรูป “พุทธบูชานาคสัมพัจฉร์ ๒๕๖๗” เป็นปฐมฤกษ์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร             เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดกิจกรรมสักการะพระพุทธรูป “พุทธบูชานาคสัมพัจฉร์ ๒๕๖๗” (พุด–ทะ–บู–ชา–นา–คะ–สำ–พัด) อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีคติการสร้างเกี่ยวข้องกับพญานาค โดยมีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ตามตำนานปั้นหล่อจากต้นแบบนาคแปลงนิมิตสำแดงพระพุทธลักษณะ เป็นประธาน พร้อมด้วยพระพุทธรูปอีก ๙ องค์ ที่จัดแสดงและสงวนรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จำนวน ๗ องค์ คลังกลางพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี ๑ องค์ และวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ จำนวน ๑ องค์ มาประดิษฐานให้ประชาชนได้สักการบูชา เพื่ออำนวยความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ ประกอบด้วย             ๑. พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๐               ๒. พระพิมพ์ปางมหาปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี ศิลปะศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔            ๓. พระไภษัชยคุรุนาคปรก ศิลปะลพบุรี  พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘            ๔. พระรัตนตรัยมหายาน ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘            ๕. พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒            ๖. พระบัวเข็ม ศิลปะพม่า พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๔            ๗. พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นาคปรก ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔            ๘. พระพุทธรูปนาคปรกไม้จันทน์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕            ๙. พระพุทธรูปนาคปรกนอระมาด ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕             ๑๐. พระนิรโรคันตราย ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๕๔๕            ขอเชิญพุทธศาสนิกชนสักการะพระพุทธรูป “พุทธบูชานาคสัมพัจฉร์ ๒๕๖๗” ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ (วันที่ ๒๙ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ เปิดให้สักการะถึงเวลา ๒๐.๐๐ น.)


         หน้ากาลประดับซุ้มประตู          ศิลปะชวา พุทธศตวรรษที่ ๑๔          ได้มาจากพุทธสถานบูโรพุทโธ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย           ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้อง ศรีวิชัย-ชวา อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          ศิลาจำหลักรูปหน้ากาล เป็นส่วนหนึ่งของงานประดับซุ้มประตูพุทธสถานบูโรพุทโธ หรือ บโรบูดูร์ (Borobudur) ณ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย หน้ากาลมีลักษณะดวงตากลม เบิกโพลง จมูกใหญ่ ปรากฏเฉพาะส่วนริมฝีปากบน (เช่นเดียวกับหน้ากาลในศิลปะอินเดีย)* ด้านบนและด้านข้างเป็นลวดลายกระหนกพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นรูปแบบหน้ากาลของศิลปะชวาภาคกลางที่ต่างไปจากหน้ากาลในศิลปะชวาภาคตะวันออกที่มีดวงตาถลน มีริมฝีปากบนและล่าง มีมือสองข้าง และมีเขา           หน้ากาลใช้ประดับตกแต่งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ทั้งในเทวสถานและพุทธสถาน ที่นิยมใน ศิลปะอินเดีย และเอเชีย โดยมักประดับหน้ากาลอยู่กึ่งกลางยอดซุ้ม ส่วนปลายของซุ้มเป็นรูปมกร สำหรับที่พุทธสถานบูโรพุทโธ ซุ้มประตูหน้ากาลจะอยู่บริเวณลานชั้นบนสุด** ตำนานของหน้ากาลปรากฏในคัมภีร์ปุราณะ กล่าวว่าอสูรตนหนึ่งเกิดระหว่างพระขนงของพระศิวะมีความหิวโหยจนกลืนกินทุกสรรพสิ่งแม้กระทั่งร่างตนเองเหลือเพียงใบหน้าเท่านั้น พระศิวะประทานนามว่า เกียรติมุข (แปลว่า หน้าซึ่งมีเกียรติ) มอบหน้าที่ให้เฝ้าประตูวิมานของพระองค์ และถือว่าหากผู้ใดไม่เคารพเกียรติมุขย่อมถือว่าผู้นั้นจะไม่ได้รับพรจากพระศิวะ ดังนั้นหน้ากาลจึงมีหน้าที่เป็นผู้ปกป้องดูแลรักษามิให้สิ่งชั่วร้ายเข้าไปภายในศาสนสถาน รวมถึงเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเกียรติ และความเป็นมงคล จึงมักประดับอยู่บนหน้าบันกึ่งกลางทางเข้าอาคาร          นอกจากนี้คติชาวอินเดียตะวันออกเรียกอมนุษย์ตนนี้ว่า ราหูมุข (rahumukha) ตามเนื้อเรื่องพระราหู อสูรที่ถูกพระนารายณ์ตัดร่างกายไปครึ่งหนึ่งเนื่องจากลอบดื่มน้ำอมฤต ขณะที่ชาวอินเดียตะวันตกเรียกอสูรตนนี้ว่า คราสมุข (grasamukha) นับถือเป็นเจ้าแห่งทะเล ในทางพุทธศาสนามีชาดก เรื่อง “มูลปริยายชาดก” ชาดกจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก กล่าวถึง “เวลา” กลืนกินทุกสรรพสิ่งกล่าวคือ ความเสื่อมถอยของอายุขัย ร่างกาย สุขภาพ ยกเว้น “ขีณาสพ” หรือผู้ที่สิ้นกิเลสแล้วเท่านั้นที่ยังคงดำรงอยู่ได้ไม่ถูกเวลากลืนกินไป ดังข้อความว่า “กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา” แปลความว่า กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวเองด้วย ก็ผู้ใดกินกาล ผู้นั้นเผาตัณหาที่เผาสัตว์ได้แล้ว.          ศิลาจำหลักรูปหน้ากาลชิ้นนี้มีประวัติว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสชวา ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ครั้งนั้นพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพุทธสถานบูโรพุทโธ และทรงเลือกประติมากรรมกลับมาเป็นที่ระลึก ดังข้อความในพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ.๒๔๓๙) ความตอนหนึ่งกล่าวว่า          “...กลับลงมาเลือกลายต่าง ๆ ที่ตกอยู่ข้างล่าง คือนาคะหรือช้าง ลายหลังซุ้มพระเจดีย์ ๑ รากษสเล็กตัว ๑ สิงโตขาหัก ๒ ตัว ท่อน้ำอัน ๑...”          ภายหลังเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีสมโภชพระพุทธรูปและเทวรูปที่ทรงได้มาจากชวา โดยเทวรูปและพระพุทธรูปประดิษฐาน ณ โรงพิธีที่หน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ โปรดฯ ให้พระสงฆ์และพระบรมวงศานุวงศ์ตามเสด็จพระราชดำเนิน ดูสิ่งของที่ได้จากชวา พร้อมทั้งมีการแสดงทางวัฒนธรรมของทางชวา ทั้งการรำและการดนตรีอย่างชวา               หน้ากาลมีความหมายถึง ผู้ที่กลืนกินทุกสรรพสิ่ง แม้กระทั่งปากล่างของตน ทำให้เหลือแค่เพียงริมฝีปากบน          นัยหนึ่งการปรากฏทั้ง “หน้ากาล” ซึ่งหมายถึงการกลืนกินสรรพสิ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนเป็นความเสื่อมถอย และ “มกร” ซึ่งหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ เปรียบเสมือนเป็นความเจริญนั้น ก็เป็นสิ่งเตือนใจให้กับมนุษย์ว่าบนโลกมีทั้งความเจริญและความเสื่อมถอยเป็นสิ่งคู่กัน     อ้างอิง จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๘ (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงารพระศพ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธกรมหลวงนครราชสีมา ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๖๘). เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รูปแบบ พัฒนาการ ความหมาย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๘. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๑. อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๕. อรรถกถา มูลปริยายชาดก ว่าด้วย กาลเวลากินสัตว์พร้อมทั้งตัวเอง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖, จาก: https://84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270340






            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษ “แมวไทยโบราณคืนถิ่นกรุงศรี”  เนื่องในโครงการ ๔ วัด ๑ วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ พบกับโบราณวัตถุและของสะสมชิ้นสำคัญ อาทิ            - ศีรษะนางแมว (หัวโขนนางวิฬาร์) สมบัติของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง บิดาเจ้าจอมมารดามรกฏ ในรัชกาลที่ ๕            - ตำราแมวฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ จากพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศวิหาร            - ของสะสมรูปแมวของอาจารย์เกริก ยุ้นพันธ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี ๒๕๖๕             ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๖.๐๐ น. ณ โถงอาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


วัดสุวรรณคีรี           วัดสุวรรณคีรี ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา  เป็นวัดที่น่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า “วัดออก” เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองและเป็นวัดหลวงสำหรับกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาประจำเมืองสงขลาเก่า (ฝั่งแหลมสน) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๐ ต่อมา ได้มีการบูรณะโดยพระยาสุวรรณคีรีสมบัติ (บุญหุ้ย) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๘ - ๒๓๕๔ วัดนี้จึงได้เปลี่ยนชื่อตามผู้ปฏิสังขรณ์            วัดสุวรรณคีรี มีสิ่งสำคัญภายในวัด ประกอบด้วย อุโบสถ ซึ่งภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพสวรรค์ชั้นต่างๆ มีวิมาน ปราสาท นางฟ้า ฯลฯ ลอยอยู่ตามหมู่เมฆ บริเวณด้านหลังของพระประธาน ฝีมือช่างน่าจะเป็นช่างหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น   หอระฆัง  ก่ออิฐถือปูนสูงสองชั้นทรงสี่เหลี่ยม หลังคาก่อคล้ายรูปกระโจมหรือยอดเกี้ยวอย่างจีน  สร้างตามรูปแบบนิยมของพระอารามหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ได้อิทธิพลศิลปะจีนกับศิลปะตะวันตก  เจดีย์หินแบบจีน (ถะ) เป็นเจดีย์หินแกรนิตรูปทรงหกเหลี่ยม มี ๗ ชั้น มีคำจารึกภาษาจีนและภาษาไทยในชั้นที่ ๓ ของเจดีย์หินว่า “กระหม่อมฉันเจ้าพระยาสงขลา...(บุญฮุย) น้อมเกล้าถวายไว้ ก่อสร้างปีมะเส็ง สำเร็จปีมะเมีย วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๓๔๑” ซุ้มเสมา เป็นซุ้มหินแกรนิตศิลปะจีนตกแต่งด้วยลายปูนปั้นรูปดอกไม้           กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดสุวรรณคีรี โดยเป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานเมืองสงขลาเก่า ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๑๙ วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕   Wat Suwan Khiri            Wat Suwan Khiri is situated in Hua Khao Subdistrict, Singhanakhon District, Songkhla Province. It is assumed that the temple was built in the Ayutthaya period and was called “Wat Ok” by the villagers. This temple became the royal monastery where an oath of allegiance ceremony was performed in the old days when the city of Songkhla was situated in the Laem Son area. It was officially registered as a temple in 1777. Later it was restored as the city temple by Phraya Suwankhiri Sombat (Boonhui), who served as governor from 1785 to 1811. Hence the temple was named after him.            Significant structures in the temple compound include            1. The ordination hall (Ubosot) faces Songkhla Lake and was built of brick and mortar over the original. Inside the hall there sits a Buddha statue in subduing Mara posture. The mural behind the Buddha statue depicts heavenly scenes. The painting’s style demonstrates the craftsmanship of royal artisans during the early Rattanakosin period.           2. The bell tower, or belfry, is located east of the ordination hall and built of bricks and mortar. It is a rectangular two-story tower with a Chinese-style pavilion roof. The style of the bell tower was the popular style for the royal monastery in the early Rattanakosin period influenced by Chinese and Western arts.           3. The Chinese pagoda (Tha) is in the front space of the Ubosot. This seven-story hexagon pagoda was built of granite stone. There is an inscription in Chinese and Thai language on the third story that reads “I, Chao Phraya Songkhla …. (Boonhui), have humbly presented to the King this pagoda, built in year of the Small Snake and completed in year of the Horse on March 29, 1798.” This pagoda shows the same architectural style as the Chinese pagoda at Matchimawat Vora Vihara Temple in Mueang District of Songkhla Province.           4. The Boundary Stone (Sema) Arches were built of granite stone in Chinese style and decorated with flower stucco patterns. Inside each arch is a pair of granite boundary stones (Sema).            The Fine Arts Department announced the registration of Wat Suwan Khiri as part of the old town Songkhla in Government Gazette, Volume 109, Part 119, dated September 17, 1992.   


***บรรณานุกรม*** พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า อิเหนา-ฉบับ หอสมุดแห่งชาติ พระนคร โรงพิมพ์อักษรบริการ 2506



     วันศุกร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. นางสาวดวงกมล ยุทธเสรี ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัยแลพข้าราชการได้เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สวรรคตครบ ๑ ปี โดยมีนายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานในพิธี ณ วัดไทยชุมพล อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย


Messenger