ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
องค์ความรู้จากหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง
เรื่อง “งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจังหวัดตรัง : งานประจำปีที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรัง”
๑. ความเป็นมาของงานฉลองรัฐธรรมนูญ
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ รัฐบาลได้จัดให้มีการจำลองรัฐธรรมนูญและมอบให้ผู้แทนราษฎรนำไปประดิษฐาน ณ หน้าศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด
นายจัง จริงจิตร ผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดตรังได้นำรัฐธรรมนูญฉบับจำลองมาจังหวัดตรัง เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ผู้ว่าราชการในสมัยนั้นได้จัดข้าราชการ นักเรียนและประชาชนไปต้อนรับที่สถานีรถไฟตรัง แล้วนำมาประดิษฐานไว้หน้าศาลากลางจังหวัดและจัดให้มีงานเฉลิมฉลอง เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน
๒. ความเป็นมาของงานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจังหวัดตรัง
งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจังหวัดตรัง งานประจำปีที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรังโดยเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดตรัง (หลังเดิม) โดยใช้ชื่องานว่า “งานฉลองรัฐธรรมนูญ” เป็นการจัดงานเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย ที่ได้นำมาประดิษฐาน ณ จังหวัดตรัง และในปีต่อ ๆ มาได้มีการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญมาอย่างต่อเนื่อง
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่องานเป็น “งานเฉลิมพระชนมพรรษาและงานฉลองรัฐธรรมนูญ” เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมทั้งได้ปรับรูปแบบการจัดงานให้เหมาะสมกับยุคสมัย
ปัจจุบันใช้ชื่องานว่า “งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระลึกถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยครั้งแรก ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อพสกนิกรชาวตรัง รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยมีการออกร้านของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งการออกร้านกาชาดเพื่อการกุศล
ที่มาของข้อมูล :
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรมพัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๔.
ถนอม พูนวงศ์. ประวัติศาสตร์เมืองตรัง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, ๒๕๖๐.
สยามรัฐออนไลน์. (๒๕๖๓, กันยายน ๒๘). ตรังเตรียมจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญและกาชาด สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/185512
ที่มาภาพ :
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1658955
บรรยากาศงานงานฉลองรัฐธรรมนูญฯ http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=366455
บรรยากาศงานงานฉลองรัฐธรรมนูญฯ จากเพจอยู่บ้านเรา ไม่ขึ้นเขาก็ลงเล
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๒๖
เจ้าอาวาสวัดต้นสน ต.บางปลาสร้อย เขต ๑ อ.เมือง จ.ฃลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๐ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.21/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
พระอรรธนารีศวร ประติมากรรมชิ้นเด่นที่มีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทย
++++....... โคกอิฐ
ร่องรอยโบราณสถานสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในจังหวัดนราธิวาส .......++++
ที่ตั้งของโคกอิฐ
หมู่ที่ ๒ บ้านโคกไผ่ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
สภาพของโบราณสถาน
โคกอิฐมีสภาพเป็นโคกอยู่กลางทุ่งนา บนแนวสันทรายเก่าที่วางตัวในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ – ตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากทะเลประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีคลองโคกไผ่ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือ และมีคลองโคกอิฐ ไหลผ่านด้านทิศตะวันอก โดยคลอง ๒ สายนี้จะไหลไปรวมกันกลายเป็น “คลองลาน” จากนั้นไหลไปรวมกับ “คลองปูยู” ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับแม่น้ำบางนราและแม่น้ำโก-ลก และแม่น้ำทั้ง ๒ นี้จะไหลไปรวมกันและออกสู่อ่าวไทยที่บ้านตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ทั้งนี้ในบริเวณกลางโคกซึ่งปรากฏแผ่นอิฐขนาดใหญ่วางกองเกลื่อนกลาดจำนวนมากนั้น มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า “อิฐกอง”
ตำนานและเรื่องราวเล่าขาน
ตำนานท้องถิ่นกล่าวกันว่าใต้พื้นดินในบริเวณอิฐกองนั้น ลึกลงไปมีทรัพย์สมบัติมากมายบรรจุอยู่ในไหโบราณ และไหนั้นถูกผูกตรึงไว้ด้วยมนตราอันแน่นหนาตามพิธีกรรมโบราณ และมีทวด(วิญญาณศักดิ์สิทธิ์)เรียกกันว่า “โต๊ะชาย” ๔ ตนคือ ลุงดำ ลุงอิน ลุงลาย และลุงเพชร ทำหน้าที่เฝ้าทรัพย์สินเหล่านี้ และชาวบ้านมักนิยมไปบนบานกับโต๊ะชายอยู่เป็นเนืองนิตย์ พื้นที่แห่งนี้จึงถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาจนปัจจุบัน
โบราณวัตถุ
บริเวณโคกอิฐมีการพบโบราณวัตถุจำนวนมากเช่น อิฐมีจารึกตัวอักษรกวิ (กะวิ) ภาษาสันสกฤต กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ปรากฏตัวจารึก ๔ อักษร อ่านว่า “มิตฺรา ว.......” แปลว่า พระอาทิตย์...” ชิ้นส่วนพวยกาดินเผา ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ ซ่งใต้ หยวน และชิง ลูกปัด พระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์สำริด ชิ้นส่วนเครื่องใช้ทองเหลือง
นอกจากนี้ในบริเวณแนวรอบตัวสันทรายซึ่งเป็นที่ตั้งของโคกอิฐ ยังเคยมีการขุดพบการปักท่อนไม้เนื้อแข็งเป็นลักษณะคล้ายเป็นรั้วหรือกำแพง และในพื้นที่รอบโคกอิฐซึ่งปัจจุบันเป็นที่นานั้น เคยมีการขุดพบเสากระโดงเรือ สมอเรือ และเปลือกหอยทะเลด้วย
การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์
สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา กรมศิลปากร ได้ส่งตัวอย่างอิฐจากโคกอิฐไปหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน(Thermoluminescence)ที่ Artemis Testing Lab ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ค่าอายุ ๑,๒๐๐ ± ๑๘๐ และ ๑,๖๐๐ ± ๓๐๐ ปี มาแล้ว
สรุปผลการกำหนดอายุ
การศึกษาโบราณวัตถุที่พบประกอบการพิจารณาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เห็นว่าที่โคกอิฐแห่งนี้ มีการพบอิฐที่กำหนดอายุได้ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์สำริดกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จารึกอักษรกวิกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และยังพบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕
จึงอาจสรุปในเบื้องต้นได้ว่าโบราณโคกอิฐมีการใช้พื้นที่และสร้างศาสนสถานมาตั้งแต่ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ต่อมาได้เจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ -๑๘ เนื่องจากพบเครื่องถ้วยจีนในสมัยนี้เป็นจำนวนมาก และมีการยุติการใช้พื้นที่ไประยะหนึ่งในราวพุทธศตวรรษที่๑๙-๒๐ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ จึงได้มีการกลับเข้ามาใช้พื้นที่บริเวณนี้อีกครั้งหนึ่ง และมีการอยู่อาศัยสืบเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน
-------------------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา
พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนโอสถกรรม (เชื่อม รัตนกนก) ณ เมรุวัดธาตุททอง ถนนสุขุมวิทย์ พระนคร วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
ศิลาจารึกปุษยคีรี (หนังสือจารึกในประเทศไทย เล่มที่ ๑ เรียกว่า จารึกเขาปุมยะคีรี เลขทะเบียน รบ.๓) พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึก ๑ ด้าน ๑ บรรทัด ด้วยอักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต เป็นชื่อเฉพาะ แปลว่า “ปุษยคิริ” (ปุษย หมายถึง ดอกไม้ และ คิริ หมายถึง ภูเขา) พิจารณาจากรูปแบบอักษรสามารถกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ราว ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) นักวิชาการได้ศึกษาและตีความจารึกดังกล่าว มีประเด็นสำคัญในการศึกษา แบ่งเป็น ๓ ประเด็น ดังนี้ ๑. คำอ่านและคำแปลจารึก นักวิชาการได้อ่านและแปลจารึกแผ่นนี้เป็น ๒ แนวทาง ได้แก่ อ่านว่า “ปุมฺยคิริ” แปลว่า ปุมยคิริ หรือ เขาปุมยะ และ “ปุษยคิริ” แปลว่า ปุษยคิริ หรือ เขาปุษยะ ทั้งนี้ หากแปลว่า “ปุษยคิริ” น่าจะตรงกับการเทียบเคียงรูปแบบตัวอักษรสมัยหลังปัลลวะ และการแปลความหมายในภาษาสันสกฤตมากกว่า ๒. การตีความชื่อเขาปุษยคีรีกับหลักฐานด้านภูมิศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีในเมืองโบราณอู่ทอง โดยนักวิชาการส่วนใหญ่ตีความว่าชื่อ “ปุษยคีรี” ที่ปรากฏในจารึกดังกล่าว หมายถึงเขาทำเทียม ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันตกของเมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งพบโบราณสถานสำคัญในสมัยทวารวดีจนถึงสมัยอยุธยา รวมทั้งมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุสำคัญจำนวนมากในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้คงเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองอู่ทองมายาวนาน ตั้งแต่สมัยทวารวดี จนถึงสมัยอยุธยา โดยอาจเกี่ยวข้องกับความเชื่อท้องถิ่นผสมผสานกับความเชื่อที่แพร่หลายเข้ามาจากวัฒนธรรมอินเดีย และอาจเป็นภูเขาที่ใช้เป็นหลักหมาย (landmark) ในการเดินทางของนักเดินทาง ๓. ความสัมพันธ์กับการรับวัฒนธรรมอินเดีย มีผู้เสนอว่า การพบจารึกปุษยคีรีในดินแดนไทย เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดียมายังประเทศไทย เนื่องจากมีความพ้องกับชื่อภูเขาศักดิ์สิทธ์ ได้แก่ ปุษฺปคีรี ในรัฐโอริสสา ซึ่งเชื่อว่าพระเจ้าอโศกมหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๗๐ – ๓๑๑) ทรงสถาปนา และเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการติดต่อกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะเวลาต่อมา ทั้งนี้ในเมืองโบราณอู่ทองยังไม่พบหลักฐานที่มีอายุเก่าไปถึงช่วงเวลาดังกล่าวที่จะช่วยสนับสนุนแนวคิดนี้ อย่างไรก็ตาม ชื่อเขาปุษยคิริ ในอินเดียคงเป็นชื่อมงคลที่ส่งอิทธิพลมาถึงการเรียกชื่อสถานที่สำคัญในวัฒนธรรมทวารวดี ให้มีความเกี่ยวข้องกับดินแดนศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนา ก็เป็นได้ จารึกปุษยคีรี จึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงสถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง ในวัฒนธรรมทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ ซึ่งสัมพันธ์กับการรับวัฒนธรรมและความเชื่อจากอินเดียในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ภูเขาปุษยคีรีอาจเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของคนในท้องถิ่นตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยอยุธยา ---------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง---------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ (อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔), กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๕๙. นพชัย แดงดีเลิศ, จารึกทวารวดี : การศึกษาเชิงอักขรวิทยา, วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๒. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, “ปุษยคิริ : เขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองอู่ทองที่ถูกลืมเลือน”, วารสารดำรงวิชาการ, ๑๓,๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๗), หน้า ๑๓๓ – ๑๕๘. ที่มาของสำเนาภาพจารึก กรมศิลปากร, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ (อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔), กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๕๙, หน้า ๓๑๐.
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด เรื่อง ข้าวของเครื่องใช้ชาวจีนที่อพยพเข้ามาในจังหวัดร้อยเอ็ด (ฮวยน้า ฉีน้า เสี่ยหนา)