ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

         พระพิมพ์อัษฏมหาโพธิ์สัตว์          ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ - ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว)          พบที่เขาขรม อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๔๙)          ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          พระพิมพ์ดินดิบ ทรงรีคล้ายหยดน้ำ ขนาดกว้าง ๘.๕ เซนติเมตร สูง ๑๒ เซนติเมตร กึ่งกลางเป็นรูปพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร (วัชราสนะ) แสดงปางปฐมเทศนา (ธรรมจักรมุทรา) ประทับภายในซุ้ม ล้อมรอบด้วยพระโพธิสัตว์ผู้เป็นใหญ่แปดองค์ ล้อมรอบมณฑลอยู่ทั้งแปดทิศ ประกอบด้วย พระไมเตรยะ (พระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา) พระอวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา) พระสมันตภัทร (พระโพธิสัตว์แห่งการอธิษฐานขอพร) พระวัชรปาณี (พระโพธิสัตว์แห่งพละกำลัง) พระมัญชุศรี (พระโพธิ์สัตว์แห่งปัญญา) พระสรรวนีวรณวิษกัมภีนะ (พระโพธิสัตว์แห่งการขจัดอุปสรรค) พระกษิติครรภ์ (พระโพธิสัตว์แห่งสินในดิน หรือมหาปรณิธาน )และพระอากาศครรภ์ (พระโพธิสัตว์แห่งการชำระบาป หรือมหาสมาธิ)           การนับถือพระโพธิสัตว์ทั้งแปดองค์ปรากฏอยู่ในคัมภีร์สังเคราะห์ (ธรรมสังครหะ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานสกุลวัชรยาน ซึ่งเชื่อว่าพระโพธิสัตว์นั้นมีอยู่มากมายเปรียบดั่งเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา           พระพิมพ์ดินดิบชิ้นนี้เป็นหนึ่งในพระพิมพ์จำนวน ๑๗ ชิ้นที่สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ต่อมาพระองค์ได้มีลายพระหัตถ์พระราชทานเจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร เสนาบดีกระทรวงธรรมการ มอบพระพิมพ์ทั้ง ๑๗ ชิ้นเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถาน ดังข้อความในลายพระหัตถ์ที่ ๙๘/๑๐๓๘ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๕ ความว่า           “พระพิมพ์ที่ได้จากถ้ำเขาขรม แขวงอำเภอลำพูน เมืองไชยา ซึ่งพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงดำรงราชานุภาพส่งมาทูลเกล้าถวาย มาให้เจ้าคุณสำหรับเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถาน ได้ส่งมาพร้อมกับจดหมายนี้แล้ว”      อ้างอิง กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ ศ.๑๓/๔๑. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๕ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระพิมพ์เมืองไชยา (๑๑-๑๗ ตุลาคม ๑๒๕).



องค์ความรู้ เรื่อง ข้าวแช่: สำรับอาหารคู่หน้าร้อน โดย นายชญานิน นุ้ยสินธุ์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร






วันพุธที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้แทนกรมศิลปากร เข้ารับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ “รางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี” ประเภทนวัตกรรมบริการ ผลงาน Application AR Smart Heritage รูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานในพื้นที่มรดกโลก ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ณ อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้จัดพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ให้แก่หน่วยงานที่มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศ ซึ่งผลงาน  Application AR Smart Heritage รูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานในพื้นที่มรดกโลก ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ได้รับรางวัลบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมบริการ ที่มีการพัฒนาการให้บริการด้วยการนำนวัตกรรมที่เกิดจากการนำแนวคิด องค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชนให้ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และเกิดความพึงพอใจ ถือได้ว่าเป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการที่ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง


https://www.onde.go.th/rss_module/feed/1/มาตรฐานภาครัฐ https://www.onde.go.th/rss_module/feed/1/ข่าว


             กรมศิลปากร ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” เทศกาลท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน ระหว่างวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ตั้งแต่ 18.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดพระราม และพระราชวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา            ตามที่รัฐบาลได้จัดกิจกรรม Thailand Winter Festival เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้ขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาล โดยเปิดให้เข้าชมโบราณสถานยามราตรี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เร่งผลักดันการท่องเที่ยวศักยภาพสูงให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าเที่ยวตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้เสน่ห์วิถีไทย เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้สัมผัสความสวยงามของโบราณสถานในยามค่ำคืน ให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเยี่ยมชมบรรยากาศ “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” สร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่            ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” ชวนสัมผัสมนต์เสน่ห์วิถีไทยกรุงศรีอยุธยาช่วงต้นกรุงศรีฯ ในยุคที่รุ่งเรืองทั้งศิลปะ วัฒนธรรม และการค้าขาย วิถีชีวิตของผู้คนในยุคนั้นมีความสุข และเสน่ห์ไทยอย่างไร ผ่านกิจกรรมการแสดง การละเล่น พร้อมทั้งการประดับไฟ Lighting Art Installation และ Projection Maping โบราณสถานอันทรงคุณค่าให้ได้เห็นความงดงามยามค่ำคืน ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ วัดพระราม และพระราชวังจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบกับกิจกรรมไฮไลต์             - Lighting Art Installation – การประดับตกแต่งไฟ “4 วัด 1 วัง” ให้สวยงามยามค่ำคืน สัมผัสบรรยากาศที่มีมนต์เสน่ห์เมื่อครั้งต้นกรุงฯ ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป              - Projection Mapping – พบกับการฉายภาพเรื่องราวด้วยแสงสีอันวิจิตรตระการตา ณ วัดพระราม และวัดไชยวัฒนาราม ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.30 น. เป็นต้นไป              - การประกวดแมวไทยโบราณคืนถิ่นกรุงศรี – สืบสานตำนานแมวไทย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567               - พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ – ณ วิหารหลวง วัดมหาธาตุ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป              - การประกวดนางนพมาศ ประจำปี 2567 – ยลโฉมสาวงามนางนพมาศแห่งกรุงศรี ในวันลอยกระทง ณ วัดพระราม ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป              นอกจากนี้ ยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมและละเล่นไทยโบราณ เชิญชวนแต่งชุดไทยย้อนยุค พร้อมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ภายใต้บรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสวยงามของสถานที่ทางประวัติศาสตร์ยามค่ำคืน พร้อมเชิญชวนชิมอิ่มอร่อยจากการออกบูธอาหารจากทุกภูมิภาคตลอดการจัดงาน              อย่าพลาดโอกาสสำคัญในครั้งนี้ มาร่วมเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืน ได้ที่งาน “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ในวันที่ 9 - 17 พฤศจิกายน 2567 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park 


วัดศิริวรรณาวาส (ร้าง)           วัดศิริวรรณาวาส (ร้าง) ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่งที่เจ้าเมืองสงขลาต้นตระกูล ณ สงขลา เป็นผู้สร้าง เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรสเสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๕๕ (รัชกาลที่ ๕) ทรงบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับวัดศิริวรรณาวาส ใจความว่า           “...วัดศิริวรรณาวาส อีกชื่อหนึ่งว่า วัดตก พระปลัดมีเป็นเจ้าอาวาส ๑ ...วัดศิริวรรณาวาสเป็นวัดเล็กกว่าวัดสุวรรณคีรีรักษาสะอาดดีไม่ชำรุดทรุดโทรม ในอุโบสถกวาดเตียน โคมหวดที่แขวนไม่มีละอองจับ ส่วนลานวัดยังไม่เตียนแท้แต่ไม่ถึงรก ถ้ารู้จักจัดทางเดินก็ดี สถานที่จะใช้ก็ดี ทำให้เตียน สถานนอกนี้ปล่อยให้หญ้าขึ้นแต่อย่าถึงให้รกก็จะพอดูได้ฯ” จากสภาพวัดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าวัดศิริวรรณาวาสเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งบริเวณเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน           สิ่งสำคัญภายในวัด คือ อุโบสถ และหอระฆังที่แสดงถึงศิลปกรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่สวยงาม รวมทั้งกำแพงแก้วที่สร้างก่อล้อมอุโบสถโดยที่ทางเข้าด้านทิศตะวันออกทำซุ้มประตูแบบเก๋งจีน           กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดศิริวรรณาวาส (ร้าง) โดยเป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานเมืองสงขลาเก่า ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๑๙ วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๕   Wat Siri Wannawat (deserted)           Located in Hua Khao Subdistrict of Singhanakhon District near Wat Bo Sap, this old temple was built by the governor of Songkhla and the ancestor of Na Songkhla Family while the city of Songkhla was situated on Laem Son side.            The important structures in the temple compound are the ordination hall (Ubosot) and the bell tower or belfry. These two structures exemplify the splendor of regional art in southern Thailand. The ordination hall was surrounded by the defensive wall (Kamphaeng Kaew) and its eastern entrance has a Chinese-style pavilion.           The Fine Arts Department announced the registration of Wat Siri Wannawat (deserted) as a national monument in Government Gazette, Volume 109, Part 119, dated September 17, 1992.    


***รายการบรรณานุกรม*** หนังสือหายาก กรมศิลปากร.  ละคอนพันทาง เรื่อง พญาผานอง.  พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๐๑.


***บรรณานุกรม*** พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โคลนติดล้อ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายจรัล บุณย์เพิ่ม ณ เมรุวัดสุวรรณคีรี (ขี้เหล็ก) เขตบางกอกน้อย วันที่ 22 ธันวาคม พุทธศักราช 2527 กรุงเทพฯ ห.จ.ก.อรุณการพิมพ์ 2517



เรา - เหล่าราบ 21: We - Infantry  21  เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 45           เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 45 ทรงพระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช ๒๕๑๙ เพลงนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ มีพระราชเสาวนีย์ให้ พันตำรวจโทวัลลภ จันทร์แสงศรี (ขณะมียศเป็นร้อยตำรวจโท) แต่งเนื้อเพลงให้แก่กรมทหารราบ 21 แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชนิพนธ์ ทำนองเพลง พระราชทาน นับเป็น เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 3 ที่ทรงจากคำร้อง   Royal Composition Number 45           The forty-fifth royal musical composition was written in 1976. It started with Her Majesty the Queen's suggestion to Police Lieutenant Colonel Vallop Chansaengsri (then First Lieutenant) to write the lyrics for the Infantry Regiment 21 to be presented to His Majesty the King, who duly wrote the melody to the lyrics. It was the third royal composition written to the lyrics.


รายการโทรทัศน์ "The day หนึ่งวันสำคัญ" รายการสารคดีท่องเที่ยวซึ่งออกอากาศทาง ททบ.๕ ทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา ๑๐.๔๐ - ๑๑.๐๕ น. ถ่ายทำรายการ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และนำเสนอเรื่องราวความสำคัญของวันฉัตรมงคล ซึ่งจะนำไปออกอากาศในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙



Messenger