ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

ความรู้เกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง ตอนที่ 4 เรื่อง “ นางนพมาศ” หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ขอนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับประเพณีวันลอยกระทง จากหนังสือเรื่อง "ประเพณีลอยกระทง" โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง “นางนพมาศ” โดยเนื้อหาอธิบายเกี่ยวกับตำนานนางนพมาศ และการทำกระทงที่เป็นรูปดอกบัว ได้อย่างน่าสนใจ เป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเพณีอันดีงามของไทย เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงามอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์


ทางรถไฟสายสวรรคโลก"รถไฟ" เข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานานร่วมร้อยปีแล้ว ด้วยเกิดจากพระราชดำริในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจการรถไฟที่ทำให้การติดต่อค้าขายหรือขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่าง ๆ มีความสะดวกสบายมากกว่าการคมนาคมทางเรือหรือทางเกวียนซึ่งใช้เวลานานและไม่สะดวกเท่า โดยทางรถไฟสายแรกที่เปิดให้บริการแก่ชาวสยามในสมัยนั้น คือ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการสร้างรถไฟสายเหนือหรือรถไฟสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่และพัฒนากิจการรถไฟมาเป็นลำดับเช่นในปัจจุบัน"ทางรถไฟสายเหนือ" ถือเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เอื้อให้การติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือเป็นไปโดยสะดวกมากขึ้น ความน่าสนใจประการหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายดังกล่าวคือ การสร้างทางแยกที่ชุมทางบ้านดารา (ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์) และมาสิ้นสุดที่เมืองสวรรคโลกหรือจังหวัดสวรรคโลก (ปัจจุบันคือ สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย) ทำให้ทางรถไฟสายนี้ถูกเรียกว่า "เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลก" มีระยะทาง ๒๙ กิโลเมตร เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๕๒ เป็นต้นมาจนถึงในปัจจุบัน แรกเริ่มทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟที่จะไปยังเมืองตาก เชื่อมต่อพื้นที่ลุ่มแม่น้ำน่านและพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงเข้าด้วยกันทว่าการก่อสร้างทางรถไฟกลับไม่ได้ดำเนินการต่อจนบรรลุตามจุดประสงค์เดิม ทำให้เส้นทางรถไฟสายนี้สิ้นสุดลงที่เมืองสวรรคโลกเท่านั้น ถึงกระนั้น เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลกก็นับเป็นเส้นทางรถไฟสายสำคัญที่ช่วยขนส่งท่อนไม้ ของป่า และสินค้าอื่น ๆ รวมถึงช่วยให้การเดินทางติดต่อของผู้คนจากเมืองสวรรคโลกและเมืองต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงไปยังกรุงเทพฯ มีความสะดวกสบายมากขึ้น ทั้งยังเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงความสำคัญของเมืองสวรรคโลกซึ่งสอดคล้องกับการประกาศยกฐานะเมืองสวรรคโลกเป็นจังหวัดสวรรคโลกในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ด้วยทุกวันนี้ เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลกยังคงเปิดให้บริการมาโดยตลอด กระทั่งช่วงสองปีมานี้ที่มีการปิดให้บริการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จึงอาจเรียกได้ว่าทางรถไฟสายนี้เป็นมรดกความทรงจำสำคัญของผู้คนในท้องถิ่นที่ยังรอคอยที่จะทำหน้าที่ของตนเองต่อไปที่มาภาพ : https://mapio.net/pic/p-42150518/เอกสารอ้างอิง- หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ กต.๕.๒/๗๙ เรื่อง พระราชดำรัสในการเปิดรถไฟสายเหนือ.- การรถไฟไทย. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๔.-ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕. เข้าถึงได้จาก https://www.railway.co.th/


องค์ความรู้ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี “ถ้ำฝ่ามือแดง” แหล่งภาพเขียนสีพบใหม่ ในตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งภาพเขียนสีที่พบใหม่ชาวบ้านเรียกกันในชื่อ “ถ้ำฝ่ามือแดง” ตั้งอยู่บริเวณบ้านห้วยเหว่อ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากชายแดนไทย-ลาวประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ เมตร สภาพพื้นที่เป็นลานหินทรายสลับสูงต่ำ บริเวณที่พบภาพเขียนสีมีลักษณะเป็นหินทรายขนาดใหญ่ วางซ้อนทับกัน ขนาดเพิงหินยาว ๑๐.๓๐ เมตร สูง ๒.๔๑ เมตร วางตัวยาวในแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก หันหน้าไปทางทิศใต้ บริเวณด้านทิศใต้ของเพิงหินเป็นจุดที่พบภาพเขียนสี ภาพเขียนสีที่พบนั้นแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่มตามตำแหน่งที่พบ กลุ่มที่ ๑ บริเวณผนังเพิงหินด้านนอก พบภาพเขียนสีจำนวน ๖ ภาพ ประกอบด้วยภาพสัตว์และภาพมือ เขียนด้วยสีแดงน้ำหมาก มีการใช้เทคนิคการเขียนสีหลายรูปแบบ เช่น การระบายทึบ การเขียนเฉพาะเส้นกรอบ การเขียนเส้นกรอบแล้วระบายทึบ และการทาสีลงบนฝ่ามือแล้ววางทาบลงไปบนแผ่นหิน กลุ่มที่ ๒ บริเวณผนังเพิงหินด้านใน ทิศตะวันตก พบภาพเขียนสีจำนวน ๔ ภาพ เป็นภาพสัตว์ ภาพมือ และบางภาพยังไม่สามารถจัดจำแนกได้ว่าเป็นภาพอะไร เขียนด้วยสีแดงน้ำหมาก ใช้เทคนิคแบบระบายทึบและการทาสีลงบนฝ่ามือแล้วทาบลงบนแผ่นหิน กลุ่มที่ ๓ บริเวณผนังหินด้านใน ทิศตะวันออก พบภาพเขียนสีจำนวน ๔ ภาพ วาดเป็นรูปสัตว์ บางภาพไม่สามารถจัดจำแนกได้ เขียนสีด้วยสีแดงน้ำหมาก ใช้เทคนิคการระบายทึบ การเขียนเส้นกรอบแล้วระบายทึบ จากการศึกษาพบว่าการเขียน “ภาพสัตว์” เป็นภาพที่พบมากที่สุด โดยพบถึง ๙ ภาพจากทั้งหมด ๑๔ ภาพ ส่วนภาพมือนั้นพบเป็นจำนวน ๒ ภาพ อีก ๓ ภาพ ไม่สามารถจัดจำแนกได้ว่าเป็นภาพอะไร โดยทั่วไปรูปแบบภาพเขียนสีสามารถจัดจำแนกได้ออกได้หลายรูปแบบ เช่น ภาพเสมือนจริงเลียนแบบธรรมชาติ (the naturalistically imitative form expression) ภาพนามธรรม (abstract) ภาพคตินิยม (idealism) และภาพสัญลักษณ์ (symbol)สำหรับภาพเขียนสีที่พบที่แหล่งโบราณคดีนี้จัดเป็นกลุ่มภาพเสมือนจริง วาดภาพเลียนแบบธรรมชาติ เช่น ภาพสัตว์ และภาพสัญลักษณ์ เช่น ภาพมือ สำหรับการแปลความภาพเขียนสีนั้นยังไม่สรุปความหมายได้อย่างแน่ชัด แต่อาจกล่าวได้ว่าการพบภาพสัตว์อาจสะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมในอดีตของพื้นที่บริเวณนี้ ที่จะพบสัตว์เหล่านี้ได้ ส่วนภาพมือนั้นน่าจะเป็นสัญลักษณ์แทนตัวคนในอดีต ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าตำแหน่งที่พบภาพมือนั้นจะประทับใกล้กับภาพสัตว์ ซึ่งคล้ายกับภาพมือที่พบที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่จะประทับไว้กับภาพสัตว์ขนาดเล็กและใหญ่ ซึ่งอาจมีความหมายสื่อถึงพิธีกรรมการล่าสัตว์หรือจับสัตว์ จากลักษณะภาพเขียนสี อาจกำหนดอายุเชิงเทียบในเบื้องต้นได้ว่าอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว ๓,๐๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว สุดท้ายนี้ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ขอขอบคุณ นายสุรศักดิ์ เมืองสุข กรรมการหมู่บ้านห้วยเหว่อ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ที่ประสานแจ้งข้อมูลการค้นพบ และขอขอบคุณอำเภอสิรินธร ที่กรุณาอำนวยความสะดวก ในการประสานงานเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งผู้นำชุมชน ในการร่วมสำรวจและนำทาง จนทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปโดยความสำเร็จเรียบร้อย ผู้เรียบเรียง: นางสาวกัญญาภัค โต๊ะเฮ็ง นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี เอกสารอ้างอิง พเยาว์ เข็มนาค. “ศิลปะถ้ำในอุบลราชธานี” ประวัติศาสตร์และโบราณคดีอุบลราชธานี เอกสารการ สัมมนาประวัติศาสตร์และโบราณคดีอุบลราชธานี ๒๖-๒๘ กันยายน ๒๕๓๑ ณ หอประชุม อาการหอสมุด วิทยาลัยครูอุบลราชธานี. ม.ป.ท., ๒๕๓๑. ศิลปากร, กรม, กองโบราณคดี. ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๙. ศิลปากร, กรม. รายงานสำรวจแหล่งภาพเขียนสีที่ อ.โขงเจียม อ.ศรีเมืองใหม่ กิ่งอ.โพธิ์ไทรจ.อุบลราชธานี. โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กองโบราณคดี, ๒๕๒๖. ศิลปากร,กรม, สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี (เล่ม ๑ : จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร).อุบลราชธานี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, ๒๕๖๓.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           42/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              58 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 140/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 175/3เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : เรื่องของชาติไทย ของศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเฉลียว ภูมิจิตร ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2513 ชื่อผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธนปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ประจักษ์วิทยา จำนวนหน้า : 210 หน้าสาระสังเขป : หนังสือเรื่องของชาติไทยนี้ ท่านศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน ได้เรียบเรียงขึ้นต่อจากหนังสือแหลมอินโดจีนสมัยโบราณ แสดงความเป็นมาของชนชาติไทยในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็นสองภาคด้วยกัน คือไทยในประเทศจีน และไทยในแหลมอินโดจีน ความเป็นมาของหนังสือเรื่องนี้มีแจ้งอยู่ในคำชี้แจงของท่านผู้เรียบเรียงซึ่งได้นำมาพิมพ์ไว้ตอนต้นของหนังสือ


เลขทะเบียน : นพ.บ.505/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 53 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 169  (224-232) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ขอเชิญสรงน้ำพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา เสริมสิริมงคลเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ ณ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย -----------------------------------------           พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระพุทธเจ้าสูงสุดทางการแพทย์และโอสถในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน พระนามหมายถึง บรมครูแห่งโอสถ (รักษาโรค) ผู้มีรัศมีดุจไพฑูรย์ (มณีสีน้ำเงิน)


ชื่อเรื่อง                         สํยุตฺตนิกายกถา (สํยุตฺตนิกาย)ลบ.บ.                            35/2หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  54 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                         พระไตรปิฎก                                                                         บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องรัก ไม้ประกับธรรมดา


         แบบศิลปะ / สมัย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐          วัสดุ (ชนิด) สำริด          ขนาด ตักกว้าง ๙๕ เซนติเมตร สูง ๑๑๔ เซนติเมตร          ประวัติความเป็นมา พระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ให้ยืมจัดแสดง          ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ           พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร บนฐานหน้ากระดานเตี้ย รูปแบบศิลปกรรมเป็นพระพุทธรูปล้านนาที่เรียกว่า พระพุทธรูปแบบสิงห์ คือ มีพระพักตร์กลม พระเนตรเหลือบต่ำ พระขนงโก่งโค้งไม่ติดกัน พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปมขนาดใหญ่ ขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีทำด้วยไม้สามารถถอดแยกออกจากส่วนพระเศียรได้ พระวรกายอวบอ้วน พระอังสากว้าง พระอุระนูน ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ปลายหยักคล้ายเขี้ยวตะขาบ พระหัตถ์ขวาวางเหนือพระชานุ ปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เท่ากัน  พระพุทธรูปปางมารวิชัยมีร่องรอยของสลัก (แซว่) เชื่อมต่อระหว่างส่วนพระเศียรกับพระวรกายเข้าด้วยกัน เทคนิคการปั้นหล่อนี้ปรากฏหลักฐานในชินกาลมาลีปกรณ์ว่าพระพุทธรูปที่พระเจ้าติโลกราชโปรดฯ ให้หล่อขึ้นเพื่อประดิษฐานในวัดบุปผารามในพุทธศักราช ๒๐๔๘ มีที่ต่อถึง ๘ แห่ง  อย่างไรก็ดีเทคนิคที่ปรากฏอยู่ในชินกาลมาลีปกรณ์อาจเป็นที่นิยมทำแพร่หลายอยู่ในล้านนามาก่อนก็เป็นได้  


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “น้ำตกตรอกนอง” น้ำตกตรอกนอง ตั้งอยู่ที่ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง การเดินทางใช้เส้นทางแยกเข้าน้ำตกพลิ้วไปทางจังหวัดตราด ถึงสี่แยกเข้าอำเภอขลุง แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสาย ขลุง-มะขามอีก 10 กิโลเมตร ถึงตลาดตรอกนอง เลี้ยวซ้ายเข้าไปตามทางเข้าสู่น้ำตกตรอกนองอีก 2 กิโลเมตร ถึงบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พล.1 .(ตรอกนอง) ต่อจากนั้นเดินเท้าขึ้นไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตก น้ำตกตรอกนอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธร... ดูเพิ่มเติม



           อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ร่วมกับ สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย กำหนดจัดโครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง “อัตลักษณ์ทับหลังปราสาทพิมาย และทับหลังพบใหม่ในจังหวัดนครราชสีมา” เนื่องในงานเทศกาลเที่ยวพิมาย นครราชสีมา ประจำปี 2566 และงานฉลอง 555 ปี เมืองนครราชสีมา ในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 น. ณ อุดรโคปุระ (โคปุระด้านทิศเหนือ) ปราสาทพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อนำเสนอและเผยแพร่องค์ความรู้ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปราสาทพิมายและข้อมูลใหม่จากการปฏิบัติงานโบราณสถานในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา             พบกับการเสวนา เรื่อง “อัตลักษณ์ทับหลังปราสาทพิมาย" ร่วมเสวนาโดย นายภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย  นางสาวอทิตยา ถิระโชติ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ และนางสาวนัยนา มั่นปาน ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย และการบรรยายพิเศษ เรื่อง "ทับหลังพบใหม่ในจังหวัดนครราชสีมา ณ ปราสาทบ้านบุใหญ่” วิทยากรโดย นายธันยธรณ์ วรรณโพธิ์พร นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา             ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ฟรี) รับจำนวนจำกัดเพียง 40 ท่าน ลงทะเบียนได้ ที่นี่  (*ไม่มีถ่ายทอด Live สด แต่จะมีการบันทึกเทปให้ชมภายหลัง*) สอบถามเพิ่มเติมหรือติดตามรายละเอียดได้ที่เฟสบุ๊ก เพจ : อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย Phimai Historical Park  / สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร / Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย  ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนที่เข้าร่วมฟังภายในงาน จำนวน 40 ท่าน จะได้รับเอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการด้วย


วันกองทัพเรือ 20 พฤศจิกายน วันกองทัพเรือ (Royal Thai Navy Day) เป็นวันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงเรียนนายเรือ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 ทางราชการทหารเรือได้ถือเอาวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ เป็นวันที่ระลึกของกองทัพเรือตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ ในสมัยโบราณยังมิได้มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเริ่มมีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก เมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้น กิจการทหารเรือบางอย่างยังขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญ จึงมีความจำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ อาทิ ผู้บังคับการเรือ และผู้บัญชาการป้อมต่างๆ ต่อมาภายหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริว่า กิจการของทหารเรือเท่าที่อาศัยชาวต่างประเทศเข้ามาประจำตำแหน่งหน้าที่ต่างๆในเรือรบและตามป้อมนั้น ไม่สู้มีหวังในการรักษาความมั่นคงและความเป็นเอกราชของประเทศ ทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดการศึกษาแก่ทหารเรือไทย ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในเรือแทนชาวต่างชาติที่จ้างไว้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชโอรส เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2436 ทรงสำเร็จการศึกษากลับมารับราชการในปี พ.ศ. 2443 ทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากรมทหารเรือให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านบุคลากรและวัตถุตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ภายหลังจากที่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือ และกลับมารับราชการในกรมทหารเรือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารเรือ จัดการฝึกสอนวิชาการทหารเรือขึ้น โดยเริ่มตั้งโรงเรียนขึ้นครั้งแรกที่บริเวณอู่หลวงใต้วัดระฆัง ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ สำหรับอบรมนายทหารชั้นประทวน หรือฝ่ายช่างกลและปากเรือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2434 ได้ตั้งโรงเรียนนายสิบขึ้น และในปี พ.ศ. 2440 ได้จัดตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารเรือขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2442 ได้จัดตั้งโรงเรียนนายเรือขึ้น สถานที่ตั้งโรงเรียนนายเรือครั้งแรก อยู่ที่นันทอุทยาน (สวนอนันต์) มีนาวาโท ไซเดอลิน (Seidelin) เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายเรือคนแรก ในปี พ.ศ. 2443 เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นที่ประทับได้ว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทาน พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ให้เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนนายเรือ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 เป็นต้นมา และได้เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงเรียนนายเรือ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 กับได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียน ความว่า ”วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๕ เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลื้มใจ ซึ่งได้เห็นการทหารเรือ มีรากหยั่งลงแล้ว จะเป็นที่มั่นสืบไปในภายน่า”


Messenger