ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ


เลขทะเบียน : นพ.บ.173/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 4.5 x 55.5 ซ.ม. : ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับ, มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 98 (49-66) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : วินยปิฎกสงฺเขป(วินัยกรรม,ศัพท์วินัย)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.47/1-3ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ปฐมสมฺโพธิ (ปถมสมฺโพธิ)  ชบ.บ.89/1-3  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.226/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4 x 55.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 112 (170-179) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ปาราชิกกัณฑ์ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.359/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ทองทึบ-รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 139  (411-419) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ชื่อผู้แต่ง         รักษ์นราทร (โชค ชมธวัช), คุณหลวง ชื่อเรื่อง           อนุสรณ์ นางวาศ พิพิธบรรณการ วิทยสุข ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๕ จำนวนหน้า      ๑๑๓ หน้า หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ นางวาศ พิพิธบรรณการ วิทยสุขและเป็นบรรณาการแก่ญาติมิตรที่เข้าร่วมงานฌาปนกิจ วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๑๕                        หนังสือเล่มนี้ มาจากหนังสือเรื่อง “ขยายคำคม” ของคุณหลวงรักษ์นราทร (โชค ชมธวัช)โดยยกคำคม หรือสุภาษิตมาต่อเป็นโคลงสี่สุภาพ เพื่ออธิยายความหมาย และให้คำชี้แนะแก่ผู้อ่าน


ชื่อเรื่อง : ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : วัดมกุฏกษัตริยาราม สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : 2509 จำนวนหน้า : 124 หน้า สาระสังเขป : เป็นหนังสืออนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสมบุตร เศวตโยธิน ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 และในหนังสือเล่มนี้ได้พิมพ์หนังสือประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ของกรมศิลปากรไว้ด้วย




องค์ความรู้ เรื่อง ศรีวิชัยในกาลเวลา ตอน : ศรีวิชัยในความทรงจำของพระภิกษุอี้จิ้งค้นคว้า/เรียบเรียงโดย นางสาวสุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช


องค์ความรู้เรื่อง “ชวนอ่านวารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ: การรับผู้แทนทางการทูตจากประเทศตะวันตกที่ปรากฏในพระราชสาส์นสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”


          ถ้ำหมอเขียว ตั้งอยู่ที่ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เป็นเพิงผาบนเทือกเขาหินปูน อยู่ห่างจากชายทะเลประมาณ 8 กิโลเมตร ลักษณะเป็นเพิงผาที่มีความยาวประมาณ 30 เมตร โดยมีคูหาขนาดกว้างประมาณ 3 เมตร 2 คูหา ขนาบข้างในด้านทิศตะวันออกและตะวันตก           มีเรื่องเล่าของคนในพื้นที่ว่าเดิมมีหมอสมุนไพรชื่อ “เขียว” อาศัยอยู่ในบริเวณถ้ำ ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ถ้ำหมอเขียว” ต่อมาเมื่อหมอเขียวเสียชีวิตลง ชาวบ้านได้มาขุดหาขี้ค้างคาวไปขาย ทำให้พบร่องรอยหลักฐานที่ถูกขุดขึ้นมาขณะขุดขี้ค้างคาว           การขุดค้นทางโบราณคดีที่ถ้ำหมอเขียว เริ่มขึ้นโดยอาจารย์สุรินทร์ ภู่ขจร ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี ได้ขุดค้นภายใต้โครงการวิจัยวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย ดำเนินการขุดค้นในปี พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2537 หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2551 อาจารย์ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์ ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี ได้ขุดค้นที่ถ้ำหมอเขียวอีกครั้งเพื่อตรวจสอบการใช้พื้นที่เพิ่มเติม           ผลการขุดค้นทั้งสองครั้งโดยสรุป พบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 4 โครง เป็นเด็ก 1 โครง และผู้ใหญ่ 3 โครง รูปแบบการฝังศพมีทั้งการฝังในท่างอเข่า 1 โครง และท่านอนหงายเหยีดยาว 3 โครง ทั้งสี่โครงกำหนดอายุได้ในช่วงประมาณ 25,000-10,000 ปี ตรงกับสมัยหินเก่าตอนปลายถึงช่วงก่อนสมัยหินใหม่ นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียว เครื่องมือหินกะเทาะสองหน้า สะเก็ดหิน เครื่องมือกระดูกสัตว์ ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ เปลือกหอย ชิ้นส่วนเมล็ดพืช และร่องรอยการใช้ไฟ เมื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบหลักฐานจากการขุดค้นแล้ว ผู้ขุดค้นสันนิษฐานว่า ถ้ำหมอเขียวเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ก่อน 25,000 ปีมาแล้วจนถึงราว 3,000 ปีมาแล้ว และใช้พื้นที่อยู่อาศัยร่วมกับการฝังศพในช่วงประมาณ 25,000-10,000 ปีมาแล้ว           โครงกระดูกมนุษย์ที่พบที่ถ้ำหมอเขียวซึ่งกำหนดอายุจากตัวอย่างถ่านที่พบร่วมกับได้อายุประมาณ 25,000 ปีมาแล้ว จัดได้ว่าเป็นโครงกระดูกมนุษย์ โฮโม เซเปียนส์ ที่เก่าที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับถ้ำตาบน ประเทศฟิลิปปินส์ และถ้ำนีอาห์ ประเทศอินโดนีเซีย แม้ว่าก่อนหน้านี้จะพบร่องรอยเครื่องมือเครื่องใช้ที่ถ้ำหลังโรงเรียน จังหวัดกระบี่ กำหนดอายุได้ถึง 37,000 ปีมาแล้ว แต่ก็ไม่พบโครงกระดูกมนุษย์โดยตรง อันจะเป็นตัวเชื่อมในการทำความเข้าในพัฒนาการทางกายภาพและวัฒนธรรมของมนุษย์สมัยใหม่ได้ชัดเจนขึ้น การศึกษาลักษณะทางกายภาพของรูปกะโหลกยังบ่งชี้ว่ามนุษย์โบราณที่ถ้ำหมอเขียวอาจมีบรรพบุรุษร่วมกับชนพื้นเมืองดั้งเดิมของออสเตรเลีย และชนพื้นเมืองบริเวณหมู่เกาะในทะเลแปซิฟิกอีกด้วย           ส่วนหลักฐานประเภทเครื่องมือหิน กระดูกสัตว์และเปลือกหอย พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเครื่องมือ และประเภทของกระดูกสัตว์อย่างชัดเจนระหว่างสมัยหินเก่าตอนปลายและสมัยหินใหม่ โดยในสมัยหินเก่าตอนปลายพบกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่จำพวก เก้ง/กวาง วัว/ควาย หมี ใช้เครื่องมือหินกะเทาะขนาดใหญ่ และนิยมบริโภคหอยน้ำจืดมาก ส่วนสมัยหินใหม่พบกระดูกสัตว์ขนาดเล็กลง เช่น ลิง ค่าง ชะนี หมูป่า อีเห็น มีการบริโภคหอยน้ำเค็มมากขึ้น และใช้เครื่องมือหินขัดเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นการปรับตัวเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปในช่วงไพลสโตซีนตอนปลาย ซึ่งเป็นเป็นช่วงน้ำทะเลลดต่ำ ไปเป็นช่วงโฮโลซีนซึ่งอากาศอบอุ่นขึ้น และน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ถ้ำหมอเขียวจึงอยู่ใกล้ทะเลมากขึ้น และเปลี่ยนสภาพจากพื้นที่ป่าห่างไกลทะเลเป็นพื้นที่ใกล้ชายฝั่งแทน   -------------------------------------------------- แหล่งที่มาข้อมูล • White, Joyce C. (2011). “Emergence of cultural diversity in mainland Southeast Asia: a view from prehistory.” in Dynamics of Human diversity, 19. Acessed May 20. Available from http://seasiabib.museum.upenn.edu:8001/.../2011_White.pdf • Forestier, Hubert et al. (2021). “Hoabinhian variability in Mainland Southeast Asia revisited: The lithic assemblage of Moh Khiew Cave, Southwestern Thailand.” Archaeological Research in Asia, 25. Acessed May 20. Available from https://doi.org/10.1016/j.ara.2020.100236 • Matsumura, Hirofumi and Surin Pookajorn. (2005). “A Morphometric analysis of the Late Pleistocene Human Skeleton from the Moh Khiew Cave in Thailand.” Homo-Journal of Comparative Human Biology 56: 93-118. • ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. (2561). “มนุษย์สมัยใหม่รุ่นบุกเบิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ซากบรรพชีวินและหลักฐานทางโบราณคดี.” วารสารมานุษยวิทยา 1, 1 (มกราคม-มิถุนายน), 11. • โครงการวิจัยวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย. (2534). รายงานเบื้องต้นการขุดค้นที่ถ้ำหมอเขียว จ.กระบี่, ถ้ำซาไก จ.ตรัง และการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดีชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไก จ.ตรัง. กรุงเทพฯ: โครงการฯ. • อำพล ไวศยดำรง. (2535). “ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างหอยที่ได้จากการขุดค้นทีถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ และถ้ำซาไก จังหวัดตรัง ประจำปี พ.ศ. 2534.” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. • พิชญ ปานมี. (2551). “รูปแบบเครื่องมือหิน: การขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ปี พ.ศ. 2551.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.   ------------------------------------------------ เรียบเรียงข้อมูล/กราฟฟิค : สิริยุพน ทับเป็นไทย นักโบราณคดีปฏิบัติการ และ โสมสินี สุขเกษม นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช เผยแพร่ข้อมูลทาง https://www.facebook.com/100055227468299/posts/516868276830750/?d=n  




           ธรรมจักร       สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕       ขุดได้ในฐานพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม นำมาไว้ในพิพิธภัณฑสถานฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑       ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร       ธรรมจักรศิลาสลักลาย ฐานธรรมจักรสลักกลีบบัวคว่ำ-บัวหงาย และแถบเม็ดพลอยสี่เหลี่ยมสลับวงรีกงล้อสลักลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สลับพลอยเม็ดกลมที่มีลวดลายดอกไม้และมีกระหนกผักกูดแตกออกมา ๘ ตัว ขมวดคล้ายเลข ๑ ไทย ขนาบข้างด้วยแถบลายเม็ดประคำ ซี่ล้อหรือกำสลักส่วนโคนประดับลายกระหนกรูปทรงคล้ายกระจัง ส่วนยอดสลักลายก้านขดข้างละตัวคาดด้วยแถบลายลูกประคำบริเวณรอบดุมธรรมจักรสลักเป็นลายวงกลม มีแถบลวดลายซ้อนกันเรียงจากวงกลมด้านนอกมายังด้านใน ได้แก่ ลายฟันปลา แถบลายก้านขด ลายลูกประคำ ลายกลีบบัว และลายลูกประคำ ตามลำดับ ดุมธรรมจักรรูปทรงกลมเรียบไม่มีลวดลาย        การสร้างประติมากรรมรูปธรรมจักรนั้นพบหลักฐานตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓)* ใช้แทนรูปเคารพพระพุทธเจ้าปางแสดงธรรม ส่วนในประเทศไทยน่าจะรับคติธรรมจักรพร้อม ๆ กับการรับพุทธศาสนาเข้ามาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา ตรงกับสมัยทวารดี สันนิษฐานว่าการบูชาธรรมจักรในอดีต จะตั้งธรรมจักรไว้บนหัวเสาและมีแท่นรองรับ อาจตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้งหรือในพื้นที่มีหลังคาคลุม เนื่องจากการขุดค้นทางโบราณคดีพบแท่นและเสาธรรมจักรเป็นจำนวนมาก โดยแหล่งที่พบธรรมจักรเป็นจำนวนมากนั้นคือบริเวณเมืองนครปฐมโบราณ (จังหวัดนครปฐม) นอกจากนี้ยังพบธรรมจักรตามแหล่งชุมชนโบราณต่าง ๆ อีกหลายแห่งที่มีหลักฐานศิลปกรรมเกี่ยวข้องกับทวารวดี เช่นที่เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรี) เมืองลพบุรี (จังหวัดลพบุรี) เมืองอู่ตะเภา (จังหวัดชัยนาท) เมืองเสมา (จังหวัดนครราชสีมา) บริเวณอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเมืองยะรัง จังหวัดปัตตานี เป็นต้น       รูปแบบลวดลายบนธรรมจักรชิ้นนี้ จากการเรียงลวดลายได้แก่ลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสลับกับลายเม็ดพลอยกลมสลักลวดลายดอกไม้มีกระหนกแตกออกมาเป็นกระหนกผักกูด ลักษณะขมวดคล้ายเลข ๑ ไทยจำนวน ๘ ตัว น่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะวกาฏกะของอินเดีย (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑) ได้แก่ ๑. แสดงการจัดลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสลับกับลายเม็ดพลอย  ๒. การแสดงระบบลายหลักคือลายเม็ดพลอยกลมมีกระหนกแตกออกมาล้อมรอบ ขณะที่ลายรองคือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนไม่มีกระหนกล้อมรอบ  ๓. ลายกระหนกผักกูดที่ปรากฏบนธรรมจักรชิ้นนี้ แสดงส่วนหัวกระหนกมีลายขูดขีดเป็นเม็ดกลม คล้ายกับลายกระหนกผักกูดของศิลปะวกาฏกะ (ที่สืบเนื่องจากศิลปะคุปตะ)        อย่างไรก็ตามธรรมจักรชิ้นนี้ยังมีรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของ “ศิลปะทวารวดี” (ซึ่งไม่ปรากฏในศิลปะอินเดีย) ได้แก่ การตกแต่งเป็นลายดอกไม้ในรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและลายเม็ดพลอยวงกลม รวมทั้งจำนวนกระหนกที่แตกออกมาถึง ๘ ตัวนั้นไม่มีปรากฏในศิลปวกาฏกะ        ธรรมจักรชิ้นนี้ตามประวัติระบุว่า พบที่บริเวณพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และนำส่งเข้ามาในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี หรือ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) เป็นผู้ดำเนินการซ่อมแซม ดังที่ปรากฏในหนังสือราชการที่ขุนบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) ภัณฑารักษ์ในขณะนั้นทูลเสวกเอก หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤษดากร ผู้อำนวยการศิลปากรสถานในขณะนั้น ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ความตอนหนึ่งว่า       “...ด้วยในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครมีศิลาธรรมจักร์ขนาดใหญ่อยู่อัน ๑ ตั้งไว้ที่ห้องหินเข้าคู่กับพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ที่ได้มาจากเมืองสุโขทัยเก่า** แต่ธรรมจักรชำรุดแตกหายไปเสียครึ่งซีก เหลืออยู่เพียงครึ่งซีก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา มีพระประสงค์ให้ นายฟีโรจี ไปช่วยจัดการทำซีกที่แตกหายไปนั้นด้วยปูนปลาสเตอร์ การที่จะทำ นายฟีโรจีไม่ต้องลงมือทำเองก็ได้ เปนแต่บอกวิธีที่จะทำให้แก่ลูกศิษย์ของนายฟีโรจี แล้วให้ลูกศิษย์เปนผู้ทำต่อไป ของที่จะใช้มี ปูนปลาสเตอร์ ทราย แลปูนขาว เปนต้น...”       การดำเนินงานซ่อมแซมธรรมจักรนั้น เสร็จสิ้นประมาณเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น ๑๓๘ บาท ๑๐ สตางค์     *อ่านประเด็นความหมายของธรรมจักร ได้ใน เรื่อง ดินเผากลมประทับธรรมจักรกวางหมอบ (https://www.facebook.com/.../a.531316277.../5363449643707218) **หมายถึง พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์ (เลขทะเบียน ทว.๕๒) พบที่วัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัยเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ และนำมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑ ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   อ้างอิง เชษฐ์ ติงสัญชลี. ลวดลายศิลปะทวารวดี : การศึกษาที่มาและการตรวจสอบกับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ-วกาฏกะ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๕. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี:  เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ. ๒.๑.๑/๓๒. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง ของรับศิลาธรรมจักร์ แลนำเครื่องศิลาของพิพิธภัณฑสถานฯ ไปไว้ที่นครปฐมพร้อมทั้งพัทธเสมาด้วย (๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๑ - ๕ กันยายน ๒๔๗๒).


Messenger