ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,356 รายการ
ชื่อเรื่อง : ประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม และชาติพันธุ์วิทยาว่าด้วยชนชาติเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทย
ผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2515
สถานที่พิมพ์ : นครหลวงกรุงเทพธนบุรี
สำนักพิมพ์ : ดำรงธรรม
ว่าด้วยตำรายาเกร็ด เช่น แก้เบาขาว, แก้เบาเหลือง, แก้เบาแดง, ยาแก้ลมวิงเวียน, ยาแก้เลือดเสียและขัดระดู,แก้เตโชธาตุ, แก้วาธาตุ ฯลฯ
ชื่อเรื่อง : นำเที่ยวเมืองสุโขทัย
ชื่อผู้แต่ง : ตรี อมาตยกุล
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : เกษมสุวรรณ
จำนวนหน้า : 154 หน้า
สาระสังเขป :หนังสือนำเที่ยวเมืองสุโขทัยมีเนื้อหากล่าวถึง ตำนานเมือง ภูมิประเทศและสภาพทั่วไปของจังหวัดสุโขทัย และโบราณสถานต่างๆ สืบเนื่องมาจากเมืองสุโขทัยเคยไปราชธานีของไทย ที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณกาล จึงปรากฏว่ามีปูชนียสถานสร้างขึ้นมากมายหลายแห่ง ผู้เขียนได้อธิบายความเป็นมาของสถานที่นั้นๆพอสังเขป อาทิ กำแพงเมืองสุโขทัยเก่า วัดตระพังทอง เนินปราสาทพระร่วง วัดมหาธาตุ วัดเขาพระบาทน้อย วัดเจดีย์งาม หอเทวาลัยมหาเกษตรพิมาน เป็นต้น
ชื่อเรื่อง : นิทานโบราณคดี ( บางเรื่อง )
ผู้แต่ง : พระยาดำรงราชานุภาพ
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๙
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก ธะทรง สุวรรณศร
นิทานโบราณคดีนี้นับเป็นหนังสือที่มีค่ายิ่งเรื่องหนึ่งเพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแต่ในสมัยที่ล่วงมาแล้วให้รายละเอียดนิทานเรื่อง พระพุทธรูปประหลาด นิทานเรื่องห้ามไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ นิทานเรื่องค้นเมืองโบราณ นิทานเรื่องโจรแปลกประหลาด นิทานเรื่องลานช้าง นิทานเรื่องโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และนิทานเรื่องเมืองไทยมีพระเจ้าแผ่นดิน ๒ พระองค์
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่, พระบาทสมเด็จพระ. พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ พระราชปรารภในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณอายุกับสำเนากระแสพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ พระราชดำรัส พระราชหัตถเลขา และประกาศการศึกษาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร : กรมศิลปากร, 2509.
พระบรมราโชวาททรงมีพระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอ โอกาสเสด็จออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2428 ให้ทรงประพฤติที่ทรงสั่งสอนไว้ แล้วยังได้พระราชปรารภว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณอายุ
บ้านหลวงรับราชทูต ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่อาคารโบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ในเขตตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ซึ่งมีการจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๓ เขตหลัก ได้แก่บ้านวิชาเยนทร์ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก บ้านหลวงรับราชทูตตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีโรงสวดหรือโบสถ์ในคริสต์ศาสนา นอเตรอะ ดาม เดอ ลอแรตต์ (Notre-Dame de Laurette) อยู่ตรงกึ่งกลางหมู่อาคาร - หมู่สถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความใหญ่โตหรูหราและอำนาจ - บ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากการศึกษาหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ และการสำรวจรายละเอียดรูปแบบสถาปัตยกรรมในเบื้องต้นพบว่า พัฒนาการของการก่อสร้างบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) เริ่มขึ้นจากบ้านหลังใหญ่ทางฝั่งตะวันตกที่มีอิทธิพลของรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ อินโด-เปอร์เซีย ซึ่งมีนักวิชาการ ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เดิมเคยเป็นที่พำนักอาศัยของพ่อค้าชาวเปอร์เซียที่มาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยามาก่อน พ.ศ. ๒๒๒๖ ในภายหลังบ้านหลังนี้ได้ตกมาเป็นสมบัติของราชสำนัก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้พระราชทานบ้านหลังนี้ให้แก่ พระยาวิไชเยนทร์ (Constantine Phaulkon)ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๒๒๖ – ๒๒๒๘ พระยาวิไชเยนทร์จึงเข้ามาปรับปรุงบ้านหลังใหญ่เพื่อใช้ในการอยู่อาศัยของตนเองและครอบครัว พร้อมกับสร้างโบสถ์นอเตรอะดาม เดอ ลอแรตต์ (Notre-Dame de Laurette) ขึ้น ในช่วงปลายปีพุทธศักราช ๒๒๒๘ ทางราชสำนักกรุงศรีอยุธยาได้ใช้บ้านพระยาวิไชเยนทร์เป็นที่รับรองคณะราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งนำโดย เซอวาลิเยร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier Alexandre de Chaumont) ราชทูตวิสามัญของฝรั่งเศส ผู้นำพระราชสาสน์มาถวาย และเดินทางขึ้นมาเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่เมืองละโว้ เนื่องจากขณะนั้นบ้านหลวงรับราชทูตอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ จึงมีการต่อเติมบ้านหลังใหญ่ของพระยาวิไชเยนทร์ และก่อสร้างอาคารขึ้นเพิ่มเติมในบริเวณบ้านวิชาเยนทร์อีกหลายหลัง เพื่อให้เพียงพอแก่การรับรองผู้ติดตามคณะราชทูต ในช่วงระยะเวลานั้นโบสถ์นอเตรอะดาม เดอ ลอแรตต์ สร้างแล้วเสร็จ แต่ยังไม่ได้ประดับตกแต่ง รายละเอียดพอใช้งาน ท่านราชทูต เดอ โชมองต์ จึงได้ใช้โบสถ์หลังนี้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตลอดช่วงระยะเวลาที่คณะทูตฝรั่งเศสพำนักอยู่ที่เมืองละโว้ การก่อสร้างบ้านหลวงรับราชทูตทางฝั่งตะวันออก การตกแต่งโบสถ์ นอเตรอะดาม เดอ ลอแรตต์ การก่อสร้างเขตพัทธสีมา และแท่นมหากางเขนศิลาแล้วเสร็จสมบูรณ์ประมาณ พ.ศ. ๒๒๓๐ อันเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกับที่คณะผู้แทนพระองค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ นำโดย มองซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubere) เดินทางมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ที่เมืองละโว้ คณะของมองซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ จึงได้เข้าพักที่บ้านหลวงรับราชทูตทางฝั่งตะวันออก เมื่อสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ถูกปล่อยทิ้งร้างให้ชำรุดทรุดโทรมลงตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามจนถึงในปัจจุบันหมู่อาคารเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นถึงความใหญ่โตหรูหรา และอำนาจของผู้ครอบครองได้เป็นอย่างดี กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๙๐๔ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๗๙ - มูลเหตุแห่งการค้นพบห้องลับปริศนาบ้านหลวงรับราชทูต - ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ๒๕๖๓ สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ทำการขุดตรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่โบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ผลจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่น่าสนใจ คือ บริเวณด้านหน้าอาคารหมายเลข ๕ ของหมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ การขุดตรวจทางโบราณคดีเบื้องต้น พบว่าเป็นชั้นใต้ดินที่มีห้องขนาดความกว้าง ๕.๑๖ เมตร ความยาว ๑๘.๗๕ เมตร อยู่ลึกจากระดับผิวดินลงไปประมาณ ๒.๐ เมตร พื้นห้องดาดปูนมีบันไดขึ้น-ลง ๒ ด้าน เชื่อมต่อกับอาคารหมายเลข ๕ และอาคารหมายเลข ๖ ห้องที่ตั้งอยู่ในชั้นใต้ดินลักษณะเดียวกันนี้เคยค้นพบในอาคารด้านหน้าบ้านวิชาเยนทร์ ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่า อาจเป็นอาคารต้อนรับใช้เป็นที่จัดเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มแก่คณะราชทูต ที่มีชั้นใต้ดินเป็นห้องไว้สำหรับเก็บเครื่องดื่มประเภทไวน์ นอกจากนี้ในระดับต่ำกว่าผิวดินลงไป ๑๐-๑๓๐ เซนติเมตร ในพื้นที่บ้านหลวงรับราชทูต ยังปรากฏหลักฐานร่องรอยของสถาปัตยกรรม พื้น และฐานอาคารต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของการใช้พื้นที่ในสมัยอยุธยา เช่น อาคารหมายเลข ๑๒ ในบ้านวิชาเยนทร์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นโรงอาบน้ำแบบเปอร์เซีย (Hammam) บริเวณด้านหลังพบห้องน้ำขนาดเล็ก ความกว้าง ๑.๓๐ เมตร ความยาว ๕.๗๕ เมตร เทพื้นดาดปูนทางด้านทิศตะวันตกปรากฏร่องรอยของหลุมทรงกลม และท่อดินเผาติดอยู่กับผนังโรงอาบน้ำ ส่วนด้านทิศเหนือเชื่อมต่ออยู่กับกำแพงขนาดใหญ่ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพงบ้านเดิมทางด้านหลัง อาคารหมายเลข ๑๓ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นโรงครัวของมารี กีมา (Marie Guimar) ภรรยาพระยาวิไชเยนทร์ ทางด้านทิศเหนือของอาคารพบพื้นพาไลดาดปูน และบริเวณด้านหน้าของหมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต พบร่องรอยการปูพื้นด้วยอิฐเป็นแนวตรงไปยังบันไดหลักของหมู่อาคาร แนวท่อน้ำดินเผาบริเวณมุมบันไดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งน่าจะสัมพันธ์กับแนวท่อน้ำดินเผาที่ต่อออกมาจากถังเก็บน้ำก่ออิฐถือปูนบริเวณด้านข้างอาคารหมายเลข ๗ และแนวฐานกำแพงก่ออิฐซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพงบ้านเดิมทางด้านหน้า เป็นต้น - การไขปริศนาห้องลับด้วยวิธีการทางโบราณคดี - ห้องขนาดใหญ่ในชั้นใต้ดินของอาคารด้านหน้าบ้านหลวงรับราชทูตนี้ ถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์การใช้งานหรือเหตุผลใด เป็นห้องเก็บเครื่องดื่มประเภทไวน์เพื่อเสริมสร้างความสำราญแก่แขกผู้มาเยือน เป็นห้องเก็บสิ่งของที่คณะทูตนำเข้ามาเพื่อถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือเป็นสถานที่ซุกซ่อนสั่งสมศัตราอาวุธต่างๆเพื่อเสริมพลังอำนาจของผู้ที่ต้องการแย่งชิงหรือความเปลี่ยนแปลง ฯลฯ รวมทั้งข้อมูลของอาคารสถาปัตยกรรมองค์ประกอบรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของบ้านหลวงรับราชทูต จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการสืบค้นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏอยู่ เพื่อต่อเติมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองลพบุรีให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี จึงดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ระยะที่ ๒ เพื่อดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีในเขตบ้านหลวงรับราชทูตทั้งบริเวณ ระหว่างเดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ – เดือนมีนาคม ๒๕๖๔ ซึ่งข้อมูลทางวิชาการที่ได้จากการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี จะรายงานให้ทราบในโอกาสต่อไป ภาพ : โบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ภาพ : บ้านวิชาเยนทร์ ภาพ : หมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต ภาพ : ผังแสดงตำแหน่งหลุมขุดตรวจทางโบราณคดีตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี ปี ๒๕๖๓ ภาพ : การขุดตรวจทางโบราณคดีตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ปี ๒๕๖๓ ภาพ : ห้องใต้ดินขนาดใหญ่ บริเวณด้านหน้าอาคารหมายเลข ๕ ของหมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต ภาพ : ห้องใต้ดินขนาดใหญ่ บริเวณด้านหน้าอาคารหมายเลข ๕ ของหมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต ภาพ : บริเวณด้านหลังอาคารหมายเลข ๑๒ ในบ้านวิชาเยนทร์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นโรงอาบน้ำแบบเปอร์เซีย (Hammam) พบห้องขนาดเล็กเทพื้นดาดปูน ทางด้านทิศตะวันตกปรากฏร่องรอยของหลุมทรงกลม และท่อดินเผาติดอยู่กับผนังโรงอาบน้ำ ภาพ : ด้านหน้าของหมู่อาคารบ้านหลวงรับราชทูต พบร่องรอยพื้นทางเดินก่ออิฐเป็นแนวตรงไปยังบันไดหลักของหมู่อาคาร และแนวฐานกำแพงก่ออิฐซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพงบ้านเดิมทางด้านหน้า ภาพ : ร่องรอยของฐานอาคารในบ้านหลวงรับราชทูต ......................................................................ผู้เรียบเรียงข้อมูล/รายงาน : นายเดชา สุดสวาท นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรีที่มาของข้อมูล : Facebook สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี
ปราสาทพระเทพบิดร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหา มกุฏวิทยมหาราช (รัชกาลที่๔) เดิมชื่อว่า “พุทธปรางค์ปราสาท” โดยมีพระราชประสงค์เดิมเพื่อจะอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)มาประดิษฐาน แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วมีขนาดไม่เพียงพอแก่การพระราชพิธีต่าง ๆ จึงอัญเชิญพระเจดีย์กาไหล่ทองของรัชกาลที่ ๔ มาประดิษฐานเป็นประธานแทน ต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้เครื่องบนหลังคาปราสาททำให้เสียหายจนหมดสิ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ปรับปรุงและบูรณะขึ้นใหม่และพระราชทานนามใหม่ว่า “ปราสาทพระเทพบิดร” เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งราชวงศ์จักรีและให้มีพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัติยาธิราช ในวันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี และทรงกำหนดให้เป็น“วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช วันที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายน ของทุกปีเนื่องในวันสงกรานต์และในวันที่ ๕ พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สวรรคต พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์ โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระบรมรูปเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๒ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง พระบรมรูปมีขนาดความสูง ๑๗๒ เซนติเมตร และมีความสูงของฐาน ๗ เซนติเมตร หล่อด้วยบรอนซ์ในฉลองพระองค์บรมราชภูษิตาภรณ์และทรงประกอบพิธีบวงสรวงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๓ เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในพระบรมมหาราชวัง ภาพ : วงปี่พาทย์พิธีในพิธีบวงสรวงพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ที่มาภาพ : https://ch3thailandnews.bectero.com/news/180908) ลำดับขั้นตอนพิธีบวงสรวงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จลงจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงประกอบพิธีบวงสรวงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ทรงจุดเทียนทอง และเทียนเงิน ที่โต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวย แล้วทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องบวงสรวงสังเวย (ขณะนั้นฆ้องชัย สังข์แตร ประโคม วงปี่พาทย์พิธีบรรเลงเพลงสาธุการ ) ทรงตั้งพระราชสัตยาธิฐาน ถวายเครื่องราชสักการะ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์อ่านโองการบวงสรวง พราหมณ์แกว่งบัณเฑาะว์ (ขณะนั้นฆ้องชัย สังข์แตร ประโคม วงปี่พาทย์พิธีบรรเลงเพลงมหากาล ) เมื่อพราหมณ์อ่านโองการจบ (ฆ้องชัย สังข์แตร ประโคม วงปี่พาทย์พิธีบรรเลงเพลงมหาชัย) จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้ แล้วจึงอัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อไปประกอบพิธีประดิษฐานและสมโภชที่ปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง (ขณะนั้น ฆ้องชัย สังข์แตร ประโคมวงปี่พาทย์พิธีบรรเลงเพลงช้าเรื่องสร้อยสน) เสร็จพิธีบวงสรวงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่ออัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มายังปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง (ขณะนั้นฆ้องชัย สังข์แตร ประโคม วงปี่พาทย์พิธีบรรเลงเพลงช้าเรื่องพระรามเดินดง) เวลา ๒๐.๔๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร- มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ราชกัญญา ไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตน-ศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง ในการพระราชพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พุทธศักราช ๒๕๖๓ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนนมัสการท้ายที่นั่งบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธะยอดฟ้าจุฬาโลกย์และพระพุทธเลิศหล้านภาไลย แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองใหญ่ที่หน้าธรรมาสน์ศิลา ทรงกราบ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงจุดธูปเทียนนมัสการเครื่องทองทิศที่หน้าธรรมาสน์ศิลา (ขณะนั้นฆ้องชัย สังข์แตร ประโคม วงปี่พาทย์พิธีบรรเลง เพลงสาธุการ ) ทรงกราบ ทรงศีล สมเด็จพระอริยวงศาณาตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานสงฆ์ถวายศีล พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ ภาพ : วงปี่พาทย์พิธีบริเวณศาลารายพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ที่มาภาพ : กิติศักดิ์ เขาสถิตย์) จากนั้นเสด็จ ฯ ออกจากพระอุโบสถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังปราสาทพระเทพบิดร ในพระบรมมหาราชวัง ทรงประกอบพิธีประดิษฐานและสมโภชพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมพระสุพรรณบัฏจารึกคำถวายราชสดุดีและดวงพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แล้วทรงบรรจุที่ฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม และทรงคล้องพวงมาลัยที่ฐานพระบรมรูป เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะทองลงยาราชาวดี สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะทองลงยารอง แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ทรงกราบถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพ-มหากษัติยาธิราช (ขณะนั้นฆ้องชัย สังข์แตร ประโคม วงปี่พาทย์พิธีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ ) จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินออกจากปราสาทพระเทพบิดร ไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เสด็จพระราชดำเนินกลับ (ขณะนั้น ฆ้องชัย สังข์แตร ประโคม วงปี่พาทย์พิธีบรรเลง เพลงกราวรำสองชั้น) หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับได้มีพิธีสมโภชพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เจ้าพนักงานตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน พราหมณ์เบิกแว่นเทียน ข้าราชบริพารในพระองค์รับแว่นเวียนเทียนสมโภช พราหมณ์เป่าสังข์ แกว่งบัณเฑาะว์ (ฆ้องชัย สังข์แตร ประโคมเมื่อจบในแต่ละรอบจนครบ ๓ รอบ วงปี่พาทย์พิธีบรรเลงเพลงเรื่องเวียนเทียน ) เป็นอันเสร็จพิธี ภาพ : วงปี่พาทย์พิธีบริเวณปราสาทพระเทพบิดร ในพระบรมมหาราชวัง (ที่มาภาพ : ฐาปณัฐ ธรรมเที่ยง) ภาพ : เจ้าพนักงานตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน พราหมณ์เบิกแว่นเทียน ข้าราชบริพารในพระองค์ รับแว่นเวียนเทียนสมโภช (ที่มาภาพ : ฐาปณัฐ ธรรมเที่ยง) สำหรับพิธีบวงสรวงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วงปี่พาทย์พระราชพิธี วงปี่พาทย์พิธีของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต มีทั้งหมด ๓ วง ดังนี้ ๑.วงปี่พาทย์พิธี ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ในพิธีบวงสรวงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพลงที่ใช้ประกอบพิธีมีทั้งหมด ๔ เพลง ได้แก่ เพลงสาธุการ เพลงมหากาล เพลงมหาชัย และเพลงช้าเรื่องสร้อยสน ๒.วงปี่พาทย์พระราชพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง ในการพระราชพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ เพลงที่ใช้ประกอบ พระราชพิธีมีทั้งหมด ๒ เพลง ได้แก่ เพลงสาธุการและเพลงกราวรำสองชั้น ๓.วงปี่พาทย์พิธี ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในพระบรมมหาราชวัง เพลงที่ใช้ประกอบพิธีมีทั้งหมด ๓ เพลง ได้แก่ เพลงช้าเรื่องพระรามเดินดง เพลงมหาฤกษ์และเพลงเรื่องเวียนเทียน -------------------------------------------เรียบเรียงโดย : นายสุกิตติ์ ทำบุญ นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453, กรมศิลปากร
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2508
หมายเหตุ : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์สนัด สุวรรณะบุณย์ ต้นฉบับจากกรมศิลปากร มีรูปและชีวประว้ติผู้ตาย
โคลงสุภาษิต ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ในโอกาสต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้พสกนิกร ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี มีคุณธรรม เมตตา กรุณา ซื่อสัตย์สุจริต ส่วนสุภาษิตพระร่วงหรือบัญญัติพระร่วง คัดจากประชุมจารึกวัด เชตุพล เล่ม 2 กล่าวกันว่าเป็นพระราโชวาทของพระร่วงเจ้า หรือพ่อขุนรามคำแหง ทรงแสดงสั่งสอนประชาชน ให้รู้จักหลักการดำเนินชีวิต
นายชำนาญ กฤษณสุวรรณ นายช่างเทคนิคอาวุโส รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เข้าร่วมพิธีอัญเชิญถ้วยพระราชทานฯ การแข่งขันเรือยาวประเพณีเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชิงชนะเลิศถ้วยรางวัลพระราชทานฯ งานเทศกาลเที่ยวพิมายนครราชสีมา ประจำปี ๒๕๖๓ โดยเป็นผู้อัญเชิญถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประเภทเรือยาวกลาง 40 ฝีพาย